เมาท์ RF และเลนส์ RF ไม่เพียงนำจุดเด่นของระบบ EF มาใช้เท่านั้น แต่ยังนำมาพลิกโฉมเพื่อการพัฒนาไปอีกขั้นในอนาคต จุดเด่นดังกล่าวช่วยให้ระบบ EOS R และการถ่ายภาพมีข้อได้เปรียบอย่างไรบ้าง พบคำตอบได้ในบทความนี้
จาก EF ถึง RF: ความสำคัญของเลนส์ RF
เลนส์ EF ตัวแรกเปิดตัวเมื่อ 31 ปีก่อนในปี 1987 ลักษณะเฉพาะของเลนส์ EF ที่มีระบบเมาท์ขนาดใหญ่แบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบกลายเป็นสัญลักษณ์ของ Canon และอาจกล่าวได้ว่าคุณภาพของเลนส์ EF ได้กลายเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับช่างภาพทั่วโลกนับตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์มอะนาล็อกจวบจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเวลาผ่านมา 30 ปีจนถึงปี 2018 ในยุคนี้ กล้องมิเรอร์เลสที่เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้เป็นจริงแล้วในขณะนี้ อีกทั้งยังมาพร้อมกับระบบเมาท์ RF ใหม่ ที่ออกแบบมาให้พร้อมสำหรับการใช้งานในอีก 30 ปีข้างหน้า
แม้ว่าระบบเมาท์ RF จะรวบรวมคุณสมบัติที่ดีที่สุดของระบบเลนส์ EF ไว้ อาทิ เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่และระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ แต่ระบบนี้ก็มีข้อดีเฉพาะตัวด้วยเช่นกัน เลนส์ RF ไม่เพียงคงไว้ซึ่งคุณภาพอันเป็นตัวอย่างของ Canon เท่านั้น แต่ยังได้รับการพลิกโฉมให้มีฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
1: การสื่อสารที่ดียิ่งขึ้นระหว่างเลนส์กับกล้อง
ขาเชื่อมต่อเมาท์ 12 ขา ที่ไม่ได้มีดีแค่ตัวเลขเท่านั้น
เมาท์ RF: การเชื่อมต่อ 12 ขา
เมาท์ EF: การเชื่อมต่อ 8 ขา
เมาท์ RF มีขาเชื่อมต่อ 12 ขา มากกว่า 8 ขาในเลนส์ EF และยังมาพร้อมโปรโตคอลการส่งสัญญาณที่พัฒนาดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วและปริมาณการส่งข้อมูลระหว่างตัวกล้องกับเลนส์ เมาท์จึงมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารมากพอสำหรับความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Canon ได้สร้างเมาท์ที่รองรับอนาคตไว้แล้ว
Digital Lens Optimizer (DLO) คือคุณสมบัติหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากเมาท์แบบใหม่อย่างน้อย 2 ทางด้วยกันคือ
1. ข้อมูลการแก้ไขเลนส์ DLO สามารถจัดเก็บไว้ในตัวเลนส์ได้แล้วในขณะนี้ เราสามารถส่งข้อมูลนี้ไปยังกล้องได้ทันทีเมื่อใส่เลนส์ RF โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดและลงทะเบียนข้อมูลการแก้ไขเลนส์ด้วยตนเองเมื่อใช้เลนส์ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่
2. การสื่อสารระหว่างเลนส์กับกล้องที่รวดเร็วขึ้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ DLO ตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้ DLO ระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลต่อความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องหรือจำนวนภาพ
2: เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาดใหญ่
เลนส์ RF รุ่นบุกเบิก 3 ใน 4 รุ่นมีค่า f/2.0 ขึ้นไป เป็นไปได้อย่างไร
เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของเมาท์ RF คือ 54 มม. ซึ่งบังเอิญเป็นขนาดที่เท่ากันกับเมาท์ EF นักพัฒนาของ Canon ต้องการสร้างระบบเมาท์ที่ให้คุณภาพของภาพถ่ายที่ยอดเยี่ยมและพกพาความสามารถในการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น และเห็นได้ชัดว่านักพัฒนาพบว่าขนาด 54 มม. นั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
โดยทั่วไป เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ที่ใหญ่ขึ้นช่วยให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางรูรับแสงกว้่างขึ้น แม้ว่าเมาท์ RF จะมีขนาดเท่ากับเมาท์ EF แต่ดีไซน์ใหม่ช่วยให้มีอิสระในการออกแบบด้านออพติคอลมากขึ้น จึงทำให้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดใหญ่ขึ้นในกลุ่มเลนส์ RF เป็นไปได้
เลนส์ RF ที่มีรูรับแสงกว้าง
3: ระยะห่างจากท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์ที่สั้น
ซึ่งบ่งบอกถึงระยะแบ็คโฟกัสที่สั้นเช่นกัน ว่าแต่มีข้อดีอะไรบ้าง?
เมื่อตัดพื้นที่ที่เป็นกระจกออกไป ระยะห่างระหว่างเมาท์ถึงเซ็นเซอร์ภาพ (เช่น ระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์) จะสั้นลง
ระยะแบ็คโฟกัสที่สั้น: ระยะห่างระหว่างชิ้นเลนส์หลังสุดกับเซ็นเซอร์ภาพ
ระยะโฟกัสจากท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์ (ระยะแบ็คโฟกัสจากท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์): ระยะห่างระหว่างเมาท์กับเซ็นเซอร์ภาพ
ในกล้อง EOS R และ EOS RP ส่วนท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์มีระยะห่างเพียง 20 มม. ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระยะห่างในกล้อง DSLR แม้จะได้พิจารณาถึงความจำเป็นในการรักษาดีไซน์ที่กระชับและคงทนแข็งแรงก่อนหน้าแล้วก็ตาม
ระยะห่างจากท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์ที่สั้นลงหมายความว่า สามารถวางชิ้นเลนส์หลังสุดไว้ใกล้กับเซ็นเซอร์ได้มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือระยะแบ็คโฟกัส (ระยะห่างระหว่างชิ้นเลนส์หลังสุดกับเซ็นเซอร์ภาพ) จะสั้นลงนั่นเอง ซึ่งไม่เพียงทำให้ตัวกล้องกะทัดรัดขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้การออกแบบเลนส์มีความยืดหยุ่นสูงขึ้นด้วย และสิ่งที่ทำด้วยเลนส์ EF ได้ยากก็สามารถทำได้แล้วในตอนนี้
ความแตกต่างของแบ็คโฟกัสระหว่างกล้องที่ใช้เมาท์ RF กับ EF
EOS R + RF24-105mm f/4L IS USM
EOS 5D Mark IV + EF24-105mm f/4L IS II USM
4: Dual Sensing IS และ Hybrid IS
ความสามารถของระบบป้องกันภาพสั่นไหวที่ทรงพลังให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) ในเลนส์แบบเดิมมีเซ็นเซอร์ไจโรในตัวเลนส์ที่คอยตรวจจับและแก้ไขการสั่นของกล้อง และ Dual Sensing IS ได้นำระบบนี้มารวมไว้ รวมทั้งใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ภาพเพื่อตรวจจับการสั่นของกล้องซึ่งระบบ IS แบบเดิมตรวจจับได้ยาก ผลที่ได้คือ ระบบป้องกันภาพสั่นไหวที่ดีขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น
นอกเหนือจาก Dual Sensing IS แล้ว RF35mm f/1.8 Macro IS STM ยังมี Hybrid IS ซึ่งเป็นระบบที่มีมายาวนาน โดย Hybrid IS ไม่เพียงแก้ไขการสั่นไหวของกล้องแบบมุมองศาเดิมที่เกิดจากการหมุนกล้องและเปลี่ยนมุมกล้องเท่านั้น แต่ยังแก้ไขการสั่นไหวของกล้องในแนวดิ่ง ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของกล้องในแนวขนาน เช่น การแพนกล้อง อีกด้วย
Dual Sensing IS
การส่งข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้นของเมาท์ RF ช่วยให้ Dual Sensing IS มีความแม่นยำยิ่งขึ้นกว่าในกล้องซีรีย์ EOS M
A) การสั่นไหวของกล้องแบบมุมองศา
B) การสั่นไหวของกล้องในแนวดิ่ง
C) ระบบ IS
D) ไมโครโปรเซสเซอร์ในเลนส์
E) เซ็นเซอร์จับความเร่ง
F) เซ็นเซอร์ไจโรที่ตรวจจับการสั่นสะเทือน
Hybrid IS
เซ็นเซอร์ไจโรที่ตรวจจับการสั่นสะเทือนและเซ็นเซอร์จับความเร่งตรวจจับและแก้ไขการสั่นของกล้องในแนวดิ่ง
5: วงแหวนควบคุม
ควบคุมการตั้งค่ากล้องด้วยเลนส์ของคุณ
นอกจากวงแหวนโฟกัสและวงแหวนซูมแล้ว เลนส์ RF ยังมาพร้อมวงแหวนควบคุม วงแหวนนี้ทำหน้าที่เหมือนวงแหวนควบคุมรูรับแสงในเลนส์โฟกัสแบบแมนนวล คุณจึงสามารถควบคุมการตั้งค่าการเปิดรับแสงที่กำหนดได้ง่ายๆ เพียงแค่หมุนวงแหวน ซึ่งทำได้โดยไปที่แท็บฟังก์ชั่นของกล้องในเมนู จากนั้นเลือก “ปรับแต่งวงแหวน”
เราสามารถปรับแต่งวงแหวนควบคุมเพื่อควบคุมการตั้งค่าการเปิดรับแสงต่างๆ อาทิ รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ความไวแสง ISO และการชดเชยแสงได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงแหวนควบคุมและวิธีที่วงแหวนทำให้ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นในบทความ:
3 คุณสมบัติของกล้อง EOS R ที่จะเปลี่ยนวิธีการถ่ายภาพของคุณ
วงแหวนควบคุมในเลนส์ RF และเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R คือคุณสมบัติหนึ่งที่ได้รับเสียงชื่อชมจากช่างภาพมากมาย สำหรับตัวอย่างการใช้งานจากช่างภาพคนอื่นๆ โปรดดูบทความต่อไปนี้
EOS R: เหินตัวผ่านม่านหมอก หยาดเหงื่อ รอยยิ้ม และหยดน้ำตา
24 ชั่วโมงในโซล: 10 ภาพตระการตาที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS R (ฉบับภาษาอังกฤษ)
รีวิวประสบการณ์โดยตรง: ทำไมกล้องEOS R จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการถ่ายภาพการท่องเที่ยวของผม
6: ใส่ใจต่อคุณภาพของภาพเป็นที่สุด
ใช้ประโยชน์สูงสุดจากเลนส์ RF
เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาดใหญ่ (ดังที่กล่าวไว้ในข้อ 2) และแบ็คโฟกัสที่สั้น (ในข้อ 3) ช่วยให้สามารถกำหนดเลนส์ RF เพื่อคุณภาพของภาพถ่ายที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น สามารถวางชิ้นเลนส์ขนาดใหญ่ไว้ใกล้กับเซ็นเซอร์ภาพมากๆ และยังช่วยให้ภาพทั้งภาพคมชัดยิ่งขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ เลนส์ยังรวมการเคลือบแบบพิเศษไว้ อาทิ Subwavelength Structure Coating (SWC) (ฉบับภาษาอังกฤษ) และ Air Sphere Coating (ASC) (ฉบับภาษาอังกฤษ) เพื่อช่วยลดแสงแฟลร์และแสงหลอก
สำหรับการจับคู่ที่เหมาะกับเลนส์ RF ความละเอียดสูงนั้น ได้มีการปรับปรุงค่าความคมชัดเริ่มต้นในการตั้งค่าละเอียดสำหรับรูปแบบภาพ ไว้เช่นกัน นั่นคือ ค่าเริ่มต้นที่ “4” ในกล้อง EOS 5D Mark IV และค่าเริ่มต้นที่ “2” ในกล้อง EOS R และ EOS RP
EOS R/ RF28-70mm f/2L USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/14, 1/320 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
การเคลือบเลนส์แบบพิเศษไม่ทำให้เกิดแสงหลอกในภาพถ่ายย้อนแสง
ในงานเปิดตัวกล้อง EOS RP นั้น Canon ยังเปิดเผยว่าจะมีการเปิดตัวเลนส์ RF เพิ่มอีก 6 รุ่นภายในครึ่งหลังของปี 2019 ดูข้อมูลเบื้องต้นได้ที่:
กล้อง EOS RP ใหม่จาก Canon: ออกเดินทางไปกับกล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรมของคุณได้แล้ววันนี้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเลนส์ RF รุ่นบุกเบิกทั้ง 4 รุ่นได้ใน:
ขยายขีดความสามารถในการถ่ายภาพของคุณด้วยเลนส์ RF รูปแบบใหม่ทั้งหมด
หากไม่แน่ใจว่าเลนส์ RF แบบใดเหมาะกับคุณ ดูอินโฟกราฟิกได้ที่นี่:
เลนส์ RF: แบบไหนเหมาะกับฉัน (ฉบับภาษาอังกฤษ)
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย