ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด EOS R3 ยังคงครองตำแหน่งเลนส์ที่โดดเด่นที่สุด- Part

เผยโฉมคุณสมบัติ AF ของกล้อง EOS R3

2022-04-18
2
567

ด้วยเซนเซอร์ภาพ CMOS ซ้อนกันแบบรับแสงด้านหลังที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่และรองรับการอ่านสัญญาณด้วยความเร็วสูง รวมถึงระบบประมวลผลภาพ DIGIC X อันทรงพลังที่สามารถประมวลผลข้อมูลนี้ได้อย่างรวดเร็ว กล้อง EOS R3 จึงมีความเร็วสูง โดยสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ที่อัตราสูงสุดถึง 30 fps ขณะใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คุณสมบัตินี้สมบูรณ์ Canon จึงใช้ความพยายามสูงสุดในการพัฒนาประสิทธิภาพโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ของ EOS R3 ให้รับกับความเร็วของกล้อง เพื่อให้ช่างภาพแอ็คชั่นมั่นใจว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพของกล้องได้อย่างเต็มที่ ในบทความนี้ เราจะมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ AF ของกล้อง EOS R3 วิธีการทำงานของ AF และวิธีการใช้งานกัน

 

ในบทความนี้:

EOS R3 ใช้ระบบ Dual Pixel CMOS AF II ในการโฟกัสอัตโนมัติ ภายในระบบ Dual Pixel CMOS AF แต่ละพิกเซลบนเซนเซอร์ภาพ CMOS จะมีโฟโตไดโอดสองอัน ซึ่งทำให้พิกเซลทั้งหมดบนเซนเซอร์ภาพสามารถทำได้ทั้งตรวจจับแบบ Phase Difference ตามระนาบภาพและสร้างภาพถ่าย ดังนั้นจึงทำให้ได้ทั้ง AF ที่แม่นยำและภาพมีคุณภาพสูง นอกเหนือไปจากการปรับปรุงในด้านอื่นๆ แล้ว ระบบในเวอร์ชันที่สองนี้ยังเพิ่มความสามารถในการตรวจจับตัวแบบระดับสูงเข้ามาด้วยโดยอาศัยประโยชน์จากเซนเซอร์ภาพ DIGIC X อันทรงพลังและเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก

ระบบ AF มีความซับซ้อนเนื่องจากจำเป็นต้องใช้การประสานงานกันระหว่างคุณสมบัติต่างๆ เช่น การตรวจจับและการติดตามตัวแบบ ในบทความนี้ เราจะมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ AF ในแต่ละด้านกัน

พื้นที่ครอบคลุม AF และการเปลี่ยนแปลงของโหมดพื้นที่ AF

พื้นที่ครอบคลุม AF และการเปลี่ยนแปลงของโหมดพื้นที่ AF

พื้นที่ครอบคลุม AF ของกล้อง EOS R3 ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้และวิธีโฟกัสอัตโนมัติที่เลือก เลนส์ RF เกือบทุกรุ่นมีพื้นที่ครอบคลุมสูงสุด 100% × 100% หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถโฟกัสอัตโนมัติได้ทุกจุดทั่วทั้งพื้นที่ภาพ

ในกล้อง DSLR จะมีการใช้ระบบ AF ที่แตกต่างกันขณะถ่ายผ่านช่องมองภาพและถ่ายแบบ Live View ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของ AF แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกล้อง EOS R3 แบบมิเรอร์เลสใช้ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) ซึ่งจะแสดงภาพเดียวกับหน้าจอ Live View ผู้ใช้จึงสามารถคาดหวังประสิทธิภาพ AF พื้นฐานในระดับเดียวกันได้ไม่ว่าจะถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพหรือถ่ายผ่าน Live View

โหมด AF ทั่วพื้นที่: AF อัตโนมัติเต็มรูปแบบ

โหมด AF ทั่วพื้นที่ซึ่งมีพื้นที่การเลือก AF อัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดใช้กรอบ AF 1,053 (39×27)โซนซึ่งสามารถตรวจจับแบบ Phase Difference ได้ครอบคลุมกว่า 90% × 100% (แนวนอน × แนวตั้ง) ของพื้นที่ภาพทั้งหมด พื้นที่ครอบคลุมค่อนข้างหนาแน่น โดยกรอบ AF แต่ละโซนมีขนาดประมาณ 0.83 × 0.89 มม. บนเซนเซอร์ภาพ โหมดพื้นที่ AF ที่แตกต่างกันจะใช้กรอบ AF หลายโซนเพื่อให้ได้ AF ที่มีความแม่นยำสูง 

เมื่อตัวแบบถูกตรวจพบ พื้นที่ AF จะขยายขึ้นสูงสุดเป็น 100% × 100% (แนวนอน × แนวตั้ง) ของพื้นที่ภาพทั้งหมด

AF จุดเล็ก, AF จุดเดียว และโหมดขยายพื้นที่ AF สองโหมด

โหมดการทำงานของพื้นที่ AF สี่โหมดเหมือนกับกล้องในระบบ EOS R ระดับสูงรุ่นใหม่อื่นๆ ได้แก่ โหมด AF จุดเล็ก, AF จุดเดียว และโหมดขยายพื้นที่ AF โดยรอบ ในโหมด AF จุดเดียว ผู้ใช้สามารถกำหนดตำแหน่งจุด AF ความแม่นยำสูงได้ด้วยตนเองโดยการใช้ Multi-Controller ในการเลื่อนจุด AF ได้สูงสุด 81 ระดับในแนวนอนและ 59 ระดับในแนวตั้ง รวมเป็นกรอบ AF ที่สามารถเลือกได้ทั้งหมด 4779 ตำแหน่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 90% × 100% (แนวนอน × แนวตั้ง) ของพื้นที่ภาพทั้งหมด

โหมด Zone AF แบบยืดหยุ่น 1/2/3 ใหม่

กล้อง EOS รุ่นก่อนๆ มีโหมด Zone AF ซึ่งจะจำกัดพื้นที่ AF เพื่อให้ติดตามตัวแบบที่เป็นเป้าหมายได้ง่ายขึ้นด้วยจุด AF แบบเลือกอัตโนมัติ สำหรับกล้อง EOS R3 ปัจจุบัน Zone AF ได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบโหมด Zone AF แบบยืดหยุ่น ผู้ใช้สามารถกำหนดขนาดของกรอบ Zone AF แบบยืดหยุ่นได้อย่างอิสระ ตั้งแต่พื้นที่ 9 (3×3) ส่วนไปจนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 999 (37×27) ส่วน และบันทึกพื้นที่ Zone AF แบบยืดหยุ่นได้แตกต่างกันสูงสุด 3 ขนาด ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการกำหนดขนาดกรอบ Zone AF ให้เหมาะสมกับตัวแบบที่สุด


เปิดใช้งานตามค่าเริ่มต้นแล้วในขณะนี้สำหรับ การติดตามตัวแบบ, Servo AF

เนื่องจากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของความสามารถในการตรวจจับและติดตามตัวแบบของกล้อง EOS R3 ฟังก์ชันการติดตามตัวแบบ และ Servo AF จึงถูกเปิดใช้งานโดยค่าเริ่มต้นในขณะนี้ ข้อแตกต่างจากกล้อง EOS รุ่นก่อนหน้าที่ชัดเจนที่สุดคือความสามารถในการตรวจจับและติดตามตัวแบบได้ในทุกโหมด AF ดังนั้น จึงไม่มีโหมด “AF ตรวจจับใบหน้า + ติดตามตัวแบบ” อีกต่อไป แต่มีโหมด AF ทั่วพื้นที่มาแทน

ตรวจจับตัวแบบด้วยการเรียนรู้เชิงลึกและติดตามด้วย EOS iTR AF X

ตรวจจับตัวแบบด้วยการเรียนรู้เชิงลึกและติดตามด้วย EOS iTR AF X

โหมด AF ที่หลากหลายทำให้ง่ายต่อการจับโฟกัสบนตัวแบบประเภทต่างๆ กัน แต่เมื่อตัวแบบเคลื่อนที่ไปรอบเฟรม จุด/พื้นที่ AF ที่ใช้งานจำเป็นต้องติดตามตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวแบบให้ทันด้วย ซึ่งนี่เป็นส่วนที่การตรวจจับและติดตามตัวแบบมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ

ระบบ EOS iTR AF (ระบบติดตามและจดจำอัจฉริยะ) ตรวจจับและติดตามตัวแบบอัตโนมัติโดยการวิเคราะห์ข้อมูลภาพของตัวแบบ เช่น โทน สีสัน และรูปร่างของตัวแบบ และระบบ EOS iTR AF X (ฉบับภาษาอังกฤษ) ในกล้อง EOS R3 ยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อให้สามารถตรวจจับและติดตามตัวแบบในระดับสูงได้ด้วย

ตรวจจับมนุษย์ สัตว์ และยานพาหนะ

เมนู “ตัวแบบที่ต้องการตรวจจับ” ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าตัวแบบใดมีความสำคัญเป็นลำดับแรก มนุษย์ สัตว์ ยานพาหนะ หรือไม่กำหนด

ตัวเลือก “มนุษย์” จะตรวจจับดวงตา ใบหน้า ศีรษะ และลำตัวของตัวแบบที่เป็นมนุษย์ นอกเหนือไปจากอัลกอริธึมตรวจจับใบหน้าที่เป็นคุณสมบัติหนึ่งของกล้องในระบบ Canon EOS มาหลายปีแล้ว EOS R3 ยังใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจจับที่มีอยู่เดิมและเพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้ามาด้วย


ข้อควรรู้:

เมื่อเลือก “สัตว์” กล้องจะตรวจจับและติดตามทั้งสัตว์และมนุษย์ แต่จะให้ความสำคัญกับการตรวจจับสัตว์เป็นลำดับแรก
เมื่อเลือก “ยานพาหนะ” กล้องจะตรวจจับและติดตามทั้งยานพาหนะในการแข่งขันและมนุษย์ แต่จะให้ความสำคัญกับการตรวจจับยานพาหนะเป็นลำดับแรก
เมื่อเลือก “ไม่กำหนด” กล้องจะเลือกตัวแบบหลักจากวิธีจัดองค์ประกอบภาพของคุณ ตัวแบบจะไม่ถูกตรวจจับ และไม่มีการแสดงกรอบการติดตาม (กรอบสีขาว)


การตรวจจับมนุษย์: การเพิ่มประสิทธิภาพที่ช่วยในการโฟกัสสำหรับกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวซับซ้อน


การตรวจจับดวงตาและใบหน้า

ในกล้องรุ่นก่อนๆ การตรวจจับใบหน้าจะทำได้ยากในบางสถานการณ์ เช่น ใบหน้าด้านข้างเมื่อมีเงาที่ชัดเจนบนใบหน้า หรือเมื่อตัวแบบสวมหน้ากากหรือแต่งหน้าจัด สำหรับกล้อง EOS R3 มีการใช้ภาพตัวอย่างภายใต้สภาวะที่หลากหลายเพื่อฝึกฝนอัลกอริธึมที่ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก ซึ่งช่วยปรับปรุงความแม่นยำในการตรวจจับดวงตา และทำให้สามารถตรวจจับใบหน้าได้ด้วยความแม่นยำสูงแม้ในสถานการณ์ที่ตรวจจับได้ยาก 


การตรวจจับศีรษะและลำตัว

เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกได้เพิ่มความหลากหลายให้กับประเภทของตัวแบบที่ฟังก์ชันตรวจจับศีรษะสามารถตรวจจับได้ รวมถึงฉากในการแข่งขันกีฬาฤดูหนาวเมื่อตัวแบบสวมหมวกกันน็อคหรือหน้ากากสกี การตรวจจับร่างกาย (ลำตัว) ก็เป็นอีกตัวแบบหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่ซึ่งสามารถตรวจจับได้ด้วยการเรียนรู้เชิงลึกเช่นเดียวกัน

การพัฒนาความสามารถในการตรวจจับทั้งหมดนี้ทำให้การโฟกัสเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายซับซ้อน เช่น ยิมนาสติก ซึ่งอาจมีบางช่วงเวลาที่ใบหน้าหรือศีรษะของนักกีฬาถูกบดบัง ในสถานการณ์เช่นนี้ ระบบ EOS iTR AF X ในกล้อง EOS R3 จะเปลี่ยนจากการตรวจจับใบหน้ามาตรวจจับศีรษะอย่างราบรื่น หรือเปลี่ยนจากตรวจจับศีรษะมาตรวจจับลำตัว เพื่อให้แน่ใจว่าตัวแบบจะถูกติดตามอยู่เสมอ


วิดีโอ: Eye Detection AF ในกล้อง EOS R3

การเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่งของนางแบบในวิดีโอนี้ขณะเปลี่ยนท่าโพสอย่างรวดเร็วไม่เป็นปัญหาสำหรับระบบการตรวจจับและติดตามตัวแบบของกล้อง EOS R3 คุณจะเห็นว่าระบบสามารถจับและล็อคโฟกัสให้อยู่ที่ดวงตาของเธอได้อย่างเหนียวแน่นแม้ในขณะสวมหน้ากากและมีผมปิดใบหน้าเกือบทั้งหมด! เมื่อเธอหันหน้าไปด้านหลัง กรอบ AF ยังคงจับอยู่ที่เธอด้วยฟังก์ชันการตรวจจับศีรษะและลำตัว


ตัวแบบและส่วนต่างๆ ที่กล้อง EOS R3 สามารถตรวจจับได้

ตัวแบบ
ส่วนที่ตรวจจับได้
มนุษย์ ดวงตา/ ใบหน้า/ ศีรษะ/ ลำตัว
สุนัข แมว นก ดวงตา/ ใบหน้า/ ลำตัว
กีฬาแข่งรถ
(รถยนต์ มอเตอร์ไซค์)
ตัวรถ/ หมวกกันน็อค


การฝึกฝนอัลกอริธึมเรียนรู้เชิงลึกสำหรับสุนัข แมว นก…และยานพาหนะ


การตรวจจับสัตว์ด้วยอัลกอริธึมที่ได้รับการฝึกฝนด้วยภาพสุนัข แมว และนก

เมื่อ Canon กล่าวว่าฟังก์ชัน Animal Detection AF ของกล้อง EOS R3 สามารถตรวจจับสุนัข แมว และนกได้นั้น ความหมายที่แท้จริงคือมีการใช้ภาพของสุนัข แมว และนกในการฝึกฝนอัลกอริธึมตรวจจับตัวแบบ ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก ด้วยสาเหตุนี้ อัลกอริธึมจึงสามารถตรวจจับสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้ เช่น เสืออย่างเสือชีตาห์ แต่ประสบปัญหากับสายพันธุ์ที่มนุษย์อาจดูไม่ออกว่าเป็นสุนัข แมว หรือนก เช่น สุนัขขนยาวที่ดูเหมือนกับไม้ถูพื้น (ฉบับภาษาอังกฤษ) เนื่องจากมีแมว สุนัข และนกมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ระบบจึงถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ภาพสำหรับการฝึกฝนเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้ระบบสามารถตรวจจับได้ด้วยความแม่นยำสูง ความสามารถในการตรวจจับและติดตามสัตว์ได้อย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายภาพนกและสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ที่มีการเคลื่อนไหวที่คาดเดาได้ยาก


การตรวจจับยานพาหนะด้วยอัลกอริธึมที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อกีฬาแข่งรถ

ความสามารถในการตรวจจับยานพาหนะรูปแบบใหม่ของ EOS R3 เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก เนื่องจากอัลกอริธึมจดจำยานพาหนะได้รับการฝึกฝนโดยใช้ภาพกีฬาแข่งรถเป็นหลัก จึงสามารถตรวจจับรถที่ใช้ในการแข่งขันได้หลายประเภท เช่น รถยนต์ฟอร์มูลา รถยนต์ GT รถแข่งแรลลี่ มอเตอร์ไซค์ทางเรียบและทางขรุขระ แม้ว่าจะสามารถตรวจจับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน

นอกจากตัวรถแล้ว ระบบยังสามารถตรวจจับหมวกกันน็อคของผู้ขี่มอเตอร์ไซค์และรถแข่งแบบเปิดประทุนได้ด้วย

ข้อควรรู้: ก่อนจะมีระบบจดจำตัวแบบ EOS iTR AF X Canon ได้ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกอยู่แล้วในระบบวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

ฟังก์ชันเริ่ม/หยุดการติดตามแบบใหม่

การติดตามตัวแบบทำงานอย่างไร: ตัวอย่าง

ในกล้อง EOS R3 โหมดพื้นที่ AF จะทำหน้าที่ “เลือก” และล็อคตัวแบบที่คุณต้องการจับโฟกัสไว้ (“เป้าหมาย”) หากกล้องยังคงตรวจจับตัวแบบได้อยู่ คุณเพียงแค่ต้องวางกรอบ/โซน AF ไว้ที่ตำแหน่งใกล้เคียงเท่านั้น กล้องจะตรวจจับเป้าหมาย เปลี่ยนขนาดและตำแหน่งของกรอบ AF ตามความจำเป็น และเริ่มติดตามตัวแบบโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้คุณใช้สมาธิไปกับองค์ประกอบภาพ จังหวะเวลา และลักษณะด้านศิลปะอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ขณะสร้างสรรค์ภาพ

การตรวจจับตัวแบบในกล้อง EOS R3 ทำงานอย่างไร

เมื่อ EOS iTR AF X ตรวจจับตัวแบบ ระบบจะเริ่มการติดตามอัตโนมัติโดยย้ายกรอบ AF ไปยังตำแหน่งโฟกัสที่เหมาะสมที่สุดบนตัวแบบ

ตัวอย่างที่ 1: หากคุณโฟกัสที่ตัวนกโดยใช้ AF จุดเดียว ระบบจะรับรู้ว่าตัวแบบคือนก หากมองเห็นดวงตาของนก ระบบจะย้ายกรอบ AF ไปยังจุดนั้นและเริ่มติดตามตัวนก

ตัวอย่างที่ 2: หากคุณใช้ Zone AF แบบยืดหยุ่นและวางกรอบ Zone AF ไว้ที่มอเตอร์ไซค์ขณะถ่ายภาพการแข่งรถ ระบบจะรับรู้ว่ามอเตอร์ไซค์คือยานพาหนะ หากมองเห็นหมวกกันน็อคของผู้ขับขี่ได้อย่างชัดเจน ระบบจะตรวจจับได้และเลื่อนกรอบ AF ตามไป จากนั้นจึงติดตามผู้ขับขี่และมอเตอร์ไซค์จากจุดนั้น


Canon EOS R3 - ประสิทธิภาพการตรวจจับตัวแบบที่ดียิ่งขึ้น

การคำนวณ AF สูงสุดถึง 60 fps และจับโฟกัสได้เร็วถึง 0.03 วินาที

การคำนวณ AF สูงสุด 60 ครั้งต่อวินาทีและจับโฟกัสได้เร็วถึง 0.03 วินาที

ในขณะที่ระบบ EOS iTR AF X ตรวจจับและติดตามตัวแบบโดยใช้ข้อมูลภาพ Servo AF จะทำหน้าที่รักษาตัวแบบให้อยู่ในโฟกัสอย่างต่อเนื่องในทุกเฟรมที่คุณมองเห็นจากภาพตัวอย่างใน EVF หรือ Live View ของกล้อง EOS R3 ขั้นตอนนี้ทำได้โดยคาดการณ์ระยะที่ตัวแบบจะเคลื่อนที่โดยใช้ข้อมูลระยะห่างที่ได้มาในระหว่างการตรวจจับแบบ Phase Difference ตามระนาบภาพ

ปรับแต่ง Servo AF ให้เหมาะกับสถานการณ์การถ่ายภาพของคุณ

ระบบ Dual Pixel CMOS AF ความแม่นยำสูงสามารถตรวจจับแบบ Phase Difference ตามระนาบภาพได้ทุกจุดทั่วทั้งภาพ อย่างไรก็ตาม แม้ระบบจะโฟกัสที่ตัวแบบที่ใกล้ที่สุดตามค่าเริ่มต้น แต่อาจมีบางครั้งที่โฟกัสเลื่อนไปอยู่บนสิ่งกีดขวางที่เข้ามาในเฟรมภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการถ่ายต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ จึงมีตัวเลือก Servo AF 5 แบบที่ปรับแต่งมาสำหรับลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่แตกต่างกัน โดยแต่ละแบบจะมีการตั้งค่า “ความไวในการติดตาม” และ “เร่ง/ลดความเร็วในการติดตาม” ที่แตกต่างกันซึ่งคุณสามารถปรับแต่งเพิ่มขึ้นได้ จึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ กัน


คุณสมบัติของ Servo AF (การถ่ายภาพนิ่ง)

แบบ
ไอคอน
คำอธิบาย
ตัวอย่างสถานการณ์การถ่ายภาพ
แบบที่ 1 การตั้งค่าแบบอเนกประสงค์ที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตัวแบบที่เคลื่อนที่โดยทั่วไป
แบบที่ 2
ติดตามตัวแบบอย่างต่อเนื่องโดยไม่สนใจสิ่งที่อาจเป็นสิ่งกีดขวาง เทนนิส สกีแบบฟรีสไตล์
แบบที่ 3
โฟกัสทันทีที่ตัวแบบเข้ามาในจุดโฟกัสอัตโนมัติ เริ่มการแข่งขันจักรยาน สกีลงเขา
แบบที่ 4 สำหรับตัวแบบที่เพิ่มหรือลดความเร็วอย่างรวดเร็ว ฟุตบอล ยิมนาสติกลีลา แข่งรถ บาสเกตบอล
แบบ A
ติดตามอัตโนมัติโดยปรับเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบ ตัวแบบที่เคลื่อนที่โดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การถ่ายภาพที่ไม่อยู่นิ่ง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบของ AF ได้ที่:
นกโผบิน: การตั้งค่ากล้องเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพ
โปรดอย่าลืมว่าบทความใช้ข้อมูลจากกล้องรุ่นเก่า รูปแบบนั้นเหมือนกันแต่การจับโฟกัสลงบนตัวแบบครั้งแรกและการทำงานของระบบติดตามจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยในกล้อง EOS R3 อ่านต่อเพื่อหาคำตอบ!


การคำนวณ AF สูงสุด 60 ครั้งต่อวินาที หมายความว่าอย่างไร

EOS R3 สามารถถ่ายต่อเนื่องได้สูงสุด 30 fps ในโหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ การคำนวณ AF 60 ครั้งต่อวินาทีหมายความว่ากล้องสามารถทำการคำนวณเพิ่มได้หนึ่งครั้งระหว่างถ่ายภาพแต่ละครั้งแม้ขณะถ่ายที่ความเร็ว 30 fps นอกเหนือไปจากการคำนวณในแต่ละครั้งที่ชัตเตอร์ลั่น จึงทำให้สามารถติดตามตัวแบบได้แม่นยำยิ่งกว่าที่เคย

AF ของ EOS R3 เป็นระบบที่ซับซ้อนและต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของกลไกที่แตกต่างกันหลายอย่าง ซึ่งหมายความว่าการคำนวณจะมีความซับซ้อนด้วย จึงทำให้ความเร็วในการคำนวณของระบบยิ่งน่าทึ่งมากขึ้นไปอีก และเป็นความเร็วนี้เองที่ทำให้กล้อง EOS R3 มี AF ที่เร็วที่สุดในโลกที่ 0.03 วินาที*
* คำนวณจากผลการทดสอบความเร็ว AF ตามแนวทางของ CIPA (ผลที่ได้อาจแตกต่างกันไปตามสภาวะการถ่ายภาพและเลนส์ที่ใช้) ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ตรวจวัดภายใน สภาพการทดสอบ: • ความสว่าง ณ เวลาที่ตรวจวัดระยะห่าง: EV12 (อุณหภูมิปกติ, ISO 100) • โหมดการถ่ายภาพ: M • เลนส์ที่ใช้: RF24-105mm f/4-7.1 IS STM เมื่อถ่ายภาพนิ่งโดยใช้งานปุ่มชัตเตอร์แบบแมนนวล • โหมด AF: AF จุดเดียว (ตรงกลาง) • การทำงานของระบบ AF: AF ครั้งเดียว


การทำงานของระบบ AF: การเปิด/ปิดฟังก์ชันการติดตาม

ในกล้อง EOS R3 ระบบติดตามที่ใช้การตรวจจับตัวแบบนั้นใช้งานได้ง่ายดายขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม หากมีตัวแบบหรือส่วนที่สามารถตรวจจับได้หลายจุดในเฟรมภาพ กล้องอาจไม่จับโฟกัสลงบนตัวแบบที่ตั้งใจไว้ ดังที่เห็นในสถานการณ์ตัวอย่างด้านล่าง คุณอาจต้องสลับไปมาระหว่างการเปิดและปิดการติดตามตัวแบบให้บ่อยขึ้น ซึ่งคุณสามารถทำได้โดยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว


ตัวอย่างการใช้งาน: การแข่งบาสเกตบอล

ช่างภาพส่วนใหญ่มักจะให้ผู้เล่นที่เป็นตัวแบบหลักอยู่กึ่งกลางเฟรมภาพ

หากคุณใช้ Zone AF แบบยืดหยุ่น จะสามารถโฟกัสอัตโนมัติได้โดยการใช้จุด AF ภายในโซนนั้น ด้วยวิธีนี้ คุณจึงมั่นใจได้ว่า AF จะล็อคอยู่บนตัวผู้เล่นที่คุณต้องการ! หากโซนนั้นยังคงครอบคลุมลำตัวท่อนบนของผู้เล่นอยู่ โฟกัสจะอยู่บนตัวผู้เล่นโดยไม่ต้องมีการติดตาม

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อการเคลื่อนไหวและความเร็วของผู้เล่นคาดเดาได้ยากขึ้น เช่น ในช่วงก่อนที่ผู้เล่นจะทำคะแนน เขาอาจเคลื่อนที่ออกมาอยู่นอกโซน AF ในฉากเช่นนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าตัวแบบจะอยู่ในโฟกัสเสมอ ให้กดปุ่มเพื่อเปิดฟังก์ชันการติดตาม โดยค่าเริ่มต้น การเปิด/ปิดการติดตามจะอยู่ที่ปุ่ม M-Fn 2 แต่คุณสามารถกำหนดฟังก์ชันนี้ให้ปุ่มอื่นได้ด้วยเช่นกัน

 

เมื่อคุณ “เปิด” ฟังก์ชันการติดตาม ระบบ EOS iTR AF X จะติดตามตัวแบบไปทั่วทั้งเฟรมภาพ แม้ตัวแบบจะเคลื่อนที่ออกไปอยู่นอกโซน AF คุณเพียงแค่ต้องสนใจการจัดเฟรมและสิ่งที่ตัวแบบกำลังทำเท่านั้น

Eye Control AF

การทำงานของระบบ AF: การใช้ Eye Control AF

Eye Control AF เป็นคุณสมบัติหนึ่งของกล้อง EOS R3 ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก คุณสมบัตินี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยในการจับโฟกัสของ AF และใช้ร่วมกับคุณสมบัติ AF อื่นๆ เช่น การตรวจจับและติดตามตัวแบบ

A: แผง EVF
B: เซนเซอร์ Eye Control
C: ไฟ LED อินฟราเรดสำหรับตรวจจับสายตาผู้ใช้ที่สวมแว่นตา
D: ไฟ LED อินฟราเรดสำหรับตรวจจับสายตาผู้ใช้ (ตาเปล่า)

ระบบ Eye Control AF ตรวจจับสายตาได้อย่างไร

EVF มีไฟ LED อินฟราเรด ซึ่งฉายลำแสงอินฟราเรดไปที่ดวงตา เงาสะท้อนของลำแสงเหล่านี้จากกระจกตาจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อคำนวณตำแหน่งสายตาของคุณ

ฟังก์ชันการเปิด/ปิด Eye Control AF จะอยู่ที่ปุ่ม SET ตามค่าเริ่มต้น แต่คุณสามารถกำหนดฟังก์ชันนี้ให้ปุ่มอื่นๆ อีก 11 ปุ่มได้ด้วยตนเอง รวมถึงปุ่ม M-Fn หรือปุ่มถ่ายภาพเคลื่อนไหว เมื่อเปิดใช้งาน เครื่องหมายแสดง Eye Control จะปรากฏในจุดที่คุณมอง เมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง โฟกัสจะล็อคบนตัวแบบ จากนั้นจึงเริ่มวัดแสงอัตโนมัติ โฟกัสอัตโนมัติ และติดตามตัวแบบ


การทำงานของ Eye Control AF

1.

เมื่อเปิดใช้งาน Eye Control AF เครื่องหมายแสดง Eye Control (วงกลมสองวงที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน) จะปรากฏขึ้นในตำแหน่งของสายตาของคุณ เมื่อตัวแบบถูกตรวจพบ กรอบการติดตามจะปรากฏขึ้น

2.

โดยค่าเริ่มต้น เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง กรอบ AF จะเลื่อนไปยังตำแหน่งของเครื่องหมายแสดง Eye Control และ AE พร้อมทั้ง AF จะเริ่มทำงาน หากตรวจพบตัวแบบ จะแสดงกรอบ AF สีฟ้าและตัวแบบที่เป็นเป้าหมายนี้จะถูกติดตาม

3.

หากสายตาของคุณเปลี่ยนไปมองยังจุดอื่น เครื่องหมายแสดง Eye Control จะเปลี่ยนตำแหน่งด้วยเช่นกัน

4.

เมื่อตัวแบบถูกตรวจพบในจุดเดียวกันหรือใกล้กับตำแหน่งของเครื่องหมายแสดง Eye Control กรอบ AF สีฟ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งอีกครั้ง เมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงทั้งหมด การติดตามจะดำเนินต่อไปในขณะที่ชัตเตอร์ลั่น

ดังที่เห็นจากตัวอย่างด้านบน Eye Control AF จะใช้ได้ผลดีเมื่อมีตัวแบบหลายตัวในเฟรมภาพและคุณต้องการเลือกตัวแบบสำหรับการโฟกัส หากการตรวจจับและติดตามตัวแบบยังคงทำงานและเครื่องหมายแสดง Eye Control ยังอยู่ใกล้ตัวแบบเป้าหมายของคุณ กรอบ AF จะเปลี่ยนตำแหน่งไปยังตัวแบบและทำการติดตามโดยอัตโนมัติ


เคล็ดลับ: เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของกรอบ AF โดยไม่ตั้งใจ

หากคุณกังวลว่ากรอบ AF จะขยับโดยไม่ได้ตั้งใจเมื่อคุณเปลี่ยนตำแหน่งสายตา ให้กำหนดหน้าที่ในการ “ย้ายจุด AF โดย Eye Control” ให้กับปุ่มหนึ่ง เช่น ปุ่ม AF-ON แทนที่จะเคลื่อนย้ายโดยอัตโนมัติเมื่อเครื่องหมายแสดง Eye Control เปลี่ยนตำแหน่ง กรอบ AF จะไม่ขยับจนกว่าคุณจะกดปุ่มดังกล่าว


Canon EOS R3 - Eye Control AF และการติดตาม AF

พื้นที่ AF ของเลนส์ RF

สรุป: การประสานงานอันราบรื่นเพื่อการใช้งานที่ง่ายดายยิ่งขึ้น

ในบทความนี้ เราได้สำรวจคุณสมบัติ AF แบบต่างๆ ในการถ่ายภาพนิ่งของกล้อง EOS R3 และแบ่งปันวิธีการใช้งานให้คุณทราบ ระบบ AF ของกล้อง EOS R3 เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการตรวจจับแบบ Phase Difference ตามระนาบภาพเกือบทั่วทั้งเฟรมภาพ ไปจนถึงโหมดพื้นที่ AF ที่หลากหลาย ความสามารถในการตรวจจับและติดตามตัวแบบอันทรงพลังด้วยการเรียนรู้เชิงลึก หรือแม้แต่ Eye Control AF การที่กล้อง EOS R3 สามารถทำให้คุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นโดยอัตโนมัติเป็นเรื่องที่น่าทึ่งใช่หรือไม่ นอกจากความสามารถของแต่ละคุณสมบัติจะเพิ่มขึ้นแล้ว การทำงานร่วมกันที่ว่านี้ยังช่วยให้การตั้งค่าและการใช้เมนูกล้องเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้นอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถใช้สมาธิไปกับฉาก ตัวแบบ และการถ่ายภาพในช่วงเวลาสำคัญได้มากขึ้น


ข้อควรรู้: พื้นที่ครอบคลุม AF ของเลนส์ RF (ข้อมูลจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022)

ประมาณ 100%×100% เมื่อใช้การตรวจจับตัวแบบ
ประมาณ 90% (แนวนอน)×100% (แนวตั้ง) เมื่อไม่ใช้การตรวจจับตัวแบบ

RF14-35mm f/4L IS USM
RF15-35mm f/2.8L IS USM
RF24-70mm f/2.8L IS USM
RF24-105mm f/4L IS USM
RF24-105mm f/4-7.1 IS STM
RF24-240mm f/4-6.3 IS USM
RF28-70mm f/2L USM
RF70-200mm f/2.8 L IS USM
RF70-200mm f/4L IS USM
RF100-400mm f/5.6-8 IS USM
RF100-500mm f/4.5-7.1 L IS USM
RF16mm f/2.8 STM
RF35mm f/1.8 Macro IS STM
RF50mm f/1.2L USM
RF50mm f/1.8 STM
RF85mm f/1.2L USM
RF85mm f/1.2L USM DS
RF85mm f/2 Macro IS STM
RF100mm f/2.8L Macro IS USM
RF400mm f/2.8L IS USM
RF400mm f/2.8L IS USM + Extender RF1.4x/ RF2x
RF600mm f/4L IS USM
RF600mm f/4L IS USM + Extender RF1.4x/ RF2x
RF800mm f/5.6L IS USM
RF800mm f/5.6L IS USM + Extender RF1.4x
ประมาณ 90% (แนวนอน)×100% (แนวตั้ง)
RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM + Extender RF1.4x/ RF2x

ประมาณ 80%×80%
RF100-400mm f/5.6-8 IS USM + Extender RF1.4x RF600mm f/11 IS STM
RF800mm f/11 IS STM
RF800mm f/5.6L IS USM + Extender RF2x
RF1200mm f/8L IS USM + Extender RF1.4x

ประมาณ 40% (แนวนอน)×60% (แนวตั้ง)
RF100-400mm f/5.6-8 IS USM + Extender RF2x
RF600mm f/11 IS STM + Extender RF1.4x/RF2x RF800mm f/11 IS STM + Extender RF1.4x/ RF2x
RF1200mm f/8L IS USM + Extender RF2x

พื้นที่ครอบคลุม AF ของเลนส์ EF

เลนส์ EF รุ่นใหม่ที่ติดตั้งโดยใช้เมาท์อะแดปเตอร์: 
- ใช้การตรวจจับตัวแบบ: ประมาณ100% × 100% 
- ไม่ใช้การตรวจจับตัวแบบ: ประมาณ 90% (แนวนอน) × 100% (แนวตั้ง)

เลนส์ EF รุ่นอื่นส่วนมาก:
- ประมาณ 80% × 80%


หากคุณยังตัดสินใจเลือกไม่ได้ระหว่าง EOS R3 กับกล้อง Canon รุ่นอื่น บทความต่อไปนี้อาจช่วยได้:
EOS R3 กับ EOS-1D X Mark III: ควรตัดสินใจเลือกอย่างไร
EOS R3 กับ EOS R5: ควรเลือกรุ่นไหนดี

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา