[รีวิว] เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง
เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่มีทางยาวโฟกัส 600 หรือ 800 มม. บ่อยครั้งจะทำให้นึกถึงการถ่ายภาพสัตว์ป่าหรือเครื่องบิน แต่เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้นี้ ยังสามารถช่วยให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในสถานที่ที่คาดไม่ถึงได้อย่างเช่น ในเมือง ซึ่งดรณ์ อมาตยกุล (@donamtykl) ช่างภาพผู้ถ่ายภาพท่องเที่ยวและภาพในเมืองจากกรุงเทพฯ จะมาเล่าให้เราฟังว่า เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ช่วยให้เขามองโลกรอบตัวผ่านมุมมองใหม่ได้อย่างไร (เรื่องโดย: ดรณ์ อมาตยกุล)
1) บทนำ
2) คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 1: ขนาดและน้ำหนัก
3) คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 2: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว
4) คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 3: วงแหวนควบคุม
5) เลนส์เปลี่ยนการถ่ายภาพของผมได้อย่างไร
6) ภาพเพิ่มเติม
7) คุณสมบัติจำเพาะของ RF600mm f/11 IS STM
8) คุณสมบัติจำเพาะของ RF800mm f/11 IS STM
มุมมองใหม่แม้ในสถานที่เดิม
ในฐานะช่างภาพผู้ถ่ายภาพท่องเที่ยวและภาพในเมือง ผมมักจะมองหาโอกาสในการแบ่งปันความสวยงามของสถานที่ต่างๆ ให้ผู้คนได้เห็น ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขาเห็นสิ่งรอบตัวในมุมมองที่ต่างออกไปและในการนำเสนอมุมมองต่างๆ เหล่านั้น ผมใช้กลุ่มเลนส์ที่ครอบคลุมทางยาวโฟกัสหลากหลาย ตั้งแต่มุมกว้างพิเศษไปจนถึงเลนส์มาตรฐาน และเทเลโฟโต้
ก่อนซื้อเลนส์เหล่านี้ เลนส์ที่ยาวที่สุดที่ผมเคยใช้คือ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่ผมรู้สึกว่าเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพและการถ่ายภาพระยะใกล้ของเลนส์ยังไม่เพียงพอ ผมเคยอยากใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้มาตลอด แต่ในขณะนั้น ตัวเลือกที่มีจะราคาแพง หนัก และไม่สะดวกต่อการพกพา ผมจึงเลิกความคิดที่จะซื้อเอาไว้ก่อน
หลังจากนั้น แคนนอนก็เปิดตัวเลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ซึ่งผมมีโอกาสได้ลองใช้ดูแล้ว ในตอนแรกผมรู้สึกกังวลกับรูรับแสงคงที่ที่ f/11 เพราะคิดว่าจะส่งผลอย่างมากต่อภาพที่ผมถ่าย แต่มันกลับไม่เป็นปัญหาอย่างที่คิด และผมประทับใจมากจนตัดสินใจซื้อเลนส์ทั้งสองรุ่น ผมเป็นเจ้าของเลนส์เหล่านี้มาประมาณหนึ่งปีแล้ว และใช้ในการถ่ายภาพประมาณ 40% โดยผมใช้เลนส์สองรุ่นนี้กับกล้อง EOS RP เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพวกมันทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม
EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 320
องค์พระใหญ่ที่วัดปากน้ำ
พระพุทธรูปปางสมาธินี้ มีความสูงเท่าตึก 20 ชั้น วัดและโครงสร้างที่สวยงามตระการตานับเป็นส่วนสำคัญของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่ 600 และ 800 มม. ซึ่งช่วยดึงองค์ประกอบในฉากหลังให้ดูใหญ่ขึ้น ทั้งพระพุทธรูปและอาคารอยู่ข้างกันได้โดยไม่ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งดูมีขนาดเล็กกว่า
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/200 วินาที, ISO 500
ผมพบว่า ตัวเองถ่ายภาพรถไฟบ่อยขึ้นหลังจากซื้อเลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM มาใช้ เลนส์มุมกว้างทำให้คุณจับภาพรถไฟได้ แต่เมื่อใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ คุณจะเห็นผู้คนที่อยู่บนรถไฟและบริเวณรอบๆ ไปจนถึงอารมณ์บนใบหน้าของพวกเขาที่คุณได้เห็นในแต่ละครั้ง
EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/3200 วินาที, ISO 400
สถาปัตยกรรมในเมือง ด้วยกำลังขยายของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ทำให้เห็นมุมมองที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อมีเลนส์รุ่นนี้ ผมจึงได้ถ่ายภาพอาคารในระยะใกล้บ่อยขึ้น
คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 1: กะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา
พกพาได้สะดวกพอใส่ในกระเป๋า เพื่อออกไปสำรวจเมือง
การถ่ายภาพและฉากต่างๆ ในเมืองต้องอาศัยการเดินสำรวจให้ทั่ว ผมจึงชอบให้กระเป๋ามีน้ำหนักเบาเพื่อที่จะได้ถ่ายภาพอย่างสะดวกสบายและถ่ายภาพได้นานขึ้น สิ่งที่ผมให้ความสำคัญเมื่อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ คือ ขนาด น้ำหนัก และความสะดวกในการพกพา
เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของเลนส์ในตระกูล L และในส่วนของน้ำหนัก เลนส์สองรุ่นนี้ก็เบากว่าอย่างน้อย 70% ซึ่งไม่เพียงแต่มีน้ำหนักเบาเท่านั้นเมื่อใช้คู่กับกล้อง EOS RP แต่ยังพกพาได้สะดวกพอที่จะใส่ลงในกระเป๋าและออกไปสำรวจเมืองด้วยกันได้ เหมาะที่จะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าจะได้พบกับอะไรและจะต้องการใช้เมื่อไหร่
ถ่ายที่ระยะ 600 มม.
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/640 วินาที, ISO 320
วัดไท่ฮัว ฝอกวงซัน
ถ่ายที่ระยะ 29 มม.
EOS RP/ EF 17-40mm f/4L USM ที่ 29 มม., f/7.1, 1/1600, ISO 320
กรุงเทพฯ นั้นเต็มไปด้วยวัดและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามมากมาย แต่การถ่ายภาพสถานที่เหล่านี้ในระยะใกล้ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ด้วยการขยับเข้าไปใกล้ตัวแบบ เลนส์ RF600mm f/11 IS STM ช่วยให้ผมถ่ายภาพรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดเล็กได้จากมุมที่ดีที่สุด
คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 2: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว
การถ่ายภาพด้วยมือถือถ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น
ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวเลนส์ (สูงสุด 5 สต็อปในเลนส์ RF600mm f/11 IS STM และสูงสุด 4 สต็อปในเลนส์ RF800 f/11 IS STM) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้ใช้เลนส์ได้ง่ายดายมาก คุณสมบัตินี้รวมกับดีไซน์ที่มีน้ำหนักเบาทำให้การถ่ายภาพด้วยมือโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องเป็นเรื่องง่ายขึ้นแม้ในสภาวะแสงน้อย
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/60 วินาที, ISO 320
เสาชิงช้า
ภาพเสาชิงช้ายามเย็นถ่ายด้วยมือถือถ่ายในมุมต่ำ ด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวเลนส์ รูรับแสงคงที่ที่ f/11 จึงไม่เป็นปัญหามากนักในสภาพแสงน้อยแม้คุณจะไม่ต้องการใช้ความไวแสงที่สูง การถ่ายภาพที่ 1/60 วินาทีด้วยเลนส์ที่ไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวมักจะทำให้เห็นการสั่นของกล้องได้ชัดเจน แต่ในภาพนี้กลับไม่มีการสั่นเลย
คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 3: วงแหวนควบคุม
ควบคุมการเปิดรับแสงได้โดยตรง
ผมคิดว่าวงแหวนควบคุมเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ดีที่สุดที่แคนนอนได้ใส่เข้ามาในเลนส์ คุณสมบัตินี้ช่วยให้คุณควบคุมค่าการเปิดรับแสงที่กำหนดได้ตามต้องการเพียงแค่หมุนวงแหวน คุณจึงไม่พลาดโอกาสอันมีค่าในการถ่ายภาพไปกับการเลื่อนหาเมนูในกล้อง
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 2000
พนักงานขับรถไฟกำลังปีนเข้าไปในห้องคนขับ การกำหนดให้วงแหวนควบคุมเป็นตัวควบคุมความไวแสง ช่วยให้คุณควบคุมการเปิดรับแสงได้เร็วขึ้นเมื่อต้องย้ายไปยังฉากที่มีสภาพแสงแตกต่างกัน
สรุป: ฉากในระยะใกล้ทำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
สิ่งที่อยู่รอบตัวเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องน่าทึ่งที่แม้แต่สถานที่ที่คุ้นเคยที่สุดจะมีบางอย่างแตกต่างออกไปเสมอในทุกครั้งที่คุณมอง ในระยะเวลา 5 ปีนับจากผมเริ่มถ่ายภาพ การออกไปถ่ายภาพนอกสถานที่ช่วยเพิ่มทักษะให้ผมอย่างมาก เพราะการได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นทำให้ผมหันมาสนใจช่วงเวลาที่อยู่รอบตัวมากขึ้น ผมเข้าใจมากขึ้นว่าต้องการถ่ายภาพในช่วงเวลาแบบใดเพื่อให้ผู้คนได้เห็น
อาจต้องทำความคุ้นเคยกับกำลังขยายและระยะทางยาวโฟกัสใกล้สุดสักเล็กน้อย แต่ก็นับว่าคุ้มค่า
เมื่อมองผ่านเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ เช่น RF600mm f/11 IS STM หรือ RF800mm f/11 IS STM กำลังขยายจะทำให้คุณได้เห็นอีกมุมหนึ่งของฉากที่คุณไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน
คุณอาจต้องทำความคุ้นเคยกับกำลังขยายและระยะโฟกัสใกล้สุดที่ยาวขึ้นสักเล็กน้อย (4.5 เมตรสำหรับ RF600mm f/11 IS STM และ 6 เมตรสำหรับ RF800mm f/11 IS STM) คุณอาจต้องเดินสำรวจเพื่อหามุมที่เหมาะสมและเพิ่มระยะห่างระหว่างคุณและตัวแบบให้มากขึ้น แต่เมื่อคุ้นเคยกับมันแล้ว คุณจะสนุกมากและคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยยกระดับการถ่ายภาพของคุณ รวมทั้งความเข้าใจของคุณที่มีต่อสถานที่แห่งนั้นขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
มุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ ที่ระยะ 600 และ 800 มม.
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/320 วินาที, ISO 100
องค์พระใหญ่ที่วัดปากน้ำคือภาพแห่งความเงียบสงบที่ตัดกับท้องถนนอันยุ่งวุ่นวาย
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 320
เสาชิงช้า
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะประมาณ 500 เมตรจากเสาชิงช้าซึ่งมีความสูง 27 เมตร เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพของเลนส์ทำให้เห็นขนาดของเสาชิงช้าในแบบที่ต่างออกไป
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 3.2 วินาที, ISO 100
ถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานด้วยมือถือถ่าย โดยใช้เลนส์ RF600mm f/11 IS STM ภาพค่อนข้างคมชัดแม้ที่ 3.2 วินาที
EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/400 วินาที, ISO 800
มุมนี้ทำให้คุณรู้สึกเหมือนกำลังยืนอยู่บนรางรถไฟ แต่ความจริงแล้วถ่ายจากระยะปลอดภัยที่ค่อนข้างไกลทีเดียว!
EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/320 วินาที, ISO 160
แสงที่ตกกระทบลงบนแผ่นกระจกของตัวอาคาร
EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 320
เงาช่วยขับให้เห็นรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของอพาร์ตเมนต์เหล่านี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจากระยะไกล อาคารเหล่านี้อาจดูเหมือนกันและไร้ชีวิตชีวา แต่เมื่อดูจากระยะใกล้ คุณจะเห็นรายละเอียดของชีวิตมนุษย์
RF600mm f/11 IS STM
เลนส์ฮูด: ET-88B (มีจำหน่ายแยกต่างหาก)
โครงสร้างของเลนส์
A: เลนส์ DO
ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ
โครงสร้างเลนส์: 10 ชิ้นเลนส์ใน 7 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 4.5 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.14 เท่า
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 82 มม.
ขนาด: φ93 x 269.5 มม. (ขณะถ่ายภาพ)/199.5 มม. (เมื่อหดเก็บ)
น้ำหนัก: 930 ก. โดยประมาณ
RF800mm f/11 IS STM
เลนส์ฮูด: ET-101 (มีจำหน่ายแยกต่างหาก)
โครงสร้างของเลนส์
A: เลนส์ DO
ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ
โครงสร้างเลนส์: 11 ชิ้นเลนส์ใน 8 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 6.0 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.14 เท่า
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 95 มม.
ขนาด: φ93 x 351.8 มม. (ขณะถ่ายภาพ)/281.8 มม. (เมื่อหดเก็บ)
น้ำหนัก: 1,260 ก. โดยประมาณ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
ดรณ์ อมาตยกุล เป็นช่างภาพอิสระจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย เขาเริ่มถ่ายภาพเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2016 เพื่อบันทึกช่วงเวลาที่น่าจดจำและถ่ายทอดมุมมองของเขาเมื่อครั้งเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่ออาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ถ่ายภาพได้สวยงามที่สุดในโลก เขาจึงสนใจการถ่ายภาพในเมืองและทิวทัศน์เมืองและความหลงใหลของเขาก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนการถ่ายภาพได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเขา เขาหวังว่าผู้คนจะได้สังเกตเห็นความงดงามในเมืองและมองสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยมุมมองใหม่ผ่านภาพถ่ายของเขา
อินสตาแกรม: @donamtykl