ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพดาราศาสตร์: การถ่ายภาพท้องฟ้าที่ดารดาษไปด้วยแสงดาวด้วยเลนส์ f/1.4

2016-08-18
1
6.09 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพดาราศาสตร์เป็นวิธีที่ใช้เก็บภาพดวงดาวต่างๆ ในบทความนี้ เราจะมาดูจุดสำคัญสำหรับการถ่ายภาพท้องฟ้าที่ดารดาษไปด้วยแสงดาวโดยใช้เลนส์ที่ให้ความสว่างซึ่งมีค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.4 คุณจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายของคุณได้กว้างไกลยิ่งขึ้น และได้รับความเพลิดเพลินจากประสบการณ์การถ่ายภาพมากขึ้น หากคุณสามารถปรับค่า f ด้วยความเข้าใจถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นตามมา! (เรื่องโดย: Shigemi Numazawa)

EOS-1D X/ EF24mm f/1.4L II USM/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/1.4, 30 วินาที)/ISO 1250/ WB: อัตโนมัติ
เมื่อก้าวลงจากรถที่จอดท่ามกลางเทือกเขาและแหงนมองบนท้องฟ้าทางทิศใต้ ผมมองเห็นทางช้างเผือกที่สว่างไสวและกลุ่มดาวแมงป่องลอยเด่น ดวงดาวทั้งสองเปล่งประกายระยิบระยับท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บยามค่ำคืน ผมถ่ายภาพนี้โดยใช้เลนส์ที่มีขนาดรูรับแสงกว้างที่ f/1.4 เมื่อท้องฟ้าปลอดโปร่ง ผมเพิ่มความไวแสง ISO ขึ้นอีกเล็กน้อยและเลือกใช้การเปิดรับแสงนานประมาณ 30 วินาที จากนั้นถ่ายภาพโดยใช้ขาตั้งแบบอีเควทอเรียลเข้าช่วย

 

สร้างอารมณ์ภาพให้โดดเด่นยิ่งขึ้นกว่าที่มองเห็น

แสงที่อ่อนกำลัง ดวงดาวที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ตามโลกที่หมุนไป...ในการถ่ายภาพดาราศาสตร์ คุณจะพบข้อจำกัดมากมายที่ไม่อาจใช้การถ่ายภาพในเวลากลางวันเข้าช่วยได้ อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพความไวแสง ISO สูงอันยอดเยี่ยมของกล้องดิจิตอลและเลนส์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ที่ให้ความสว่างจะช่วยให้คุณเก็บภาพท้องฟ้ายามค่ำคืนให้มีสีสันสดใสและคมชัดในทุกรายละเอียดได้

เลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ประมาณ f/2.8 อาจถือว่าเป็นเลนส์ที่มี "รูรับแสงกว้าง" ได้ อย่างไรก็ดี หากเป็นการถ่ายภาพดวงดาวบนท้องฟ้า ความแตกต่างในเรื่องความสามารถในการถ่ายทอดภาพระหว่างค่ารูรับแสงที่ f/1.4 และ f/2.8 หรือ f/2.0 นั้นมีมากกว่าที่คุณคิดไว้ 

ในการถ่ายภาพดวงดาวที่มีลักษณะเป็นจุดแสงจากตำแหน่งถ่ายภาพที่ตายตัวนั้น คุณจำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้างโดยตั้งเวลาการเปิดรับแสงนาน 20 วินาทีหรือน้อยกว่า หากถ่ายภาพยามค่ำคืนที่ไร้ดวงจันทร์ท่ามกลางทิวทัศน์ในชนบท ควรตั้งค่าความไวแสง ISO ปกติสำหรับเลนส์ f/1.4 ที่ประมาณ ISO 800 เพื่อให้ได้ระดับการเปิดรับแสงอย่างเพียงพอที่ 20 วินาที สำหรับเลนส์ f/2 และ f/2.8 การตั้งค่าความไวแสง ISO ปกติจะอยู่ที่ประมาณ ISO 1600 และ ISO 3200 ตามลำดับ เพื่อให้ได้ภาพที่มีการเกลี่ยแสงที่ละเอียดและมีจุดสีรบกวนน้อย

ไม่เพียงเท่านั้น เลนส์ f/1.4 ยังมีความสามารถในการถ่ายภาพท้องฟ้าที่สว่างไสวไปด้วยดวงดาวในแบบที่คุณไม่เคยได้สัมผัสเมื่อใช้เลนส์ f/2 เลนส์นี้ไม่เพียงสร้างความตื่นตาตื่นใจขณะที่เรายืนอยู่ในฉากเท่านั้น แต่ยังมอบความพิเศษทั้งในแง่ของเฉดสี รายละเอียด หรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่สร้างความประทับใจมากเกินกว่าที่เราคาดหวังไว้

 

เคล็ดลับที่ 1: ใช้ดวงดาวที่มืดเพื่อกำหนดโฟกัส

การหาจุดโฟกัสพีคสำหรับดวงดาวที่ส่องสว่างอาจทำได้ยากเมื่อคุณใช้เลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างขนาด f/4 เนื่องจากดวงดาวนั้นจะดูใหญ่ขึ้นและมีความอิ่มของสีมากขึ้น ดังนั้น ในการกำหนดโฟกัสผมจึงแนะนำให้ใช้ดวงดาวที่มืด และเพื่อเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น คุณอาจลองใช้ดวงดาวสักสองหรือสามดวงได้

 

เคล็ดลับที่ 2: ปรับโฟกัสบนหน้าจอ LCD ด้วยเลนส์ขยาย

คุณจำเป็นต้องขยายหน้าจอ Live View ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อใช้ในการกำหนดโฟกัสไปที่ดวงดาว แต่เนื่องจากท้องฟ้าในยามค่ำคืนนั้นมืดสนิท การตรวจสอบหน้าจอจึงทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับช่างภาพที่มีประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลงตามวัย ดังนั้น เลนส์ขยาย 5 เท่าจึงเป็นสิ่งจำเป็นในกรณีนี้

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เลนส์ f/1.4 ที่แนะนำ

EF24mm f/1.4L II USM

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เป็นเลนส์ที่ให้ความสว่างซึ่งจำเป็นสำหรับการถ่ายภาพท้องฟ้าที่มีดวงดาวพร่างพราว ผมใช้เลนส์ชนิดนี้โดยใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดแม้ว่าจะมีความคลาดสีหลงเหลืออยู่ตามขอบภาพก็ตาม เนื่องจากเราสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการใช้ฟิลเตอร์ซอฟต์

 

 

Shigemi Numazawa

 

เกิดที่จังหวัดนีงะตะเมื่อปี 1958 Numazawa มีผลงานด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์และภาพวาดเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เขาเคยมีส่วนร่วมในโครงการของรายการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายโครงการที่จัดทำขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ NHK และเคยได้รับรางวัลจากรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน เขาเป็นช่างภาพประจำ National Geographic Tour

http://www.jplnet.com/

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา