ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: “อัตราส่วนกำลังขยาย” หมายถึงอะไร

2022-11-28
4
1.22 k

คุณอาจเคยเห็นข้อมูลนี้ในสเปคของเลนส์ ไม่ว่าจะเป็น “อัตราส่วนในการถ่ายภาพสูงสุด” หรือ “อัตราส่วนกำลังขยายสูงสุด” คำถามก็คือ สิ่งเหล่านี้มีความหมายว่าอย่างไร และเพราะเหตุใดจึงมีความสำคัญ พบคำตอบได้ในบทความนี้!

ในบทความนี้:

“กำลังขยาย” ในการถ่ายภาพคืออะไร

“กำลังขยาย” ในการถ่ายภาพคืออะไร

ในการถ่ายภาพ “กำลังขยาย” มักใช้เพื่อพูดถึงอัตราส่วนกำลังขยายหรืออัตราส่วนในการถ่ายภาพของเลนส์ โดยสามารถเขียนเป็นเลขทศนิยม (เช่น “0.5 เท่า”) หรือเป็นอัตราส่วน (เช่น “1:2”) ก็ได้ แต่ตัวเลขดังกล่าวจะหมายถึงสิ่งเดียวกัน นั่นคืออัตราส่วนของขนาดวัตถุที่ฉายลงบนระนาบของภาพ (กล่าวคือ เซนเซอร์ภาพของกล้อง) เมื่อเทียบกับขนาดวัตถุในโลกจริง

เมื่อเลนส์ใดๆ มีอัตราส่วนกำลังขยายสูงสุดที่ 1:1 หรือ 1.0 เท่า เลนส์จะฉายภาพวัตถุที่มีขนาดเท่ากับวัตถุในชีวิตจริงลงบนเซนเซอร์ภาพ กล่าวได้ว่าเลนส์นั้นสามารถขยายขนาดภาพให้เท่ากับของจริง

ดังที่เห็นจากภาพเคลื่อนไหวด้านล่างนี้ จริงๆ แล้วกำลังขยายที่ต่ำกว่า 1.0 เท่าถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ “การย่อขนาด” ซึ่งหมายความว่าภาพที่ฉายลงบนเซนเซอร์ภาพจะมีขนาดเล็กกว่าวัตถุจริง

(ในชีวิตจริง แมลงเต่าทองจะตัวเล็กกว่านี้มาก แต่เพื่อความสะดวก ขอให้นึกว่าแมลงเต่าทองมีขนาด 1 ซม.)

กำลังขยายสูงสุดคือสเปคที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพมาโคร เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณสามารถถ่ายตัวแบบขนาดจิ๋วให้เต็มเฟรมได้มากน้อยแค่ไหน


กำลังขยายสูงสุดและเลนส์มาโคร

โดยปกติเลนส์ใดๆ จะถือว่าเป็นเลนส์มาโครหากมีอัตรากำลังขยายสูงสุดอย่างน้อย 0.5 เท่า (หรือ 1:2) แต่จะต้องสามารถขยายขนาดภาพได้เท่าของจริงได้เป็นอย่างน้อย จึงจะถือว่าเป็นเลนส์มาโครอย่างแท้จริง


ถ่ายที่กำลังขยาย 1.4 เท่า

EOS R5 + RF100mm f/2.8 มม. ที่ f/5.6, 1/100 วินาที, ISO 160

กำลังขยาย 1.4 เท่าในเลนส์ RF100mm f/2.8 มม. ช่วยแสดงรายละเอียดโครงสร้างเส้นใบของใบไม้ใบนี้ได้อย่างน่าทึ่ง

กำลังขยายสูงสุด ระยะโฟกัสใกล้สุด และทางยาวโฟกัส: มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังขยายสูงสุด ระยะโฟกัสใกล้สุด และทางยาวโฟกัส

ขนาดของตัวแบบที่ถูกขยายบนเซนเซอร์ภาพจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ทางยาวโฟกัสและระยะการถ่ายภาพ คุณคงทราบอยู่แล้วว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตามตัวแบบจะดูใหญ่ขึ้นในเฟรมเมื่อคุณขยับเข้าหาตัวแบบหรือซูมเข้า!

แต่เพราะเหตุใดเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้จึงมีกำลังขยายสูงสุดต่ำกว่าเลนส์ที่สั้นกว่า ยกตัวอย่างเช่น กำลังขยายสูงสุดของเลนส์ยอดนิยมอย่าง RF100mm f/2.8L Macro IS USM คือ 1.4 เท่า แต่เลนส์ RF600mm f/4L IS USM มีกำลังขยายสูงสุดเพียง 0.15 เท่า

นั่นเป็นเพราะเลนส์ต่างๆ มีระยะโฟกัสใกล้สุดหรือที่เรียกว่าระยะการถ่ายภาพต่ำสุดแตกต่างกันไป


ทบทวนความจำ: ระยะโฟกัสใกล้สุดและระยะการทำงาน

ระยะโฟกัสใกล้สุด: ระยะห่างที่สั้นที่สุดซึ่งต้องจัดวางไว้ระหว่างเซนเซอร์ภาพกับระนาบของโฟกัสบนตัวแบบเพื่อให้เลนส์สามารถโฟกัสได้ โดยปกติทางยาวโฟกัสยาวๆ จะมีระยะโฟกัสใกล้สุดยาวขึ้นด้วย

ระยะการทำงาน: ระยะห่างระหว่างปลายเลนส์กับตัวแบบ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: “ระยะโฟกัสใกล้สุด” หมายถึงอะไร

ความสัมพันธ์กับระยะโฟกัสใกล้สุด

กำลังขยายสูงสุดและระยะโฟกัสใกล้สุด

EOS R5 + RF600mm f/4L IS USM

ถ่ายด้วย RF600mm f/4L IS USM ที่ระยะโฟกัสใกล้สุดประมาณ 4.2 ม. ซึ่งให้กำลังขยายสูงสุด 0.15 เท่าด้วย ด้วยกำลังขยายสูงสุด 1.4 เท่า เลนส์ RF100mm f/2.8L Macro IS USM สามารถจับภาพเท้าของนักกีฬาให้ดูใหญ่ยิ่งขึ้นในเฟรม แต่นั่นเป็นเพราะคุณสามารถขยับเข้าไปถ่ายได้ใกล้ขึ้นเช่นกัน โดยที่ระยะโฟกัสใกล้สุดอยู่ที่ 0.26 ม. ซึ่งสั้นกว่ามาก


EOS R5 + RF100-500mm f/4.5-7.1L IS STM

แม้เลนส์เทเลโฟโต้จะไม่ใช่เลนส์มาโคร แต่เอฟเฟ็กต์กำลังขยายของทางยาวโฟกัสก็สามารถจับภาพโคลสอัพที่น่าสนใจของสิ่งของขนาดเล็กจิ๋วในที่ที่อาจเข้าถึงได้ยาก ช่างภาพบางคนเรียกภาพเช่นนี้ว่า “มาโครเทเลโฟโต้” ภาพโคลสอัพของดอกซากุระบนกิ่งไม้นี้ถ่ายที่ระยะ 500 มม. จากระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.2 ม. และนับว่ายาวพอจนคุณไม่จำเป็นต้องปีนขึ้นไปบนต้นไม้เพื่อเข้าใกล้! อัตราส่วนกำลังขยายสูงสุดของเลนส์นี้อยู่ที่ประมาณ 0.33 เท่า


ข้อควรรู้: เข้าใกล้ (ตัว) มากกว่าไม่ได้ดีเสมอไป

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เลนส์มาโครเทเลโฟโต้อย่าง RF100mm f/2.8L Macro IS USM ได้รับความนิยมมากคือ การที่เลนส์ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ตัวแบบเกินไปเพื่อให้ได้กำลังขยายสูงสุด ในภาพนี้ เมื่อถ่ายที่ระยะโฟกัสใกล้สุด 23 ซม. ของเลนส์ จะมีระยะห่างประมาณ 9 ซม. ระหว่างปลายสุดของเลนส์กับตัวแบบ ซึ่งนับว่ามากพอที่จะถ่ายภาพได้โดยที่เลนส์ไม่ทำให้เกิดเงาบนตัวแบบ


EOS R5 + RF100mm f/2.8 IS STM

หากคุณต้องการซื้อเลนส์มาโครเพื่อถ่ายภาพสิ่งมีชีวิต เช่น แมลง อีกหนึ่งเหตุผลที่คุณควรใส่ใจเกี่ยวกับระยะโฟกัสใกล้สุดคือ การจัดวางเลนส์ของคุณไว้ใกล้เกินไปอาจรบกวนตัวแบบและทำให้มันบินหรือวิ่งหนีไปได้!

ความสัมพันธ์กับทางยาวโฟกัส

ทางยาวโฟกัสและกำลังขยายสูงสุด

สิ่งหนึ่งที่จะเปลี่ยนไปตามทางยาวโฟกัสคือ ปริมาณของบริบทที่จะปรากฏในเฟรม ภาพสองภาพต่อไปนี้ถ่ายใกล้ระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์แต่ละตัว

RF50mm f/1.8 STM
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.25 เท่า
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 30 ซม.

RF16mm f/2.8 STM
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.26 เท่า
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 13 ซม.

เนื่องจากเลนส์สองรุ่นนี้มีความยาวใกล้เคียงกัน เราจึงถ่ายภาพไกลจากตัวแบบมากขึ้นโดยใช้ RF50mm f/1.8 STM แต่จะสังเกตได้ว่าแม้ตัวแบบดูใหญ่ขึ้นเล็กน้อยในเฟรม (“ดูใกล้ยิ่งขึ้น”) บนเลนส์ 16 มม. เมื่อเทียบกับเลนส์ 50 มม. เลนส์ก็ยังเก็บภาพแบ็คกราวด์โดยรอบได้มากขึ้นอีกด้วย นี่คือเอฟเฟ็กต์อันเป็นเอกลักษณ์ที่อาจเรียกได้ว่า “มาโครมุมกว้าง”


นี่คือดอกไม้ดอกเดียวกันที่ถ่ายด้วยกำลังขยายประมาณ 1.4 เท่า ถือได้ว่าเป็นความแตกต่างของขนาดที่ดูน่าทึ่ง!


EOS R6 + RF16mm f/2.8 STM

เอฟเฟ็กต์มาโครมุมกว้างเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพโคลสอัพของตัวแบบขนาดเล็ก พร้อมทั้งแสดงบริบทโดยรอบมากขึ้น


ข้อควรรู้: เลนส์ที่มีกำลังขยายสูงสุดที่ระยะสุดฝั่งมุมกว้าง

สำหรับเลนส์ซูมต่างๆ ระยะโฟกัสใกล้สุดและกำลังขยายสูงสุดมักจะเกิดขึ้นที่ระยะสุดฝั่งยาว (เทเล) (แต่ก็ไม่เสมอไป!) อย่างไรก็ตาม เลนส์บางรุ่น เช่น RF24-105mm f/4-7.1 IS STM และ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM สามารถมีกำลังขยายสูงสุดได้ถึงประมาณ 0.5 เท่าในระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวลที่ระยะสุดฝั่งมุมกว้าง ผลลัพธ์ที่ได้คือเอฟเฟ็กต์อันเป็นเอกลักษณ์ที่เรียกว่า Centre Focus Macro

จะวัดอัตราส่วนกำลังขยายได้อย่างไร

เราจะวัดอัตราส่วนกำลังขยายได้อย่างไร

หากคุณอยากทราบอัตราส่วนกำลังขยายของภาพนั้นๆ ต่อไปนี้คือวิธีวัดได้ด้วยตัวคุณเอง

ขั้นตอนที่ 1: ดูว่าเซนเซอร์ภาพของคุณมีขนาดเท่าใด
ขนาดของเซนเซอร์ภาพอยู่ที่ประมาณ 36 มม. x 24 มม. สำหรับกล้องฟูลเฟรมของ Canon และประมาณ 22.3 มม. x 14.9 มม. สำหรับกล้อง APS-C ของ Canon

ขั้นตอนที่ 2: วัดความยาวของภาพ
ภาพด้านล่างถ่ายด้วยกล้อง EOS R และเลนส์ RF24mm f/1.8 Macro IS STM ใกล้ระยะโฟกัสใกล้สุด ไม้บรรทัดแสดงว่าภาพนี้มีความกว้างประมาณ 76 มม. หรือกล่าวได้ว่า วัตถุที่มีความกว้างประมาณ 76 มม. ในชีวิตจริงจะถูกฉายให้มีความกว้าง 36 มม. บนเซนเซอร์ภาพ

ขั้นตอนที่ 3: คำนวณอัตราส่วนกำลังขยาย
อัตราส่วนกำลังขยายในภาพนี้คือความยาวของเซนเซอร์ (36 มม.) หารด้วยขนาดจริงของตัวแบบ (76 มม.) นั่นคือ ประมาณ 0.47 เท่า ดังนั้น เหรียญจึงถูกขยาย 0.47 เท่า ใกล้เคียงกับกำลังขยายสูงสุด 0.5 เท่าของเลนส์

สรุปและรายชื่อเลนส์ที่มีอัตราส่วนกำลังขยายสูงสุดขนาดใหญ่

สรุป

อัตราส่วนกำลังขยายสูงสุดเป็นสเปคที่สำคัญสำหรับช่างภาพมาโครและช่างภาพที่ต้องการเลนส์ที่ช่วยให้ถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็กได้ และยังช่วยให้แนวทางว่าเราจะสามารถถ่ายตัวแบบให้เต็มเฟรมได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งสำหรับเลนส์ส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นที่ระยะโฟกัสใกล้สุดและทางยาวโฟกัสยาวสุด แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับการออกแบบเลนส์ด้วยก็ตาม

ต่อไปนี้คืออัตราส่วนกำลังขยายสูงสุดของเลนส์ RF บางรุ่นที่สามารถถ่ายภาพแบบมาโครหรือใกล้เคียงมาโคร

เลนส์ อัตราส่วนกำลังขยายสูงสุด ระยะโฟกัสใกล้สุด
RF14-35mm f/4L IS USM 0.38 เท่า (ที่ 35 มม.) 0.2 ม.
RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM 0.52 เท่า (ที่ 15 มม. ในระหว่างการโฟกัส MF) 0.128 ม. (ที่ 15 มม. ระหว่างการใช้ MF)
RF24mm f/1.8 Macro IS STM 0.5 เท่า 0.14 ม.
RF24-105mm f/4-7.1 IS STM 0.5 เท่า (ที่ 24 มม. ขณะใช้ MF) 0.13 ม. (ที่ 24 มม. ขณะใช้ MF)
RF35mm f/1.8 Macro IS STM 0.5 เท่า 0.17 ม.
RF85mm f/2 Macro IS STM 0.5 เท่า 0.35 ม.
RF100mm f/2.8L Macro IS USM 1.4 เท่า 0.26 ม.
RF100-400mm f/5.6-8 IS USM 0.41 เท่า (ที่ 400 มม.) 1.05 ม. (ที่ 400 มม.)

คุณจะนำความรู้ใหม่นี้ไปใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพอย่างไรในวันนี้

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา