เลนส์ 5 อันดับแรกในสไตล์ 35 มม. เฉพาะตัวผม: ช่างภาพสารคดี Kentaro Kumon
ช่างภาพสารคดี Kentaro Kumon ใช้เลนส์ 35 มม. เป็นหลักสำหรับโปรเจกต์ต่างๆ และเสริมด้วยเลนส์ 50 มม. เลนส์เดี่ยว รวมทั้ง RF28-70mm f/2L USM ทำไมเขาจึงชอบถ่ายภาพที่ระยะ 35 มม. เขาใช้เลนส์แต่ละตัวรวมทั้งเลนส์เดี่ยว Cinema รุ่น Sumire สองตัวอย่างไรและในเวลาใดบ้าง เขาจะมาอธิบายเพิ่มเติมในบทความนี้ (เรื่องโดย: Kentaro Kumon, Digital Camera Magazine)
EOS RP + RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ Manual exposure (f/2.2, 1/4000 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม
มุมรับภาพ 35 มม. ใกล้เคียงกับขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์มาก จึงทำให้ดูสบายตา และภาพถ่ายด้านบนก็เป็นตัวอย่างที่ดี ด้วยมุมรับภาพนี้ ผมจึงสามารถถ่ายภาพชายคนนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติในลักษณะที่สมจริงเหมือนช่วงเวลาที่ผมได้พบเขาโดยดูไม่เกินจริงและไม่สร้างความรู้สึกกวนใจที่มักรู้สึกได้เวลาภาพถ่ายดูจัดฉากมากเกินไป และยังช่วยให้ผู้ชมเกิดความประทับใจอันเรียบง่ายและตรงไปตรงมาต่อตัวแบบ
ทำไมผมจึงถ่ายที่ระยะ 35 มม. เป็นส่วนใหญ่
35 มม.: มุมรับภาพที่สมจริงที่สุดสำหรับถ่ายภาพตัวแบบสารคดี
สไตล์การถ่ายภาพของผมจะใช้เลนส์ 35 มม. เป็นหลัก ตอนนี้ผมใช้กล้องซีรีย์ EOS R ร่วมกับ RF35mm f/1.8 Macro IS STM เป็นส่วนใหญ่ แต่เวลาใช้กล้องซีรีย์ EOS 5D เลนส์ที่ผมเลือกใช้เสมอจะเป็นเลนส์ EF35mm f/1.4 L ในฐานะช่างภาพสารคดี ผมจึงต้องการนำเสนอฉากต่างๆ ในลักษณะที่ดูเป็นธรรมชาติและสมจริง มุมรับภาพ 35 มม. ช่วยให้ผมสามารถจับภาพระยะห่างและการสนทนากับผู้คนได้อย่างเป็นธรรมชาติ
EOS R6 + RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ Manual exposure (f/2.8, 1/1250 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม
รั้วกั้นที่ขอบทางด้านหลังวัชพืชที่พลิ้วไหวตามสายลม เลนส์เดี่ยวจะกระตุ้นให้คุณคอยมองหาตัวแบบที่เหมาะกับการถ่ายภาพอยู่เสมอ เมื่อคุณคุ้นเคยกับเลนส์แล้ว คุณจะเริ่ม “เห็น” โลกรอบๆ ตัวคุณด้วยมุมรับภาพแบบเดียวกับเลนส์ ซึ่งจุดประกายให้เกิดไอเดียมากขึ้นในการจัดเฟรมภาพ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่การใช้เลนส์เดี่ยวสามารถจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ได้ที่:
ภาพทิวทัศน์ระยะ 50 มม. ในสไตล์เฉพาะตัว: เลนส์ที่จุดประกายให้ทดลองสิ่งใหม่ๆ
EOS R + RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ Manual exposure (f/1.8, 1/8000 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม
ผมพบกับชายคนนี้ที่ท่าเรือ RF35mm f/1.8 Macro IS STM เป็นเลนส์ขนาดเล็กที่ไม่เป็นจุดสนใจและดูไม่น่าเกรงขามนัก ผมจึงสามารถถ่ายภาพขณะที่เราสนทนากันได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อถ่ายด้วยค่า f/1.8 บนเลนส์ตัวนี้ คุณจะยังคงได้โบเก้ที่สวยงามแม้จะถ่ายที่ระยะ 35 มม. ทำให้เลนส์นี้ค่อนข้างมีความสามารถรอบด้าน เลนส์ RF มีพื้นที่ในโฟกัสที่คมชัดแม้จะถ่ายด้วยรูรับแสงกว้างสุด ซึ่งทำให้เป็นเลนส์ที่เชื่อถือได้อย่างยอดเยี่ยม
“ตัวเลือกเลนส์ของคุณจะส่งผลต่อวิธีที่คุณเข้าหาตัวแบบ”
“เลนส์ที่คุณเลือกจะส่งผลต่อวิธีที่คุณเข้าหาตัวแบบ”
การเตรียมตัวของผมสำหรับการเดินทางไปทำงานแต่ละครั้งเริ่มต้นด้วยการตัดสินใจว่าจะพกเลนส์ตัวใดไปนอกจาก RF35mm f/1.8 Macro IS STM ที่ติดตั้งอยู่บนกล้องของผมเสมอ การตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับว่าการเดินทางจะเป็นแบบใด
วิธีที่ผมมีปฏิสัมพันธ์กับตัวแบบจะเปลี่ยนไปตามเลนส์ที่ผมใช้ ดังนั้นผมจะคำนึงถึงวิธีที่ผมต้องเข้าใกล้ตัวแบบ ผมต้องถามตัวเองว่า ผมอยากตอบสนองต่อตัวแบบที่แตกต่างกันโดยใช้เลนส์อเนกประสงค์อย่าง RF28-70mm f/2L USM หรือไม่ ผมอยากจะมองหาตัวแบบเชิงสัญลักษณ์ด้วย RF50mm f/1.2L USM หรือไม่ หรือผมอยากจะใช้เลนส์เดี่ยว Cinema รุ่น Sumire จาก Canon ตัวหนึ่งเพื่อเฝ้าสังเกตตัวแบบอย่างระมัดระวังหรือไม่
เลนส์เดี่ยว Sumire ใช้สำหรับกล้อง Cinema ดังนั้นเลนส์จึงมาพร้อมเมาท์ PL ผมได้นำเมาท์นี้ไปเปลี่ยนเป็นเมาท์ EF แล้ว ซึ่งคุณสามารถทำได้ที่ศูนย์บริการที่ได้รับอนุญาต เลนส์นี้เป็นเลนส์โฟกัสแบบแมนนวล ซึ่งอาจไม่สะดวกนักในบางครั้ง แต่ผมชอบใช้สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องสร้างสรรค์ผลงานที่มีรายละเอียดประณีต
แน่นอนว่ามีบางอย่างที่คุณยังต้องยอมสละไปเพราะเลนส์ที่คุณเลือก ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้เลนส์โฟกัสแบบแมนนวลอย่างเลนส์ Sumire คุณไม่อาจคาดหวังได้ว่าจะตอบสนองอย่างรวดเร็วและสร้างสรรค์ภาพที่เต็มไปด้วยความรู้สึกถึงความเร็วได้!
เลนส์ 5 อันดับแรกของผมและเหตุผลที่ผมใช้เลนส์เหล่านี้
เลนส์ที่ผมใช้บ่อยที่สุด: ส่วนใหญ่คือเลนส์ 35 มม. เสริมด้วยเลนส์อื่นๆ
#1: RF35mm f/1.8 Macro IS STM – 80%
#2: RF28-70mm f/2L USM – 10%
#3: CN-E35mm T1.5 FP X – 5%
#4: CN-E50mm T1.3 FP X – 4%
#5: RF50mm f/1.2L USM – 1%
#1: RF35mm f/1.8 Macro IS STM – ใช้งาน 80%
เลนส์ 35 มม. เป็นเลนส์ประเภทกลางๆ เนื่องจากไม่มีเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงอย่างเห็นได้ชัดเหมือนเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นกว่า อีกทั้งยังสามารถเก็บภาพบริบทโดยรอบได้มาก ซึ่งอาจทำให้ยากที่จะจัดองค์ประกอบได้ง่ายในแบบที่คุณเคยทำได้ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ แต่ลักษณะ “กลางๆ” นี้ก็มีจุดแข็งอยู่เช่นกัน การใช้เลนส์นี้ช่วยให้ผู้ใช้ได้ฝึกทักษะและเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย
นอกเหนือจากการแสดงผลภาพที่สวยงามแล้ว ความสามารถในการถ่ายภาพมาโครของ RF35mm f/1.8 Macro IS STM ยังเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เลนส์นี้เป็นอุปกรณ์ที่ผมขาดไม่ได้
#2: RF28-70mm f/2L USM – ใช้งาน 10%
ผมเลือก RF28-70mm f/2L USM เนื่องจากความสามารถในการแสดงผลภาพอันยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความละเอียดที่น่าทึ่งของเลนส์ซึ่งแสดงเส้นริ้วบางๆ ได้อย่างละเอียดคมชัด และประสิทธิภาพที่เหนือชั้นในการถ่ายภาพย้อนแสง นี่คือเลนส์ที่ผมใช้เวลาต้องการให้ผู้ชมสังเกตตัวแบบอย่างละเอียด ผมรู้สึกว่าเลนส์นี้ช่วยดึงเอาความสามารถสูงสุดของ EOS R ออกมา แต่ผมไม่ใช้เลนส์นี้ในการซูมมากนัก ผมมักจะใช้เลนส์ที่ระยะ 28 มม. แทน
EOS R + RF28-70mm f/2L USM / FL: 28mm/ Manual exposure (f/13, 1/50 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงในร่ม
ต้นส้มซิตรัสที่เต็มไปด้วยผลส้ม ถ่ายโดยหันกล้องขึ้น แม้แต่ส่วนที่เรียวบางที่สุดของใบไม้ขนาดจิ๋วก็ยังมีเส้นที่ได้รับการแก้ไขอย่างสวยงาม และภาพที่ได้ดูไร้ที่ติถึงแม้จะมีแสงย้อนก็ตาม ประสิทธิภาพในการถ่ายทอดภาพอย่างยอดเยี่ยมของเลนส์ตัวนี้อาจเพียงพอแล้วที่จะสร้างสรรค์ภาพที่ดูมีพลังและน่าสนใจ
#3: CN-E35mm T1.5 FP X – ใช้งาน 5%
#4: CN-E50mm T1.3 FP X – ใช้งาน 4%
#3 และ #4 คือเลนส์เดี่ยว Canon Cinema รุ่น Sumire ซึ่งออกแบบมาเพื่อนำเสนอลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร (ฉบับภาษาอังกฤษ) เลนส์เหล่านี้จะสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้คล้ายรอยเปื้อนทีละน้อยที่ทำให้ผมนึกถึงน้ำหมึกหรือสีน้ำที่ซึมลงบนกระดาษ และเอฟเฟ็กต์นี้ยังหาได้ยากในเลนส์ที่มีในปัจจุบัน ความจริงที่ว่าเลนส์ทั้งสองนี้เป็นแบบแมนนวลโฟกัสทำให้คุณต้องคิดให้ดีว่าคุณต้องการโฟกัสที่ส่วนใดของตัวแบบกันแน่ ผมเลือกใช้เลนส์เหล่านี้เวลาที่ต้องการสร้างสรรค์ภาพให้โดดเด่นไม่ซ้ำใครที่แสดงถึงความใส่ใจในรายละเอียดในแบบของผม
EOS R + CN-E35mm T1.5 FP X/ Manual exposure (T1.5, 1/125 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงในร่ม
ผมต้องการแสดงให้เห็นถึงความงามอันเปล่งประกายของผลบลูเบอร์รี่ที่เก็บมาสดๆ CN-E35mm T1.5 FP X (ฉบับภาษาอังกฤษ) เบลอสัดส่วนที่ไฮไลต์ในลักษณะเหมือนรอยเปื้อนอันเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผลบลูเบอร์รี่ดูงดงาม อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์คือการแสดงผลภาพพื้นที่นอกโฟกัสอย่างนุ่มนวล โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่บางๆ ที่อยู่ในโฟกัส
#5: RF50mm f/1.2L USM – ใช้งาน 1%
ผมถ่ายภาพด้วยเลนส์เดี่ยว 50 มม. เวลาผมมีไอเดียที่ชัดเจนมากๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ผมอยากแสดงให้เห็นและวิธีที่ผมจะแสดงสิ่งนั้นออกมา เลนส์ RF50mm f/1.2L USM แสดงผลเส้นต่างๆ ในพื้นที่ในโฟกัสได้อย่างละเอียดและสวยงามตั้งแต่จากรูรับแสงกว้างสุด
---
เลนส์ไหนที่คุณใช้บ่อยที่สุดและเวลาใดที่คุณตัดสินใจว่าจะใช้เลนส์นั้นๆ บอกเล่ากันได้ในช่องความคิดเห็นด้านล่าง!
หากชื่นชอบสไตล์การถ่ายภาพของ Kentaro Kumon เขาได้บอกเล่าวิธีใช้แสงธรรมชาติเพื่อเพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจให้กับภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อมไว้ใน:
การจัดแสงธรรมชาติ: เพิ่มความพิเศษให้กับภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อม
หากคุณนึกอยากนำเลนส์เดี่ยว 35 มม. หรือ 50 มม. ออกไปเดินถ่ายภาพ ต่อไปนี้คือสองแบบฝึกหัดที่คุณสามารถลองฝึกเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการถ่ายภาพได้
ทำความรู้จักการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางอีกครั้ง: 2 แบบฝึกหัดสำหรับการเดินถ่ายภาพครั้งต่อไปของคุณ
อ่านแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดเรื่องราวได้เพิ่มเติมใน:
เล่าเรื่องได้ดีขึ้นกับช่างภาพวารสารศาสตร์ Jilson Tiu
Roberto Valenzuela: การจะเป็นช่างภาพงานแต่งงานมือหนึ่งนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ภาพพอร์ตเทรตระยะ 50 มม. ในสไตล์เฉพาะตัว: การสร้างสรรค์ภาพแห่งความทรงจำ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Kumon เกิดที่โตเกียวเมื่อปี 1981 เขาได้ถ่ายภาพให้กับสื่อสิ่งพิมพ์และโปรเจ็กต์โฆษณามากมายทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ และยังได้ตีพิมพ์คอลเลคชั่นภาพถ่ายอีกหลายชุด เช่น Daichi no Hana (พฤกษาแห่งโลก: วิถีชีวิตและคำสวดภาวนาของชาวเนปาล) (ตีพิมพ์โดย Toho Shuppan), Koyomi Kawa (แม่น้ำปฏิทิน) (ตีพิมพ์โดย Heibonsha) และ BANEPA (ตีพิมพ์โดย Seikyusha) รวมถึงหนังสือเรียงความภาพถ่าย Goma no Youhinten (ร้านสไตล์ตะวันตกของ Goma) (ตีพิมพ์โดย Keiseisha) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์ของเขาในเมืองบานีปา ประเทศเนปาล ในปี 2012 เขาได้รับรางวัลช่างภาพหน้าใหม่ดีเด่นจากสมาคมช่างภาพญี่ปุ่น สำหรับโปรเจ็กต์ถ่ายภาพในปัจจุบัน เขาได้เดินทางไปยังเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำและคาบสมุทรเพื่อค้นหาและบันทึกภาพสถานที่และวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นในแง่มุมที่ไม่เหมือนใคร