ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

สถานที่น่าสนใจในสวิตเซอร์แลนด์: 5 วิธีใช้กล้อง EOS R ให้คุ้มค่าที่สุด

2019-05-02
1
1.15 k
ในบทความนี้:

ผมขึ้นรถไฟไปเที่ยวรอบเมือง Interlaken ในสวิตเซอร์แลนด์ตอนกลางและนำกล้อง EOS R ติดตัวไปด้วย ทั้งกล้องและผม เราต่างก็ได้เห็นความงดงามของสวิตเซอร์แลนด์และถ่ายภาพมามากมาย และต่อไปนี้คือวิธีการใช้กล้อง EOS R ให้คุ้มค่าที่สุดที่ผมได้เรียนรู้มา (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara (Digital Camera Magazine)
สนับสนุนโดย: การรถไฟ Jungfrau, Rail Europe Japan, การท่องเที่ยว Interlaken

รถไฟ Jungfraubahn สีแดง

EOS R/ RF24-105mm f/4 L IS USM/ FL: 85 มม./ Flexible-priority AE(f/5.6, 1/160 วินาที, EV±0)/ ISO 2000/ WB: อัตโนมัติ

รถไฟ Jungfraubahn นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกขึ้นรถไฟสีแดงขบวนนี้ไปยังสถานีใน Jungfraujoch (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งอยู่ที่ความสูง 3,454 ม. เหนือระดับน้ำทะเลและเป็นที่รู้จักกันในฐานะจุดสูงสุดของยุโรป มีภูเขา Eiger และ Mönch อยู่ด้านหลัง ผมทั้งประหลาดใจและชอบใจที่ภาพมีสีสันชัดเจนแม้จะถ่ายภาพในสภาพแสงย้อน

 

#1: ปรับแต่งระดับอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถเปิดหรือปิดได้ด้วยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียว

คุณคงอยากมั่นใจว่าภาพที่ถ่ายนั้นตรงตามแนวนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ที่กว้างใหญ่ การแสดงระดับอิเล็กทรอนิกส์ใน EVF มีประโยชน์ในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะสามารถช่วยคุณได้แม้ในฉากจะไม่มีเส้นที่เห็นได้ชัดเจนเพื่อวัดระดับในแนวนอน

เคล็ดลับ: ปรับการตั้งค่าที่ VF info/toggle และคุณจะสามารถเปิดปิดการแสดงระดับอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยกดเพียงปุ่ม INFO เท่านั้น


วิธีการ

การปรับการตั้งค่าข้อมูลบนช่องมองภาพ/สลับหน้าจอ

บนแถบเมนู SET UP เลือก [Shooting info. Disp.] จากนั้นเลือก [VF info/toggle settings] เลือกรายการที่คุณต้องการให้แสดงบนแต่ละหน้าจอ เมื่อเสร็จแล้ว คุณจะสามารถเปลี่ยนสลับหน้าจอได้ด้วยการใช้ปุ่ม INFO

ตัวอย่างการแสดงระดับอิเล็กทรอนิกส์

ระดับอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้คุณตรวจดูได้ว่ากำลังเอียงกล้องโดยไม่รู้ตัวขณะถ่ายภาพหรือไม่ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในฉากที่ไม่มีเส้นช่วยในการวัดระดับแนวนอน แต่หากทำให้คุณเสียสมาธิ คุณก็สามารถปิดมันได้

รถไฟสีแดงที่สถานี

EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM / FL: 24 มม. / Flexible-priority AE(f/4, 1/800 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

#2: หากคุณกำลังถ่ายภาพจากยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่ ให้ตั้งค่าชดเชยแสงไว้ล่วงหน้า

การหาค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะสมที่สุดขณะถ่ายภาพจากรถไฟหรือยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนที่นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากฉากจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ทิวทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนี้คือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอยากถ่ายภาพ

นี่คือวิธีหนึ่งที่จะทำให้คุณสามารถปรับการตั้งค่าการเปิดรับแสงได้อย่างรวดเร็ว ปรับแต่งการควบคุมของคุณให้สามารถใช้การชดเชยแสงได้เมื่อหมุนวงแหวน Quick Control หรือวงแหวนควบคุมเลนส์ และคุณจะสามารถเห็นผลลัพธ์ที่ได้ทันทีใน EVF

ผมปรับแต่งให้วงแหวน Quick Control ในโหมด Av และ Tv เป็นตัวควบคุมการชดเชยแสง ในโหมด Fv วงแหวนมีไว้สำหรับเลือกพารามิเตอร์ในการวัดแสง ผมจึงตั้งให้วงแหวนควบคุมเลนส์เป็นปุ่มลัดแทนในการใช้การชดเชยแสง ภาพด้านล่างถ่ายจากบนรถไฟที่กำลังวิ่งอยู่ระหว่างยอดเขา Schynige Platte กับยอดเขา First

ภาพวิวของเทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์จากบนรถไฟ

EOS R/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 20 มม./ Flexible-priority AE (f/5.6, 1/125 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

 

#3: ใช้ Large Zone AF เพื่อให้ง่ายต่อการโฟกัสตัวแบบขนาดใหญ่

กรอบ AF ในวิธีการโฟกัสอัตโนมัติส่วนใหญ่อาจเล็กเกินไปสำหรับตัวแบบขนาดใหญ่ จึงทำให้ยากต่อการโฟกัสตัวแบบทั้งหมด 

แต่สำหรับตัวแบบเช่นนี้ วิธีการโฟกัสอัตโนมัติแบบใหม่สองวิธีของกล้อง EOS R สามารถช่วยคุณได้ ทั้ง Large Zone AF (แนวตั้ง) และ Large Zone AF (แนวนอน) มีกรอบ AF ที่ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง จึงง่ายต่อการจับโฟกัสสำหรับทั้งตัวแบบที่มีขนาดใหญ่และตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น นักกระโดดร่มร่อนสีแดงในฉากนี้ 

ตัวอย่างในโหมด Large Zone AF

ฉากนี้อาจดูธรรมดาหากขาดนักกระโดดร่มไป ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมผมจึงตัดสินใจใส่เข้ามาในภาพด้วย วิธีการโฟกัสอัตโนมัติแบบ 'Large Zone AF: แนวตั้ง' ช่วยให้มั่นใจได้ว่าตัวร่มทั้งหมดอยู่ในโฟกัส แม้จะมีการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถคาดเดาได้

ร่มร่อนสีแดงท่ามกลางหมู่อาคาร

EOS R/ RF28-70mm f/2L USM/ FL: 28 มม./ Flexible-priority AE (f/2, 1/4,000 วินาที, EV-1.0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

 

#4: ใช้หน้าจอแบบปรับหมุนได้ให้เป็นประโยชน์ในการถ่ายภาพวิวที่โดดเด่น

สถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่งล้วนมีจุดที่ "ต้องถ่ายภาพ" แต่ทำไมถึงไม่ลองถ่ายภาพสิ่งต่างๆ ในมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณเองล่ะ มันจะง่ายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนหากคุณใช้หน้าจอแบบปรับหมุนได้ เพียงแค่ปรับหน้าจอ คุณก็จะสามารถตรวจดูและปรับการจัดองค์ประกอบภาพของคุณได้ไม่ว่าคุณจะถือกล้องอยู่เหนือหัวเพื่อถ่ายภาพมุมสูงหรือเล็งกล้องจากพื้นขึ้นไปบนฟ้าเพื่อถ่ายภาพมุมต่ำ

และคุณไม่จำเป็นต้องนอนคว่ำลงเพื่อถ่ายภาพเงาสะท้อนในแอ่งน้ำอีกต่อไป นอกเสียจากว่าคุณต้องการจะทำเช่นนั้น

หน้าจอแบบปรับหมุนได้กำลังหมุน

เมื่อพลิกหน้าจอแบบปรับหมุนได้ออกมา คุณจะสามารถหมุนหน้าจอไปด้านหน้าได้ประมาณ 180° เพื่อหันเข้าหาตัวแบบ หรือหันกลับมาด้านหลังได้ 90° แกนพับมีขนาดเล็กแต่ทนทานมาก จึงช่วยให้กล้องคงความกะทัดรัดเอาไว้ได้

เงาสะท้อนของเทือกเขาแอลป์ในแอ่งน้ำ

EOS R/ RF28-70mm f/2L USM/ FL: 31 มม./ Shutter-priority AE (f/2, 1/5,000 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในแนวตั้ง แม้ถ่ายจากมุมที่ต่ำมาก

กล้อง EOS R ในแนวตั้งที่พลิกหน้าจอออกมา

เพราะสามารถพลิกหน้าจอออกมาได้ จึงง่ายต่อการมองเห็นภาพในขณะถ่ายภาพในแนวตั้ง

ภาพถนนถ่ายจากมุมต่ำในแนวตั้ง

(เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย Canon)
EOS R/ RF50mm f/1.2L USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.2, 1/25 วินาที, EV+0.7)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 

#5: ใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์และโหมดถ่ายภาพแบบเงียบในการถ่ายภาพภายในอาคาร

ไม่ต้องเสียใจไปหากเลนส์ EF ตัวโปรดของคุณยังไม่มีคุณสมบัติเทียบเท่าเลนส์ RF คุณสามารถติดเลนส์ลงไปบนกล้อง EOS R ได้และใช้คุณสมบัติต่างๆ ให้เต็มที่ได้ด้วยเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ เช่น EF16-35mm f/4L IS USM สามารถถ่ายภาพสถานที่ต่างๆ เช่น ภายในโบสถ์ ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้คู่กับคุณสมบัติถ่ายภาพแบบเงียบเพื่อรักษาบรรยากาศเงียบสงบของสถานที่

กล้อง EOS R กับเลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM และเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R

RF15-35mm f/2.8L IS USM คือ เลนส์ที่ทุกคนต่างรอคอย แต่ระหว่างที่ยังไม่เปิดตัวนั้น ผมพอใจที่สามารถใช้เลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM กับกล้อง EOS R ได้โดยใช้เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R ช่วย

การตกแต่งภายในโบสถ์

EOS R/ EF16-35mm f/4L IS USM / FL: 20 มม. / Flexible-priority AE (f/5.6, 1/125 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

 

โดยสรุป: กล้องสำหรับการท่องเที่ยวอันทรงประสิทธิภาพที่ให้คุณภาพของภาพสูงและพกพาได้สะดวก

EOS R เป็นกล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรมรุ่นแรกของ Canon ที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม (เช่น เซนเซอร์ขนาด 30.3 เมกะพิกเซล ระบบ Dual Pixel CMOS AF และระบบประมวลผลภาพ DIGIC 8 ใหม่) และใช้งานง่าย เช่น หน้าจอแบบปรับหมุนได้และความสามารถในการจับคู่กับสมาร์ทโฟนภายในบอดี้ขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา ระบบเมาท์ RF ใหม่ ก็เป็นที่กล่าวถึงอย่างมากเช่นกัน รวมทั้งการที่ระบบนี้ได้ปฏิวัติวงการถ่ายภาพไปอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผมจึงรู้สึกว่า EOS R เป็นกล้องที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กับเลนส์ซูมสารพัดประโยชน์อย่าง RF24-105mm f/4L IS USM

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้กล้อง EOS R เพื่อถ่ายรูปท่องเที่ยวได้ที่:
รีวิวประสบการณ์โดยตรง: ทำไมกล้องEOS R จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการถ่ายภาพการท่องเที่ยวของผม
รีวิวการใช้งานกล้อง EOS R: เก็บภาพความงดงามแห่งประเทศญี่ปุ่น (ฉบับภาษาอังกฤษ)
24 ชั่วโมงในโซล: 10 ภาพตระการตาที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS R (ฉบับภาษาอังกฤษ)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง EOS R ได้ที่:
จุดโฟกัส: EOS R
คอลเลคชั่น EOS R (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา