พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #6: เลนส์มุมกว้าง
เลนส์มุมกว้างสามารถเก็บขอบเขตภาพกว้างได้อย่างน่าประทับใจ พร้อมทั้งสร้างภาพที่มีเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเด่นชัด ในบทความนี้ เราจะมาศึกษาลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้าง รวมทั้งตักตวงเคล็ดลับเกี่ยวกับการฝึกฝนใช้งานจนชำนาญกัน
EOS R6 Mark II + RF10-20mm f/4L IS STM ที่ 10 มม., f/8, 1/25 วินาที, ISO 2500
ลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้าง
1. สามารถถ่ายขอบเขตภาพกว้างได้อย่างน่าประทับใจ
2. สามารถใช้เพื่อเน้นเปอร์สเป็คทีฟ
3. ทำให้บริเวณขอบภาพดูบิดเบี้ยว
4. ช่วยให้ได้โฟกัสชัดลึกง่ายขึ้น
5. มีระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นกว่า
เลนส์มุมกว้างคืออะไร
โดยทั่วไป เลนส์มุมกว้างหมายถึงเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 35 มม. หรือต่ำกว่านั้น เลนส์มุมกว้างสามารถถ่ายภาพฉากได้มากกว่าที่ตาของคนเรามองเห็น ยิ่งทางยาวโฟกัสสั้น ขอบเขตภาพที่ได้ก็จะยิ่งกว้างขึ้น เลนส์มุมกว้างที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่า 24 มม. ถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์
ขอบเขตภาพของเลนส์มุมกว้าง
A: ขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์ตามปกติ/เลนส์มาตรฐาน (40°-60°)
B: เลนส์มุมกว้าง (>35 มม.)
C: เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ (>24 มม.)
เนื่องจากเลนส์มุมกว้างขับเน้นเปอร์สเป็คทีฟด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในผลภาพที่ได้ วัตถุที่อยู่ใกล้จึงดูใหญ่ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลจะดูเล็กลง นี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเลนส์มุมกว้าง แต่ในขณะเดียวกันเลนส์อาจทำให้เกิดความบิดเบี้ยวอันไม่พึงประสงค์ในภาพถ่ายได้เช่นกันขึ้นอยู่กับตัวแบบ เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดสุดที่บริเวณขอบภาพ จึงควรวางตัวแบบไว้ที่กึ่งกลางเฟรม หากไม่ต้องการให้ตัวแบบดูบิดเบี้ยวไป
เลนส์มุมกว้างยังมีระยะชัดลึกที่กว้าง ซึ่งทำให้ง่ายต่อการโฟกัสแบบชัดลึก ซึ่งก็คือการสร้างภาพถ่ายที่ภาพทั้งหมดอยู่ในโฟกัสตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์ เนื่องจากการสั่นไหวของกล้องจะเห็นได้ไม่ชัดนักเมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง คุณจึงสามารถถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ ได้ คุณสมบัติเหล่านี้จึงทำให้เลนส์มุมกว้างมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่กว้างใหญ่และพื้นที่ด้านในที่คับแคบ
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้างได้ที่
ถาม-ตอบเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพ ลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้างและการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
ประเภทของเลนส์มุมกว้าง RF
เลนส์มุมกว้างของ Canon สำหรับเมาท์ RF สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่
i) เลนส์ซีรีย์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ระดับมืออาชีพเหล่านี้มีบอดี้ที่ทนทานพร้อมซีลป้องกันสภาพอากาศและออพติคส์ระดับไฮเอนด์ เพื่อตอบสนองความต้องการหลากหลายของผู้ใช้ที่ใช้เลนส์รุ่นนี้หาเลี้ยงชีพ
1. RF15-35mm f/2.8L IS USM
2. RF14-35mm f/4L IS USM
3. RF10-20mm f/4L IS STM
ii) เลนส์ไฮบริดซีรีย์ L สำหรับถ่ายภาพ/วิดีโอสำหรับกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ระดับมืออาชีพเหล่านี้มีโครงสร้างเช่นเดียวกับเลนส์ในข้อ i) พร้อมด้วยคุณสมบัติพิเศษที่เป็นประโยชน์กับการถ่ายวิดีโอระดับมืออาชีพ
1. RF24mm f/1.4L VCM
2. RF35mm f/1.4L VCM
iii) เลนส์ที่ไม่ได้อยู่ในซีรีย์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ประเภทนี้ออกแบบมาให้ผู้ที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกและผู้ใช้มือสมัครเล่นใช้งานได้ง่ายขึ้น
1. RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM
2. RF16mm f/2.8 STM
3. RF24mm f/1.8 Macro IS STM
4. RF28mm f/2.8 STM
5. RF35mm f/1.8 Macro IS STM
เลนส์ RF-S สำหรับกล้อง APS-C
เลนส์ประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่มีกล้อง APS-C ในซีรีย์ EOS R เช่น EOS R50, EOS R10 และ EOS R7 เลือกใช้โดยเฉพาะ เป็นเลนส์ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา เข้ากับตัวกล้อง APS-C
- RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
เลนส์ RF-S และ RF แตกต่างกันอย่างไร
วิธีการใช้เลนส์มุมกว้างของคุณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ถ่ายตัวแบบในระยะใกล้ขึ้นเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่เด่นชัดยิ่งขึ้น
ดังที่ได้แนะนำไว้ในพื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #5: เปอร์สเป็คทีฟ เมื่อกล้องอยู่ใกล้ตัวแบบมากขึ้น เปอร์สเป็คทีฟจะเห็นชัดขึ้น
ทั้งสองภาพด้านล่าง: EOS R6 Mark II + RF14-35mm f/4L IS USM ที่ 14 มม., f/11
ไกลจากตัวแบบมากกว่า
ใกล้ตัวแบบมากกว่า
ภาพตัวอย่างมุมต่ำด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากัน (14 มม.) การขยับเข้าใกล้ล้อด้านหน้ามากขึ้นทำให้ล้อดูสูงลิ่วเหนือกล้อง นี่เป็นเคล็ดลับข้อหนึ่งในการทำให้ตัวแบบดูมีพลังและน่าประทับใจยิ่งขึ้น!
รู้หรือไม่: เลนส์มุมกว้างสามารถโฟกัสได้ใกล้ขึ้น
เลนส์มุมกว้างมีระยะโฟกัสใกล้สุดสั้นกว่าเลนส์ประเภทอื่นๆ ดังนั้นอย่ากลัวที่จะเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น! เลนส์ที่มีคำว่า “มาโคร” ในชื่อเลนส์ เช่น RF24mm f/1.8 Macro IS STM ช่วยให้คุณสร้างภาพมาโครมุมกว้างที่ไม่เหมือนใครและแสดงสภาพแวดล้อมโดยรอบได้มาก
1. เข้าใจว่าความบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดขึ้นที่บริเวณขอบภาพ
วางใบหน้าและรายละเอียดสำคัญที่คุณไม่ต้องการให้ดูบิดเบี้ยวไว้ตรงกลางเฟรมภาพ ตัวแบบและรายละเอียดต่างๆ ที่บริเวณขอบภาพจะดู “ยืดออก”
ทั้งสองภาพด้านล่าง: EOS R6 Mark II + RF16mm f/2.8 STM ที่ 16 มม., f/3.2, 1/200 วินาที
ตัวแบบที่อยู่กึ่งกลาง
ตัวแบบที่อยู่บริเวณขอบ
ทั้งสองภาพด้านล่างถ่ายโดยใช้การตั้งค่าแบบเดียวกันที่ 16 มม. สังเกตว่าใบหน้าของแมวและรูปร่างของวัตถุดูบิดเบี้ยวเมื่อเราวางไว้ด้านข้างเฟรม นี่คือเหตุผลว่าทำไมเลนส์มุมกว้างจึงมักไม่ค่อยนำมาใช้ในการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ และควรใช้งานด้วยความระมัดระวังเมื่อถ่ายภาพบุคคล!
อ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เลนส์มุมกว้างได้ที่
เทคนิคการใช้เลนส์มุมกว้าง: จัดองค์ประกอบภาพพอร์ตเทรตให้มีชีวิตชีวาที่ระยะ 28 มม.
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง
ใช้เลนส์มุมกว้างสำหรับฉากเหล่านี้
EOS R+ RF16mm f/2.8 STM ที่ FL: 16 มม.
EOS R+ RF16mm f/2.8 STM ที่ FL: 16 มม.
ในที่ร่มซึ่งคุณต้องการถ่ายระยะชัดลึกที่กว้าง
เลนส์มุมกว้างจะมีประโยชน์ในการถ่ายภาพตัวแบบขนาดใหญ่ในพื้นที่จำกัดและขยายขอบเขตภาพพื้นที่ด้านในที่คับแคบให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสถานการณ์ข้างต้น ซึ่งคุณต้องถ่ายภาพให้ใกล้กับตัวแบบขนาดใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคต่างๆ เช่น สิ่งกีดขวาง
รู้หรือไม่: เลนส์มุมกว้างช่วยให้ได้ภาพถ่ายโดยไม่ใช้ขาตั้งที่มั่นคงยิ่งขึ้นเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ
หากคุณถ่ายภาพในสถานที่แสงน้อย ก็สามารถลดความเร็วชัตเตอร์ลงได้ตามต้องการแม้จะถือกล้องถ่ายภาพ หลักการทั่วไปในการหลีกเลี่ยงปัญหากล้องสั่นคือ ตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำไม่เกิน 1/(ทางยาวโฟกัสของคุณ) วินาที จุดนี้เองทำให้เลนส์มุมกว้าง (ทางยาวโฟกัสสั้น) มีข้อได้เปรียบ โดยที่ยังไม่ต้องพิจารณาระบบป้องกันภาพสั่นไหวในเลนส์/ในกล้องด้วยซ้ำ!
EOS R6 Mark II/ RF15-35mm f/2.8L IS USM USM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/800 วินาที, EV +0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ (Ambience-priority)
เพื่อทำให้อาคารดูสูงตระหง่านขึ้น
มุมรับภาพที่กว้างของเลนส์มุมกว้างยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทำให้อาคารดูสูงตระหง่านขึ้น โดยมีวิธีคือขยับเข้าใกล้กำแพงอาคารมากขึ้น แล้วถ่ายที่ระดับต่ำและใช้มุมต่ำเพื่อให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ ใช้การจัดวางในแนวตั้งเพื่อขับเน้นความสูงมากขึ้น
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเลือกและใช้เลนส์มุมกว้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ใน
บทวิจารณ์เลนส์: RF28mm f/2.8 STM กับ RF35mm f/1.8 Macro IS STM ในการถ่ายภาพท่องเที่ยว และสตรีท
วิธีถ่ายภาพพอร์ตเทรตพาโนรามาแบบมุมกว้าง
ภาพโคลสอัพระยะ 24 มม.: 3 แบบฝึกหัดง่ายๆ เพื่อฝึกใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างให้ชำนาญ