ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

วิธีถ่ายภาพพอร์ตเทรตพาโนรามาแบบมุมกว้าง

2023-03-24
0
1.42 k

เมื่อเลนส์ที่คุณมีอยู่ไม่เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพให้ฉากหนึ่งดูสวยงามอย่างที่ควรจะเป็น ทางออกง่ายๆ ข้อหนึ่งคือการถ่ายภาพหลายภาพแล้วนำมาต่อกันเป็นภาพพาโนรามา การใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น แต่คุณจะถ่ายภาพให้สำเร็จได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวแบบเป็นมนุษย์ Johnson Wee (@johnsonweew) ช่างภาพพรีเวดดิ้งและภาพพอร์ตเทรตระดับมือรางวัลจะมาแบ่งปันวิธีการที่เขาใช้ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตในงานแต่งงานแบบพาโนรามามุมกว้าง รวมถึงเคล็ดลับระดับมืออาชีพอื่นๆ (ภาพโดย Johnson Wee และเรื่องจากประสบการณ์ที่ได้เล่าให้ทีมงาน SNAPSHOT ฟัง)

EOS R5 + RF15-35mm f/2.8L IS USM ที่ 15 มม., f/6.3, 1/200, ISO 200
ภาพพาโนรามาจากภาพแนวนอนต่อกัน 5 ภาพ
อุปกรณ์อื่นๆ: แฟลชเสริม 1 ตัวและซอฟต์บ็อกซ์ (ทางด้านซ้ายของช่างภาพ)

ในบทความนี้:

 

ทำไมจึงถ่ายภาพพาโนรามามุมกว้าง

ผมเริ่มถ่ายภาพพาโนรามาแบบมุมกว้างหลังจากเริ่มถ่ายภาพพรีเวดดิ้งในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เราได้ไปถ่ายภาพในสถานที่สวยงามมากมาย แต่ถึงแม้จะใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ บ่อยครั้งการจะถ่ายฉากทั้งหมดให้อยู่ในเฟรมเดียวโดยให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจก็ยังเป็นเรื่องยาก แม้เราจะเก็บฉากเข้ามาได้ทั้งหมด แต่ตัวคู่รักมักจะดูมีขนาดเล็กเกินไปและถูก “กลบ” โดยสิ่งที่อยู่รอบๆ

ภาพพาโนรามาแบบมุมกว้างคือทางออกของผม


ภาพพาโนรามาแบบมุมกว้างเทียบกับภาพมุมกว้างอัลตร้าไวด์ภาพเดียว

ลองเปรียบเทียบภาพต่อไปนี้

ภาพมุมกว้างอัลตร้าไวด์ธรรมดา (15 มม.)
นี่เป็นหนึ่งใน “ภาพสำรอง” ที่ผมมักจะถ่ายไว้ในกรณีที่ถ่ายภาพพาโนรามาไม่สำเร็จ โรงแรม Marina Bay Sands คงจะเข้ามาอยู่ในภาพด้วยหากผมถอยหลังออกมาเล็กน้อย แต่ตัวคู่บ่าวสาวจะดูมีขนาดเล็กเกินไป


ภาพพาโนรามา (นำภาพถ่ายที่ 15 มม. 5 ภาพมาต่อกัน)
ภาพพาโนรามาทำให้มองเห็นทิวทัศน์ได้มากขึ้นในขณะที่คู่บ่าวสาวยังคงมีขนาดเท่าเดิม คุณจะสังเกตเห็นแนวโค้งที่ขอบภาพ ผมให้คู่รักอยู่ห่างออกมาจากจุดกึ่งกลางเล็กน้อยเพื่อที่จะได้ไม่มีที่โล่งเกินความจำเป็นซึ่งอยู่ในรูปแบบของกำแพงมากเกินไปทางด้านขวามือ


เพราะเหตุใดจึงใช้เลนส์มุมกว้างแทนที่จะใช้เลนส์ที่ยาวกว่า

ผู้เริ่มต้นถ่ายภาพมักจะถูกสอนให้ถ่ายภาพพาโนรามาด้วยทางยาวโฟกัสมาตรฐานหรือยาวกว่าเนื่องจากทำให้เกิดความบิดเบี้ยวน้อยกว่า ซึ่งทำให้นำภาพมาต่อกันได้ง่ายขึ้น มี 3 เหตุผลหลักที่ทำให้ผมถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมจะใช้ระยะมุมกว้างด้วย

1) ระยะถ่ายภาพที่ง่ายต่อการจัดเฟรม
หากใช้เลนส์มุมกว้าง คุณจะทำให้คู่รักและองค์ประกอบที่คุณต้องการเข้ามาอยู่ในเฟรมภาพได้ และยังมีพื้นที่เหลือโดยไม่ต้องถอยหลังไปไกลมากนัก และระยะนี้ก็ทำให้สื่อสารกันได้อย่างสะดวก!

2) ทำให้เจ้าสาวสวยขึ้น
ผมใช้เปอร์สเปคทีฟมุมกว้างเพื่อช่วยในการทำให้เจ้าสาวดูสูงขึ้นและมีสัดส่วนเหมือนนางแบบ แน่นอนว่าเจ้าบ่าวก็ได้รับประโยชน์ข้อนี้ด้วย

3) เอฟเฟ็กต์การบิดงอรูปทรงกระบอกอันเป็นเอกลักษณ์ที่ขอบภาพ
ภาพที่ถ่ายด้วยทางยาวโฟกัสมาตรฐานหรือเทเลโฟโต้ระยะกลางจะมีความบิดเบี้ยวน้อยกว่า ซึ่งทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต อย่างไรก็ตาม เอฟเฟ็กต์การบิดงอรูปทรงกระบอกที่ขอบภาพซึ่งเกิดจากการนำภาพมุมกว้างมาซ้อนกันอาจทำให้ภาพดูมีเอกลักษณ์โดดเด่น!

คุณสามารถหลีกเลี่ยงความบิดเบี้ยวที่ไม่ต้องการบนตัวแบบภาพพอร์ตเทรตได้ด้วยการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมีทักษะ ซึ่งผมจะอธิบายให้ฟังเพิ่มเติมในประเด็นต่อไป

 

สิ่งที่ควรเตรียมไปให้พร้อม

- เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ (สั้นกว่า 24 มม.)
- สถานที่สวยงามและตัวแบบที่กระตือรือร้น
- การจัดแสงหากจำเป็น
- หากคุณยังใหม่กับการถ่ายภาพเช่นนี้: ลองพิจารณาดูว่าคุณควรใช้ขาตั้งกล้องหรือไม่

 

1. การจัดเตรียมอุปกรณ์: ตำแหน่งกล้อง การจัดองค์ประกอบภาพ และจัดเตรียมอุปกรณ์


i) ให้กล้องอยู่ในระดับเดิมให้มากที่สุดขณะที่คุณแพนกล้อง

การถ่ายภาพพาโนรามาก็เหมือนกับการถ่ายภาพโดยการแพนกล้อง คือคุณจำเป็นต้องรักษาระดับของกล้องให้อยู่ในแนวเดิมมากที่สุดขณะที่เคลื่อนย้ายตัวกล้อง การขยับกล้องขึ้นหรือลงอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการซ้อนภาพ และคุณอาจต้องครอปภาพออกไปมากกว่าที่ต้องการหากภาพเกิดการเอียงในแนวนอน

หากคุณตัดสินใจใช้ขาตั้งกล้อง
จะเป็นการดีที่สุดหากใช้หัวขาตั้งกล้องที่ช่วยให้คุณจำกัดการเคลื่อนไหวไว้ที่ระดับเดียวได้ ระมัดระวังมากขึ้นหากคุณใช้ขาตั้งกล้องแบบหัวบอล เนื่องจากอาจควบคุมได้ยาก

หากคุณตัดสินใจถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือ
การถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือให้ความยืดหยุ่นที่มากกว่า ให้ใช้เทคนิคเดียวกันกับที่คุณจะใช้ในการถ่ายภาพแบบแพนกล้องที่ดี ซึ่งได้แก่

- ถ่ายด้วยท่าทางที่มั่นคงโดยให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ในระดับต่ำและแยกขาห่างกันประมาณเท่าช่วงบ่า
- ขณะแพนกล้อง เก็บศอกให้ชิดกับลำตัวของคุณให้มากที่สุด จากนั้นจึงขยับลำตัวทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่มือหรือแขน คุณอาจรู้สึกเหมือนหุ่นยนต์ แต่ท่านี้ทำให้ถ่ายภาพได้นิ่งที่สุด!
- หากต้องการความมั่นคงที่มากขึ้นอีก ให้ถ่ายผ่านช่องมองภาพ ใบหน้าของคุณจะเป็นจุดรองรับที่ 3


ฝึกฝนจนกระทั่งคุณสามารถถ่ายภาพเช่นนี้ได้!
เบื้องหลังการถ่ายภาพ เลนส์มุมกว้างช่วยให้ผมถ่ายภาพคู่รักและทิวทัศน์ได้จากระยะที่ไม่ไกลมากนัก และผมยังคงสามารถสื่อสารกับพวกเขาได้ หากต้องการถ่ายภาพให้นิ่งมากขึ้น ใช้ช่องมองภาพเพื่อที่คุณจะได้มีจุดยึดเกาะเพิ่มเติม ผมต้องฝึกฝนและลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งจึงสามารถถ่ายภาพต้นแบบที่ดีได้อย่างสม่ำเสมอในขณะที่แพนกล้องแบบถือด้วยมือโดยใช้หน้าจอ LCD!


ii) เผื่อพื้นที่ว่างด้านบนและล่างให้มากขึ้น

ให้เหลือที่ว่างไว้ประมาณหนึ่งในทุกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ด้านบนและด้านล่าง เนื่องจากภาพจะถูกครอปออกไปในกระบวนการแก้ไขเปอร์สเปคทีฟและการนำภาพมาซ้อนกัน คุณคงไม่อยากให้รายละเอียด เช่น ศีรษะ เท้า หรือชุดถูกครอปออกไป!


iii) ตัดสินใจว่าคุณต้องการถ่ายภาพในแนวนอนหรือแนวตั้ง

ผมมักจะเลือกถ่ายภาพแนวนอนสำหรับภาพพาโนรามาแนวนอน ภาพแนวตั้งทำให้มีภาพที่จะนำมาต่อกันมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการซ้อนภาพมากขึ้น


ควรใช้กี่ภาพ

จำนวนภาพที่น้อยกว่าไม่ได้แปลว่าจะดีกว่าเสมอไป คุณเพียงต้องการข้อมูลที่เพียงพอในการถ่ายภาพพาโนรามาที่ดี สำหรับผม ภาพแนวนอนประมาณ 5 ถึง 6 ภาพจะให้สมดุลที่ดีที่สุด ทดลองถ่ายภาพดูแล้วพิจารณาว่าแบบใดเหมาะกับคุณ

จาก 3 ภาพ
ยังคงเห็นร่องรอยของเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟ อาคารและกำแพงดูเหมือนจะเอียงออกไปด้านนอก


จาก 5 ภาพ
อาคารดูไม่เอียงมากนัก และยังมีเอฟเฟ็กต์ทรงกลมที่สวยงามจาก “ความโค้ง” ที่อยู่ตรงมุมด้านขวาและซ้ายของภาพ


iv) การตั้งค่า: ใช้ระดับแสงและโฟกัสที่สม่ำเสมอ

การเปิดรับแสง: การเปิดรับแสงแบบแมนนวล
ใช้โหมดการเปิดรับแสงแบบแมนนวลเพื่อให้แน่ใจว่าทุกภาพมีค่าการเปิดรับแสงเท่ากัน แม้โหมดเปิดรับแสงแบบกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติจะมีความแม่นยำมากขึ้น แต่ความสว่างอาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉากที่มีความเปรียบต่างสูง

โฟกัส: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโฟกัสไม่เปลี่ยนตำแหน่ง
ถ่ายภาพด้วยรูรับแสงที่ค่อนข้างแคบ (ระยะชัดลึกกว่า) เนื่องจากส่วนที่อยู่นอกโฟกัสอาจส่งผลต่อการนำภาพมาต่อกัน นี่คือจุดที่ระยะชัดของเลนส์มุมกว้างซึ่งลึกกว่าโดยธรรมชาติจะเป็นประโยชน์

ระบบติดตาม AF ของกล้อง EOS R5 ทำให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวอยู่ในโฟกัสทุกภาพ

 

2. การถ่ายภาพ: สิ่งที่คุณควรทราบขณะถ่ายภาพ


i) ให้ภาพซ้อนทับกันมากกว่าที่คุณใช้กับเลนส์ที่ยาวกว่า

เมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง ผมมักจะซ้อนภาพแต่ละภาพประมาณ 50 ถึง 60% ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าหากเทียบกับเลนส์ที่ยาวกว่า ซึ่งมักใช้การซ้อนทับประมาณ 30 ถึง 40% ปริมาณการซ้อนทับที่มากกว่าจะช่วยลดความบิดเบี้ยวที่ไม่ต้องการได้

ผมแพนกล้องจากด้านขวาของฉากไปทางด้านซ้าย ภาพที่ 2 และ 3 ซึ่งมีคู่รักอยู่ตรงจุดกึ่งกลางภาพและใกล้จุดกึ่งกลางภาพใช้การซ้อนทับเกือบ 90% เนื่องจากเป็นจุดที่ผมต้องการให้เกิดความบิดเบี้ยวน้อยที่สุด

 


ii) จัดตำแหน่งให้ตัวแบบของคุณอยู่ใกล้จุดกึ่งกลางให้มากที่สุด

นี่คือเคล็ดลับที่สำคัญที่สุดในการหลีกเลี่ยงความบิดเบี้ยวบนตัวแบบในภาพพอร์ตเทรตของคุณ! หากใช้เลนส์มุมกว้าง จะเห็นความบิดเบี้ยวได้ชัดกว่าในบริเวณขอบภาพเสมอ ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณมีภาพที่ตัวแบบอยู่ตรงกึ่งกลางภาพ หากคุณสังเกตภาพแรกในข้อที่ 2i) จะเห็นว่าผมมีภาพดังกล่าว 2 ภาพซึ่งซ้อนทับกัน 80 ถึง 90%

ความบิดเบี้ยวบนตัวเจ้าบ่าวจะเห็นได้ชัดในตัวอย่างที่ 1 และเห็นได้น้อยกว่าในตัวอย่างที่ 2

 

3. การซ้อนภาพ

ผมมักใช้การต่อภาพแบบทรงกลม นี่คือลักษณะของภาพพาโนรามาที่ได้หลังนำมาต่อกันทันที

วัตถุสีดำที่อยู่ด้านบนสุดของภาพสุดท้าย (ซ้ายสุด) คือมุมของซอฟต์บ็อกซ์ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ช่วยของผมเคลื่อนย้ายไฟไปทางซ้ายมือของผมเล็กน้อยเพื่อให้พ้นทาง ส่วนนี้สามารถลบออกได้อย่างง่ายดายในกระบวนการปรับแต่งภาพ


นี่คือลักษณะของภาพพาโนรามาที่ได้หลังการปรับแต่งและครอปภาพทั้งหมดแล้ว

ภาพนี้ดูเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่งานของเรายังไม่จบ คุณสังเกตเห็นหรือไม่ว่ามีอะไรแปลกๆ บนพื้น

 

4. แก้ไขข้อผิดพลาดในการซ้อนภาพ

เมื่อนำภาพมาต่อกันและคุณได้แก้ไขปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนแล้ว ให้ตรวจสอบภาพพาโนรามาอย่างละเอียดเพื่อหาข้อผิดพลาดจากการซ้อนภาพ ขั้นตอนนี้จะสำคัญมากหากคุณต้องพิมพ์ภาพด้วย ภาพอาจดูเหมือนไม่มีข้อบกพร่องใดๆ แต่คุณจะเห็นข้อผิดพลาดได้ชัดขึ้นเมื่อขยายใหญ่!


เคล็ดลับระดับมือโปร: เส้นและลวดลายที่ซ้ำกันมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อผิดพลาด

เครื่องมือทำซ้ำ (Clone tool) ไม่เพียงพอสำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ ผมจึงต้องใช้เครื่องมือโน้มวัตถุ (Warp tool) ด้วยเช่นกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเส้นตรงนั้นมีสาเหตุมาจากการที่สิ่งต่างๆ จะมีลักษณะแตกต่างกันไปจากมุมที่ต่างกัน (การตัดส่วน) ซึ่งจะเห็นความแตกต่างได้ชัดขึ้นบนวัตถุที่อยู่ใกล้กับกล้องมากกว่า

วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันข้อผิดพลาดเช่นนี้คือการหลีกเลี่ยงเส้นตรงและลวดลายที่ซ้ำกันในโฟร์กราวด์หากสามารถทำได้ ซึ่งคุณอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ทุกครั้งหากทำงานให้ลูกค้า! แต่สำหรับภาพนี้ ผมต้องการแสดงให้เห็นว่าสามารถแก้ไขได้อย่างไร


เคล็ดลับระดับมือโปร: “การแก้ไขในการปรับแต่ง” อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางครั้ง แต่พยายามอย่าอาศัยการปรับแต่งมากจนเกินไป

ผมพยายามถ่ายภาพให้ทุกองค์ประกอบสมบูรณ์จากในกล้องมากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้และหลีกเลี่ยงการใช้การปรับแต่งที่มากเกินไป นี่คือวิธีพัฒนาทักษะของคุณในฐานะช่างภาพ!

ในขั้นตอนที่ 2 และ 3 เราได้ทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้แล้วในการป้องกันข้อผิดพลาดในการนำภาพมาต่อกัน แต่ปัญหาอย่างเส้นตรงด้านบนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณควรเก็บเวลาในการปรับแต่งภาพไว้สำหรับข้อผิดพลาดเช่นนี้ แทนที่จะต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ได้อย่างง่ายดายในขณะที่กำลังถ่ายภาพ


i) การปิดทับ (Masking) และการรีทัช (Retouching)

เมื่อคุณแก้ไขข้อผิดพลาดจากการซ้อนภาพเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการปิดทับและรีทัชต่อได้เลย

เคล็ดลับระดับมือโปร: ทำให้ตัวแบบของคุณดูโดดเด่นตัดกับระยะชัดลึก

เอฟเฟ็กต์โบเก้ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับภาพพาโนรามา ดังนั้น จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับระยะชัดที่ลึกมาก ยิ่งในภาพของคุณมีองค์ประกอบมากเท่าใด ก็จะมีสิ่งที่ดึงความสนใจผู้ชมได้มากขึ้นเท่านั้น ปรับแต่งภาพของคุณโดยเลือกอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ตัวแบบหลักดูโดดเด่น ตรวจดูให้แน่ใจว่าสีสันต่างๆ ความคมชัด และโทนสีไม่โดดเด่นเกินหน้าตัวแบบหลักของคุณ


หากต้องการเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตสำหรับงานแต่งงาน โปรดดู:
2 เทคนิคจัดแสงด้วยไฟดวงเดียวง่ายๆ สำหรับภาพพอร์ตเทรตงานแต่งงานกลางวัน/กลางคืนที่สวยงาม
การถ่ายภาพงานแต่งงานในร่มโดยใช้แสงที่มีอยู่: เทคนิคง่ายๆ 3 ข้อ
การโพสท่างานแต่งงานพื้นฐานแต่ดูดีสำหรับกำกับลูกค้าที่ประหม่า

เกี่ยวกับผู้เขียน

Johnson Wee

Johnson Wee อาศัยอยู่ในมาเลเซียและเป็นดาวรุ่งที่กำลังโด่งดังมากที่สุดคนหนึ่งในอุตสาหกรรมการถ่ายภาพงานแต่งงาน เขามีชื่อเสียงในด้านการจัดองค์ประกอบภาพที่โดดเด่น การจัดแสงที่ดี และการปรับแต่งภาพที่มีเอกลักษณ์ และได้รับรางวัลด้านการถ่ายภาพในระดับนานาชาติมาแล้วกว่า 300 รางวัลในเส้นทางอาชีพของเขา รวมถึงรางวัลอันทรงเกียรติอย่าง WPPI Awards Johnson เป็นทั้งผู้ชนะรางวัล WPPI อันทรงเกียรติและสมาชิกคนหนึ่งใน MPA เขาจึงได้รับเชิญไปบรรยายในเวิร์กช็อปและงานสัมมนามากมาย รวมถึงเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันถ่ายภาพมาแล้วทั่วโลก นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญของ Canon EOS และเป็นแอมบาสเดอร์ให้กับ Profoto ในมาเลเซีย

เว็บไซต์: https://www.johnsonwee.com/ (ฉบับภาษาอังกฤษ)
Instagram: @johnsonweew

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา