ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part2

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #2: เลนส์เดี่ยว

2024-11-27
14
4.85 k

เลนส์เดี่ยว หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าเลนส์ทางยาวโฟกัสคงที่ มักจะมีรูรับแสงกว้างสุดใหญ่กว่าเลนส์ซูม คุณสมบัตินี้เองทำให้เลนส์เดี่ยวเหมาะสำหรับการสร้างโบเก้ รวมทั้งการถ่ายภาพในเวลากลางคืนหรือการหยุดการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง มาสำรวจกันว่าคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์ประเภทนี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาพถ่ายของเราอย่างไรบ้าง

EOS R50 + RF35mm f/1.4L VCM ที่ 35 มม. (เทียบเท่า 56 มม.), f/2.8

ในบทความนี้:

 

ถ่ายโบเก้สวยๆ ได้อย่างง่ายดาย

ข้อได้เปรียบ
- รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการสร้างโบเก้
- สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ ในสภาวะแสงน้อยได้
- มักจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา จึงพกพาได้สะดวก

ข้อเสีย
- ต้องเปลี่ยนเลนส์เพื่อเปลี่ยนทางยาวโฟกัส
- ไม่สามารถซูมเพื่อเปลี่ยนขอบเขตภาพได้

 

เลนส์เดี่ยวคืออะไร

เลนส์เดี่ยวเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวหรือเลนส์ทางยาวโฟกัสคงที่ ดังที่ชื่อข้างต้นได้อธิบายไว้ เลนส์เดี่ยวมีเพียงทางยาวโฟกัสเดียวเท่านั้น จึงไม่สามารถซูมเข้าออกเพื่อเปลี่ยนมุมรับภาพได้

แม้อาจฟังดูไม่สะดวกสบาย แต่เหล่าช่างภาพก็ชื่นชอบเลนส์ประเภทนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้

i) โบเก้ที่สวยงาม
เลนส์เดี่ยวมักจะมีรูรับแสงกว้างสุดที่กว้างกว่าเลนส์ซูม เช่น f/1.2, f/1.4 และ f/1.8 ซึ่งจะสร้างโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์/เอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้นที่สวยงามได้อย่างง่ายดาย

ii) เหมาะสำหรับสภาวะแสงน้อย
ความสามารถในการใช้ค่า f ต่ำๆ (รูรับแสงกว้างๆ) ในสภาวะแสงน้อยหรือมืดทึมช่วยให้คุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์และความไวแสง ISO ได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์เร็วๆ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวหรือหลีกเลี่ยงภาพเบลอจากการสั่นของกล้อง หรือจะตั้งค่าความไวแสง ISO ต่ำๆ เพื่อให้ภาพมีเม็ดเกรนน้อยลงก็ได้

---
อ่านสรุปความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และความเร็ว ISO ได้ใน
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #3: การเปิดรับแสง
---

iii) มักจะมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบากว่า และพกพาได้สะดวกกว่าเลนส์ซูม
เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ซูมแล้ว เลนส์เดี่ยวจะมีโครงสร้างเลนส์ที่เรียบง่ายกว่า ซึ่งทำให้เลนส์เดี่ยวหลายรุ่นมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบากว่า และพกพาได้สะดวกกว่าเลนส์ซูมที่ครอบคลุมทางยาวโฟกัสเท่ากัน 

iv) ช่วยฝึกทักษะการจัดองค์ประกอบภาพ
การใช้เลนส์เดี่ยวจะเปลี่ยนแนวทางการถ่ายภาพของคุณ เพราะคุณต้องเคลื่อนที่ไปรอบๆ เพื่อหาองค์ประกอบที่ดีที่สุดแทนที่จะหมุนวงแหวนการซูมเฉยๆ แม้ว่าจะเป็นงานไม่ง่าย แต่ก็เป็นการฝึกฝนทักษะการจัดองค์ประกอบภาพและช่วยให้คุณใช้ไอเดียสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
แนวคิดในการกำหนดข้อจำกัดในการถ่ายภาพให้กับตนเอง เพื่อช่วยคุณฉีกออกจากแนวคิดสร้างสรรค์แบบเดิมๆ!
เลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูม: ควรซื้อแบบไหนดี

 

แนวคิดสำคัญ (1): ประเภทของเลนส์เดี่ยว

เลนส์เดี่ยวมีด้วยกันสี่ประเภทหลักๆ


เลนส์มุมกว้าง

เลนส์เหล่านี้สามารถถ่ายบริเวณฉากกว้างๆ ได้ โดยมีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมในระยะ 35 มม. หรือน้อยกว่า

เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์เป็นเลนส์มุมกว้างชนิดพิเศษที่มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมสั้นกว่า 24 มม.


เลนส์มาตรฐานและเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง

เลนส์เดี่ยวมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่า “ทั่วไป”) มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมประมาณ 40 ถึง 60 มม. ซึ่งให้เปอร์สเปคทีฟใกล้เคียงกับที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เลนส์มาตรฐานที่พบได้บ่อยที่สุดคือเลนส์ 50mm f/1.8 “50 มม. ความไวสูง”

เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้ระยะกลางเป็นเลนส์เดี่ยวที่ให้ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมประมาณ 70 ถึง 135 มม. มีทางยาวโฟกัสหลักๆ คือ 85 มม., 100 มม. และ 135 มม. เลนส์ประเภทนี้เป็นเลนส์ที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากถ่ายรูปทรงได้อย่างสมจริงโดยเกิดความบิดเบี้ยวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย


เลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้

เลนส์ประเภทนี้สามารถถ่ายภาพโคลสอัพของวัตถุที่อยู่ห่างออกไปได้ เลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 400 มม. ขึ้นไป


เลนส์มาโคร

เลนส์เหล่านี้สามารถถ่ายภาพโคลสอัพของตัวแบบที่มีขนาดเล็กจิ๋วได้

 

ตัวอย่างเลนส์เดี่ยว RF ของ Canon

เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ 2 รุ่นและเลนส์มุมกว้าง 2 รุ่น
(1) RF16mm f/2.8 STM
(2) RF24mm f/1.8L Macro IS STM
(3) RF28mm f/2.8 STM
(4) RF35mm f/1.4L VCM

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
บทวิจารณ์เลนส์: RF28mm f/2.8 STM กับ RF35mm f/1.8 Macro IS STM ในการถ่ายภาพท่องเที่ยว และสตรีท


เลนส์มาตรฐาน 1 รุ่นและเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง 2 รุ่น
(1) RF50mm f/1.8 STM
(2) RF85mm f/2 Macro IS STM
(3) RF135mm f/1.8L IS USM

ข้อควรรู้: สำหรับกล้อง APS-C…
- เลนส์เดี่ยว 24 มม. และ 35 มม. ทำงานได้เหมือนเลนส์มาตรฐาน
- เลนส์เดี่ยว 50 มม. ทำงานได้เช่นเดียวกับเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง


เลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้ 2 รุ่น
(1) RF600mm f/11 IS STM
(2) RF600mm f/4L IS USM


เลนส์มาโคร
(1) RF24mm f/1.8 Macro IS STM
(2) RF35mm f/1.8 Macro IS STM
(3) RF85mm f/2 Macro IS STM
(4) RF100mm f/2.8L Macro IS USM

ข้อควรรู้: กำลังขยายและเลนส์มาโครแท้ๆ
- เลนส์ Canon ที่มีคำว่า “มาโคร” ในชื่อเลนส์ มีอัตราส่วนกำลังขยายอย่างน้อย 0.5 เท่า
- เลนส์ RF100mm f/2.8L Macro IS USM ให้กำลังขยายสูงสุด 1.4 เท่า ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าของจริง! เลนส์รุ่นนี้จึงเป็น “เลนส์มาโครแท้”

 

แนวคิดสำคัญ (2): เลนส์เดี่ยว เลนส์ซูม และความแตกต่างในเรื่องเอฟเฟ็กต์โบเก้

เลนส์เดี่ยวมักเบลอแบ็คกราวด์ (สร้างโบเก้) ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่ทางยาวโฟกัสเท่ากัน ภาพตัวอย่างด้านล่างถ่ายที่ 35 มม. บนกล้อง APS-C (ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 56 มม.) รูรับแสงกว้างสุดบนเลนส์เดี่ยวคือ f/1.4 ขณะที่บนเลนส์ซูมคือ f/5.6 พึงทราบว่าความแตกต่างนี้มีความสำคัญต่อแบ็คกราวด์เบลอ (โบเก้)

RF35mm f/1.4L VCM

EOS R50/ RF35mm f/1.4L VCM
FL: 35 มม. (เทียบเท่า 56 มม.)

RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM

EOS R50/ RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM
FL: 35 มม. (เทียบเท่า 56 มม.)

 

แนวคิดสำคัญ (3): มีค่า f สต็อปให้เลือกมากมาย

เลนส์เดี่ยวมีช่วงค่า f ที่ใช้งานได้หลากหลายกว่า เมื่อเทียบกับเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ที่ทางยาวโฟกัสเท่ากัน ตัวอย่างเช่น ที่ 35 มม. รูรับแสงกว้างสุดคือ f/1.4 บนเลนส์ RF35mm f/1.4L VCM  แต่ f/5.6 บนเลนส์ RF-S15-45mm f/4.5-6.3 IS STM ยิ่งมีค่า f สต็อปให้เลือกมากเท่าใด ก็มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเท่านั้น!

ต่อไปนี้คือสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยเลนส์ f/1.4:
การถ่ายภาพดาราศาสตร์: การถ่ายภาพท้องฟ้าที่ดารดาษไปด้วยดวงดาวด้วยเลนส์ f/1.4

 

แนวคิดสำคัญ (4): การจับโฟกัส

หนึ่งในฉากที่ท้าทายที่สุดที่คุณจะพบเจอขณะใช้เลนส์เดี่ยวคือ เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุดถ่ายภาพตัวแบบขนาดเล็กในแบบโคลสอัพ การจับโฟกัสตัวแบบให้พอเหมาะจะทำได้ยากขึ้น เนื่องจากระยะชัดจะตื้นกว่าปกติ ซึ่งหมายความว่าจะมีพื้นที่ในโฟกัสน้อยมาก!

คุณสามารถถ่ายภาพในลักษณะนี้ได้ดียิ่งขึ้นโดยทำความคุ้นเคยกับเทคนิคต่างๆ เพื่อการโฟกัสอย่างแม่นยำ  ลองดูคำแนะนำดังนี้

- ใช้โหมดพื้นที่ AF ที่มีกรอบ AF เล็กๆ เช่น โหมด AF จุดเล็ก 
- ควบคุมโฟกัสโดยตรงโดยใช้โหมดโฟกัสแบบแมนนวลร่วมกับ MF peaking 
- ใช้ฟังก์ชั่น “ขยายใหญ่” เพื่อเช็กว่าโฟกัสอยู่ตรงจุดที่ต้องการก่อนที่คุณจะออกจากฉากนั้นๆ

EOS R50/ RF35mm f/1.4L VCM/ FL: 35 มม. (เทียบเท่า 56 มม.)/ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/80 วินาที, EV -0.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ (Ambience-priority)/ ถูกครอประหว่างกระบวนการปรับแต่ง

การใช้โฟกัสแบบแมนนวลร่วมกับ MF peaking ช่วยให้แน่ใจว่าดอกเฟื่องฟ้าสีขาวขนาดเล็กจิ๋วนี้จะอยู่ในโฟกัสอย่างสมบูรณ์แบบแม้ว่าจะมีระยะชัดที่ตื้นมากก็ตาม

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา