RF50mm f/1.8 STM กับ RF50mm f/1.2L USM แตกต่างกันอย่างไร
หาคำตอบว่าเลนส์เดี่ยว 50 มม. คืออะไรและคุณสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันเหตุผลและแนะนำเลนส์ RF 50 มม. สองรุ่น ได้แก่ RF50mm f/1.8 STM และ RF50mm f/1.2L USM
ข้อมูลเบื้องต้น: สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเลนส์เดี่ยว 50 มม.
ข้อมูลเบื้องต้น: สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเลนส์เดี่ยว 50 มม.
EOS R6 + RF50mm f/1.2L USM ที่ f/1.2, 1/1600 วินาที, ISO 200
1. เปอร์สเปคทีฟเป็นธรรมชาติ จับภาพสิ่งที่ตาเห็นได้ดียิ่งขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าเลนส์ 50 มม. มีความบิดเบี้ยวที่มองเห็นได้น้อยที่สุด จึงจับภาพมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เป็นธรรมชาติได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ตาของมนุษย์มองเห็นเป็นอย่างมาก หมดกังวลว่าสิ่งที่อยู่ตรงมุมภาพจะดูยืดขยายอย่างผิดปกติ เหมือนที่คุณอาจเคยพบเวลาถ่ายเซลฟี่ด้วยโทรศัพท์มือถือ คุณสมบัตินี้ช่วยให้เลนส์นี้ใช้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ ไม่ว่าจะถ่ายภาพแบบโคลสอัพหรือจากระยะไกล
EOS R5 + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/16, 1/2 วินาที, ISO 12800
2. จัดองค์ประกอบภาพได้ง่าย: จัดเฟรมฉากได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่คุณเห็น
EOS R3 + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/1.8, 1/60 วินาที, ISO 12800
เมื่อคุณมองไปเบื้องหน้า ขอบเขตการมองเห็นตรงกลางของคุณจะอยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 60 องศา มุมรับภาพ 39.6 องศาในเลนส์ 50 มม. จึงแคบกว่าเล็กน้อย แต่ก็เพียงพอที่จะตัดสิ่งรบกวนความสนใจออกไปจากเฟรมได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งสร้างองค์ประกอบภาพของฉากที่คุณชื่นชอบให้ดูสะดุดตา
(ในความเป็นจริง มุมรับภาพสามารถวัดได้ทั้งแนวตั้งและแนวทแยงมุมเช่นกัน แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราจึงใช้มุมรับภาพในแนวนอนเป็นตัวอย่าง)
จัดเฟรมภาพพอร์ตเทรตแบบเต็มตัวจากระยะห่างที่ไม่รบกวนตัวแบบ
EOS R5 + RF50mm f/1.2L USM ที่ f/1.2, 1/160 วินาที, ISO 640
ภาพตัวอย่างถ่ายด้วยเลนส์ 50 มม.
คุณอาจสนใจอ่านบทความต่อไปนี้
ภาพพอร์ตเทรตระยะ 50 มม. ในสไตล์เฉพาะตัว: การสร้างสรรค์ภาพแห่งความทรงจำ
EF50mm f/1.8 STM: รีวิวพร้อมเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประโยชน์
เลนส์เดี่ยว RF 50 มม. ทั้งสองรุ่นของ Canon
เลนส์เดี่ยว RF 50 มม. ทั้งสองรุ่นของ Canon
Canon มีเลนส์เดี่ยว 50 มม. สองรุ่นที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ซึ่งทำให้ได้โบเก้ที่สวยงาม รุ่นหนึ่งคือ RF50mm f/1.8 STM เลนส์ 50 มม. ขนาดกะทัดรัดและราคาย่อมเยา อีกรุ่นหนึ่งคือเลนส์ RF50mm f/1.2L USM ระดับมืออาชีพซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มช่างภาพมือโปรเนื่องจากมีความน่าเชื่อถือและรูรับแสงใหญ่มาก
ตารางนี้แสดงข้อแตกต่างหลักๆ ระหว่างเลนส์ทั้งสองรุ่น เลื่อนลงเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อแตกต่างหลักๆ
RF50mm f/1.8 STM | RF50mm f/1.2L USM | |
ขนาด | เล็กกะทัดรัด | ใหญ่กว่า |
ขนาด (โดยประมาณ) | 69 x 40 มม. | 89.8 x 108 มม. |
น้ำหนัก (โดยประมาณ) | ประมาณ 160 กรัม | ประมาณ 950 กรัม |
รูรับแสงกว้างสุด | f/1.8 | f/1.2 |
ซีลป้องกันสภาพอากาศ | ไม่มี | มี |
คุณภาพ | มาตรฐาน | คุณภาพระดับมืออาชีพ |
คุณอาจสนใจอ่านบทความต่อไปนี้
RF50mm f/1.8 STM หรือ EF50mm f/1.8 STM: 6 ข้อเปรียบเทียบสำคัญ
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF50mm f/1.2L USM ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและภาพแนวสตรีท
1. โบเก้
EOS R5 + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/1.8, 1/125 วินาที, ISO 200
เลนส์ทั้งสองถือเป็น “เลนส์ความไวสูง” เนื่องจากมีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ ซึ่งมีประโยชน์สองประการ คือ
1. ช่วยให้คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงและ/หรือความไวแสง ISO ต่ำในสภาวะแสงน้อยได้ ซึ่งจะทำให้ถ่ายภาพได้คมชัดยิ่งขึ้น
2. สร้างโบเก้สวยงามที่จะทำให้แบ็คกราวด์และ/หรือโฟร์กราวด์ดูเบลอ คุณสามารถใช้คุณสมบัตินี้เพื่อทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นหรือทำให้ภาพดูนุ่มนวลชวนฝันก็ย่อมได้!
RF50mm f/1.2L USM เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด
RF50mm f/1.8 STM เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด
RF50mm f/1.2L USM มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่กว่า (f/1.2) ซึ่งทำให้ได้โบเก้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
การเปรียบเทียบเมื่อใช้งานจริง: เลนส์ต่างกัน คุณภาพโบเก้ย่อมต่างกัน
ไม่ได้หมายความว่าเลนส์ทั้งสองจะให้คุณภาพโบเก้ในระดับเดียวกันเมื่อใช้ค่า f/1.8 ต่อไปนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อลดรูรับแสงของ RF50mm f/1.2L USM ลงเหลือ f/1.8
RF50mm f/1.2L USM ที่ f/1.8
RF50mm f/1.8 STM ที่ f/1.8
ภาพโคลสอัพ
โบเก้เมื่อใช้เลนส์ L จะดูกลมกลืนและนุ่มนวลกว่า ความทุ่มเทอย่างมากในด้านวิศวกรรมทำให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพโบเก้จะตอบโจทย์ความต้องการของช่างภาพมืออาชีพได้
ข้อแตกต่างที่ 2: ผลกระทบต่อประสิทธิภาพของโบเก้
2. ประสิทธิภาพ AF
EOS R6 + RF50mm f/1.2L USM ที่ f/1.2, 1/160 วินาที, ISO 3200
ยิ่งรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งโฟกัสได้ง่ายขึ้นแม้อยู่ในสภาวะที่ท้าทาย ตัวอย่างหนึ่งคือสุนัขสีดำตัวนี้ในเวลากลางคืนซึ่งมีความเปรียบต่างน้อย รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ๆ จะเปิดรับแสงให้เข้าถึงกล้องได้มากกว่า ยิ่งมีแสงเข้ามาก ก็ยิ่งมีข้อมูลมากสำหรับระบบโฟกัสอัตโนมัติ และทำให้โฟกัสได้แม่นยำมากขึ้น!
ข้อแตกต่างที่ 3: ซีลป้องกันสภาพอากาศและความทนทาน
3. ซีลป้องกันสภาพอากาศและความทนทาน
เช่นเดียวกับเลนส์ซีรีย์ L รุ่นอื่นๆ RF50mm f/1.2L USM มีดีไซน์ป้องกันฝุ่นและหยดน้ำซึ่งจะป้องกันฝุ่นละอองและความชื้นไม่ให้เข้ามาถึงเลนส์ ทำให้เลนส์เชื่อถือได้มากขึ้นและทนทานยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายภาพในสภาพอากาศที่รุนแรงหรือคาดเดาไม่ได้
นอกจากนี้ ยังมีการเคลือบฟลูออรีนป้องกันน้ำมันและสิ่งสกปรกบนพื้นผิวด้านหน้าและด้านหลังเลนส์เพื่อให้ขจัดรอยนิ้วมือและรอยเปื้อนได้ง่ายขึ้น
4. คุณภาพของภาพ
เลนส์ทุกรุ่นมีปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของภาพ แต่ปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ ในระดับที่ต่างกันบน RF50mm f/1.2L USM และ RF50mm f/1.8 STM ดังนี้
RF50mm f/1.8 STM | RF50mm f/1.2L USM |
A: เลนส์แก้ความคลาด PMO |
A: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม B: ชิ้นเลนส์ UD |
|
|
- Super Spectra Coating - รูปทรงของชิ้นเลนส์ที่ปรับให้เหมาะสมที่สุด |
Air Sphere Coating |
|
|
เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม PMo (ขึ้นรูปด้วยพลาสติก) | - เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม 2 ชิ้น - เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม GMo (ขึ้นรูปด้วยแก้ว) - เลนส์ UD |
RF50mm f/1.2L USM เป็นเลนส์ระดับมืออาชีพซึ่งใช้กระจกแบบพิเศษยิ่งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้คุณภาพของภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ถ่ายภาพในสภาวะที่ท้าทาย เช่น มีดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมภาพ
แสงหลอกและแสงแฟลร์คืออะไร ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #4: “แสงหลอก” และ “แสงแฟลร์” คืออะไร
การเปรียบเทียบเมื่อใช้งานจริง: ประสิทธิภาพการทำงานเมื่อมีแสงจ้าในเฟรมภาพ
RF50mm f/1.2L USM ที่ f/16, 8 วินาที, ISO 100
RF50mm f/1.8 STM ที่ f/16, 8 วินาที, ISO 100
ไม่มีแสงหลอกให้เห็นในภาพนี้เลย
เห็นแสงหลอกเป็นรอยเปื้อนสีฟ้า
ข้อควรรู้: แสงหลอกและแสงแฟลร์มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างจ้าอยู่ในเฟรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมที่แสงผ่านเข้ามาในเลนส์ด้วย
ข้อแตกต่างที่ 5: ปุ่มควบคุมและสวิตช์ต่างๆ
5. ปุ่มควบคุมและสวิตช์ต่างๆ
เลนส์ RF50mm f/1.8 STM มีการออกแบบที่เรียบง่ายมาก โดยมีวงแหวนเพียงวงเดียวและสวิตช์ควบคุม/โฟกัสอันเดียว สวิตช์จะใช้เปลี่ยนฟังก์ชั่นของวงแหวน
เลนส์ RF50mm f/1.2L USM มีวงแหวนสองวงและสวิตช์สองอัน คือ
- วงแหวนโฟกัส
- วงแหวนควบคุม
- สวิตช์ AF/MF
- สวิตช์จำกัดโฟกัส
เพียงแค่เลื่อนสวิตช์ครั้งเดียว ก็สามารถสลับใช้โฟกัสแบบแมนนวลได้ สวิตช์จำกัดโฟกัสจะช่วยให้ควบคุมระยะโฟกัสได้มากขึ้น
ข้อแตกต่างที่ 6: ระยะโฟกัสใกล้สุด
6. การถ่ายภาพโคลสอัพ
เลนส์ RF50mm f/1.8 STM มีระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นกว่า (30 ซม.) เมื่อเทียบกับเลนส์ RF50mm f/1.2L USM (40 ซม.) จึงโฟกัสตัวแบบที่อยู่ใกล้ขึ้นได้ ทั้งสองภาพด้านล่างถ่ายที่ระยะ 50 มม. และแสดงให้เห็นว่าระยะโฟกัสส่งผลต่อภาพถ่ายของคุณอย่างไร ภาพโคลสอัพภาพแรกถ่ายได้ด้วยเลนส์ RF50mm f/1.8 STM เท่านั้น
ระยะโฟกัส 30 ซม.
ระยะโฟกัส 40 ซม.
ในทั้งสองภาพ ขอบเขตการมองเห็นของเลนส์ยังคงเท่าเดิม แต่ตัวแบบจะกินพื้นที่ในเฟรมมากขึ้นเมื่อเลนส์เข้าไปใกล้ตัวแบบ ดังที่เห็นได้จากตัวอย่างที่ถ่ายด้วยระยะโฟกัส 30 ซม. ความสามารถในการโฟกัสภาพโคลสอัพจะมีความสำคัญเมื่อถ่ายภาพอาหาร วัตถุชิ้นเล็ก หรือรายละเอียดต่างๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ฉันจะได้ภาพแบบไหนหากถ่ายด้วยกำลังขยาย 0.25 หรือ 0.5 เท่า มีเลนส์
ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ: RF50mm f/1.8 STM กับ RF50mm f/1.2L USM
ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ: RF50mm f/1.8 STM กับ RF50mm f/1.2L USM
RF50mm f/1.8 STM | RF50mm f/1.2L USM | |
ขนาด | 69.2 x 40.5 มม. | 89.8 x 108 มม. |
น้ำหนัก | 160 กรัม | 950 กรัม |
รูรับแสงกว้างสุด | f/1.8 | f/1.2 |
รูรับแสงแคบสุด | f/22 | f/16 |
ม่านรูรับแสง | 7 (กลีบ) | 10 (กลีบ) |
ระยะโฟกัสใกล้สุด | 30 ซม. | 40 ซม. |
อัตรากำลังขยายสูงสุด | 0.25 เท่า | 0.19 เท่า |
จำนวนชิ้นเลนส์และกลุ่มเลนส์ | 6 ชิ้นเลนส์ใน 5 กลุ่ม | 15 ชิ้นเลนส์ใน 9 กลุ่ม |
เลนส์พิเศษ | เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม PMo 1 ชิ้น | เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม 2 ชิ้น เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม GMo 1 ชิ้น เลนส์ UD |
การเคลือบแบบพิเศษ | Super Spectra Coating | การเคลือบฟลูออรีน การเคลือบแบบ ASC (Air Sphere Coating) |
สวิตช์และปุ่มควบคุมต่างๆ | วงแหวนโฟกัส/ควบคุมรวมกัน สวิตช์ควบคุม/โฟกัส |
วงแหวนควบคุม วงแหวนโฟกัส สวิตช์จำกัดโฟกัส สวิตช์ AF/MF |
ระบบป้องกันภาพสั่นไหว | ไม่มี | ไม่มี |
วัสดุของเมาท์ | โลหะ | โลหะ |
การป้องกันฝุ่นและหยดน้ำ | ไม่มี | มี |
ขนาดของฟิลเตอร์ | 43 มม. | 77 มม. |
คุณจะเลือกเลนส์รุ่นไหน
หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการตัดสินใจเลือกซื้อเลนส์ตัวใหม่ อ่านได้ที่
เลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูม: ควรซื้อแบบไหนดี
10 แนวคิดที่คุณควรทราบก่อนซื้อเลนส์ตัวที่สอง