[ตอนที่ 3] เพิ่มความน่าประทับใจให้กับภาพถ่ายทิวทัศน์ยามค่ำคืนด้วยสีสันของตัวแบบรอง
หลังจากที่คุณได้ความคิดในการจัดวางตำแหน่งตัวแบบหลักและตัวแบบรองเป็นอย่างดีแล้ว ทำไมไม่ลองเสริมให้ภาพดูดียิ่งขึ้นด้วยสีดูล่ะ จากตัวอย่างภาพถ่ายทิวทัศน์ยามค่ำคืน ลองมาดูกันว่าสีของตัวแบบหลักและตัวแบบรองจะส่งผลต่องานถ่ายภาพอย่างไรบ้าง (เรื่องโดย: Toshinobu Hori)
หน้า: 1 2
ความเปรียบต่างของสีในตัวแบบหลักและตัวแบบรอง
เมื่อคุณถ่ายภาพในฉากธรรมชาติจากสถานที่ที่สามารถเห็นทิวทัศน์ได้ชัดเจน เช่น แม่น้ำ มักเกิดช่องว่างขนาดใหญ่และภาพจะขาดธีมที่แน่ชัด ในฉากลักษณะนี้ นอกจากการจัดวางตำแหน่งแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงคือสีของตัวแบบหลักและตัวแบบรอง
ในตัวอย่างที่ 1 โทนสีส้มของตัวแบบหลัก (สะพาน) ตัดกับสีฟ้าของตัวแบบรอง (กลุ่มอาคาร) ช่วยสร้างบรรยากาศให้มีชีวิตชีวาและสีสันสดใส นอกจากนั้น สีที่สะท้อนบนผิวน้ำยังช่วยเพิ่มบรรยากาศชวนฝันให้กับภาพอีกด้วย มุมมองเปอร์สเป็คทีฟที่สะพานนั้นสร้างมิติความลึกให้กับภาพ การครอปส่วนหนึ่งของสะพานออกไปจะกระตุ้นให้ผู้ชมจินตนาการถึงสิ่งที่อยู่นอกกรอบภาพ และสุดท้าย พื้นที่ว่างจะลดลงเนื่องจากมีการปรับลดพื้นที่ว่างเหนือกลุ่มอาคารให้มีองค์ประกอบที่สมดุลกัน
[ตัวอย่างที่ 1]
*มุมมองด้านบน
A: (ตัวแบบหลัก) สะพาน
B: (ตัวแบบรอง) อาคารที่ชายฝั่งด้านตรงข้าม
EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/8, 8 วินาที)/ ISO 200/ WB: 3450K
ภาพนี้ถ่ายในตำแหน่งที่มองเห็นทั้งสะพานที่ทอดผ่านแม่น้ำและกลุ่มอาคารที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ภาพสะท้อนน้ำของสะพานที่มีแสงไฟสว่างรวมกับแสงไฟจากในเมืองฝั่งตรงข้ามนั้นสร้างความประทับใจได้มาก
จัดการสีเพื่อสร้างความรู้สึกที่แตกต่างในภาพถ่ายทิวทัศน์ยามค่ำคืน
ตัวอย่างที่ 2 มีตัวแบบหลักเพียงจุดเดียว (คือสะพาน) แม้ว่าการถ่ายภาพให้มีเพียงแค่สะพานอยู่ในภาพอาจเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจไปที่รูปร่างอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวสะพาน แต่ก็ทำให้ภาพถูกปกคลุมไปด้วยสีส้มของสะพาน ซึ่งภาพอาจดูว่างเปล่าและดูน่าเบื่อได้ อีกจุดหนึ่งคือ ภาพที่มองเห็นสะพานทั้งหมดในภาพไม่ได้กระตุ้นให้ผู้ชมจินตนาการถึงสิ่งที่อยู่นอกกรอบภาพนั้นได้
[ตัวอย่างที่ 2]
A: (ตัวแบบหลัก) สะพาน
EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 38 มม./ Manual exposure (f/8, 8 วินาที)/ ISO 200/ WB: 3450K
ตัวอย่างที่ 3 ภาพถ่ายกลุ่มอาคารที่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำซึ่งมีความสมดุลทั้งในแนวตั้งและแนวนอน แต่ทั้งภาพปกคลุมไปด้วยสีน้ำเงินเนื่องจากส่วนใหญ่ของสะพานถูกตัดออกไปจากภาพ ทำให้เกิดความว่างเปล่าและดูน่าเบื่อเช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 2 อีกทั้งยังมีเพียงภาพสะท้อนอยู่ในโฟร์กราวด์ทำให้ภาพดูจืดชืดและมีความเปรียบต่างเพียงเล็กน้อย
[ตัวอย่างที่ 3]
A: (ตัวแบบหลัก) สะพาน
B: (ตัวแบบรอง) กลุ่มอาคารฝั่งตรงข้าม
EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 59 มม./ Manual exposure (f/8, 8 วินาที)/ ISO 200/ WB: 3450K
ความเปรียบต่างของสีในตัวแบบหลักและตัวแบบรองเป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน หากสถานที่ถ่ายภาพคือริมน้ำและมีแสงไฟของเมืองสะท้อนอยู่บนผิวน้ำ ก็ต้องพิจารณาถึงสีของแสงสะท้อนนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อถ่ายภาพ ควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของสีต่างๆ ในภาพด้วย เช่น สีคล้ายกันหรือสีตัดกัน
เกิดในจังหวัดโอซาก้า ปี 1977 นอกจากจะเป็นพนักงานบริษัทแล้ว เขายังเป็นช่างภาพเชิงพาณิชย์ที่พยายามหาโอกาสที่จะพัฒนาและทำให้การถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนเป็นที่แพร่หลาย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เขาได้มีส่วนร่วมในงานผลิตฟุตเทจสำหรับรายการโทรทัศน์ในฐานะผู้จัดทำฟุตเทจ และในปี 2014 เขาได้เผยแพร่คอลเลคชันภาพถ่าย Osaka Yakei [โอซาก้ายามค่ำคืน] (SOGENSHA Inc.)
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation