ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น >> All Happenings

ฉลองครบรอบ 30 ปี ผลิตภัณฑ์ระบบ EOS (2): ก้าวแห่งการพัฒนาเพื่อการเติบโตของ EOS

2017-10-26
1
1.73 k
ในบทความนี้:

ระบบ AF ในกล้อง EOS ของ Canon ก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าเดิมจากที่สามารถจับโฟกัสบนตัวแบบอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ไปสู่ความสามารถในการติดตามและคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตัวแบบผ่าน AI Servo AF ในขณะเดียวกัน Canon มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนกล้องฟิล์มให้เป็นกล้องดิจิตอลโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเหนือคู่แข่ง เช่นเดียวกันกับการพัฒนาเทคโนโลยีเลนส์ขึ้นใหม่ สำหรับตอนที่ 2 ของบทความชุดนี้ เราจะมาดูการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบ EOS

ภาพด้านบนเกี่ยวกับการฉลองครบรอบปีที่ 30 ของ EOS

แม้แต่ช่างภาพมืออาชีพที่เคยไม่เชื่อในความสามารถของ AF ในกล้อง EOS ก็เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ กำเนิดของระบบ EOS ทำให้เทคนิคโฟกัสแบบคงที่ล้าสมัยไป

 

พลิกโฉมแนวทางการถ่ายภาพของช่างภาพมืออาชีพ

โฟกัสคงที่คือเทคนิคการจับโฟกัสที่จุดๆ หนึ่งที่ช่างภาพต้องการให้ตัวแบบปรากฏ และลั่นชัตเตอร์เมื่อตัวแบบเคลื่อนไปถึงจุดที่คาดหมายไว้ ก่อนที่โฟกัสอัตโนมัติ (AF) จะได้รับการพัฒนาขึ้น ช่างภาพเคยใช้เทคนิคนี้เพื่อจับโฟกัสที่ตัวแบบ แต่เมื่อใช้วิธีนี้ ภาพถ่ายที่ได้จะมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปเล็กน้อย ขณะเดียวกัน สำหรับฉากที่คาดการณ์การเคลื่อนไหวของตัวแบบได้ยาก เช่น กีฬาฟุตบอลและรักบี้ ช่างภาพมืออาชีพต้องปรับเปลี่ยนโฟกัสด้วยตนเองโดยใช้ MF แต่ MF ก็มีข้อจำกัดในเรื่องความแม่นยำในการจับภาพตัวแบบหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกีฬาที่มีผู้เล่นหลายคนเคลื่อนไหวเข้าและออกจากองค์ประกอบภาพอย่างรวดเร็วในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างของ AF 1:
ตัวอย่างของ AF 2:
ตัวอย่างของ AF 3:

ระบบ AF ของ Canon ที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมากมาย เป็นระบบที่ไว้ใจได้สำหรับการถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหว จำนวนจุด AF ในกล้อง EOS เพิ่มขึ้นจาก 3 จุดในตอนแรกเป็น 5, 7, 11, 45 กล้องรุ่นล่าสุด เช่น EOS 5D Mark IV และ EOS-1D X Mark II มีจุด AF มากถึง 61 จุด

 

การนำ คุณสมบัติ AI Servo AF มาใช้ในกล้อง EOS-1 (เปิดตัวในปี 1989) เป็นการปฏิวัติวงการถ่ายภาพกีฬา เพราะ Al Servo AF สามารถติดตามการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของตัวแบบและรักษาจุดโฟกัสด้วย AF โดยใช้อัลกอริทึมการโฟกัสที่คาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งมีความสามารถรักษาโฟกัสบนตัวแบบที่เคลื่อนไหว แตกต่างจากรูปแบบการถ่ายภาพแบบเดิมที่ต้องอาศัยการถ่ายภาพต่อเนื่องหลังจากจับ AF ในภาพแรก ความก้าวหน้าของระบบ AF ในกล้อง EOS นี้จึงพลิกโฉมแนวทางการถ่ายภาพของช่างภาพมืออาชีพ และช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่สื่ออารมณ์ได้หนักแน่นขึ้น

ผู้เล่นและนักกีฬาจะพัฒนาทักษะฝีมืออยู่ตลอดเวลา ดังนั้น AF จึงต้องมีความน่าเชื่อถือเพื่อสร้างความไว้วางใจให้แก่ช่างภาพมืออาชีพ ด้วยเหตุนี้ Canon จึงมุ่งมั่นพัฒนาระบบ AF ที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดซึ่งล้ำสมัยมากในขณะนั้น อาทิ จุด AF จำนวนมากขึ้นและ AF ที่ควบคุมด้วยสายตา ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกจุด AF ได้โดยการมองผ่าน EVF

 

EOS ถือกำเนิดใหม่ในฐานะกล้องระบบดิจิตอล

ในช่วงยุค 90 คือช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคของกล้องฟิล์มสู่กล้องดิจิตอล หลังจาก Kodak เปิดตัว DCS100 ซึ่งเป็นกล้องดิจิตอล SLR (DSLR) ตัวแรกของโลก ในปี 1991 ผู้ผลิตกล้อง SLR ทุกรายต่างเข้าสู่ตลาดดิจิตอลพร้อมๆ กัน Canon ก็ได้เปิดตัวกล้องซีรีย์ต่างๆ ที่พัฒนาร่วมกับ Kodak ก่อนหน้านี้ คือ EOS DCS 3 และ EOS DCS 1 ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ระบบประมวลผลแบบดิจิตอลที่เพิ่มไปยังส่วนล่างของตัวกล้องทำให้กล้องเทอะทะเกินไป และในแง่ของรูปลักษณ์ กล้องเหล่านั้นยังคงห่างไกลจากรูปลักษณ์ของกล้อง DSLR ในปัจจุบัน

 

EOS DCS 3

EOS DCS 3 (เปิดตัวในปี 1995)
EOS DCS 3 พัฒนามาจากกล้องฟิล์ม SLR รุ่น EOS-1N โดยมาพร้อมเซนเซอร์ภาพ CCD ความหนาแน่นสูง ความละเอียดประมาณ 1.3 ล้านพิกเซล และรองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสุด 12 ภาพ ที่ความเร็ว 2.7 fps

EOS D30

EOS D30 (เปิดตัวในปี 2000)
EOS D30 คือกล้อง DSLR ที่มาพร้อมกับเซนเซอร์ CMOS ขนาดใหญ่ ความละเอียดประมาณ 3.25 ล้านพิกเซล ซึ่งออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานระดับกลาง ถึงแม้จะให้ภาพที่มีคุณภาพสูงและพกพาคุณสมบัติอันหลากหลาย กล้องกลับจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยาเพียง 358,000 เยนในญี่ปุ่น (ประมาณ 3,200 ดอลลาร์สหรัฐ) เท่านั้น

 

กล้องที่กลายเป็นต้นแบบสำหรับกล้อง DSLR ในปัจจุบันคือ EOS D30 (เปิดตัวในปี 2000) ด้วยเซนเซอร์ CMOS ความละเอียดประมาณ 3.25 ล้านพิกเซลและจอ LCD กล้อง EOS D30 ออกสู่ตลาดญี่ปุ่นในราคาที่เหลือเชื่อเพียง 358,000 เยน (ประมาณ 3,200 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของกล้อง DSLR ในขณะนั้น ซึ่งอยู่ที่ราว 2 ล้านเยน (ประมาณ 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ) อยู่มาก

การนำเซนเซอร์ CMOS มาใช้เป็นการปฏิวัติวงการครั้งใหญ่ เพราะขณะนั้นกล้องแทบทุกรุ่นจะใช้เซนเซอร์ภาพ CCD นับแต่นั้นมา Canon พัฒนาและผลิตเซนเซอร์ CMOS ของตนเอง และก้าวเป็นผู้นำด้านการผลิตเซนเซอร์ CMOS ในตัวสำหรับกล้องดิจิตอล ยิ่งกว่านั้น EOS D30 ยังเป็นกล้องตัวแรกที่มีระบบประมวลผลภาพ ซึ่งใช้ในการประมวลผลภาพดิจิตอล โดยภายหลังใช้ชื่อว่า "DIGIC" และเป็นระบบประมวลภาพที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน DIGIC จึงเป็นผลพวงของการพัฒนาทางเทคโนโลยีของ Canon สู่ยุคกล้องดิจิตอลที่เริ่มขึ้นประมาณปี 1993 และกลายเป็นหัวใจสำคัญของกล้องระบบดิจิตอล

 

ส่วนประกอบของเซนเซอร์ CMOS

ในเวลานั้น Canon นำเซนเซอร์ CMOS มาใช้ในกล้อง EOS D30 ขณะที่กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์ภาพ CCD

ชิปของระบบประมวลผลภาพ DIGIC 7

Canon พัฒนา DIGIC เพื่อเป็น "ระบบประมวลภาพ" สำหรับประมวลผลภาพดิจิตอล และกลายเป็นหัวใจสำคัญของกล้องระบบดิจิตอล

 

EOS กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ให้กับกล้องดิจิตอลอย่างต่อเนื่อง และการถือกำเนิดขึ้นใหม่เป็นระบบกล้องดิจิตอล SLR เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น นักพัฒนาของ Canon สร้างดีไซน์ผลิตภัณฑ์คร่าวๆ ตามความต้องการใช้งานในอีกหลายปีข้างหน้า และพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นจากดีไซน์ดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าข้อเสนอที่ได้รับจากทีมวางแผนผลิตภัณฑ์นั้นสามารถเป็นจริงได้ด้วยเทคโนโลยีที่พวกเขาพัฒนาขึ้น นี่คือการก้าวไปอีกขั้นสู่อนาคต อันเป็นรากฐานเทคโนโลยีของ Canon

 

เทคโนโลยีเลนส์ EF ขยายศักยภาพการสื่ออารมณ์ในภาพถ่าย

การถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายที่หลากหลายด้วยระบบ EOS อาจไม่สามารถทำได้หากเราใช้เทคโนโลยีที่อยู่ในตัวกล้องเพียงอย่างเดียว ดังนั้น เทคโนโลยีที่ใช้ในเลนส์ EF จึงมีความสำคัญไม่น้อย ตัวอย่างเช่น Canon เป็นผู้ผลิตรายแรกในโลกที่นำมอเตอร์อัลตร้าโซนิคหรือ USM มาใช้ในเลนส์ EF เพื่อเป็นแอคทูเอเตอร์ในตัวสำหรับขับเคลื่อน AF เพื่อให้ผู้ใช้เพลิดเพลินไปกับการถ่ายภาพด้วยโฟกัสอัตโนมัติในเลนส์หลากหลายรุ่นที่มีขนาดและน้ำหนักต่างกันไป การมีมอเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับเลนส์แต่ละรุ่นจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เราใช้วิธีนี้กับคุณสมบัติระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) เช่นเดียวกัน โดย Canon มั่นใจเลือกใช้ระบบช่วยลดการสั่นไหวในเลนส์ เพื่อให้เลนส์แต่ละรุ่นสามารถแก้ไขปัญหาการสั่นไหวของกล้องได้อย่างเหมาะสมที่สุด

 

EF75-300mm f/4-5.6 IS USM

EF75-300mm f/4-5.6 IS USM (เปิดตัวในปี 1995)
เลนส์นี้เป็นเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง SLR ฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. รุ่นแรกที่มีคุณสมบัติป้องกันภาพสั่นไหว (IS) ระบบจะตรวจจับการสั่นไหวของกล้องโดยใช้เซนเซอร์ไจโรที่ตรวจจับการสั่นสะเทือนและเคลื่อนส่วนประกอบทางออพติคอลที่ช่วยลดการสั่นไหวเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งให้ผลของ IS ที่เทียบเท่ากับความเร็วชัตเตอร์ประมาณสองสต็อป

 

การพัฒนาเทคโนโลยีเลนส์ของ Canon ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่กลไกขับเคลื่อน AF เท่านั้น ในปี 1969 Canon ประสบความสำเร็จในการนำเลนส์ฟลูออไรต์สังเคราะห์ที่ให้ภาพสีสันสดใสและแสดงรายละเอียดได้ดีเยี่ยมมาใช้ จากที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะทำได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน Canon มุ่งมั่นพัฒนาเลนส์พิเศษชนิดอื่นๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของภาพถ่าย เช่น เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่มีพื้นผิวสัมผัสโค้งเว้าดีเยี่ยม เพื่อใช้สำหรับรวมแสงให้ตกกระทบที่จุดเดียว รวมทั้งเลนส์ UD ที่มีการหักเหของแสงและการกระจายแสงต่ำ

นับตั้งแต่ราวปี 2000 เลนส์ EF มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และเลนส์หลายรุ่นที่เพิ่มเข้ามาในกลุ่มผลิตภัณฑ์ในขณะนั้นยังคงมีวางจำหน่ายในปี 2017 นี้ เลนส์ EF มากมายใช้เทคโนโลยีการเคลือบพิเศษที่เรียกว่า Subwavelength Structure Coating (SWC) ที่ท้าทายมุมมองแบบเดิมเกี่ยวกับการเคลือบพื้นผิวเลนส์

 

EF24mm f/1.4L II USM

EF24mm f/1.4L II USM (เปิดตัวในปี 2008)
เลนส์ตัวแรกที่ใช้การเคลือบแบบ SWC ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการลดการสะท้อนแสงในระหว่างถ่ายภาพ เลนส์ที่มีคำว่า “II” จะอัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้

 

เลนส์ EF24mm f/1.4L II USM มุมกว้างและรูรับแสงกว้าง ซึ่งเปิดตัวในปี 2008 คือเลนส์ตัวแรกที่มาพร้อมเทคโนโลยี SWC การจัดเรียงโครงสร้างนาโนเป็นรูปลิ่มจำนวนมากบนผิวเลนส์เพื่อเปลี่ยนดัชนีการหักเหของแสงช่วยลดแสงแฟลร์และแสงหลอกได้มาก นี่จึงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีจาก Canon ที่สวนทางกับแนวคิดแบบเดิมๆ และเปิดประตูสู่โลกใบใหม่ของการถ่ายภาพ

 

EOS พัฒนาขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่แต่วันที่ EOS 650 ถือกำเนิดขึ้น หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของ EOS ดูที่
ฉลองครบรอบ 30 ปี ผลิตภัณฑ์ระบบ EOS (1): EOS 650 คือกล้อง EOS รุ่นแรก

หากต้องการทราบเกี่ยวกับประวัติและเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีเลนส์ EF ดูที่
[ตอนที่ 1] ยุคแห่งการเริ่มต้น – กำเนิดเมาท์เลนส์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ
[ตอนที่ 2] ยุคแห่งการเติบโต – กำเนิดยุคแห่งดิจิตอล
[ตอนที่ 3] ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านและการพัฒนา – เลนส์สำหรับกล้องความละเอียดสูง
 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา