ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

6 สิ่งที่คุณจะค้นพบเมื่อเดินทางไปพร้อมกับเลนส์ RF50mm f/1.8 STM

2024-07-09
1
83

หากคุณต้องเดินทางพร้อมสัมภาระน้อยชิ้นและสามารถนำกระเป๋ากล้องเล็กๆ ไปได้เพียงใบเดียวเท่านั้น คุณจะเลือกหยิบเลนส์ตัวใดไป เลนส์ซูมมาตรฐานน่าจะเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย แต่ถ้าอยากลองอะไรใหม่ๆ คุณน่าจะใช้เลนส์ “50 มม. ความไวสูง” อย่าง RF50mm f/1.8 STM แทน แล้วคุณจะได้พบกับการผจญภัยในอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ทั้งมุมมองและวิธีถ่ายภาพของคุณเปลี่ยนไป

alt text

ในบทความนี้:

 

1. คุณจะพร้อมเสมอเมื่อมีโอกาสถ่ายภาพ

RF50mm f/1.8 STM มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เลนส์ 50 มม. ความไวสูง” เนื่องจากเหตุผลหลายข้อ ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา (หนักประมาณ 160 กรัมและยาวประมาณ 4 ซม.) คุณจึงสามารถใส่เลนส์นี้ลงในกระเป๋าที่คุณใช้เป็นประจำทุกวันได้อย่างง่ายดายและยังเหลือพื้นที่อีกมาก! นอกจากนี้ ยังมีขนาดกะทัดรัดและสามารถถือได้อย่างถนัดมือเมื่อใช้ร่วมกับกล้องแทบทุกรุ่น จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในวันที่คุณต้องออกไปสำรวจสิ่งต่างๆ

ลองใช้วิธีนี้ ถ่ายภาพทั้งวันโดยใช้เพียงเลนส์ 50 มม. เลนส์นี้มีความสามารถหลากหลายกว่าที่คุณคิด อ่านต่อได้เลยเพื่อดูไอเดียเพิ่มเติม!

 

2. ภาพถ่ายแบบถือกล้องด้วยมือที่สว่างยิ่งขึ้นในสภาวะแสงน้อย

EOS R8 + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/1.8, 1/100 วินาที, ISO 200

ด้วยรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ f/1.8 เลนส์ RF50mm f/1.8 STM จึงช่วยให้ชัตเตอร์ของคุณมีความเร็วสูงพอที่จะหลีกเลี่ยงการสั่นของกล้องขณะถ่ายภาพในที่มืดหรือในเวลากลางคืน และคุณยังสามารถตั้งค่าความไวแสง ISO ในระดับต่ำเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้นและใช้โฟกัสอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในสภาวะแสงน้อย

เลนส์นี้เป็นเลนส์ “ความไวสูง” รุ่นหนึ่งที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีความสามารถหลากหลายที่สุด เลนส์ซูมรูรับแสงกว้างมักจะหนักกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า ในขณะที่เลนส์ซูมที่เล็กกว่าและเบากว่าจะมีรูรับแสงกว้างสุดที่แคบกว่าและจะแคบลงอีกเมื่อคุณซูมเข้า นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เลนส์นี้มีชื่อเรียกว่า “เลนส์ 50 มม. ความไวสูง”!

ข้อควรรู้: รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ทำให้ได้โบเก้ที่สวยงาม

EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/1.8, 1/125 วินาที, ISO 500

รูรับแสงที่กว้างของเลนส์ RF50mm f/1.8 STM สามารถสร้างการเบลอจากโฟกัสตื้นอันสวยงามที่เรียกว่า “โบเก้” ได้ ใช้โบเก้เพื่อให้ตัวแบบโดดเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์ที่ดูรกตา หรือสร้างเอฟเฟ็กต์ที่ทำให้ภาพของคุณดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ถ่ายภาพพอร์ตเทรตแสนสวยได้อย่างง่ายดาย: 3 เทคนิคการถ่ายภาพที่สะดวกรวดเร็ว
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่เข้าใจยาก!

 

3. ภาพของคุณจะมีมุมมองที่คุ้นเคย

EOS R8 + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/5.6, 1/125 วินาที, ISO 640

เมื่อใช้กับกล้องฟูลเฟรม เลนส์ RF50mm f/1.8 STM จะให้มุมรับภาพที่ใกล้เคียงกับมุมมองของมนุษย์ในขณะที่เราเพ่งความสนใจไปยังวัตถุหนึ่ง

เลนส์มุมกว้างจะทำให้ระยะห่างระหว่างตัวแบบดูเกินจริง และเลนส์เทเลโฟโต้จะลดระยะห่างลงและทำให้ฉากดู “แบนราบมากขึ้น” ซึ่งต่างจากเลนส์รุ่นนี้ที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มเอฟเฟ็กต์ที่น่าสนใจใดๆ เข้าไปในภาพของคุณเลย

เปอร์สเปคทีฟตามธรรมชาติที่ได้จึงทำให้ภาพดู “น่าเบื่อ” สำหรับช่างภาพบางคน แต่คุณสมบัตินี้กลับเป็นเสน่ห์ที่แท้จริงของเลนส์ มุมรับภาพที่ให้ความรู้สึกคุ้นเคยโดยอัตโนมัติของเลนส์นี้จะดึงดูดผู้ชมเข้าไปในฉาก จึงเป็นเครื่องมือสำหรับการเล่าเรื่องที่ทรงพลัง

---
หาคำตอบว่าช่างภาพคนหนึ่งนำคุณสมบัตินี้มาใช้ประโยชน์อย่างไรได้ในบทความ
ภาพพอร์ตเทรตระยะ 50 มม. ในสไตล์เฉพาะตัว: การสร้างสรรค์ภาพแห่งความทรงจำ
---

 

4. คุณจะจัดองค์ประกอบภาพเก่งขึ้น

การที่ไม่สามารถแสดงความบิดเบี้ยวของเปอร์สเปคทีฟได้อย่างชัดเจนเป็นคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่ทำให้เลนส์ RF50mm f/1.8 STM ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ เช่น คุณสามารถถ่ายภาพที่ดูเหมือนถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างหรือเลนส์เทเลโฟโต้ได้ เพียงเปลี่ยนระยะการถ่ายภาพ มุมกล้อง และการจัดองค์ประกอบภาพเท่านั้น นี่คือเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ทำให้เลนส์นี้เป็นที่ยอมรับว่ามีความสามารถหลากหลาย!

เหมือนภาพมุมกว้างที่ 50 มม.
EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/9, 1/200 วินาที, ISO 160


เหมือนภาพเทเลโฟโต้ที่ 50 มม.
EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/1.8, 1/6400 วินาที, ISO 100

หากต้องการถ่ายภาพให้ดูเหมือนถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง:
- ถอยหลังเล็กน้อยเพื่อให้มองเห็นฉากได้มากขึ้น
- ใส่โฟร์กราวด์เข้ามาในภาพเพื่อเพิ่มความลึก
- เอียงกล้องเพื่อเพิ่มเปอร์สเปคทีฟ
- ใช้รูรับแสงที่แคบลงเพื่อให้ระยะชัดลึกขึ้น

หากต้องการถ่ายภาพให้ดูเหมือนภาพเทเลโฟโต้:
- ขยับเข้าไปใกล้ตัวแบบให้มากที่สุดเพื่อให้ตัวแบบกินพื้นที่เต็มเฟรมภาพ เลนส์ RF50mm f/1.8 STM มีระยะโฟกัสใกล้สุด 30 ซม. คุณจึงสามารถโฟกัสบนตัวแบบที่อยู่ใกล้ได้ถึงประมาณ 4 ซม. จากส่วนปลายของเลนส์
- ถ่ายภาพโดยให้กล้องตั้งตรงมากที่สุด
- สร้างภาพลวงตาที่ดูเป็นการย่นระยะห่างด้วยการนำตัวแบบมาเรียงซ้อนกันตรงๆ ที่ด้านหน้าแล้วถ่ายภาพจากด้านหน้าแทนที่จะถ่ายในมุมเฉียง

คุณสามารถถ่ายภาพที่ดูเหมือนใช้เลนส์หลายชนิดได้ด้วยเลนส์เพียงชิ้นเดียว!

เคล็ดลับระดับมือโปร: ถ่ายในโหมดครอป 1.6 เท่าด้วยกล้อง EOS R แบบฟูลเฟรมเพื่อให้ได้ระยะที่ไกลยิ่งขึ้น วิธีนี้จะทำให้ได้มุมรับภาพเทียบเท่าระยะ 80 มม. ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

 

5. คุณจะค้นพบมุมถ่ายภาพใหม่ๆ (และเก่งขึ้นด้วยในระหว่างนั้น)

EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/11, 1/20 วินาที, ISO 200

หากพูดกันตามความจริง เพราะเลนส์ RF50mm f/1.8 STM มีทางยาวโฟกัสคงที่ คุณจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการดึงเอาความคิดสร้างสรรค์ของคุณออกมา เพราะการสำรวจมากขึ้นจะทำให้คุณค้นพบสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

แต่การฝึกฝนทักษะของคุณจะไม่ใช่งานหนักอย่างที่คิด เพราะไม่ว่าอย่างไร RF50mm f/1.8 STM ก็เป็นเลนส์ขนาดกะทัดรัดที่มีน้ำหนักเบา

ลองใช้วิธีนี้ ลองใช้วิธีอื่นๆ ในการถ่ายภาพตัวแบบเดิมแม้ว่าคุณจะได้ภาพที่ต้องการแล้ว หากคิดไม่ออก ให้ลองใช้วิธีเมทริกซ์


---
หาคำตอบว่าการใช้เลนส์ RF50mm f/1.8 STM ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ช่างภาพทิวทัศน์ GOTO AKI ได้อย่างไรในบทความ
ภาพทิวทัศน์ระยะ 50 มม. ในสไตล์เฉพาะตัว: เลนส์ที่จุดประกายให้ทดลองสิ่งใหม่ๆ
---

 

6. คุณจะได้ถ่ายภาพท่องเที่ยวด้วยเลนส์คลาสสิก

EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/2.8, 1/1250 วินาที, ISO 100

เลนส์ 50 มม. คือเลนส์คิทแบบดั้งเดิม เลนส์นี้เผยโฉมเป็นครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 และจากนั้นไม่นานก็กลายมาเป็นเลนส์ชิ้นสำคัญสำหรับกล้อง Rangefinder 35 มม. ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น และเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ชุดกล้องรุ่นใหม่แทบทั้งหมดวางจำหน่ายพร้อมกับเลนส์ 50 มม.

ช่างภาพในยุคถ่ายภาพแบบแอนะล็อกที่มีชื่อเสียงหลายคนได้เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพจากเลนส์ชนิดนี้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีการจัดองค์ประกอบภาพในฉากของช่างภาพ ช่างภาพอย่าง Henri Cartier-Bresson และ Robert Capa แทบจะใช้เลนส์เดี่ยว 50 มม. เพียงอย่างเดียวในการถ่ายภาพ Cartier-Bression ชื่นชอบเลนส์นี้ตรงที่ไม่มีความบิดเบี้ยว เนื่องจากเขารู้สึกว่าความบิดเบี้ยวนั้น “รุนแรง” เกินไปเหมือนจะ “พุ่งใส่ตาคนดู” (อ่านต่อว่าเพราะเหตุใดเขาจึงชอบใช้เลนส์ 50 มม. ได้ในบทสัมภาษณ์กับ New York Times (ฉบับภาษาอังกฤษ) นี้)

แม้เราจะมีตัวเลือกมากขึ้นในปัจจุบัน แต่การถ่ายภาพด้วยเลนส์ 50 มม. จะช่วยให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าสิ่งที่ช่างภาพอย่าง Cartier-Bresson มองเห็นนั้นเป็นอย่างไร และเลนส์ความไวสูงที่มีราคาถูกอย่าง RF50mm f/1.8 STM สามารถช่วยให้คุณทำเช่นนั้นได้


RF50mm f/1.8 STM
เลนส์ 50 มม. ความไวสูงที่ใครๆ ต้องมี


แกลเลอรี่
คลิกหรือแตะที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด EXIF

 

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา