ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จุดโฟกัส: EOS 5D Mark IV- Part9

บทสัมภาษณ์นักพัฒนากล้อง EOS 5D Mark IV (ตอนที่ 3): DPRAW ใหม่

2016-11-17
3
2.4 k
ในบทความนี้:

Dual Pixel RAW (DPRAW) ทำงานอย่างไร และผู้ใช้สามารถใช้คุณสมบัติดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร นักพัฒนากล้อง EOS 5D Mark IV จะมาบอกเราในตอนที่ 3 ของบทสัมภาษณ์นี้ (ผู้สัมภาษณ์: Ryosuke Takahashi ภาพหมู่: Takehiro Kato)

 

(แถวหลัง จากซ้ายมือ)
Kazuki Haraguchi, Megumi Inazumi, Keisuke Kudo, Yasuyuki Watazawa, Takashi Kon, Kiyoshi Tachibana, Yutaka Kojima, Hiroaki Nashizawa

 

DPRAW คืออะไร

- ช่วยอธิบายระบบพื้นฐานและหลักการทำงานของคุณสมบัติ DPRAW แบบใหม่โดยใช้คำง่ายๆ ได้ไหมครับ

Nashizawa: ภาพ DPRAW เป็นภาพในรูปแบบ RAW ที่ใช้ข้อมูลภาพจากสองมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งได้รับมาจากเซนเซอร์ CMOS ฟังก์ชั่น Dual Pixel RAW Optimizer ใน Digital Photo Professional (DPP) รุ่น 4.5.0 จะนำข้อมูลเกี่ยวกับการตัดส่วนของภาพอันเป็นผลมาจากความแตกต่างของมุมมองมาใช้ประโยชน์ เพื่อดำเนินการแก้ไขภาพแบบต่างๆ ระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ

- อะไรที่นำไปสู่การพัฒนา DPRAW ในตอนแรกครับ

Tachibana: เมื่อเราพัฒนารูปแบบ Dual Pixel สำหรับเซนเซอร์ เราทราบอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้แก้ไขภาพระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพสำหรับภาพนิ่งได้ หลังจากที่ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าในขั้นตอนการพัฒนา สุดท้ายเราจึงนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในกล้อง EOS 5D Mark IV ในรูปแบบของฟังก์ชั่นการถ่ายภาพ DPRAW ใหม่

- ภาพ Dual Pixel RAW เป็นการนำข้อมูลภาพจากมุมมองที่แตกต่างกันสองแบบมาใช้ นี่หมายความว่าคุณสมบัตินี้สามารถใช้ในระหว่างการถ่ายภาพ Live View เท่านั้นใช่หรือไม่

Tachibana: ไม่ใช่ครับ โดยทั่วไปแล้ว ภาพ DPRAW คือภาพ RAW ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้ข้อมูลจากสองมุมมอง และสามารถนำมาบันทึกลงในสื่อบันทึกระหว่างการถ่ายภาพแบบ Live View และการถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพได้ คุณแค่ต้องกำหนดคุณภาพของภาพเป็น "RAW" แล้วเปิดใช้งาน Dual Pixel RAW ในเมนูกล้องเท่านั้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำการแก้ไขภาพใน DPP ได้ในภายหลัง อย่างไรก็ดี พึงระลึกว่าภาพ DPRAW จะมีขนาดใหญ่กว่าภาพ RAW ปกติถึงสองเท่าโดยประมาณ เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลที่มากกว่า

 

 

- ช่วยเล่าให้เราฟังคร่าวๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติการแก้ไขภาพแต่ละแบบหน่อยครับ

Nashizawa: ตามชื่อเรียกของคุณสมบัติเลยนะครับ Bokeh Shift เป็นคุณสมบัติที่ใช้เปลี่ยนตำแหน่งของเอฟเฟ็กต์โบเก้ (โฟร์กราวด์หรือแบ็คกราวด์) ขณะที่การลดแสงหลอกใช้เพื่อลดแสงหลอกหรือแสงแฟลร์ที่เกิดจากสภาวะแสงย้อนโดยการใช้ Dual Pixel RAW Optimizer ส่วนการปรับแต่งภาพอย่างละเอียดเป็นคุณสมบัติที่ใช้แก้ไขความละเอียดคมชัดโดยใช้ข้อมูลค่าความลึกของตัวแบบ เช่น เมื่อตัวแบบเคลื่อนที่ไปเล็กน้อย

 

Bokeh Shift: ก่อน

Bokeh Shift: หลัง

 

- มีเงื่อนไขใดบ้างที่ทำให้เอฟเฟ็กต์ของ Dual Pixel RAW Optimizer แสดงได้ง่ายขึ้น

Nashizawa: โดยหลักแล้ว เอฟเฟ็กต์บางประเภทจะแสดงขึ้นเมื่อคุณถ่ายภาพ DPRAW แต่จริงๆ แล้วมีเงื่อนไขที่ทำให้เอฟเฟ็กต์ดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนมากขึ้นด้วย เงื่อนไขแรกคือ เอฟเฟ็กต์สำหรับพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกแก้ไขจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อตั้งค่ารูรับแสงที่ f/5.6 หรือต่ำกว่า อีกทั้งเรายังแนะนำให้ใช้ความไวแสง ISO ที่ 1600 หรือต่ำกว่า นอกจากนี้ ควรทราบด้วยว่าเอฟเฟ็กต์อาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับว่าภาพดังกล่าวนั้นแสดงในแนวตั้งหรือแนวนอน

- คุณสมบัติการแก้ไขภาพได้รับผลจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทางยาวโฟกัสและระยะถ่ายภาพของเลนส์ที่ใช้ด้วยหรือไม่

Nashizawa: ใช่ครับ ตัวอย่างเช่น สำหรับคุณสมบัติการปรับแต่งภาพอย่างละเอียด ทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่เหมาะสมคือ 50 มม. หรือยาวกว่านั้น อีกทั้งคุณสมบัติการแก้ไขภาพจะยิ่งเห็นเด่นชัดมากขึ้นเมื่อระยะถ่ายภาพห่างจากตัวแบบมากขึ้น แม้ว่าจะมี "ระยะห่างที่เหมาะสมที่สุด" สำหรับทางยาวโฟกัสแต่ละระยะก็ตาม
สำหรับเลนส์ระดับ 50 มม. ระยะห่างจากตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่ระหว่าง 1 ม. ถึง 10 ม. ขณะที่เลนส์ระดับ 100 มม. อาจอยู่ที่ระหว่าง 2 ม. ถึง 20 ม. โดยประมาณ หากเป็นเลนส์ระดับ 200 มม. ระยะถ่ายภาพควรอยู่ระหว่าง 4 ม. ถึง 40 ม. จึงจะเหมาะสมที่สุดในการขับเน้นเอฟเฟ็กต์การปรับแต่งภาพอย่างละเอียด Bokeh Shift และการลดแสงหลอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Tachibana: ระยะห่างที่เหมาะสมที่สุดในที่นี้หมายถึงตัวแบบอยู่ในช่วงระยะห่างที่เหมาะสม แต่ทว่า แม้ว่าจะกำหนดระยะตามเงื่อนไขที่แนะนำนี้แล้ว ขนาดของเอฟเฟ็กต์ที่ได้ยังอาจเปลี่ยนแปลงไปตามฉากที่ถ่ายด้วยเช่นกัน อันที่จริง เอฟเฟ็กต์ที่คุณได้รับหลังจากแก้ไขจริงจะไม่ได้สร้างผลกระทบที่เด่นชัดมากนัก ดังนั้น การมองว่านี่เป็นเครื่องมือสำหรับปรับแต่งภาพที่คุณบันทึกไว้น่าจะเป็นการดีที่สุด

 

การปรับแต่งภาพอย่างละเอียดมีประโยชน์สำหรับภาพบุคคลและภาพประเภทอื่นๆ

- ขณะที่การถ่ายภาพสีหน้าและการขยับของเส้นผมในภาพบุคคลเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ภาพที่ออกมาอาจไม่ละเอียดคมชัดหากตัวแบบมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ถูกต้องไหมถ้าผมจะพูดว่าการใช้การปรับแต่งภาพอย่างละเอียดในกรณีนี้จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ

Tachibana: ใช่ครับ ผมคิดว่าเป็นการดีที่สุดที่เราจะทำความเข้าใจว่าคุณสมบัตินี้เป็นสิ่งหนึ่งที่รับประกันถึงผลลัพธ์ที่ดี เมื่อคุณต้องการปรับปรุงความละเอียดคมชัดในสถานการณ์อย่างเช่นในกรณีนี้ ผมพบว่าการใช้คุณสมบัตินี้ร่วมกับเลนส์ที่มีค่า f ที่ให้ความสว่างและระยะชัดตื้นจะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะได้ผลภาพที่ยอดเยี่ยมมากยิ่งขึ้น

- เราสามารถทำการแก้ไขภาพที่ช่วยเพิ่มความละเอียดคมชัดเฉพาะในส่วนของรูม่านตา แทนที่จะเพิ่มความละเอียดคมชัดที่ตรงหัวตาได้ใช่หรือไม่

Nashizawa: นั่นขึ้นอยู่กับสภาพการถ่าย แต่ผมเชื่อว่าเราสามารถทำการแก้ไขในระดับนั้นได้ อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันไปตามสภาพการถ่าย ดังนั้น เราจึงไม่สามารถให้ตัวเลขที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับระดับการแก้ไขได้

 

การปรับแต่งภาพอย่างละเอียด: ก่อน

การปรับแต่งภาพอย่างละเอียด: หลัง

 

การปรับแต่งภาพอย่างละเอียด: ก่อน

การปรับแต่งภาพอย่างละเอียด: หลัง

 

- เมื่อถ่ายภาพต่างๆ เช่น ภาพทิวทัศน์กลางคืน ความเอียงภายในเลนส์แม้เพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อแสงหลอกและแสงแฟลร์ได้ ผมเข้าใจว่าการแก้ไขภาพด้วย DPRAW เป็นการใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์นี้เช่นกัน

Tachibana: ใช่ครับ คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว นั่นเป็นการใช้ประโยชน์จากความแตกต่างที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นี้ด้วย เหมือนกับที่มีแสงหลอก (และแสงแฟลร์) ที่สามารถกำจัดได้และไม่สามารถกำจัดได้ แสงหลอกบางประเภทสามารถทำให้ลดลงได้ในภาพ DPRAW แต่ในประเภทอื่นๆ อาจจะทำไม่ได้ ดังนั้น เราจึงหวังให้ผู้ใช้เข้าใจว่าแสงหลอกไม่สามารถลบออกได้ทั้งหมดด้วยวิธีการเดียวกับที่คุณใช้ซอฟต์แวร์แก้ไขภาพ

- ผมคิดว่าเป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์มาก เมื่อใช้การปรับแต่งภาพอย่างละเอียด มีข้อจำกัดอะไรในฟังก์ชั่นถ่ายภาพหรือไม่

Nashizawa: จำนวนภาพที่ถ่ายได้และจำนวนภาพถ่ายต่อเนื่องสูงสุดระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่องจะน้อยลง และความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงสุดจะอยู่ที่ประมาณ 5 fps นอกจากนี้ ยังไม่สามารถใช้คุณสมบัตินี้ร่วมกับการถ่ายภาพซ้อน การถ่ายภาพ HDR, Digital Lens Optimizer และกำหนดคุณภาพของภาพด้วยปุ่มเดียวได้

- ผมสามารถดำเนินการปรับแต่งภาพในลักษณะเดียวกันกับภาพ RAW แม้ว่าจะเลือก DPRAW ไว้แล้วได้หรือไม่

Nashizawa: ได้ครับ ภาพ DPRAW จะถูกบันทึกเป็นภาพ RAW แบบธรรมดาในรูปแบบเดียวกันและมีนามสกุลไฟล์เดียวกัน ดังนั้นจึงสามารถทำการปรับแต่งภาพโดยใช้ DPP ได้

 

แนะนำให้ใช้ Dual Pixel RAW Optimizer เพื่อปรับแต่งภาพในขั้นสุดท้าย

- จุดไหนที่เราควรระวังเมื่อทำการปรับแต่งภาพโดยใช้ Dual Pixel RAW Optimizer

Nashizawa: อันดับแรก โครงร่างของตัวแบบหรือเอฟเฟ็กต์โบเก้อาจดูไม่เป็นธรรมชาติเมื่อเราใช้ Bokeh Shift และยังอาจมีจุดรบกวนหรือการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสีหรือความสว่างปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น ซึ่งเมื่อคุณสังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้แล้ว ให้ลองลดระดับของ Bokeh Shift ลง นอกจากนี้ วิธีดังกล่าวยังช่วยปรับปรุงเอฟเฟ็กต์ให้ดีขึ้นเมื่อความละเอียดคมชัดส่งผลต่อระยะชัดหรือเมื่อบริเวณที่เลือกในภาพดูไม่ธรรมชาติอันเนื่องมาจากการปรับแต่งในระดับที่มากเกินไป
สำหรับการลดแสงหลอก โครงร่างของตัวแบบหรือเอฟเฟ็กต์โบเก้อาจดูไม่เป็นธรรมชาติ จุดรบกวนอาจเพิ่มขึ้น และอาจมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสีหรือความสว่างที่เด่นชัดขึ้น ในกรณีนี้ คุณสามารถแก้ไขความละเอียดคมชัดแบบเดียวกับที่คุณทำใน Bokeh Shift เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
อีกจุดหนึ่งที่ควรต้องระวังคือ คุณจะไม่สามารถใช้คุณสมบัติการแก้ไขภาพประเภทต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน

- การลดแสงหลอกได้รับผลจากประเภทของแหล่งกำเนิดแสงหรือไม่

Nashizawa: ไม่ครับ การลดแสงหลอกไม่ได้แยกแยะความแตกต่างของประเภทแหล่งกำเนิดแสง แต่ใช้เพียงข้อมูลภาพ DPRAW จากสองมุมมอง เราสามารถใช้คุณสมบัตินี้ได้ไม่ว่าจะเกิดแสงหลอกหรือแสงแฟลร์ขึ้นภายใต้แหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติหรือแสงเทียม อย่างไรก็ดี ผลภาพที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามความเข้มของแสงหลอก (หรือแสงแฟลร์) รวมถึงสภาพการถ่าย

 

การลดแสงหลอก: ก่อน

การลดแสงหลอก: หลัง

 

- เมื่อเรารู้สึกว่าภาพขาดความละเอียดคมชัดไป สิ่งสำคัญคือบอกให้ได้ว่า Dual Pixel RAW Optimizer ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือไม่ หรือความละเอียดคมชัดที่ลดลงนั้นเกิดจากความคลาดของเลนส์หรือไม่ ถูกต้องไหมครับ

Tachibana: ใช่ครับ คุณพูดถูกแล้ว ระหว่างการประมวลผลภาพ RAW ผู้ใช้จำเป็นต้องพิจารณาว่าจะใช้ Dual Pixel RAW Optimizer หรือนำ Digital Lens Optimizer ไปใช้เพื่อแก้ไขความคลาดของเลนส์โดยพิจารณาจากภาพที่ต้องการปรับแต่ง ในแง่นี้ คุณสมบัตินี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่มีทักษะค่อนข้างสูง

- สำหรับ Dual Pixel RAW Optimizer จำเป็นไหมที่เราจะต้องพัฒนาระบบการทำงานแบบอัจฉริยะเพื่อให้รับรู้ได้ถึงผลกระทบที่เด่นชัด

Tachibana: วิธีเดียวคือให้ผู้ใช้ทำความคุ้นเคยกับผลลัพธ์ด้วยตนเอง เราไม่ต้องการให้ผู้ใช้ลดความแม่นยำในการถ่ายภาพลง โดยทึกทักเอาเองว่าสามารถปรับแต่งภาพได้ในภายหลังโดยใช้คุณสมบัตินี้ แต่ผู้ใช้ควรถ่ายภาพด้วยความแม่นยำต่อไปเช่นเดิม และใช้คุณสมบัตินี้เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยปรับแต่งภาพในขั้นสุดท้าย

 

หากต้องการอ่านคำอธิบายเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีสามวิธีที่สามารถใช้เพื่อปรับแต่งภาพถ่าย DPRAW โปรดดูบทความต่อไปนี้:
เคล็ดลับการใช้งานกล้อง EOS 5D Mark IV: 3 คุณสมบัติใหม่ของ DPP ที่มีประโยชน์สำหรับแก้ไขภาพถ่าย DPRAW

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา