ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด คุณสมบัติที่สำคัญของเลนส์ RF- Part

เลนส์ RF กับเลนส์ EF: แตกต่างกันอย่างไรและควรตัดสินใจเลือกอย่างไร

2024-10-09
4
52.72 k

นับตั้งแต่ระบบมิเรอร์เลส EOS R เปิดตัวมาเป็นเวลา 4 ปี กลุ่มผลิตภัณฑ์เลนส์ RF ก็ได้เติบโตขึ้นอย่างมาก จนถึงเดือนกันยายนปี 2567 มีการวางจำหน่ายเลนส์ RF ไปแล้ว 44 รุ่น ไม่ว่าจะเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ 10 มม. ไปจนถึงเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ 1200 มม. เมื่อใช้เมาท์อะแดปเตอร์ ผู้ใช้ระบบ EOS R จะสามารถใช้เลนส์เมาท์ EF รุ่นใดก็ได้จากกว่า 180 รุ่นที่ได้วางในจำหน่ายตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์มจนถึงกล้อง DSLR เลนส์ RF และ EF แตกต่างกันอย่างไร เลนส์ EF รุ่นเก่ามักจะมีราคาถูกกว่าเลนส์ RF ในระดับเดียวกัน เลนส์ RF จึงเป็นการลงทุนที่ดีกว่าจริงหรือไม่ อ่านต่อเพื่อหาคำตอบได้ในบทความนี้และดูไอเดียการสร้างคอลเลกชันเลนส์ที่ใช่สำหรับคุณ

ในบทความนี้:

1. เทคโนโลยี

ข้อควรพิจารณาที่ 1: เลนส์ RF มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า

เมาท์ EF เปิดตัวครั้งแรกในปี 2530 โดยได้รับการออกแบบให้ใช้ได้ในอนาคตอย่างน้อย 30 ปี แต่จะเกิดอะไรขึ้นใน 30 ปีถัดมา

เมาท์ EF เปิดตัวครั้งแรกในปี 1987 ในฐานะเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบรุ่นแรกที่ไม่ต้องอาศัยจุดเชื่อมต่อทางกลไกใดๆ ระหว่างเลนส์กับตัวกล้อง เมาท์ EF นี้จึงเป็นเมาท์ที่ล้ำสมัยที่สุดซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยคำนึงถึงอนาคตในอีก 30 ปีต่อมา และคุณสมบัตินี้ก็เห็นได้จากความเข้ากันได้กับกล้องทุกรุ่น คุณสามารถใช้เลนส์ EF ที่เปิดตัวเมื่อ 30 ปีที่แล้วกับตัวกล้องรุ่นใหม่ได้โดยที่ยังคงทำงานได้เป็นอย่างดีและมีข้อจำกัดด้านฟังก์ชันเพียงเล็กน้อย

แต่นั่นก็เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว และเทคโนโลยีกล้องได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดได้อย่างเต็มที่ การพัฒนาเมาท์รุ่นใหม่ที่ยังคงสามารถใช้งานได้ใน 30 ปีข้างหน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น นี่เป็นแรงบันดาลใจที่อยู่เบื้องหลังเมาท์ RF ซึ่งได้รับการพัฒนาพร้อมๆ กับระบบกล้องมิเรอร์เลส EOS R โดยคำนึงถึงคุณสมบัติ 3 ข้อเป็นสำคัญ ได้แก่

1. คุณภาพของภาพที่สูงขึ้น
2. ฟังก์ชันการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
3. ความเข้ากันได้กับทุกรุ่น


ข้อแตกต่าง: ระยะแบ็คโฟกัส

คืออะไรและสำคัญอย่างไร

ระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซนเซอร์ หมายถึง ระยะจากเมาท์เลนส์ (ฝั่งกล้อง) จนถึงเซนเซอร์ภาพ แต่ความจริงแล้วสิ่งที่มีผลต่อคุณภาพของภาพคือ ระยะแบ็คโฟกัส ซึ่งก็คือระยะจากชิ้นเลนส์หลังสุดไปจนถึงเซนเซอร์ภาพ

เลนส์ EF
ระบบเมาท์ EF ถูกออกแบบมาสำหรับกล้อง SLR ซึ่งมีกระจกอยู่หน้าเซนเซอร์ภาพ และจำเป็นต้องมีพื้นที่เพื่อให้กระจกนี้เคลื่อนที่ขึ้นและลง ซึ่งหมายความว่าระยะแบ็คโฟกัสของเลนส์ EF จะต้องไม่สั้นจนเกินไป ข้อจำกัดในการออกแบบนี้ทำให้การเพิ่มคุณภาพของภาพในเลนส์ EF เป็นไปได้ยากขึ้น

เลนส์ RF
ระบบเมาท์ RF ได้รับการออกแบบมาเพื่อกล้องมิเรอร์เลส จึงไม่จำเป็นต้องเว้นพื้นที่ไว้สำหรับการเคลื่อนตัวของกระจก คุณสมบัตินี้ทำให้มีความยืดหยุ่นในการออกแบบเลนส์มากขึ้นและง่ายต่อการใช้โครงสร้างเลนส์ที่ช่วยยกระดับคุณภาพของภาพได้

เมาท์ RF มีระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซนเซอร์ 20 มม. แต่เลนส์ RF สามารถออกแบบให้มีระยะแบ็คโฟกัสสั้นกว่า 20 มม. ได้

เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดขวางการเคลื่อนที่ของกระจก เลนส์ EF จะต้องมีระยะแบ็คโฟกัสอย่างน้อย 44 มม.

เลนส์ RF สามารถออกแบบให้มีระยะแบ็คโฟกัสที่สั้นกว่าระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซนเซอร์ 20 มม. ได้

 

เลนส์ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่และเลนส์มุมกว้างจะได้ประโยชน์สูงสุดจากเมาท์ RF ยกตัวอย่างเช่น เลนส์ RF16mm f/2.8 STM ที่อาจมีขนาดใหญ่กว่าและหนักกว่านี้มากหากไม่มีเมาท์ RF

 

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM ที่มีน้ำหนักเบาลงกว่า 50% และเล็กกว่าเลนส์รุ่นก่อนหน้าอย่าง RF11-24mm f/4L USM อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะเพิ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหวและทำให้ได้มุมรับภาพที่กว้างขึ้นก็ตาม!


สิ่งที่เหมือนกัน: เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์

ดีมากจนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่!

เมาท์ RF และ EF มีเส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ 54 มม. เท่ากัน เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาดใหญ่ทำให้สามารถใช้ชิ้นเลนส์ขนาดใหญ่เป็นเลนส์หลังสุดได้ ซึ่งจะทำให้แสงหักเหน้อยกว่าก่อนจะผ่านเข้ามายังเซนเซอร์ภาพ จึงช่วยลดความคลาดของเลนส์ได้

แม้ว่าเมาท์ EF จะได้รับการออกแบบมาตั้งแต่ 30 ปีก่อน แต่วิศวกรผู้พัฒนาระบบ EOS R ลงความเห็นแล้วว่ามีคุณสมบัติดีพอ และนำเส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาดเดียวกันนี้มาใช้กับเมาท์ RF


ข้อแตกต่าง: ขาเชื่อมต่อ

ขาเชื่อมต่อที่มากขึ้นทำให้สื่อสารได้ดียิ่งขึ้น

เมาท์ RF มีขาเชื่อมต่ออิเล็กทรอนิกส์ 12 ขา ซึ่งมากกว่าเลนส์ EF ที่มี 8 ขาอยู่ 4 ขา ขาเชื่อมต่อเหล่านี้รวมทั้งโปรโตคอลการส่งสัญญาณที่ดียิ่งขึ้นทำให้การสื่อสารระหว่างเลนส์กับตัวกล้องเป็นไปได้รวดเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับเลนส์ EF ข้อมูลเกี่ยวกับการโฟกัส การซูม รูรับแสง การป้องกันภาพสั่นไหว และความคลาดต่างๆ ของเลนส์จะถูกส่งไปยังกล้องอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การควบคุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลจากเลนส์ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถูกประมวลผลโดยระบบประมวลผลภาพ DIGIC คลิกที่นี่เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้าที่ของ DIGIC


ข้อแตกต่าง: วงแหวนโฟกัสและวงแหวนควบคุมอิเล็กทรอนิกส์บนเลนส์ RF

การควบคุมที่ดียิ่งขึ้นขณะถ่ายภาพ

เลนส์ RF มีวงแหวนควบคุมและวงแหวนโฟกัสอิเล็กทรอนิกส์ ในบางรุ่นก็มีทั้งสองแบบ

เมื่อใช้วงแหวนโฟกัสอิเล็กทรอนิกส์ คุณจะสามารถปรับการตั้งค่าการใช้งานได้ เช่น
- ทิศทางการหมุน: มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เปลี่ยนมาจากกล้องระบบอื่นและคุ้นเคยกับการหมุนวงแหวนไปในทิศทางตรงข้าม
- ความไวของวงแหวนโฟกัส MF: เพื่อให้คุณรู้สึกว่าใช้งานได้ง่ายที่สุดขณะโฟกัสแบบแมนนวลอย่างแม่นยำ

คุณสามารถกำหนดให้วงแหวนควบคุมเป็นตัวควบคุมรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ความไวแสง ISO การชดเชยแสง หรือแม้แต่สมดุลแสงขาว รูปแบบภาพ และโหมด AF ได้ ขึ้นอยู่กับรุ่นที่คุณใช้ และยังสามารถเปลี่ยนทิศทางการหมุนของวงแหวนควบคุมได้ด้วย

เลนส์บางรุ่น เช่น RF35mm f/1.4L VCM และ RF24-105mm f/2.8L IS USM Z มีวงแหวน Iris เพิ่มเติม ซึ่งช่วยให้รูรับแสงเปลี่ยนขนาดได้อย่างนุ่มนวลขึ้นขณะถ่ายวิดีโอ

TL;DR: เลนส์ RF ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้ในอนาคต เลนส์เหล่านี้มีฟังก์ชันการทำงานและการควบคุมที่ดีกว่าเลนส์ EF และคุณมั่นใจได้เลยว่าจะมีคุณภาพทางออพติคอลที่ดีกว่าเลนส์ EF ในระดับเดียวกันด้วย และด้วยความยืดหยุ่นที่มากกว่าในการออกแบบ เลนส์ RF ส่วนใหญ่จึงมีขนาดเล็กกว่าและเบากว่าเลนส์ EF รุ่นที่เทียบเท่ากัน

2. ความเข้ากันได้กับรุ่นอื่น

ข้อควรพิจารณาที่ 2: ความเข้ากันได้กับรุ่นอื่น

คุณสามารถใช้เลนส์ที่มีราคาคุ้มค่าที่สุดได้แม้จะเปลี่ยนไปใช้กล้องระดับที่สูงขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนกล้องของคุณเป็นแบบใด!


i) ระหว่าง EOS DSLR กับระบบ EOS R: เลนส์ EF

เลนส์ EF และ EF-S ไม่เพียงใช้ได้กับกล้อง EOS DSLR เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้กับกล้องในระบบ EOS R และ EOS M ด้วยเมื่อใช้เมาท์อะแดปเตอร์รุ่นที่เหมาะสม เลนส์เหล่านี้จึงเป็นโซลูชันที่คุ้มค่ามากหากคุณมีงบประมาณจำกัด หรือยังคงใช้กล้องในซีรีย์ EOS DSLR/EOS M ไปพร้อมกัน

ความจริงแล้ว มีเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R ที่แตกต่างกัน 3 รุ่น เมาท์อะแดปเตอร์วงแหวนควบคุม EF-EOS R หรือเมาท์อะแดปเตอร์แบบ Drop-In EF-EOS R ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณใช้เลนส์ EF และ EF-S กับกล้องระบบ EOS R ได้เท่านั้น แต่ยังให้คุณสมบัติเพิ่มเติมด้วย


เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R ทั้ง 3 รุ่น

เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R
เมาท์เวอร์ชันมาตรฐานนี้จะช่วยปรับระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซนเซอร์ให้คุณสามารถติดตั้งเลนส์ EF/EF-S ลงบนกล้องในระบบ EOS R ได้

เมาท์อะแดปเตอร์วงแหวนควบคุม EF-EOS R
ปรับค่าเลนส์ EF/EF-S และเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของวงแหวนควบคุม

เมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R
ปรับค่าเลนส์ EF/EF-S และรองรับฟิลเตอร์ PL หรือ ND แบบ Drop-in มีข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนถัดไปของบทความ

คำเตือน: เมาท์อะแดปเตอร์จะเพิ่มความยาวสองถึงสามเซนติเมตรและทำให้หนักขึ้นเล็กน้อย แม้อาจไม่ทำให้เห็นความแตกต่างมากนักสำหรับการจับคู่กล้องกับเลนส์ส่วนใหญ่ แต่อาจทำให้เลนส์บางรุ่นที่ออกแบบมาให้มีความกะทัดรัด (เช่น เลนส์ 50mm f/1.8) มีส่วนที่ยื่นออกมามากกว่าที่ต้องการ หากต้องการให้กล้องและเลนส์มีขนาดกะทัดรัดที่สุด ควรเลือกเลนส์ RF

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
RF50mm f/1.8 STM หรือ EF50mm f/1.8 STM: 6 ข้อเปรียบเทียบสำคัญ


ii) ระหว่างกล้อง APS-C กับกล้อง EOS แบบฟูลเฟรม: เลนส์ RF

หากคุณใช้กล้อง APS-C EOS คุณอาจเป็นเจ้าของเลนส์ EF-S/RF-S ซึ่งได้รับการออกแบบมาสำหรับเซนเซอร์ APS-C ที่มีขนาดเล็กกว่าอยู่แล้ว โปรดทราบด้วยว่า:

- เลนส์ EF-S ไม่สามารถติดตั้งลงบนกล้อง EOS DSLR แบบฟูลเฟรมได้ 
- เลนส์ RF-S และเลนส์ RF แบบฟูลเฟรมสามารถติดตั้งลงบนกล้องระบบ EOS R รุ่นใดก็ได้ไม่ว่าเซนเซอร์จะมีขนาดเท่าใดโดยไม่ต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์

เมื่อคุณติดตั้งเลนส์ EF-S หรือ RF-S ลงบนกล้องฟูลเฟรมในระบบ EOS R กล้องจะเปลี่ยนมาใช้โหมดครอป 1.6 เท่าโดยอัตโนมัติ ทำให้มีมุมรับภาพเช่นเดียวกับกล้อง APS-C ซึ่งจะมองเห็นได้จากภาพในช่องมองภาพ/Live View

และแน่นอนว่าคุณสามารถใช้อุปกรณ์ในอนาคตต่อไปได้ด้วยหากซื้อเลนส์ RF

คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้
กล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C: ควรเลือกรุ่นไหนดี


ความเข้ากันได้ของกล้อง/ประเภทเลนส

 
RF
RF-S
EF
EF-S
EF-M
EOS R (ฟูลเฟรม)
-
EOS R (APS-C)
-
EOS DSLR (ฟูลเฟรม)
-
-
-
-
EOS DSLR (APS-C)
-
-
-
EOS M (APS-C)
-
-

ไม่สามารถติดตั้งได้โดยตรง
ต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์

3. การรองรับความสามารถของระบบ EOS R

ข้อควรพิจารณาที่ 3: เลนส์ RF ช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากกล้องในระบบ EOS R ได้สูงสุด

หากฟังก์ชันต่อไปนี้มีความสำคัญสำหรับคุณและภาพที่คุณถ่าย เลนส์ RF จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

AF และความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง
แม้จะสามารถใช้เลนส์ EF กับกล้องในระบบ EOS R ได้ผ่านเมาท์อะแดปเตอร์ แต่คุณจะพบกับข้อจำกัดด้านความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องและพื้นที่ครอบคลุม AF เนื่องจากกลไกภายในเลนส์มาจากเทคโนโลยีรุ่นเก่า หากต้องการใช้ความเร็วและประสิทธิภาพ AF จากกล้องในระบบ EOS R อย่างเต็มศักยภาพ ควรใช้เลนส์ RF

เราทราบกันดีว่านกกระเต็นที่กำลังดำน้ำมีความเร็วสูงและยากจะถ่ายได้ การใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงในเลนส์ RF จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณถ่ายภาพสำเร็จได้มากขึ้น

ระบบป้องกันภาพสั่นไหว
หากคุณใช้กล้อง EOS R ที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในบอดี้กล้อง (IS ในบอดี้กล้อง) เมื่อใช้ร่วมกับเลนส์ RF ที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออพติคอล (IS แบบออพติคอล) คุณจะสามารถป้องกันภาพสั่นไหวได้ดียิ่งขึ้นอีกเมื่อถ่ายทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ทั้งนี้เนื่องมาจากเลนส์ RF ที่มีระบบ IS ส่วนใหญ่จะรองรับระบบ IS แบบประสานการควบคุม ซึ่งระบบ IS ภายในเลนส์และกล้องทำงานร่วมกันเพื่อให้สามารถป้องกันภาพสั่นไหวได้ดียิ่งขึ้น

ข้อควรรู้: สำหรับกล้อง EOS DSLR จะสามารถใช้ระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้เมื่อคุณใช้เลนส์ EF ที่มีระบบ IS แบบออพติคอลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กล้องในระบบ EOS R ที่มีระบบ IS ในบอดี้กล้องสามารถป้องกันภาพสั่นไหวได้แม้คุณจะใช้เลนส์ RF/EF ที่ไม่มีระบบ IS แบบออพติคอล

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ฉาก 3 ประเภทที่ใช้ประโยชน์จาก IS ในตัวกล้องได้เต็มที่

4. ประโยชน์ของเมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R

ข้อควรพิจารณาที่ 4: การใช้เลนส์ EF ทำให้คุณได้ประโยชน์จากเมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R

ข้อควรทราบสำหรับผู้ที่ใช้ฟิลเตอร์และถ่ายวิดีโอบ่อยๆ

หากคุณใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (PL) หรือฟิลเตอร์ Neutral Density (ND) แบบขันสกรูอยู่บ่อยครั้ง คุณอาจมีฟิลเตอร์หลายขนาดสำหรับติดตั้งบนเลนส์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์แตกต่างกัน เลนส์บางรุ่น เช่น EF8-15mm f/4L Fisheye USM และ EF11-24mm f/4L USM ไม่สามารถใช้ฟิลเตอร์แบบขันสกรูได้เนื่องจากส่วนประกอบด้านหน้าที่ยื่นออกมา

เมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R สามารถแก้ปัญหาทั้งสองข้อนี้ได้อย่างง่ายดาย เพียงใส่ฟิลเตอร์ที่เหมาะสม คุณก็จะสามารถใช้กับเลนส์ EF ทุกรุ่น แม้แต่รุ่นที่ไม่รองรับฟิลเตอร์แบบขันสกรู

มีฟิลเตอร์ 3 รุ่นสำหรับเมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R:
- ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม
- ฟิลเตอร์ ND ปรับได้แบบ Drop-In (ND3 - ND500)
- ฟิลเตอร์ใสแบบ Drop-In

สำหรับฟิลเตอร์ ND ปรับได้แบบ Drop-In (ND3 - ND500) หากหมุนวงแหวนจะสามารถปรับเอฟเฟ็กต์การลดแสงได้ตั้งแต่ 1.5 ถึง 9 สต็อป และยังมีประโยชน์ในการถ่ายวิดีโอ เช่น หากคุณต้องการใช้รูรับแสงกว้างเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้นในวันที่มีแดดจ้า!

เมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R กับฟิลเตอร์ ND Drop-in แบบปรับได้ A

เมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R กับฟิลเตอร์ ND Drop-in แบบปรับได้ A

5. เลนส์ที่ใช้ได้กับเมาท์แต่ละรุ่น

ข้อควรพิจารณาที่ 5: คุณจำเป็นต้องใช้เลนส์ประเภทใดเป็นพิเศษหรือไม่

เลนส์บางรุ่นสามารถใช้กับเมาท์ได้เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น…ในขณะนี้

ระบบ EF มีอยู่มานานกว่า 30 ปีแล้ว จึงมีเลนส์หลากหลายรุ่นมากกว่าในกลุ่ม ระบบนี้มีเลนส์ EF กว่า 180 รุ่น เมื่อเทียบกับเลนส์ RF ที่มีเพียง 44 รุ่นในเดือนกันยายนปี 2567! และยังมีเลนส์พิเศษบางรุ่นที่ไม่มีเวอร์ชัน RF ในปัจจุบัน เช่น เลนส์ทิลต์-ชิฟต์ เลนส์ฟิชอาย และเลนส์ MP-E65mm f/2.8 1-5X Macro Photo

อย่างไรก็ตาม กลุ่มเลนส์ RF ยังมีเลนส์อันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีเวอร์ชัน EF เทียบเท่าด้วย เช่น RF5.2mm f/2.8L Dual Fisheye (ฉบับภาษาอังกฤษ) และ RF-S3.9mm f/3.5 STM Dual Fisheye ซึ่งทำงานร่วมกับกล้องที่เข้ากันได้เพื่อให้ได้กระบวนการปรับแต่งวิดีโอ VR คุณภาพสูงที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น RF24-105mm f/2.8L IS USM Z ที่แปลกใหม่นี้ผสานความเร็วและความสามารถในการดึงรายละเอียดจากระยะไกลเข้ากับคุณสมบัติเพื่อการถ่ายวิดีโอโดยเฉพาะ เช่น วงแหวน Iris จึงกลายเป็นเลนส์คู่ใจประสิทธิภาพสูงสำหรับช่างภาพแบบไฮบริด

รายการด้านล่างนี้แสดงเลนส์ RF ทุกรุ่นที่มีจำหน่าย ณ เดือนกันยายน 2567 ทางฝั่งซ้าย เลนส์ EF รุ่นหลักๆ ที่วางจำหน่ายเมื่อไม่นานนี้จะอยู่ทางด้านขวา และเราได้แสดงรายการเลนส์ RF รุ่นที่เทียบเท่ากันไว้ด้านข้างด้วยหากมี ระหว่างเลนส์ EF กับเลนส์ RF ที่เทียบเท่ากัน เลนส์ RF เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่า


รายการแสดงเลนส์ RF และเลนส์ EF รุ่นสำคัญ (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567)

เลนส์ซูมมุมกว้าง
    EF8-15mm f/4L Fisheye USM  
RF10-20mm f/4L IS STM   EF11-24mm f/4L USM  
RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM      
RF14-35mm f/4L IS USM   EF16-35mm f/4L IS USM  
RF15-35mm f/2.8L IS USM   EF16-35mm f/2.8L III USM  
    EF17-40mm f/4L USM  
เลนส์ซูมมาตรฐาน
RF24-50mm f/4.5-6.3 IS STM      
RF24-70mm f/2.8L IS USM   EF24-70mm f/2.8L II USM  
    EF24-70mm f/4L IS USM (Macro)  
RF24-105mm f/2.8L IS USM Z      
RF24-105mm f/4L IS USM   EF24-105mm f/4L IS II USM  
RF24-105mm f/4-7.1 IS STM   EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM  
RF24-240mm f/4-6.3 IS USM      
RF28-70mm f/2L USM      
RF28-70mm f/2.8 IS STM      
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้
    EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM  
RF70-200mm f/2.8L IS USM   EF70-200mm f/2.8L IS III USM EF1.4×/2x
RF70-200mm f/4L IS USM   EF70-200mm f/4L IS II USM EF1.4×/2x
    EF70-300mm f/4-5.6L IS USM  
RF100-300mm f/2.8L IS USM RF1.4×/2x    
เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้
RF100-400mm f/5.6-8 IS USM RF1.4×/2x EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM  
RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM RF1.4×/2x EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM EF1.4×/2x
    EF200-400mm f/4L IS USM
Extender 1.4X
EF1.4×/2x
RF200-800mm f/6.3-9 IS USM RF1.4×/2x    
เลนส์เดี่ยวมุมกว้าง
RF5.2mm f/2.8L Dual Fisheye      
    EF14mm f/2.8L II USM  
RF16mm f/2.8 STM   EF20mm f/2.8 USM  
    EF24mm f/1.4L II USM  
RF24mm f/1.8 Macro IS STM   EF24mm f/2.8 IS USM  
RF28mm f/2.8 STM      
RF35mm f/1.4L VCM   EF35mm f/1.4L II USM  
RF35mm f/1.8 Macro IS STM   EF35mm f/2 IS USM  
เลนส์เดี่ยวมาตรฐาน
    EF40mm f/2.8 STM  
RF50mm f/1.2L USM   EF50mm f/1.2L USM  
    EF50mm f/1.4 USM  
RF50mm f/1.8 STM   EF50mm f/1.8 STM  
เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้ระยะกลาง
RF85mm f/1.2L USM DS      
RF85mm f/1.2L USM   EF85mm f/1.2L II USM  
    EF85mm f/1.4L IS USM  
RF85mm f/2 Macro IS STM   EF85mm f/1.8 USM  
RF100mm f/2.8L Macro IS USM   EF100mm f/2.8L Macro IS USM  
RF135mm f/1.8L IS USM   EF135mm f/2L USM EF1.4×/2x
    EF180mm f/3.5L Macro USM EF1.4×/2x
เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้
    EF200mm f/2L IS USM EF1.4×/2x
    EF200mm f/2.8L II USM EF1.4×/2x
    EF300mm f/2.8L IS II USM EF1.4×/2x
    EF300mm f/4L IS USM EF1.4×/2x
เลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้
RF400mm f/2.8L IS USM RF1.4×/2x EF400mm f/2.8L IS III USM EF1.4×/2x
    EF400mm f/4 DO IS II USM EF1.4×/2x
    EF400mm f/5.6L USM EF1.4×/2x
    EF500mm f/4L IS II USM EF1.4×/2x
RF600mm f/4L IS USM RF1.4×/2x EF600mm f/4L IS III USM EF1.4×/2x
RF600mm f/11 IS STM RF1.4×/2x    
RF800mm f/11 IS STM RF1.4×/2x    
RF800mm f/5.6L IS USM RF1.4×/2x EF800mm f/5.6L IS USM EF1.4×/2x
RF1200mm f/8L IS USM RF1.4×/2x    
เลนส์ชนิดพิเศษ
    MP-E65mm f/2.8 1-5X Macro Photo  
    TS-E 17mm f/4L  
    TS-E 24mm f/3.5L II  
    TS-E 50mm f/2.8L Macro  
    TS-E 90mm f/2.8L Macro  
    TS-E 135mm f/4L Macro  
Extender RF1.4×   Extender EF1.4X III  
Extender RF2×   Extender EF2X III  
เลนส์ APS-C
RF-S3.9mm f/3.5 STM Dual Fisheye      
RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM   EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM  
    EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM  
    EF-S15-85mm f/3.5-5.6 IS USM  
    EF-S17-55mm f/2.8 IS USM  
RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM   EF-S18-55mm f/4-5.6 IS STM  
RF-S18-150mm f/3.5-6.3 IS STM   EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM  
RF-S55-210mm f/5-7.1 IS STM   EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM  
    EF-S24mm f/2.8 STM  
    EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM  
    EF-S60mm f/2.8 Macro USM  

เลิกผลิตแล้ว

เลนส์ EF รุ่นเก่าจะไม่รวมอยู่ในรายการนี้ หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู พิพิธภัณฑ์กล้อง Canon

6. ความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์

ข้อควรพิจารณาที่ 6: คุณต้องถ่ายตัวแบบที่อยู่ไกลหรือไม่

เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ RF รองรับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ได้ดีกว่า

คุณอาจเห็นจากตารางด้านบนแล้วว่า ในกลุ่มเลนส์ EF มีเฉพาะเลนส์เทเลโฟโต้ในซีรีย์ L เท่านั้นที่รองรับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ (เทเลคอนเวอร์เตอร์) แต่ถึงอย่างนั้น การใช้งานฟังก์ชัน AF ก็อาจยังมีข้อจำกัด แต่ในกลุ่มเลนส์ RF จะมีเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้นอกซีรีย์ L ราคาไม่แพงที่รองรับการใช้อุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ และหากคุณต้องการเข้าใกล้ตัวแบบให้ได้มากที่สุด ก็สามารถใช้เลนส์ RF1200mm f/8L IS USM ได้ เมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ Extender RF2x จะช่วยเพิ่มระยะให้คุณสูงสุดถึง 2400 มม. พร้อมรองรับ AF ในตัว

ใช้อุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ Extender RF2x กับเลนส์ RF200-800mm f/6.3-9 IS STM อันเป็นเอกลักษณ์เพื่อถ่ายภาพที่ระยะ 1600 มม. ซึ่งเพียงพอสำหรับถ่ายรายละเอียดบนดวงจันทร์ได้แบบโคลสอัพได้โดยไม่ต้องครอปภาพ

7. วางกลยุทธ์ในการเป็นเจ้าของเลนส์ของคุณ

สรุป: วางกลยุทธ์ในการเป็นเจ้าของเลนส์ของคุณ

ในภาพรวมแล้วอาจกล่าวได้ว่า เลนส์ RF นั้นเป็นการลงทุนที่ดีกว่าเลนส์ EF เนื่องจากใช้ประโยชน์ได้เต็มที่จากเมาท์ RF และได้รับการออกแบบมาให้สามารถใช้ศักยภาพสูงสุดของกล้องระบบ EOS R ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

- หากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของเลนส์เวอร์ชัน EF อยู่แล้ว:
เลนส์ RF คือตัวเลือกที่ดีที่สุด 

- หากคุณมีเลนส์เวอร์ชัน EF อยู่แล้ว:
ควรเปลี่ยนมาใช้เวอร์ชัน RF หาก...
- คุณต้องการความเร็วและ AF ประสิทธิภาพสูงสุด เคล็ดลับ: เลนส์ RF เทเลโฟโต้จะให้ประสิทธิภาพ AF และการถ่ายต่อเนื่องที่ดีกว่าเลนส์ EF
- คุณต้องการคุณสมบัติ IS ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
- คุณต้องการขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาจากทั้งกล้องและเลนส์
อย่างไรก็ตาม หากปัจจัยเหล่านี้ไม่สำคัญสำหรับคุณ คุณสามารถใช้เลนส์ EF/EF-S ร่วมกับเมาท์อะแดปเตอร์ต่อไปได้


คุณสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ RF หลากหลายรุ่นได้ที่
In Focus: รีวิวเลนส์ RF

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์และคุณสมบัติของเลนส์ได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ชื่อเลนส์มีความหมายอย่างไรและทำไมเลนส์บางรุ่นจึงเป็นสีขาว
ทำความรู้จักท่อเลนส์ของคุณ (1): เครื่องหมาย วงแหวน และสวิตช์ที่เป็นประโยชน์

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา