ช่างภาพ 7 คนจะมาเล่าถึง: การตั้งค่าโฟกัสอัตโนมัติและโหมดขับเคลื่อนที่สลับใช้ตามฉากนั้นๆ
กล้องในระบบ EOS R ระดับสูงของ Canon มีความสามารถอันยอดเยี่ยมในการโฟกัสอัตโนมัติ (AF) และการติดตามตัวแบบ รวมทั้งฟังก์ชั่นหลายอย่างที่เปิด/ปิดใช้งานหรือปรับแต่งได้ตามต้องการ ฟังก์ชั่นเหล่านี้มีอะไรบ้าง และจะช่วยให้คุณถ่ายภาพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นได้อย่างไร เราได้สอบถามช่างภาพ 7 คนที่เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพประเภทต่างๆ และได้แบ่งปันกลเม็ดเคล็ดลับดังต่อไปนี้ (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara จากคู่มือการถ่ายภาพด้วย EOS R7 โดย Digital Camera Magazine)
ข้อมูลเบื้องต้น: การปรับแต่งการตั้งค่า AF และโหมดขับเคลื่อน
ข้อมูลเบื้องต้น: การปรับแต่งการตั้งค่า AF และโหมดขับเคลื่อน
กล้องมิเรอร์เลสระดับสูงอย่าง EOS R7 และ EOS R6 Mark II ถูกออกแบบมาให้มีความเร็ว การตรวจจับตัวแบบ และประสิทธิภาพการติดตามตัวแบบที่จำเป็นสำหรับช่างภาพที่ถ่ายภาพการเคลื่อนไหว แม้ว่าการตั้งค่ามาตรฐานมักจะใช้งานได้ดี แต่การเปลี่ยนการตั้งค่าเหล่านี้อาจช่วยให้คุณจัดการกับตัวแบบบางอย่างและฉากบางประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ก่อนจะไปเรียนรู้การตั้งค่าที่ใช้โดยช่างถ่ายภาพแนวต่างๆ ที่เราสัมภาษณ์มา ลองมาดูคำแนะนำโดยสังเขปต่อไปนี้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ข้างต้น
ฟังก์ชั่น | คำอธิบาย |
การโฟกัสอัตโนมัติ | Servo AF หรือ One-Shot AF ดี |
โหมดพื้นที่ AF | กำหนดขนาดของพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติที่ทำงานอยู่ |
การติดตามตัวแบบ | เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นนี้ กรอบการติดตามจะติดตามตัวแบบที่ตรวจจับได้เมื่อตัวแบบนั้นเคลื่อนที่ |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | ตัวแบบประเภทใดที่คุณต้องการให้กล้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในระหว่างการติดตาม หากคุณเลือก “ไม่มี” กรอบการติดตามจะไม่แสดงขึ้น และกล้องจะกำหนดตัวแบบหลักโดยอัตโนมัติจากลักษณะที่คุณจัดองค์ประกอบภาพ หมายเหตุ: กล้องรุ่น EOS R6 Mark II ขึ้นไปมีโหมด “ตรวจจับตัวแบบ - อัตโนมัติ” ที่ตรวจจับสัตว์ ยานพาหนะ และคนโดยอัตโนมัติ หากตรวจพบตัวแบบหลายอย่าง โหมดนี้จะเลือกตัวแบบหลักตามข้อมูลเชิงบริบท เช่น การจัดองค์ประกอบภาพ |
การตรวจจับดวงตา | เมื่อเปิดใช้งานโหมดนี้ กล้องจะตรวจจับดวงตาของคนและสัตว์ |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | กล้องจะสลับจุด AF ไปที่ตัวแบบอื่นได้ง่ายเพียงใด “0” หมายถึง “ตามติด” ตัวแบบเริ่มต้นมากที่สุด และ “2” หมายถึง ติดตามตัวแบบใหม่ๆ ที่พบ |
คุณลักษณะของ Servo AF | “Case” 5-6 แบบที่ช่วยให้คุณปรับแต่งลักษณะการใช้งาน Servo AF ให้เหมาะกับตัวแบบหรือสถานการณ์การถ่ายภาพนั้นๆ |
ดูตัวอย่าง AF | เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นนี้ กล้องจะทำการโฟกัสต่อเนื่อง เพื่อให้พร้อมที่จะจับโฟกัสทันทีที่คุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง คล้ายกับโหมด “AF ต่อเนื่อง” ในกล้อง EOS อื่นๆ บางรุ่น |
จำกัดพื้นที่ AF | โหมดนี้ช่วยให้คุณสามารถจำกัดพื้นที่ AF ที่มีอยู่ในเมนู Quick Control ไว้เฉพาะกับพื้นที่ที่คุณมักจะใช้งาน |
จุด AF ตามแนวภาพ | ช่วยให้คุณตั้งค่าได้ว่าจะให้จุด/พื้นที่ AF อยู่ในตำแหน่งเดิมหรือไม่เมื่อคุณสลับระหว่างการถ่ายภาพในแนวนอนกับแนวตั้ง อ่านเพิ่มเติมได้ที่: 5 การตั้งค่าพื้นฐานของกล้อง EOS R5/ EOS R6 ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการตั้งแต่ต้น |
MF Peaking | ตัวช่วยในการมองเห็นโฟกัสระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวล อ่านได้ที่: Focus Guide และ MF Peaking: ให้การโฟกัสแบบแมนนวลเป็นเรื่องง่าย |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | ปิดใช้งานเสียงลั่นชัตเตอร์ เสียงเตือน และเสียงการทำงานอื่นๆ การยิงแฟลช และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ เช่น แสงไฟช่วยปรับโฟกัส โหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์จะถูกใช้งาน |
โหมดชัตเตอร์ | ช่วยในการเลือกวิธีลั่นชัตเตอร์ (ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ชัตเตอร์กล หรือม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก) อ่านเพิ่มเติมได้ที่: โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด |
โหมดขับเคลื่อน | เลือกโหมดที่ต้องการจากโหมดถ่ายภาพเดี่ยว โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง และโหมดตั้งเวลาต่างๆ |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | ใช้งานได้ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ RAW เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นนี้ การกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งจะบันทึกภาพล่วงหน้าสูงสุด 0.5 วินาทีโดยประมาณก่อนที่คุณจะกดปุ่มชัตเตอร์ลงจนสุด |
ฉากที่ 1: ทางรถไฟ—ชัตเตอร์กลกับชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
ฉากที่ 1: รถไฟ – ชัตเตอร์กลกับชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
โดย: Yuta Murakami
ถ่ายภาพด้วยชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ในโหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง (H+)
“ใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ในฉากที่จะไม่เห็นความบิดเบี้ยวได้ชัดมากนัก”
ผมชอบที่กล้องอย่าง EOS R7 ช่วยให้ถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ได้สูงสุดถึง 30 fps ซึ่งเหมาะมากสำหรับการหยุดการเคลื่อนไหวของรถไฟหัวกระสุนและวัตถุความเร็วสูงที่คล้ายกันในตำแหน่งที่เหมาะสม แต่ความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter ก็เป็นเรื่องน่าห่วง คุณสามารถเลี่ยงปัญหานี้ได้ด้วยการเลือกใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ในตำแหน่งที่คุณหันไปทางด้านข้างของหัวรถไฟ เพราะจะเห็นความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter ได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะกับตัวแบบที่เคลื่อนที่ในแนวนอนตลอดทั้งภาพ
ภาพด้านบนถ่ายในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงด้วยชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากรูปทรงเพรียวลมของรถไฟและการจัดวางในแนวทแยงในเฟรม ความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter ใดๆ ที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจน เว้นแต่คุณจะทำการเปรียบเทียบอย่างใกล้ชิด
ฟังก์ชั่น | การตั้งค่า |
การโฟกัสอัตโนมัติ | Servo AF |
โหมดพื้นที่ AF | AF จุดเล็ก |
การติดตามตัวแบบ | เปิด |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | รถยนต์/ยานพาหนะ (กล้องที่มีการตรวจจับรถไฟ) |
การตรวจจับดวงตา | ปิด |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | ที่ตัวแบบ (1) |
คุณลักษณะของ Servo AF | Case 1 (การตั้งค่าอเนกประสงค์) |
ดูตัวอย่าง AF | ปิด |
จำกัดพื้นที่ AF | AF จุดเล็ก, AF จุดเดียว |
จุด AF ตามแนวภาพ | เหมือนกัน |
MF Peaking | ปิด |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | ปิด |
โหมดชัตเตอร์ | ชัตเตอร์กล/ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
โหมดขับเคลื่อน | การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง + |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | ปิด |
ฉากที่ 2: การบิน—การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำกับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง
ฉากที่ 2: เครื่องบิน – การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำกับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง
โดย: Charlie Furusho
การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการถ่ายภาพไฟสัญญาณป้องกันการชนที่กะพริบบนเครื่องบิน
“เลือกโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องตามความเร็วของตัวแบบ”
โดยปกติผมชอบใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำ เพราะช่วยให้มองเห็นภาพที่จะถ่ายแต่ละภาพผ่านช่องมองภาพได้ดีกว่า ความเร็วประมาณ 3 fps เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพเครื่องบินที่กำลังเคลื่อนที่ให้ออกมาดูดี
แต่ผมก็ใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสำหรับฉากบางฉาก เช่น ตอนที่ผมอยากถ่ายภาพไฟสัญญาณสีแดงป้องกันการชนที่กะพริบบนเครื่องบินเวลาถ่ายภาพตอนเย็นหรือกลางคืน หรือตอนที่ผมอยากจับภาพควันจากยางล้อเครื่องบินที่กำลังลงจอด
ฟังก์ชั่น | การตั้งค่า |
การโฟกัสอัตโนมัติ | Servo AF |
โหมดพื้นที่ AF | ขยายพื้นที่ AF |
การติดตามตัวแบบ | เปิด |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | รถยนต์/ยานพาหนะ (กล้องที่มีการตรวจจับเครื่องบิน) |
การตรวจจับดวงตา | ปิด |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | ที่ตัวแบบ (1) |
คุณลักษณะของ Servo AF | Case A |
ดูตัวอย่าง AF | ปิด |
จำกัดพื้นที่ AF | ค่ามาตรฐาน |
จุด AF ตามแนวภาพ | เหมือนกัน |
MF Peaking | ปิด |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | ปิด |
โหมดชัตเตอร์ | ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ |
โหมดขับเคลื่อน | การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง/ การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำ (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | ปิด |
ฉากที่ 3: กีฬาแข่งรถ – การเปิด/ปิดการติดตามตัวแบบ
ฉากที่ 3: กีฬาแข่งรถ – การเปิด/ปิดการติดตามตัวแบบ
ภาพโดย: Hirohiko Okugawa
เวลาถ่ายภาพรถ GT แบบแพนกล้อง ผมมักจะใช้ AF จุดเดียวและวางจุด AF ไว้ใกล้กับประตู
“การปิดการตรวจจับตัวแบบช่วยให้มองเห็นรถ GT ได้ง่ายขึ้นเมื่อถ่ายภาพแบบแพนกล้อง”
ตอนผมถ่ายด้วยกล้อง DSLR ผมมักจะใช้ AF จุดเดียวสำหรับภาพถ่ายแบบแพนกล้อง สำหรับรถแข่งฟอร์มูล่า ผมจะวางจุด AF ไว้บนหมวกกันน็อคของนักแข่ง ส่วนรถ GT ผมจะวางจุด AF ไว้ใกล้กับประตู
ผมใช้เทคนิคการโฟกัสแบบเดียวกันนี้กับกล้องมิเรอร์เลสอย่าง EOS R7 แต่ผมก็เลือกใช้การติดตามตัวแบบตามความเหมาะสม การติดตามตัวแบบมีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพรถแข่งฟอร์มูล่า เพราะจุด AF จะอยู่ที่หมวกกันน็อคของนักแข่งตลอด แต่เวลาผมถ่ายภาพรถ GT แบบแพนกล้อง การตรวจจับตัวแบบจะทำให้การติดตามรถขณะที่ผมแพนกล้องกลายเป็นเรื่องยาก เพราะจะทำให้ตำแหน่งและรูปร่างของจุด AF เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผมจึงมักจะปิดการตรวจจับตัวแบบก่อนที่จะถ่ายภาพในลักษณะนี้
ฟังก์ชั่น | การตั้งค่า |
การโฟกัสอัตโนมัติ | Servo AF |
โหมดพื้นที่ AF | AF 1 จุด |
การติดตามตัวแบบ | เปิด/ปิด (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | ยานพาหนะ |
การตรวจจับดวงตา | เปิด |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | สำคัญอย่างแรก (0) |
คุณลักษณะของ Servo AF | Case 4 (สำหรับตัวแบบที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลงกะทันหัน) |
ดูตัวอย่าง AF | ปิด |
จำกัดพื้นที่ AF | ค่ามาตรฐาน |
จุด AF ตามแนวภาพ | แยกจุด AF: พื้นที่ + จุด |
MF Peaking | ปิด |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | ปิด |
โหมดชัตเตอร์ | ชัตเตอร์กล ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ |
โหมดขับเคลื่อน | การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง + |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | ปิด |
ฉากที่ 4: สวนสัตว์/สัตว์—ดูตัวอย่าง AF และการถ่ายภาพล่วงหน้า
ฉากที่ 4: สวนสัตว์/สัตว์ – ดูตัวอย่าง AF และการถ่ายภาพล่วงหน้า
ภาพโดย: Yurika Terashima
การถ่ายภาพล่วงหน้าจะช่วยจับภาพช่วงเวลาที่คาดเดาไม่ได้สำหรับฉากต่างๆ เช่น นกที่กำลังบิน
“เปิดใช้งานการถ่ายภาพล่วงหน้าและดูตัวอย่าง AF เพื่อจับภาพช่วงเวลาที่คาดเดาไม่ได้”
การถ่ายภาพล่วงหน้าเป็นคุณสมบัติที่จะใช้งานได้เมื่อคุณเปิดใช้งานการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ RAW โดยจะบันทึกภาพล่วงหน้าได้สูงสุด 0.5 วินาทีก่อนที่คุณจะลั่นชัตเตอร์ จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในฉากที่ยากต่อการควบคุมจังหวะ
ฉันแนะนำให้ใช้ร่วมกับโหมดดูตัวอย่าง AF ซึ่งกล้องจะจับโฟกัสอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังเปิดเครื่องอยู่ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถถ่ายภาพที่อยู่ในโฟกัสในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิด
ฟังก์ชั่น | การตั้งค่า |
การโฟกัสอัตโนมัติ | Servo AF |
โหมดพื้นที่ AF | AF จุดเล็ก |
การติดตามตัวแบบ | เปิด |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | Animal-priority |
การตรวจจับดวงตา | เปิด |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | ที่ตัวแบบ (1) |
คุณลักษณะของ Servo AF | Case A |
ดูตัวอย่าง AF | เปิด/ปิด (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
จำกัดพื้นที่ AF | ค่ามาตรฐาน |
จุด AF ตามแนวภาพ | แยกจุด AF: จุด |
MF Peaking | ปิด |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | เปิด |
โหมดชัตเตอร์ | ชัตเตอร์กล |
โหมดขับเคลื่อน | การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง + |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | เปิด/ปิด (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
ฉากที่ 5: ภาพพอร์ตเทรต—โหมดชัตเตอร์เงียบ
ฉากที่ 5: ภาพพอร์ตเทรต – โหมดชัตเตอร์เงียบ
ภาพโดย: Maiko Fukui
นางแบบ: Sako Kuroiwa
“เปิดโหมดชัตเตอร์เงียบเพื่อจับภาพสีหน้าแบบทีเผลอ”
ฉันมักจะใช้โหมดชัตเตอร์เงียบในการถ่ายภาพที่ฉันถ่ายทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ และเวลาที่ฉันต้องการภาพที่แสดงสีหน้าของตัวแบบในแบบทีเผลอ ไม่มีเสียงเตือนหรือเสียงชัตเตอร์ที่ขัดช่วงเวลาสำคัญ! โหมดนี้ยังเหมาะสำหรับการถ่ายภาพกิจกรรมเงียบๆ เช่น คอนเสิร์ต ซึ่งเสียงชัตเตอร์จะรบกวนสมาธิอย่างมาก
ฟังก์ชั่น | การตั้งค่า |
การโฟกัสอัตโนมัติ | Servo AF |
โหมดพื้นที่ AF | AF ทั่วพื้นที่ |
การติดตามตัวแบบ | เปิด |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | คน |
การตรวจจับดวงตา | เปิด |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | ที่ตัวแบบ (1) |
คุณลักษณะของ Servo AF | Case A |
ดูตัวอย่าง AF | ปิด |
จำกัดพื้นที่ AF | ค่ามาตรฐาน |
จุด AF ตามแนวภาพ | เหมือนกัน |
MF Peaking | เปิด |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | เปิด/ปิด (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
โหมดชัตเตอร์ | ชัตเตอร์กล |
โหมดขับเคลื่อน | การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำ |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | ปิด |
ฉากที่ 6: การถ่ายภาพทั่วไปและแนวสตรีท—AF จุดเล็ก/โซน AF แบบยืดหยุ่น
ฉากที่ 6: การถ่ายภาพทั่วไปและแนวสตรีท – โหมด AF จุดเล็ก และโซน AF แบบยืดหยุ่น
ภาพโดย: Kaworu Kobayashi
เวลาใช้โฟกัสชัดลึกในสภาพย้อนแสง ฉันจะโฟกัสอัตโนมัติในพื้นที่กว้างๆ
“ใช้โซน AF แบบยืดหยุ่นสำหรับตัวแบบที่เคลื่อนที่และใช้โฟกัสชัดลึกในสภาพย้อนแสง”
แม้ว่าฉันมักจะใช้ AF จุดเล็กเพื่อการโฟกัสที่แม่นยำ แต่มีสถานการณ์สองแบบที่ฉันจะเปลี่ยนไปใช้โหมดโซน AF แบบยืดหยุ่น
สถานการณ์แบบแรกคือ เวลาที่มีเด็ก สัตว์ และตัวแบบอื่นๆ ที่มีการเคลื่อนไหวที่คาดเดาไม่ได้และ/หรือเล็กน้อยเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับฉากเช่นนี้ ฉันจะใช้โหมดโซน AF แบบยืดหยุ่นและการถ่ายภาพต่อเนื่อง
สถานการณ์อีกแบบคือ เวลาที่ฉันถ่ายภาพย้อนแสง การจับโฟกัสด้วย AF จุดเล็กอาจทำได้ยาก ดังนั้นฉันจึงใช้โหมดโซน AF แบบยืดหยุ่นเพื่อหาโฟกัสในพื้นที่ทั่วไป ซึ่งจะได้ผลดีเป็นพิเศษเวลาที่ฉันอยากได้ระยะชัดที่กว้าง
ฟังก์ชั่น | การตั้งค่า |
การโฟกัสอัตโนมัติ | AF ครั้งเดียว |
โหมดพื้นที่ AF | AF จุดเล็ก/โซน AF แบบยืดหยุ่น (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
การติดตามตัวแบบ | เปิด |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | คน |
การตรวจจับดวงตา | เปิด |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | ที่ตัวแบบ (1) |
คุณลักษณะของ Servo AF | Case A |
ดูตัวอย่าง AF | ปิด |
จำกัดพื้นที่ AF | ค่ามาตรฐาน |
จุด AF ตามแนวภาพ | เหมือนกัน |
MF Peaking | เปิด |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | ปิด |
โหมดชัตเตอร์ | ม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก |
โหมดขับเคลื่อน | การถ่ายภาพเดี่ยว |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | ปิด |
ฉากที่ 7: การถ่ายภาพธรรมชาติ—AF ครั้งเดียว/Servo AF
ฉากที่ 7: การถ่ายภาพธรรมชาติ – โหมด AF ครั้งเดียว และ Servo AF
ภาพโดย: Chikako Yagi
หากจุด AF ขยับไปยังส่วนต่างๆ ของตัวแบบอยู่เรื่อยๆ ให้ลองใช้ Servo AF ร่วมกับการติดตามตัวแบบ
“Servo AF เหมาะมากสำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้ของวัตถุที่เคลื่อนไหวไปตามสายลม”
ระยะชัดลึกจะตื้นมากในระหว่างการถ่ายภาพโคลสอัพ เมื่อรวมกับการเคลื่อนไหวของตัวแบบเนื่องจากแรงลม อาจทำให้จุดโฟกัสเปลี่ยนไปเรื่อยๆ วิธีแก้ปัญหาของฉันคือใช้โหมด Servo AF โดยเปิดใช้งานการติดตามตัวแบบ เพื่อให้แน่ใจว่าโฟกัสจะอยู่ที่วัตถุเมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ทำให้ได้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น
ฟังก์ชั่น | การตั้งค่า |
การโฟกัสอัตโนมัติ | โหมด AF ครั้งเดียว/ Servo AF (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
โหมดพื้นที่ AF | ขยายพื้นที่ AF |
การติดตามตัวแบบ | เปิด/ปิด (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) |
ตัวแบบที่ตรวจจับ | ไม่กำหนด |
การตรวจจับดวงตา | ปิด |
การเปลี่ยนตัวแบบที่ติดตาม | ที่ตัวแบบ (1) |
คุณลักษณะของ Servo AF | Case A |
ดูตัวอย่าง AF | ปิด |
จำกัดพื้นที่ AF | ค่ามาตรฐาน |
จุด AF ตามแนวภาพ | เหมือนกัน |
MF Peaking | เปิด |
ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ | ปิด |
โหมดชัตเตอร์ | ชัตเตอร์กล |
โหมดขับเคลื่อน | การถ่ายภาพเดี่ยว |
การถ่ายภาพล่วงหน้า | ปิด |
คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้:
เคล็ดลับการใช้ ISO อัตโนมัติ: ป้องกันตัวแบบเบลอด้วยการตั้งค่าที่ต้องรู้!
คู่มือการใช้โหมด Fv คืออะไรและใช้งานอย่างไร
นกโผบิน: การตั้งค่ากล้องเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพ
การตั้งค่ากล้อง 7 แบบที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ราบรื่นขึ้นแต่มักถูกมองข้าม
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย