ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

RF50mm f/1.8 STM หรือ EF50mm f/1.8 STM: 6 ข้อเปรียบเทียบสำคัญ

2021-03-24
1
2.24 k
ในบทความนี้:

RF50mm f/1.8 STM เป็นเลนส์ 50 มม. ความไวแสงสูงราคาย่อมเยาที่ผู้ใช้ระบบ EOS R มากมายตั้งตารอ เลนส์รุ่นนี้เป็นอย่างไรบ้างเมื่อเทียบกับเลนส์เวอร์ชันเมาท์ EF EF50mm f/1.8 STM ที่เป็นเลนส์ยอดนิยมรุ่นที่สาม เราจะมาศึกษาเลนส์ 2 รุ่นนี้ใน 6 ด้านด้วยกัน (เรื่องโดย: Kazuyuki Okajima, Digital Camera Magazine)

#1: บอดี้กล้อง
#2: กำลังในการแยกรายละเอียด
#3: โบเก้
#4: สมรรถนะในการแก้ไขแสงจากด้านหลัง
#5: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (กับ EOS R5/R6)
#6: ความสามารถในการใช้งาน

 

#1: บอดี้กล้อง

แม้ EF50mm f/1.8 STM จะมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกับ RF50mm f/1.8 STM แต่คุณก็ต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์เพื่อติดตั้งกับกล้องซีรีย์ EOS R ซึ่งจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเล็กน้อยและเพิ่มความยาวโดยรวมขึ้นไม่กี่เซนติเมตร ทว่ายังคงรักษาสมดุลกับกล้องได้ดีอยู่

เลนส์ทั้งสองมีเส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์ต่างกัน โดยที่ของ RF50mm f/1.8 STM อยู่ที่ 43 มม. ซึ่งเล็กกว่าของเลนส์ในเวอร์ชัน EF (49 มม.) แต่เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุดของเลนส์ทั้งคู่ยังคงเท่ากัน เลนส์ RF ดูกะทัดรัดและทันสมัยกว่า แต่สำหรับผู้ที่ชอบติดอุปกรณ์เสริมและอุปกรณ์ยึดติดจำนวนมากกับกล้องอาจรู้สึกว่าดู “เท่” กว่าเมื่อใช้กับเลนส์ EF กับเมาท์อะแดปเตอร์

สำหรับสีและการเคลือบผิวนั้นมีความแตกต่างเล็กน้อย ซึ่งส่วนนี้จะสำคัญมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความชอบของคุณ


A: วงแหวนโฟกัส

RF50mm f/1.8 STM
พื้นผิวที่ให้สัมผัสดีกับนิ้วมือ หมุนได้สะดวก เคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหลด้วยแรงบิดที่เหมาะสม ทำการโฟกัสที่แม่นยำได้อย่างง่ายดาย

EF50mm f/1.8 STM
วัสดุกันลื่นสำหรับนิ้วมือ หมุนยากเล็กน้อย แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับการปรับโฟกัส

B: พื้นผิว

RF50mm f/1.8 STM
ท่อเลนส์ผิวกึ่งด้านสีเทาเข้ม วงแหวนเมาท์สีเงินและรายละเอียดอื่นๆ อย่างวงแหวนโฟกัสพื้นผิวข้าวหลามตัดให้ความรู้สึกหรูหรา

EF50mm f/1.8 STM
ท่อเลนส์ดูมีคุณภาพสูง แต่ไม่มีรูปลักษณ์หรูหราเหมือนกับเลนส์ในเวอร์ชัน RF ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะพื้นผิวของวงแหวนโฟกัส


C: เมาท์ของเลนส์

RF50mm f/1.8 STM
เมาท์โลหะมีความทนทานสูงและให้ความรู้สึกหรูหรา ชิ้นเลนส์ด้านหน้าสุดมีลักษณะนูนออกมามากกว่าของเลนส์ EF เล็กน้อย และชิ้นเลนส์หลังสุดจะถอยร่นเข้าไปมากกว่า

EF50mm f/1.8 STM
เลนส์รุ่นก่อนหน้า EF50mm f/1.8 II นั้นมีเมาท์เป็นพลาสติก แต่ในรุ่นนี้มีเมาท์โลหะเหมือนกับเลนส์เวอร์ชันเมาท์ RF

 

#2: กำลังการแยกรายละเอียดภาพ

EOS R5/ Aperture-priority AE (f/8, 1/1000 วินาที, EV -0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ


A (กึ่งกลางภาพ)

RF50mm f/1.8 STM

EF50mm f/1.8 STM

เมื่อเปรียบเทียบบริเวณกึ่งกลางภาพของภาพถ่ายสองภาพด้านบน เลนส์ทั้งสองมีกำลังการแยกรายละเอียดภาพเท่ากันไม่มากก็น้อย สำหรับผมแล้ว ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ RF ดูเหมือนว่าคมชัดกว่า โดยที่เส้นต่างๆ ละเอียดขึ้นเล็กน้อยและมีความเปรียบต่างย่อยดีกว่า 


B (บริเวณขอบภาพ)

RF50mm f/1.8 STM

EF50mm f/1.8 STM

ที่บริเวณขอบภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF ดูเหมือนว่าจะแยกรายละเอียดภาพได้ดีกว่าเล็กน้อย ขณะที่รายละเอียดจากภาพที่ถ่ายด้วย RF ดูนุ่มนวลกว่าเล็กน้อย

ผมเปิดใช้ Digital Lens Optimizer ในขณะถ่ายภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ทั้งสองดูคมชัดที่สุดเมื่อใช้ f/5.6 และ f/8 ความคมชัดจะค่อยๆ ลดลงหลังจากค่า f/11 ขึ้นไป และภาพจะดูนุ่มนวลขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อใช้ค่ารูรับแสงต่ำสุด f/22

 

#3: โบเก้

EOS R5/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/1000 วินาที, EV +0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

RF50mm f/1.8 STM

EF50mm f/1.8 STM

ภาพด้านบนนี้ถ่ายที่ระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์ EF (35 ซม.) ซึ่งช่วยให้ได้กำลังขยายสูงสุด 0.21 เท่า แต่เลนส์ RF สามารถถ่ายได้ใกล้กว่านี้ ด้วยระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นลงที่ 30 ซม. ซึ่งให้กำลังขยายสูงสุด 0.25 เท่า

ผมตั้งกล้องบนขาตั้งเพื่อรักษาระยะการถ่ายภาพให้เท่ากันสำหรับเลนส์ทั้งสอง แต่ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ RF นั้นดูกว้างกว่าเล็กน้อย ซึ่งทำให้โบเก้ในภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF ดูเด่นชัดกว่าเล็กน้อย แต่โบเก้จากเลนส์ RF นั้นดูนุ่มนวลกว่า โดยค่อยๆ เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกโฟกัส (ดูพื้นที่ในกรอบสีแดง) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว 

ขอบของวงกลมโบเก้ที่เลนส์ EF สร้างขึ้นนั้นมีความคมชัด มากเสียจนผมรู้สึกว่าค่อนข้างรกสายตา แต่วงกลมโบเก้จากเลนส์ RF ดูนุ่มนวลกว่าและค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งกลมกลืนไปกับโบเก้ที่เหลือ

 

#4: สมรรถนะในการแก้ไขแสงจากด้านหลัง

RF50mm f/1.8 STM

EF50mm f/1.8 STM

ทั้งสองภาพ: EOS R5/ Aperture-priority AE (f/22, 1/320 วินาที, EV -2.0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อใช้ EF50mm f/1.8 STM จะมีแสงหลอกเล็กน้อยรอบดวงอาทิตย์ แต่นอกจากนั้นแล้วผมก็ไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนใดๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านออพติคอลระหว่างเลนส์ทั้งสองในฉากนี้ ภาพอาจดูน่าประทับใจยิ่งขึ้นหากถ่ายด้วย RF50mm f/1.2L USM แต่ก็ไม่มีจุดบกพร่องชัดเจนในด้านความเปรียบต่าง รายละเอียด หรือคุณภาพของภาพในด้านอื่นๆ ไม่ว่าใช้เลนส์ใดก็ตาม

สำหรับการถ่ายภาพแนวสตรีท เลนส์ EF ดูมีแนวโน้มที่จะเกิดแสงหลอกและแสงแฟลร์มากกว่า ในขณะที่เมื่อใช้เลนส์ RF แล้วกลับไม่เกิดปัญหานี้ในฉากคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะเปรียบเทียบได้เนื่องจากสภาพการถ่ายไม่ได้เหมือนกันทุกประการ

 

#5: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว

EOS R5/ Shutter-priority AE @ 1/50 ถึง 2.5 วินาที/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อติดตั้งกับ EOS R5 หรือ EOS R6 แล้ว เอฟเฟ็กต์ป้องกันภาพสั่นไหวแบบผสานรวมจาก RF50mm f/1.8 STM จะเทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 7 สต็อป ผมได้ทำการทดสอบแล้ว โดยถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ระดับต่างๆ

 

ประเด็นสำคัญ

ระดับความคมชัดคล้ายกับเวลาใช้ขาตั้งกล้อง เหมาะกับการพิมพ์ภาพขนาดใหญ่

 จากหลายๆ ภาพ มี 1 ภาพที่มีปัญหากล้องสั่นไหว แต่ความคมชัดอยู่ในระดับที่ยอมรับได้สำหรับการพิมพ์ภาพทั่วไป (สูงสุดถึงขนาด A4)

 ปัญหากล้องสั่นรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น แต่อยู่ในระดับที่ยังยอมรับได้สำหรับการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต

 มีปัญหากล้องสั่นอย่างชัดเจน ไม่อาจนำไปใช้งานได้

ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าเอฟเฟ็กต์การป้องกันภาพสั่นไหวของเลนส์ EF ต่ำกว่าเลนส์ RF อยู่ประมาณหนึ่งสต็อป

 

#6: ความสามารถในการใช้งาน

เลนส์ RF เงียบกว่าเล็กน้อยและจับโฟกัสได้เร็วกว่า อีกทั้งดูเหมือนว่ามีการไล่หาจุดโฟกัสน้อยกว่า

เลนส์ทั้งสองมีสวิตช์อยู่ทางด้านซ้ายของเลนส์ แต่ฟังก์ชั่นไม่เหมือนกัน

สวิตช์ของเลนส์เวอร์ชัน EF จะสลับระหว่างโหมดออโต้โฟกัสกับโฟกัสแบบแมนนวล (AF กับ MF)
สำหรับเลนส์ RF สวิตช์จะเปลี่ยนฟังก์ชั่นของวงแหวนควบคุม/โฟกัส สำหรับการสลับระหว่างโหมด AF กับ MF คุณต้องไปที่เมนูกล้องแล้วเลือกรายการ ‘โหมดโฟกัส’ (ไม่สามารถใช้ได้เมื่อติดตั้งเลนส์ EF) หรือกำหนดปุ่มเป็น “หยุด AF” วงแหวนควบคุมจะใช้งานไม่ได้ในระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวล

โปรดทราบว่าหากคุณใช้เลนส์ EF กับเมาท์อะแดปเตอร์วงแหวนควบคุม คุณจะใช้ทั้งวงแหวนโฟกัสและวงแหวนควบคุมในระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวลได้

 

สรุป: RF50mm f/1.8 STM มีประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่า แต่เลนส์เวอร์ชัน EF ก็ไม่ได้ด้อยกว่ามากนัก


หากคุณมี EF50mm f/1.8 STM อยู่แล้ว…

วงแหวนควบคุม ระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นกว่า และกำลังขยายที่มากกว่าของ RF50mm f/1.8 STM ถือเป็นองค์ประกอบหลักๆ ที่น่าสนใจ ส่วนประสิทธิภาพด้านออพติคอลของเลนส์ RF ก็ดีกว่าของ EF50mm f/1.8 STM เล็กน้อย

แต่หากคุณมีเลนส์ EF50mm f/1.8 STM อยู่แล้ว ผมคิดว่าความแตกต่างเหล่านั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้ต้องอัปเกรดเป็นเวอร์ชันเมาท์ RF การซื้อเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R เพื่อใช้เลนส์กับกล้องระบบ EOS R อาจคุ้มค่ามากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ แต่ถ้าคุณไม่พอใจกับคุณภาพของภาพจาก EF50mm f/1.8 STM ที่คุณมีอยู่ ลองพิจารณาอัปเกรดเป็นเลนส์ RF ในระดับสูงกว่านี้แทน ส่วนตัวผมนั้นกำลังตั้งตารอเวอร์ชันเมาท์ RF ของ EF50mm f/1.4 USM

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF50mm f/1.2L USM ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและภาพแนวสตรีท


หากคุณยังไม่มีเลนส์เวอร์ชันเมาท์ EF…

อย่ามัวลังเลระหว่างเลนส์สองรุ่นนี้ แล้วไปซื้อ RF50mm f/1.8 STM เลย เพราะท้ายที่สุดแล้ว เลนส์รุ่นนี้ก็ออกแบบมาเพื่อระบบ EOS R! (ดูบทความ: 6 คุณสมบัติที่สำคัญของเลนส์ RF)

RF50mm f/1.8 STM เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมหากคุณต้องการเลนส์เดี่ยวความไวแสงสูงเพื่อเสริมชุดอุปกรณ์ที่มีเลนส์ซูมเป็นส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าจะเป็นเลนส์ตัวแรกที่คุณซื้อเพื่อใช้กับกล้องระบบ EOS R ตัวใหม่ เลนส์รุ่นนี้มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมในระดับราคานี้ มีความคล่องตัวสูงและเข้ากันได้ดีกับกล้อง EOS R5/R6 ไม่เพียงเท่านั้น เลนส์ 50 มม. ความไวแสงสูงเช่นนี้ยังพกพาสะดวกเนื่องจากมีน้ำหนักน้อยกว่าเลนส์ซูมมาก ซึ่งใช้ได้ผลดีในการเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวเพื่อให้ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


ค้นพบวิธีใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเฉพาะตัวในเลนส์มาตรฐานของคุณได้ที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาตรฐาน: การใช้มุมมองเพื่อดึงให้คนดูเข้าไปอยู่ในภาพ

หากกำลังคิดจะซื้อกล้อง EOS R5 หรือ EOS R6 บทความนี้อาจช่วยคุณตัดสินใจ:
EOS R5 หรือ EOS R6: 5 ข้อแตกต่างสำคัญที่ควรทราบ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuyuki Okajima

Kazuyuki Okajima เกิดเมื่อปี 1967 ที่เมืองฟุกุโอกะ และจบการศึกษาจาก Tokyo School of Photography (ปัจจุบันชื่อ: Tokyo Visual Arts) หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยในสตูดิโอและผู้ช่วยช่างภาพ เขาก็ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ นอกจากจะทำงานเป็นช่างภาพโฆษณาและนิตยสารแล้ว เขายังเดินทางไปทั่วโลกเพื่อถ่ายภาพมากมายที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งราวกับบทกวี อีกทั้งยังตีพิมพ์สิ่งพิมพ์มากมาย รวมถึงคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า Dingle และจัดนิทรรศการแสดงผลงานมาแล้วหลายครั้ง รวมถึง “The Light and Wind of Dingle,” “Shio-sai” (Tidal Tints) และ “Let’s Go to School”

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา