ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด บทวิจารณ์และการเปรียบเทียบกล้อง EOS R และเลนส์ RF- Part10

การจับคู่ที่ลงตัวระหว่างกล้อง EOS RP กับเลนส์ RF 2 ตัวเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในขณะเดินเล่น

2020-09-02
2
2.4 k
ในบทความนี้:

คุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะมีโอกาสในการถ่ายภาพอะไรรออยู่บ้างในขณะที่ออกไปเดินเล่นหรือเพียงแค่ออกไปทำธุระ กล้อง EOS RP ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และความสามารถรอบด้านจึงเป็นเพื่อนคู่ใจที่คุณควรพกติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมถ่ายภาพในช่วงวินาทีสำคัญ Sayaka Suzuki ช่างภาพแนวไลฟ์สไตล์และชีวิตประจำวันได้ออกไปเดินเล่นพร้อมกับเลนส์ RF 2 ตัวที่เธอโปรดปราน และในบทความนี้ เธอจะมาเล่าให้ฟังว่าเลนส์ทั้งสองช่วยเธอถ่ายภาพฉากให้ออกมาดังที่ต้องการได้อย่างไร (เรื่องโดย: Sayaka Suzuki, Digital Camera Magazine)

 

RF24-105mm f/4L IS USM: ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนมุมรับภาพ

เลนส์ RF24-105mm f/4L IS USM มีน้ำหนักเบากว่าเลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM ถึง 95 ก. และเมื่อนำมาใช้คู่กับกล้อง EOS RP ที่มีขนาดเล็ก คุณจึงสามารถใช้น้ำหนักเบานี้ให้เป็นประโยชน์ได้เต็มที่ยิ่งขึ้น

ช่วงทางยาวโฟกัสที่พอดีทำให้คุณจัดเฟรมและถ่ายภาพได้ตรงตามความรู้สึกของฉาก หากคุณเป็นคนช่างสังเกตความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในตัวแบบ แบ็คกราวด์ และรายละเอียดอื่นๆ การจัดเฟรมภาพที่แตกต่างกันจะทำให้คุณทราบว่าภาพนั้นถ่ายเมื่อใด

โคโมเรบิ (แสงอาทิตย์เป็นหย่อมๆ) บนกำแพง

EOS RP/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Manual exposure (f/4, 1/125 วินาที)/ ISO 320/ WB: หลอดไฟทังสเตน (การแก้ไขสมดุลแสงขาว: A6, G5)

โคโมเรบิ (ฉบับภาษาอังกฤษ) (Komorebi) ซึ่งหมายถึงแสงเป็นหย่อมๆ จากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านใบไม้บนต้นไม้ ทำให้เกิดเป็นเงาของใบอ่อนบนกำแพง ตอนนั้นฉันไม่มีพื้นที่ให้ถอยหลังแล้ว แต่ความยืดหยุ่นของเลนส์ซูมทำให้ฉันสามารถจัดเฟรมภาพได้ตามต้องการโดยไม่ต้องขยับตัวเลยแม้แต่นิดเดียว

คงสภาพแสงไว้ได้ตามที่ตาเห็น

ภาพเงาที่เกิดจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านใบไม้อ่อนดังเช่นภาพด้านบน หรือภาพด้านล่างซึ่งเป็นภาพร้านค้าที่ดูจะมีสีสันสดใสกว่าเนื่องจากอากาศอุ่นขึ้น ต่างก็เป็นภาพที่ตัวแบบไม่ได้มีความสำคัญเท่ากับเวลาและสถานที่ที่ถ่ายภาพนั้น ฉันจะนึกถึงฤดูใบไม้ผลิเมื่อใดก็ตามที่มองภาพเหล่านี้ ฉันอยากจะถ่ายภาพแบบนี้เพื่อคงสภาพแสงแห่งฤดูใบไม้ผลิไว้อย่างพิถีพิถัน ซึ่งเลนส์ RF24-105mm f/4L IS USM ร่วมกับกล้อง EOS RP ก็ช่วยฉันได้ในเรื่องนี้

ตัวหุ่นที่สว่างสดใสในตู้โชว์ของร้านค้า

EOS RP/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 67 มม./ Manual exposure (f/4, 1/125 วินาที)/ ISO 320/ WB: แสงแดด (A8, G7)

หุ่นสวมเสื้อโค้ตในตู้โชว์ของร้านแห่งหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ สีสันที่สดใสของตัวแบบทำให้ภาพเต็มไปด้วยบรรยากาศสนุกสดชื่นของฤดูใบไม้ผลิ ฉันจับโฟกัสที่ตรงกลางตู้โชว์เพื่อเปลี่ยนเงาสะท้อนในนั้นให้กลายเป็นโบเก้

 

เคล็ดลับ: เปิดฟังก์ชั่นเน้นโทนภาพบริเวณสว่างเพื่อป้องกันแสงสว่างโพลน

เมนูเน้นโทนภาพบริเวณสว่างของแคนนอน

ขณะถ่ายภาพตัวแบบสว่างที่สะท้อนกับกระจกมืด มักจะเกิดแสงสว่างโพลนและการสูญเสียรายละเอียดได้ง่าย เมื่อถ่ายภาพโดยตั้งค่าเน้นโทนภาพบริเวณสว่างไปที่ "เพิ่มขึ้น" ฉันจึงสามารถคงรายละเอียดของไฮไลต์ในภาพด้านบนทั้งสองเอาไว้ได้

RF24-105mm f/4L IS STM เป็นเลนส์ในระดับมืออาชีพที่มีรูรับแสงคงที่ หากราคาและน้ำหนักเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า คุณอาจอยากลองพิจารณาเลนส์ RF24-105mm f/4-7.1 IS STM

 

RF35mm f/1.8 Macro IS STM: ให้คุณบอกเล่าเรื่องราวด้วยระยะที่ใกล้ขึ้น

นอกจากจะมีมุมรับภาพที่กว้างกว่ามาตรฐานเล็กน้อยแล้ว เลนส์ RF35mm f/1.8 Macro IS STM ยังมีความสามารถแบบกึ่งมาโครซึ่งช่วยให้คุณถ่ายภาพด้วยระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 17 ซม. ได้ แม้คุณจะถ่ายภาพในระยะใกล้เช่นนี้ก็ยังแทบไม่เกิดการบิดเบี้ยว และสามารถรักษารูปร่างโดยทั่วไปของตัวแบบให้คงเดิมได้ ความคมชัดจนถึงขอบภาพของเลนส์นี้ทำให้คุณสามารถจัดองค์ประกอบภาพจนถึงขอบได้อย่างมั่นใจ

 

ใส่ใจการโฟกัสให้มากขึ้นเมื่อต้องถ่ายภาพโคลสอัพ!

หากจะถ่ายตัวแบบในระยะที่ใกล้มาก คุณะต้องแน่ใจว่าตัวแบบอยู่ในโฟกัสอย่างเหมาะสม ความจริงแล้ว เมื่อใช้เลนส์เช่นนี้ ระยะการถ่ายภาพและตำแหน่งของจุดโฟกัสถือเป็นหัวใจสำคัญของการถ่ายทอดภาพ

เต้าหู้ชิมะบนจานเคลือบฮาซามิ

EOS RP/ RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ FL: 35 มม./ Manual Exposure (f/1.8, 1/125 วินาที)/ ISO 2500/ WB: แสงแดด (A6, G7)

ฉันมีโอกาสได้รับประทานเต้าหู้ชิมะ ("เต้าหู้จากเกาะ") ของดีประจำจังหวัดโอกินาวาที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ ความสามารถแบบกึ่งมาโครของเลนส์ RF35mm f/1.8 Macro IS STM ทำให้ฉันถ่ายภาพได้จากระยะห่างเพียง 17 ซม. เท่านั้น และสามารถแสดงเนื้อสัมผัสที่แข็งและแน่นอันเป็นเอกลักษณ์ของเต้าหู้รวมทั้งจานเคลือบฮาซามิได้ การวางโฟกัสไว้ที่ด้านหน้าของเต้าหู้ทำให้เม็ดเกลือขนาดใหญ่อยู่ในโฟกัสด้วย


เมื่อถ่ายภาพตัวแบบ เช่น ไอน้ำ ซึ่งอาจยากต่อการโฟกัสให้คมชัดด้วยออโต้โฟกัสเพียงอย่างเดียว ฉันจะใช้ One Shot AF เพื่อให้ได้โฟกัสโดยรวมก่อน จากนั้นจึงหมุนวงแหวนโฟกัสเพื่อปรับโฟกัสให้ละเอียดขึ้น หรือคุณอาจวางตัวแบบไว้นอกโฟกัสโดยตั้งใจก็ได้ เพื่อให้ตัวแบบดูนุ่มนวลชวนฝันมากขึ้น

ไม้แขวนเสื้อท่ามกลางสายลมริมทะเล

EOS RP/ RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ FL: 35 มม./ Manual Exposure (f/2.8, 1/1600 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม (A6, G6)

ในภาพนี้ ฉันจับโฟกัสที่ไม้แขวนเสื้อ ซึ่งมีไว้สำหรับตากปลาหมึกให้แห้ง แต่ขณะนั้นกำลังแกว่งไกวไปตามสายลมจากทะเล มุมรับภาพ 35 มม. นั้นจะกว้างกว่าที่ตาเปล่าของคุณมองเห็นเล็กน้อย และทำให้ฉันสามารถใส่แบ็คกราวด์เข้ามาในภาพได้มากพอจนเห็นบรรยากาศที่อบอุ่นและมีลมโชยของสถานที่แห่งนี้ได้

 

เคล็ดลับ: กำหนดให้วงแหวนควบคุมทำหน้าที่เปลี่ยนค่ารูรับแสง

เมนูการกำหนดค่าวงแหวนควบคุมด้วยตัวเองของกล้อง EOS RP

การโฟกัสไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งที่คุณโฟกัสเท่านั้น แต่ระยะชัดก็มีความสำคัญเช่นกัน ระบบ EOS R มีวิธีที่ช่วยให้คุณปรับค่านี้ไวขึ้นแม้ขณะถ่ายภาพผ่าน EVF เพียงกำหนดให้วงแหวนควบคุมทำหน้าที่เปลี่ยนค่า f คุณก็จะสามารถเปลี่ยนค่ารูรับแสงได้ด้วยการหมุนวงแหวนเท่านั้น

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ RF รุ่นต่างๆ ได้ที่:
เลนส์ RF: ยุคใหม่ของการถ่ายภาพ


ดูข้อมูลเพิ่มเติมว่าทำไม Sayaka Suzuki จึงชอบใช้กล้อง EOS RP สำหรับการถ่ายภาพชีวิตประจำวันในสไตล์ของเธอได้ที่บทความ ทำไมฉันจึงดีใจที่ได้ซื้อกล้อง EOS RP และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขสมดุลแสงขาวซึ่งเธอมักจะใช้เพื่อให้ได้สีสันอันเป็นเอกลักษณ์ได้ที่ การแก้ไขสมดุลแสงขาว ([ปรับ/คร่อมแสงขาว]) คืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร

 

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Sayaka Suzuki

หลังจบการศึกษาจากคณะการออกแบบจากมหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบโตเกียว Suzuki เริ่มต้นทำงานที่บริษัทผลิตวิดีโอแห่งหนึ่งก่อนจะผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2012 เธอเป็นช่างภาพมากความสามารถผู้ถ่ายภาพได้หลากหลายแนวตั้งแต่การถ่ายภาพชีวิตประจำวันไปจนถึงงานโฆษณา และเธอมีความหลงใหลใน “วิถีชีวิต” เธอค้นหาความงามของสิ่งต่างๆ ภายในรัศมี 5 เมตรรอบตัวเธอในโครงการถ่ายภาพส่วนตัว นอกจากนี้ Suzuki ยังเป็นเจ้าของร้าน AtelierPiccolo ด้วย ซึ่งเป็นร้านที่เธอนำเอาสองสิ่งที่เธอรักที่สุดมาไว้ด้วยกัน นั่นคือ วิถีชีวิตและการถ่ายภาพ 

เว็บไซต์: http://suzukisayaka.pupu.jp/about.html
Instagram: @sayakasuzuki_photo

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา