ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เลนส์เดี่ยว RF 4 รุ่นที่ควรใช้กับกล้อง APS-C

2023-04-12
0
5.12 k

คลังเลนส์ของคุณคงไม่สมบูรณ์แบบหากปราศจากเลนส์เดี่ยวอย่างน้อยหนึ่งตัว รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ของเลนส์เดี่ยวทำให้ได้โบเก้ที่สวยงาม ถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยได้ยืดหยุ่นขึ้น และยังเหมาะสำหรับการฝึกทักษะการจัดองค์ประกอบภาพด้วย!

ต่อไปนี้คือเลนส์ขนาดกะทัดรัดน้ำหนักเบา 4 รุ่นที่สามารถใช้งานกับกล้อง EOS R แบบ APS-C ของคุณได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่า เนื่องจากคุณสามารถใช้เลนส์เหล่านี้ต่อไปได้แม้จะเปลี่ยนมาใช้กล้องแบบฟูลเฟรม (เรื่องโดย HARUKI, Kaoru Kobayashi, Digital Camera Magazine)

ในบทความนี้:

1. RF16mm f/2.8 STM (เทียบเท่า 26 มม.)

1. RF16mm f/2.8 STM

ภาพมุมกว้างที่ใช้ประโยชน์จากโบเก้

EOS R7/ RF16mm f/2.8 STM/ FL: 16 มม. (เทียบเท่า 26 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/4000 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

โบเก้ที่เกิดจากรูรับแสงขนาดใหญ่ f/2.8 ของเลนส์ RF16mm f/2.8 STM ช่วยเพิ่มความลึกในภาพ ซึ่งทำให้เปอร์สเปคทีฟมุมกว้างดูเด่นชัดขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ฉากริมทะเลธรรมดาๆ ดูมีสไตล์ที่ต่างไปจากเดิม

กับกล้อง EOS R7

มุมรับภาพในกล้อง APS-C (เทียบเท่าฟูลเฟรม): 26 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 165 ก.
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.13 ม.
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.26 เท่า
ขนาดฟิลเตอร์: 43 มม.
ขนาด (เส้นผ่านศูนย์กลางยาวสุด × ความยาว): ประมาณ 69.2×40.2 มม.
เหมาะสำหรับ: การถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพทั่วไป ภาพกีฬา และการถ่ายภาพในร่ม


เลนส์เดี่ยวมุมกว้างสารพัดประโยชน์และพกพาสะดวก

คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่คุณรู้สึกว่าอยากได้มุมรับภาพที่กว้างขึ้นอีกสักนิดหรือไม่ เลนส์ RF16mm f/2.8 STM คือคำตอบอันสมบูรณ์แบบที่คุณควรมีติดมือไว้ เลนส์นี้ถือว่ามีขนาดเล็กและเบามากสำหรับเลนส์มุมกว้างที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่เท่านี้ เมื่อติดตั้งลงไปบนกล้อง เช่น EOS R7 เลนส์จะไม่ยืดออกมาจนเกินส่วนกริป ส่วนตัวเลนส์ก็ไม่กินพื้นที่ในกระเป๋ากล้องของคุณมากนักและยังสามารถใส่ลงในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกงได้อย่างง่ายดาย

รูรับแสงกว้างสุด f/2.8 ซึ่งกว้างมาก ช่วยให้คุณถ่ายภาพในร่มหรือในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องเพิ่มค่าความไวแสง ISO และคุณสมบัตินี้ยังทำให้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพการตกแต่งภายในอาคารหรือภาพกีฬาในร่มด้วย

เคล็ดลับ: วิธีใช้เปอร์สเปคทีฟมุมกว้างและโบเก้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ถ่ายภาพใกล้กับวัตถุในโฟร์กราวด์ที่ f/2.8 เพื่อให้เห็นทั้งเปอร์สเปคทีฟและโบเก้ได้ชัดเจนที่สุด! วิธีนี้ไม่เพียงแต่ทำให้มองเห็นเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟมุมกว้างแบบเกินจริงได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้โบเก้ในส่วนที่อยู่นอกโฟกัสเด่นชัดขึ้นด้วย จึงทำให้ภาพดูมีความลึกมากขึ้น ระยะโฟกัสใกล้สุด 13 ซม. ของเลนส์ RF16mm f/2.8 STM ทำให้สามารถโฟกัสได้แม้กระทั่งตัวแบบที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้โบเก้ f/2.8 เพื่อเบลอตัวแบบในโฟร์กราวด์และนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดเฟรมภาพหรือทำให้องค์ประกอบภาพดูมีหลายชั้นมากขึ้นโดยไม่ดึงความสนใจออกไปจากตัวแบบ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

2. RF24mm f/1.8 Macro IS STM (เทียบเท่า 38 มม.)

2. RF24mm f/1.8 Macro IS STM

การถ่ายภาพแบบกึ่งมาโครที่มีโบเก้ f/1.8 อันสวยงาม

EOS R7/ RF24mm f/1.8 Macro IS STM/ FL: 24 มม. (เทียบเท่า 38 มม.)/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/1250 วินาที, EV -0.3)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ

ผมพยายามจัดองค์ประกอบภาพอย่างสร้างสรรค์โดยให้มีเฉพาะเมล็ดของดอกทานตะวันเท่านั้นที่อยู่ในโฟกัส ผมจึงตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/1.8 และเข้าไปในระยะใกล้พอที่จะทำให้ดอกทานตะวันกินพื้นที่ไปครึ่งเฟรม ซึ่งสามารถทำได้ด้วยระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นของเลนส์รุ่นนี้ เลนส์ RF24mm f/1.8 Macro IS STM ทำให้มีโบเก้ที่สวยงามทั้งในโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ ส่วนที่อยู่ในโฟกัสจึง “โดดเด่น” ออกมา ผมแทบไม่พบปัญหาภาพเบลอจากการสั่นของกล้องในภาพโคลสอัพเลยเนื่องจากระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออพติคอล (IS แบบออพติคอล) ในตัว ซึ่งสามารถแก้ไขภาพเบลอจากการสั่นของกล้องในแนวดิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในการถ่ายภาพโคลสอัพได้

กับกล้อง EOS R7

มุมรับภาพในกล้อง APS-C (เทียบเท่าฟูลเฟรม): 38 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 270 ก.
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.14 ม.
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.5 เท่า
ขนาดฟิลเตอร์: 52 มม.
ขนาด (เส้นผ่านศูนย์กลางยาวสุด × ความยาว): ประมาณ 74.4×63.1 มม.
เหมาะสำหรับ: การถ่ายภาพธรรมชาติ อาหาร ภาพสตรีท สารคดี และภาพทั่วไปในชีวิตประจำวัน


เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแบบคลาสสิกใช้งานง่ายที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพในระยะใกล้มากได้

เลนส์เดี่ยว 35 มม. ถือเป็นเลนส์รุ่นคลาสสิกสำหรับการถ่ายภาพสตรีท สารคดี และภาพทั่วๆ ไป เมื่อติดตั้งลงไปบนกล้อง APS-C เลนส์ RF24mm f/1.8 IS STM จะให้มุมรับภาพที่คล้ายกันภายในตัวเลนส์ขนาดเล็กและพกพาสะดวก ซึ่งหนักเพียงราว 270 ก. รูรับแสงกว้าง f/1.8 ทำให้มีโบเก้นุ่มนวลสวยงามที่ทำให้ตัวแบบโดดเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์ ในขณะที่กำลังขยายสูงสุด 0.5 เท่า ช่วยให้คุณถ่ายภาพตัวแบบได้เต็มเฟรมเมื่อถ่ายภาพโคลสอัพ

ด้วยมุมรับภาพที่ใช้งานง่าย โบเก้ที่สวยงาม และประสิทธิภาพแบบมาโคร เลนส์นี้จึงเป็นเลนส์อเนกประสงค์ที่คุณอาจจะติดตั้งไว้บนกล้องนานกว่าที่คาดไว้!

ข้อควรรู้: IS แบบออพติคอลในตัว
ภาพเบลอจากการสั่นของกล้องมักจะชัดขึ้นในขณะถ่ายภาพโคลสอัพ แต่ระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออพติคอลภายในเลนส์ (IS แบบออพติคอล) จะช่วยรักษาภาพของคุณให้คมชัดอยู่เสมอ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้ใช้เลนส์กับกล้องที่มีระบบ IS ในตัวกล้องซึ่งให้ประสิทธิภาพการป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุดเทียบเท่า 6.5 สต็อป* ด้วย IS แบบประสานการควบคุม

*เมื่อใช้กล้องรุ่นที่เข้ากันได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ฉันจะได้ภาพแบบไหนหากถ่ายด้วยกำลังขยาย 0.25 หรือ 0.5 เท่า มีเลนส์
เลนส์ 5 อันดับแรกในสไตล์ 35 มม. เฉพาะตัวผม: ช่างภาพสารคดี Kentaro Kumon

3. RF35mm f/1.8 Macro IS STM (เทียบเท่า 56 มม.)

3. RF35mm f/1.8 Macro IS STM

เลนส์เดี่ยวอเนกประสงค์

EOS R7/ RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ FL: 35 มม. (เทียบเท่า 56 มม.)/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/80 วินาที, EV +2.0)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ

RF35mm f/1.8 Macro IS STM สามารถถ่ายภาพโคลสอัพได้อย่างยอดเยี่ยมสมกับที่มีคำว่า “มาโคร” อยู่ในชื่อเลนส์ ลองสังเกตดูโบเก้คุณภาพสูงและโทนสีขาวที่ไล่ระดับได้อย่างละเอียดประณีตในภาพนี้! เลนส์รุ่นนี้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการถ่ายภาพสแนปช็อตและภาพวัตถุต่างๆ ในระยะใกล้ รวมถึงทิวทัศน์รอบตัวคุณ

กับกล้อง EOS R7

มุมรับภาพในกล้อง APS-C (เทียบเท่าฟูลเฟรม): 56 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 305 ก.
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.17 ม.
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.5 เท่า
ขนาดฟิลเตอร์: 52 มม.
ขนาด (เส้นผ่านศูนย์กลางยาวสุด × ความยาว): ประมาณ 74.4×62.8 มม.
เหมาะสำหรับ: การถ่ายภาพธรรมชาติ อาหาร ภาพทั่วไปในชีวิตประจำวัน และภาพพอร์ตเทรต


เลนส์ที่ทำให้คุณถ่ายภาพได้อย่างที่ใจต้องการ

เช่นเดียวกับเวอร์ชัน 24 มม. เลนส์ RF35mm f/1.8 IS STM มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ที่ f/1.8 และมีคุณสมบัติแบบกึ่งมาโคร แต่มีมุมรับภาพมาตรฐานเทียบเท่า 56 มม. ที่แคบกว่า คุณอาจชอบเลนส์รุ่นนี้หากคุณชอบจัดเฟรมภาพให้ดูแน่น

นอกจากจะมีขนาดกะทัดรัดแล้ว เลนส์นี้ยังให้โฟกัสอัตโนมัติที่ว่องไวและราบรื่น ซึ่งขับเคลื่อนโดย Stepping Motor (STM) ทำให้สามารถตอบสนองได้ทันทีในสถานการณ์ที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว นอกเหนือไปจาก IS แบบออพติคอลตามปกติ เลนส์นี้ยังมี IS แบบไฮบริดด้วย ซึ่งสามารถแก้ไขภาพเบลอแบบมุมองศาและแนวดิ่งได้เพื่อภาพโคลสอัพที่คมชัดยิ่งขึ้น ให้ประสิทธิภาพการป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุดเทียบเท่า 7 สต็อป ด้วย IS แบบประสานการควบคุมเมื่อใช้กล้องรุ่นที่เข้ากันได้ที่มี IS ในตัวกล้อง

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ เลนส์ RF35mm f/1.8 IS USM จึงมีความยืดหยุ่นที่สามารถตอบสนองความต้องการในการถ่ายภาพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาพสแนปช็อตของอาหารไปจนถึงภาพพอร์ตเทรตหรือแม้แต่ภาพในยามค่ำคืน

เคล็ดลับ: เลนส์ที่ “เปลี่ยนคุณสมบัติได้”
เลนส์ 56 มม. ให้เปอร์สเปคทีฟที่เป็นกลางซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายทอดรูปร่างและเส้นต่างๆ ให้สมจริง แต่หากคุณลองพลิกแพลงระยะห่าง มุมกล้อง และระยะชัด คุณจะสามารถสร้างเปอร์สเปคทีฟแบบเดียวกับเลนส์มุมกว้างหรือเลนส์เทเลโฟโต้ได้

ดูเคล็ดลับเพิ่มเติมในการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาตรฐานได้ที่:
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาตรฐาน: การใช้มุมมองเพื่อดึงให้คนดูเข้าไปอยู่ในภาพ
ภาพพอร์ตเทรตระยะ 50 มม. ในสไตล์เฉพาะตัว: การสร้างสรรค์ภาพแห่งความทรงจำ
เทคนิคการใช้เลนส์สำหรับภาพทิวทัศน์: เลียนแบบภาพเลนส์มุมกว้างที่ระยะ 67 มม.
บทวิจารณ์เลนส์: RF50mm f/1.8 STM ในการถ่ายภาพแนวสตรีท 
(ข้อควรจำ: มุมรับภาพของเลนส์ RF35mm f/1.8 Macro IS STM ในกล้อง APS-C จะใกล้เคียงกับมุมรับภาพของ RF50mm f/1.8 STM ในกล้องฟูลเฟรม)

4. RF50mm f/1.8 STM (เทียบเท่า 80 มม.)

4. RF50mm f/1.8 STM

โบเก้และการบีบอัดแบบเทเลโฟโต้ระยะกลางอันเป็นเอกลักษณ์

EOS R7/ RF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม. (เทียบเท่า 80 มม.)/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/320 วินาที, EV +1.0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

ผมจัดองค์ประกอบภาพนี้ให้แนวสายตาของผู้ชมติดตามตัวรถตุ๊กตุ๊กเข้าไปยังด้านหลังของฉาก เอฟเฟ็กต์การบีบอัดที่ทำให้วัตถุดูเหมือนอยู่ใกล้ขึ้นและความลึกที่มองเห็นได้ซึ่งเกิดจากโบเก้ในปริมาณเหมาะสมคือลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับเลนส์ RF50mm f/1.8 STM เมื่อใช้ร่วมกับกล้อง APS-C

กับกล้อง EOS R7

มุมรับภาพในกล้อง APS-C (เทียบเท่าฟูลเฟรม): 80 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 160 ก.
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.3 ม.
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.25 เท่า
ขนาดฟิลเตอร์: 43 มม.
ขนาด (เส้นผ่านศูนย์กลางยาวสุด × ความยาว): ประมาณ 69.2×40.5 มม.
เหมาะสำหรับ: ภาพพอร์ตเทรต อาหาร และภาพทั่วไปในชีวิตประจำวัน


เอฟเฟ็กต์การบีบอัดและความลึกในราคาแสนคุ้มค่า

เลนส์ “Nifty Fifty” 50 มม. f/1.8 เป็นเลนส์คลาสสิกรุ่นโปรดสำหรับช่างภาพทุกระดับ RF50mm f/1.8 STM คือเลนส์ในเวอร์ชันเมาท์ RF ที่สามารถเข้ากันได้กับกล้องในระบบ EOS R

เมื่อใช้กับกล้อง APS-C เลนส์นี้จะทำหน้าที่เป็นเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางและให้มุมรับภาพเทียบเท่า 80 มม. ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต อย่างไรก็ตาม ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ค่อนข้างสั้นที่ 30 ซม. ยังทำให้เลนส์นี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพอาหาร วัตถุต่างๆ และภาพสแนปช็อตของฉากทั่วไปจากระยะที่ไม่ไกลมากอีกด้วย

ขนาดที่ค่อนข้างเล็กของเลนส์ทำให้ไม่สะดุดตาและดูน่ากลัวน้อยกว่าสำหรับตัวแบบที่อยู่ด้านหลังกล้อง นอกจากนี้ยังใช้งานง่ายด้วยสวิตช์โหมดโฟกัสที่ทำให้สามารถสลับไปมาระหว่างโหมดโฟกัสอัตโนมัติกับโหมดโฟกัสแบบแมนนวลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถกำหนดวงแหวนโฟกัส/ควบคุมได้ด้วยการตั้งค่าระบบส่วนตัว

เคล็ดลับ: ลองเล่นกับรูรับแสงและระยะห่างแล้วดูว่าภาพที่ได้เป็นอย่างไร
มุมรับภาพเทียบเท่า 80 มม. จะให้เปอร์สเปคทีฟแบบบีบอัดเล็กน้อย คุณสามารถใช้คุณสมบัตินี้เพื่อทำให้ภาพดู “แบนราบ” และแสดงให้เห็นรูปร่างและลวดลาย หรือชดเชยเอฟเฟ็กต์นี้โดยการใช้เทคนิคอื่นๆ เช่น โบเก้ เพื่อสร้างความลึกและความมีมิติให้เด่นชัดขึ้น ทดลองถ่ายภาพดูโดยเปลี่ยนค่ารูรับแสงและระยะห่างจากตัวแบบให้แตกต่างกัน แล้วดูว่าภาพของคุณเปลี่ยนไปอย่างไร!

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
4 แนวคิดเกี่ยวกับเลนส์ที่จะพลิกโฉมภาพถ่ายของคุณ
เลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูม: ควรซื้อแบบไหนดี
จุดโฟกัส: พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Haruki

เกิดเมื่อปี 1959 ที่ฮิโรชิมา Haruki เป็นช่างภาพและผู้กำกับภาพ เขาจบการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย Kyushu Sangyo และร่วมงานในกิจกรรมเกี่ยวกับงานถ่ายภาพพอร์ตเทรตสำหรับสื่อเป็นหลัก ทั้งงานโฆษณา นิตยสาร และดนตรี

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา