ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด

2020-12-10
2
3.33 k
ในบทความนี้:

ชัตเตอร์กล ม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก และชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มมีความแตกต่างกันอย่างไร โหมด ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง +’, ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง’ และ ‘การถ่ายต่อเนื่องความเร็วต่ำ’ เหมาะที่สุดสำหรับฉากแบบใดบ้าง อ่านต่อเพื่อศึกษาวิธีการเลือกใช้โหมดที่ดีที่สุดสำหรับฉากนั้นๆ และถ่ายภาพให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น! (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

 

ชัตเตอร์ในแต่ละโหมดแตกต่างกันอย่างไร

เมื่อใดก็ตามที่ถ่ายภาพ กล้องของคุณจะควบคุมเวลาในการเปิดรับแสงโดยการเปิดและปิดชัตเตอร์ แต่คุณทราบหรือไม่ว่ามีวิธีการเปิดปิดชัตเตอร์อยู่สามวิธี

ชัตเตอร์กล: ม่านชัตเตอร์จริงจะเปิดออกสำหรับม่านชัตเตอร์ชุดแรก (เริ่มการเปิดรับแสง) และปิดสำหรับม่านชุดที่สอง (สิ้นสุดการปิดรับแสง)
ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์*: ม่านชัตเตอร์จริงจะถูกล็อคไว้ในตำแหน่งเปิด ทั้งม่านชุดแรกและชุดที่สองจะถูกควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์โดยกล้องที่อ่านพิกเซลจากเซนเซอร์ภาพ
ม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก*: ม่านชัตเตอร์จริงจะเคลื่อนไหวสำหรับม่านชุดที่สองเท่านั้น

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะการทำงานของชัตเตอร์ได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

*สำหรับกล้อง DSLR โหมดชัตเตอร์เหล่านี้สามารถใช้ได้ระหว่างการถ่ายภาพ Live View เท่านั้น


กล้อง Canon รุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีโหมดชัตเตอร์อย่างน้อยสองในสามโหมดดังกล่าว 

ข้อควรรู้:

- ในกล้องมิเรอร์เลสบางรุ่น โหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มอาจเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง เช่น 'โหมดชัตเตอร์แบบเงียบ' หรือ 'โหมด SCN แบบเงียบ' (โหมดนี้จะแตกต่างจาก 'โหมดปิดเสียง' ในกล้อง DSLR ซึ่งยังคงใช้ชัตเตอร์กลอยู่)
- ในกล้องบางรุ่น อาจใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้ในการถ่ายภาพครั้งเดียวเท่านั้น โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมในคู่มือการใช้งานของคุณ
- สำหรับกล้อง DSLR จะใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้ในการถ่ายภาพ Live View เท่านั้นและไม่รองรับการถ่ายภาพผ่าน OVF
EOS R5 และ EOS R6 เป็นกล้องมิเรอร์เลสรุ่นแรกๆ ที่มีโหมดชัตเตอร์ทั้งสามโหมดสำหรับการถ่ายภาพต่อเนื่องทั้งในระหว่างการถ่ายภาพผ่าน EVF และการถ่ายภาพ Live View 

 

โหมดขับเคลื่อนชัตเตอร์แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ชัตเตอร์กล
ข้อดี ข้อเสีย
- เสี่ยงต่อการเกิดความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter น้อยกว่า - อาจเกิดการสั่นของกล้องเนื่องจากชัตเตอร์กลสั่นสะเทือน
- ไม่ส่งผลต่อโบเก้เมื่อถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงใกล้ค่ารูรับแสงกว้างสุด - การตอบสนองของชัตเตอร์ช้ากว่าม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก/ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
ม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก
ข้อดี ข้อเสีย
- เงียบกว่าชัตเตอร์กล - โบเก้อาจได้รับผลกระทบเมื่อถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงใกล้ค่ารูรับแสงกว้างสุด
- เสี่ยงต่อการเกิดความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter น้อยกว่า - อาจได้ระดับแสงที่ไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เลนส์ยี่ห้ออื่น
- ตอบสนองได้ไวกว่าเมื่อเทียบกับชัตเตอร์กล  
ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อดี ข้อเสีย
- สามารถใช้ความเร็วสูงสุดในการถ่ายภาพต่อเนื่องได้ (เช่น สูงสุด 20 fps สำหรับกล้อง EOS R5/R6) - เสี่ยงต่อการเกิดความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter
- ถ่ายภาพแบบเงียบได้ (ไม่มีเสียงชัตเตอร์กล) - ไม่สามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำกว่า 0.5 วินาทีได้
- ไม่มีอาการกล้องสั่นจากการสั่นสะเทือนของชัตเตอร์กล  

เคล็ดลับ:
ในกล้อง EOS R5 และ EOS R6 โหมดขับเคลื่อนชัตเตอร์จะถูกตั้งค่าเริ่มต้นไว้ที่ ‘ม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก’ อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงการออกแบบทำให้แทบจะไม่เกิดการสั่นสะเทือนของชัตเตอร์กล ดังนั้น เพื่อคุณภาพของภาพสูงสุด อาจเป็นการดีกว่าหากคุณใช้ ‘ชัตเตอร์กล’ เป็นโหมดหลักและเปลี่ยนมาใช้ ‘ม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก’ หรือ ‘ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์’ ตามความเหมาะสม

วิธีลัด!
หากต้องการสลับโหมดชัตเตอร์ต่างๆ ให้รวดเร็วขึ้น ให้กำหนดปุ่มในการสลับโหมดหรือใส่ตัวเลือกเมนูใน MyMenu

 

ความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter: เพราะเหตุใดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์จึงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดเสมอไป

ภาพรถไฟที่เกิดความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter

ในโหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ พิกเซลในเซนเซอร์ภาพจะได้รับแสงทีละแถวจากด้านบนลงล่าง ซึ่งใช้เวลามากกว่า จึงอาจทำให้ตัวแบบที่มีความเร็วสูงดูบิดเบี้ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากตัวแบบนั้นกินพื้นที่จนเต็มเฟรมภาพ ในกรณีนี้ ให้เปลี่ยนมาใช้โหมดชัตเตอร์กลหรือม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรกแทน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์ Rolling Shutter ได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องแบบต่างๆ

การถ่ายทุกอย่างด้วยโหมด ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง +’ อาจดูเป็นวิธีที่ป้องกันข้อผิดพลาดได้มากที่สุด แต่ก็ไม่ได้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดหรือได้ผลดีที่สุดเสมอไป เพราะคุณอาจพลาดโอกาสในการถ่ายภาพได้หากบัฟเฟอร์ของคุณเต็ม และอาจเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายที่ต้องตรวจดูภาพต่อเนื่องนับไม่ถ้วนเพื่อเลือกภาพที่ดีที่สุด

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างวิธีการที่คุณจะสามารถใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องให้แตกต่างกัน

 

ตัวอย่างที่ 1: ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง +’ เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที

เด็กผู้หญิงที่กำลังเดิน

EOS R5/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 79 มม. Aperture-priority AE (f/4, 1/640 วินาที, EV -1.0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

โหมดที่ใช้:
- การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง +
- ม่านชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แรก
- AF ครั้งเดียว
- AF 1 จุด


ทำได้มากกว่าเพียงแค่ถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนที่เร็ว

โหมด ‘การถ่ายต่อเนื่องความเร็วสูง +’ ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ด้วยความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุดของกล้อง ซึ่งก็คือสูงสุด 20 fps (ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์) หรือ 12 fps (ชัตเตอร์กล) สำหรับกล้องอย่าง EOS R5 และ EOS R6 และสูงสุด 14 fps (ชัตเตอร์กล) สำหรับกล้อง EOS M6 Mark II นอกจากจะถ่ายตัวแบบที่เคลื่อนที่เร็วได้แล้ว โหมดนี้ยังเหมาะสำหรับการจับภาพอารมณ์บนใบหน้า ท่าทาง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีด้วย

คุณอาจคิดว่าภาพคนเดินเช่นภาพด้านบนไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องที่สูงนัก แต่ความจริงแล้ว คุณต้องใช้อย่างน้อย 10 fps จึงจะเห็นความแตกต่างที่ซ่อนอยู่ในรูปทรงของขาของตัวแบบและเงาที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งสื่อถึงอารมณ์และมีเอกลักษณ์โดดเด่น ในภาพนี้ ผมตั้งโฟกัสบนทางเท้าไว้ล่วงหน้าโดยใช้ AF 1 จุด กดปุ่มชัตเตอร์โดยใช้โหมด ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง +’ แล้วจึงเลือกภาพที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
วิธีถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงเพื่อหยุดช่วงเวลาอย่างมืออาชีพ

 

ตัวอย่างที่ 2: ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง’ สำหรับยานพาหนะในเขตเมือง

ภาพรถไฟบนทางข้ามรางรถไฟในเขตเมือง

EOS R5/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 89 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/1000 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

โหมดที่ใช้:
- การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง
- ชัตเตอร์กล
- Servo AF
- การตรวจจับใบหน้า + การติดตาม AF


เพียงพอสำหรับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ส่วนใหญ่

สำหรับกล้องอย่าง EOS R5 และ EOS R6 โหมด ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง’ จะมีความเร็วสูงสุด 6 ถึง 8 fps ซึ่งเพียงพอสำหรับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ส่วนใหญ่ รวมถึงรถไฟที่กำลังเข้าใกล้ทางข้ามทางรถไฟ

และจำนวนภาพที่น้อยลงในการถ่ายต่อเนื่องหนึ่งครั้งยังช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการประมวลผลและบันทึกภาพลงในการ์ดด้วย ซึ่งหมายความว่า กล้องของคุณจะพร้อมสำหรับการถ่ายภาพต่อเนื่องครั้งต่อไปได้เร็วขึ้น คุณจึงสามารถรับมือกับฉากที่ไม่คุ้นเคยหรือการกระทำที่ยากต่อการคาดเดาได้ง่ายขึ้น

 

ตัวอย่างที่ 3: ‘การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำ’ สำหรับเครื่องบินที่กำลังบินขึ้นหรือลงจอด

ภาพเครื่องบินกำลังบินขึ้น

EOS R5/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/3200 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

โหมดที่ใช้:
- การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำ
- ชัตเตอร์กล
- Servo AF
- Large Zone AF (แนวนอน)


ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ยาวนานขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องบัฟเฟอร์

ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องราว 3 fps อาจช้าเกินไปสำหรับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ส่วนใหญ่ แต่ความเร็วเท่านี้เหมาะสำหรับตัวแบบที่คุณจำเป็นต้องถ่ายต่อเนื่องในเวลาที่นานกว่า เช่น เครื่องบินที่กำลังบินขึ้นหรือลงจอด หากใช้ ‘การถ่ายต่อเนื่องความเร็วสูง +’ ในฉากเช่นนี้ อาจทำให้บัฟเฟอร์ของกล้องเต็มในขณะถ่ายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้การ์ดหน่วยความจำที่มีความเร็วต่ำ การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำช่วยให้คุณถ่ายภาพต่อเนื่องติดๆ กันได้จนจบเหตุการณ์โดยไม่ต้องกังวลถึงการหน่วงของกล้องเนื่องจากบัฟเฟอร์เต็ม

หากคุณเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา ขอให้สนุกกับ 3 วิธีสุดสร้างสรรค์ในการใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องของกล้อง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา