ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด บทวิจารณ์และการเปรียบเทียบกล้อง EOS R และเลนส์ RF- Part4

ทำไมกล้อง EOS R5 ถึงเป็นกล้องในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ของผม

2020-10-01
5
1.48 k
ในบทความนี้:

Toshiki Nakanishi ช่างภาพทิวทัศน์ธรรมชาติได้ทดลองใช้กล้อง EOS R5 และพบว่านี่คือจุดเปลี่ยน เขาจะมาเล่าให้ฟังว่ากล้องรุ่นนี้ช่วยยกระดับการถ่ายภาพของเขาขึ้นไปอีกขั้นได้อย่างไร (เรื่องโดย: Toshiki Nakanishi, Digital Camera Magazine)

ทุ่งหญ้ามุมต่ำ

EOS R5/ RF15-35mm f/2.8L IS USM/ FL: 15 มม. / Flexible-priority AE (f/11, 1/160 วินาที, EV ±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 

#1. การปรับความคมชัดเพื่อใช้ประโยชน์จากความละเอียด 45 ล้านพิกเซลได้อย่างเต็มที่

หนึ่งในข้อดีที่สำคัญที่สุดของระบบ EOS R ก็คือกำลังการแยกรายละเอียดภาพอันยอดเยี่ยมของเลนส์ RF และเมื่อสามารถจับภาพรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงผ่านเลนส์ด้วยเซนเซอร์ภาพความละเอียดสูงเป็นพิเศษอย่างเลนส์ของกล้อง EOS R5 คุณจะได้ภาพทิวทัศน์ธรรมชาติที่คมชัดขึ้นและความละเอียดที่มากขึ้นกว่าที่เคย


ปรับความคมชัดในกล้องได้ทันที

ในฐานะช่างภาพทิวทัศน์ ผมพยายามตามหาความละเอียดที่คมชัดยิ่งขึ้นอยู่เสมอ ถ้าคุณเป็นเหมือนกับผม คุณจะหลงรักคุณสมบัติการปรับความคมชัดแบบใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเมนู SHOOT ของกล้อง EOS R5 ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมความคมชัดของเส้นริ้วบางๆ และรายละเอียดได้ดียิ่งขึ้นพร้อมรักษารายละเอียดคมชัดที่แสดงผ่านเลนส์ RF

ความคมชัดในเมนูถ่ายภาพของกล้อง EOS R5

ผมมักจะปรับความคมชัดในกระบวนการปรับแต่งภาพอยู่บ่อยๆ และเป็นเรื่องน่าดีใจที่ผมสามารถทำแบบนี้ได้ในกล้องขณะที่ถ่ายภาพ ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการที่สามารถทำให้ภาพถ่ายดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในทันที


เอฟเฟ็กต์การเปลี่ยนแปลงความคมชัด

การเปลี่ยนแปลงระดับเอฟเฟ็กต์ความคมชัดเพียง 1 จุดสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก การเพิ่มระดับเอฟเฟ็กต์มากเกินไปจะทำให้ภาพถ่ายดูหยาบ ในขณะที่การลดระดับเอฟเฟ็กต์ลงมากเกินไปจะทำให้ภาพดูนุ่มนวล สำหรับภาพถ่ายที่อยู่ตอนต้นบทความนี้ ผมได้เลือกระดับเอฟเฟ็กต์เป็น “+2” เลือกระดับเอฟเฟ็กต์ที่เหมาะสมกับฉากที่สุด

 

เคล็ดลับ: ปรับแต่งการตั้งค่ารูปแบบภาพเพื่อทำให้ภาพถ่ายดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ผมชอบที่จะทำให้ภาพถ่ายดูสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ขณะที่ผมยังอยู่ในบริเวณสถานที่ถ่ายภาพ และการปรับแต่งการตั้งค่ารูปแบบภาพช่วยได้ในเรื่องนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับความคมชัดด้วย!

การปรับแต่งรูปแบบภาพ

โดยปกติผมจะใช้รูปแบบภาพ (มาตรฐาน) แต่จะเพิ่มความเปรียบต่างและความอิ่มตัวของสีเป็น +1 ซึ่งส่งผลให้เกิดสีสันที่เด่นชัดขึ้นและแยกบริเวณที่มืดกับสว่างได้ดียิ่งขึ้น ในบางฉาก ผมยังเพิ่มความเข้มและความละเอียดในการตั้งค่าความคมชัดเป็น +1 เพื่อปรับความละเอียดให้ดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: เทคนิคในการใช้รูปแบบภาพเพื่อยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์

 

#2: อิสระแบบใหม่ มุมใหม่ๆ ด้วย IS ในตัวและจอภาพแบบปรับหมุนได้

ภาพทิวทัศน์มุมต่ำ

EOS R5/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 91 มม. / Flexible-priority AE (f/4, 1/1,250 วินาที, EV ±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว (IS ในตัว) ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการถ่ายภาพของผมไปโดยสิ้นเชิง เมื่อก่อนผมใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อได้ใช้กล้อง EOS R5 แล้ว ตอนนี้ผมเปลี่ยนมาถ่ายภาพจำนวนเท่ากันโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง อิสระในการควบคุมกล้องที่มากขึ้นด้วยจอภาพแบบปรับหมุนได้ ทำให้ผมรู้สึกมีแรงบันดาลใจยิ่งขึ้นที่จะออกสำรวจและถ่ายภาพทิวทัศน์จากมุมที่แปลกใหม่กว่าเดิม

 

ฉากเดิม มุมมองใหม่

การถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องช่วยให้คุณมีอิสระในการเคลื่อนไหวไปมาและลองถ่ายภาพจากมุมต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบที่อาจทำไม่ได้เมื่อใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งทำให้การถ่ายภาพน่าตื่นเต้นกว่าเดิม


ระดับต่ำ

ตัวอย่างภาพถ่ายจากระดับต่ำ


ระดับสายตา

ตัวอย่างภาพถ่ายจากระดับสายตา


หากต้องการความช่วยเหลือในการค้นหามุมมองใหม่ๆ อ่านได้ที่:
วิธีเมทริกซ์: เพิ่มความหลากหลายให้ภาพถ่ายของคุณด้วยวิธีการที่เป็นระบบ 

 

การจับคู่อันทรงพลัง: EOS R5 กับ RF28-70mm f/2L USM

ผมซื้อเลนส์ RF28-70mm f/2L USM มาพร้อมกับกล้อง EOS R ตั้งแต่เลนส์รุ่นนี้ออกวางจำหน่ายครั้งแรก และเป็นหนึ่งในเลนส์ตัวโปรดของผมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา IS ในตัวของกล้อง EOS R5 ทำให้สามารถใช้ระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้ขณะใช้เลนส์ จึงเพิ่มโอกาสในการใช้งานเวลาออกนอกสถานที่ ยิ่งไปกว่านั้น กล้อง EOS R5 ยังใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากความละเอียดและความคมชัดอันยอดเยี่ยมของเลนส์รุ่นนี้ เลนส์และกล้องคู่นี้จะเป็นการจับคู่ที่น่าประทับใจ

 

#3: EVF—มองเห็นภาพถ่ายมีชีวิต

ภาพโคลสอัพของภูเขาแบบโลว์คีย์

EOS R5/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS USM/ FL: 220 มม. / Flexible-priority AE (f/11, 1/160 วินาที, EV ±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) ความละเอียดสูงเป็นพิเศษ 5.76 ล้านจุดช่วยยกระดับการมองเห็นสิ่งต่างๆ ผ่านช่องมองภาพขึ้นไปอีกขั้น ผมสามารถมองเห็นรายละเอียดของเงาได้ในระดับที่ไม่เคยทำได้มาก่อนแม้ในฉากย้อนแสง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ดียิ่งขึ้น แต่ยังช่วยจุดประกายแนวทางใหม่ๆ ในการจัดเฟรมภาพ 


หากคิดว่าการมองผ่าน EVF จะทำให้รู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ EVF ของกล้อง EOS R5 อาจทำให้คุณต้องเปลี่ยนใจ

ใครที่คิดว่าภาพที่เห็นจาก EVF ดูไม่เป็นธรรมชาติควรได้ลองใช้ EVF ของกล้อง EOS R5 ข้อดีที่โดดเด่นอยู่ตรงที่การแสดงภาพตัวอย่างด้วยความละเอียดสูงเป็นพิเศษ 

แฉกแสงยามเย็น

EOS R5/ RF15-35mm f/2.8L IS USM/ FL: 20 มม. / Flexible-priority AE (f/16, 1/80 วินาที, EV ±0)/ ISO 1000/ WB: แสงแดด

ฉากย้อนแสงที่มีดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมภาพ ภาพที่มองเห็นผ่าน EVF มีความคมชัดมากจนถึงขนาดที่ว่าถ้าหากเช็คระยะชัด คุณจะสามารถดูได้แม้กระทั่งตัวอย่างภาพแฉกแสงก่อนที่จะลั่นชัตเตอร์


ตรวจเช็คระยะชัดได้อย่างง่ายดาย

ปุ่มเช็คระยะชัดลึกของกล้อง EOS R5

ปุ่มที่อยู่ใต้เลนส์ทางด้านขวามือนี้ถูกตั้งไว้ให้เป็นปุ่มเช็คระยะชัดลึกตามค่าเริ่มต้นโดยไม่จำเป็นต้องตั้งค่าใดๆ เพิ่มเติม ซึ่งทำให้เข้าถึงได้ง่ายระหว่างถ่ายภาพด้วย EVF


ตัวอย่างภาพถ่ายแฉกแสง

กดปุ่มเช็คระยะชัดลึกเพื่อดูว่าภาพแฉกแสงที่ออกมาจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้คุณควบคุมภาพที่ออกมาได้ดียิ่งขึ้น

 

ข้อควรรู้: โหมด Fv จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นขณะถ่ายภาพทิวทัศน์

โหมด Flexible-priority AE (โหมด Fv) เป็นโหมดที่เหมือนใครอย่างแท้จริง คุณสามารถใช้โหมดนี้เหมือนกับโหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง (Manual exposure) ในบางฉาก และในฉากอื่นๆ ก็สามารถใช้งานได้เหมือนกับโหมดอัตโนมัติ บางคนอาจรู้สึกไม่มั่นใจเพราะโหมดนี้ถือเป็นความแปลกใหม่อย่างมาก แต่ปัจจุบันผมใช้โหมดนี้ในการถ่ายภาพทุกครั้ง โหมดนี้ทำให้ผมสามารถเลือกได้ว่าจะควบคุมการตั้งค่าการเปิดรับแสงด้วยตัวเองหรือจะปล่อยให้กล้องเป็นตัวควบคุมได้อย่างง่ายดาย และช่วยเติมเต็ม EVF ได้อย่างลงตัว


ฉากที่ 1: ควบคุมความสว่าง เหมือนในโหมด Av

ป่ามืด


ฉากที่ 2: ควบคุมความเร็วชัตเตอร์ เหมือนในโหมด Tv

น้ำไหล

การที่สามารถควบคุมการตั้งค่าการเปิดรับแสงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในขณะที่ให้กล้องคอยจัดการกับสิ่งที่เหลือทำให้ผมได้ภาพถ่ายดีๆ จำนวนมากยิ่งขึ้น

 

ความประทับใจโดยรวม: “กล้องมิเรอร์เลสในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ของผม”


เลย์เอาต์ปุ่มใช้งานสะดวก สามารถหาปุ่มต่างๆ ได้อย่างง่ายดายแม้อยู่ในที่มืด

เป็นกล้องที่นำเอาข้อดีต่างๆ ของกล้องมิเรอร์เลสมาผสานเข้ากับสิ่งที่ดีที่สุดของกล้องซีรีย์ EOS 5D ในระดับที่สูงมากๆ ซึ่งนั่นคือความประทับใจของผมที่มีต่อกล้อง EOS R5

สิ่งแรกที่ทำให้ผมประทับใจคือเลย์เอาต์ปุ่ม ซึ่งใช้งานสะดวกมาก ทำให้ผมรู้สึกเหมือนกับว่าได้ใช้กล้องตัวนี้มาหลายปีแล้ว ปุ่มที่คุณต้องการใช้ถูกวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะมือที่สุด แต่ยังคงความเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ ส่วนที่นูนขึ้นมาทำให้ความรู้สึกในการสัมผัสต่างไปจากเดิมเล็กน้อย ซึ่งช่วยให้การหาปุ่มต่างๆ ขณะถ่ายภาพในที่มืดเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นเพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัส


EVF ที่ทำให้คุณลืม OVF ไปได้เลย

ผมได้อธิบายข้อดีของ EVF ของกล้อง EOS R5 ไว้ในประเด็นที่ 3 แล้ว ตราบเท่าที่ยังให้ความสำคัญในเรื่องความคมชัดและการมองเห็นที่สะดวกสบาย EVF ของกล้อง EOS R5 ถือว่าล้ำสมัยมากจนต้องนึกสงสัยว่ายังจำเป็นต้องพึ่งช่องมองภาพแบบออพติคอลอยู่ไหม เมื่อได้ใช้ EVF ทำให้ผมตระหนักได้ว่าคุณจะไม่มีทางมองเห็นโลกอีกด้านได้เลยหากปราศจากเจ้าสิ่งนี้!


ความละเอียดสูงเป็นพิเศษที่คุณใช้ได้แม้ขณะถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง

ภาพต่างๆ ข้างต้นได้แสดงให้เห็นสิ่งที่ผมต้องพูดไปหมดแล้วในเรื่องของกำลังในการแยกรายละเอียดภาพและความคมชัดอันยอดเยี่ยม แต่สิ่งที่ทำให้กล้องรุ่นนี้พิเศษยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ ความสามารถในการใช้คุณสมบัติเหล่านี้แม้กระทั่งขณะถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ระบบป้องกันภาพสั่นไหวเทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 8 สต็อปได้เปลี่ยนแปลงสไตล์การถ่ายภาพของผม และผมรู้สึกมั่นใจในการถ่ายภาพส่วนใหญ่โดยไม่ต้องพึ่งขาตั้งกล้อง ผมคิดว่าที่สามารถทำแบบนี้ได้เพราะระบบ EOS R นั้นสมบูรณ์แบบมากๆ


สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับว่ากล้องนั้นจะเปลี่ยนแนวทางการถ่ายรูปของคุณอย่างไร

กล้อง EOS R5 อาจเพียบพร้อมไปด้วยทุกคุณสมบัติที่ช่างภาพต่างใฝ่หา แต่ผมรู้สึกว่าเราไม่ควรเอาแต่ตามไขว่คว้าการอัปเกรดหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น ในทางกลับกัน เราควรมองว่าอุปกรณ์ใหม่แต่ละชิ้นนั้นช่วยเติมเต็มจินตนาการให้กับผลงานของเราได้อย่างไร และหากมองในมุมนั้น กล้อง EOS R5 จะสามารถครองใจคุณได้อย่างแน่นอน เหมือนกับที่มันได้ครองใจผมไปแล้ว มันเป็นกล้องมิเรอร์เลสในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ ผมคิดว่าตอนนี้คงได้เวลาปลดประจำการกล้อง DSLR ของผมแล้ว

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง EOS R5 ได้ที่:
EOS R5: มิติใหม่ของโลกแห่งการถ่ายภาพวิดีโอ 

ดูเคล็ดลับการถ่ายภาพทิวทัศน์จาก Toshiki Nakanishi เพิ่มเติมได้ที่:
ภาพทิวทัศน์ที่มีท้องฟ้าสไตล์มินิมัลลิสต์
การจัดแสงธรรมชาติ: แสงส่องเป็นแนวบนป่าในฤดูใบไม้ร่วง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา