บทวิจารณ์เลนส์: RF70-200mm f/4L IS USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ
ด้วยความสามารถในการถ่ายภาพระยะไกลและภาพมาโครเทเลโฟโต้ระยะใกล้ เลนส์ซูมเทเลโฟโต้จึงมีความสามารถรอบด้านอย่างที่คุณคาดไม่ถึง และยังเป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องมีสำหรับการถ่ายภาพธรรมชาติ RF70-200mm f/4L IS USM มีขนาดใกล้เคียงกับกระป๋องเครื่องดื่ม 350 มล. (และเลนส์ซูมมาตรฐาน RF24-105mm f/4L IS USM) สามารถใส่ลงไปในกระเป๋ากล้องได้อย่างง่ายดายและจับถือสะดวก จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการผจญภัยกลางแจ้งในครั้งต่อไปของคุณ ช่างภาพทิวทัศน์ Chikako Yagi จะมาบอกเล่าประสบการณ์ให้เราฟัง (เรื่องโดย: Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่ทำให้การถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องเป็นเรื่องน่าสนุก
เมื่อพูดถึงเลนส์เมาท์ EF 70-200 มม. จาก Canon เลนส์ EF70-200mm f/2.8 มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจมากกว่า อย่างไรก็ตาม เลนส์ EF70-200mm f/4L ก็มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง เพราะให้ภาพที่คมชัดด้วยตัวเลนส์ที่มีน้ำหนักเบาและพกพาสะดวก เช่นเดียวกับ RF70-200mm f/4L IS USM ซึ่งเป็นเลนส์เวอร์ชันเมาท์ RF ที่พัฒนาขึ้นสำหรับระบบกล้องมิเรอร์เลส EOS R
เก็บใส่กระเป๋าได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าจะติดตั้งเข้ากับกล้องแล้ว
อันที่จริง RF70-200mm f/4L IS USM ไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพด้านออพติคอลที่ดีกว่าเวอร์ชันเมาท์ EF เท่านั้น แต่ยังพกพาสะดวกขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด โดยมีขนาดสั้นลงประมาณ 57 มม. และเบาขึ้นประมาณ 85 กรัม ท่อเลนส์จะขยายออกเมื่อคุณซูมเข้า โดยที่ระยะที่สั้นที่สุด (จุดทางยาวโฟกัส 70 มม.) จะมีความยาวใกล้เคียงกับกระป๋องน้ำอัดลมขนาด 350 มล. ซึ่งไม่เพียงแต่ให้สมดุลที่ยอดเยี่ยมเมื่อติดตั้งกับกล้อง EOS R5 เท่านั้น แต่คุณยังสามารถเก็บกล้องเข้ากระเป๋าโดยที่มีเลนส์ติดตั้งอยู่ได้อีกด้วย จึงพกพาติดตัวไปด้วยได้ง่ายมาก
ระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุด 7.5 สต็อปเมื่อใช้งานร่วมกับกล้อง EOS R5 พร้อม AF ที่รวดเร็วและตอบสนองได้ดี
เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดปัญหากล้องสั่นมากขึ้น ซึ่งมักจะจำกัดโอกาสในการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง อย่างไรก็ตาม เมื่อติดตั้งกับกล้อง EOS R5 แล้ว ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในเลนส์และในตัวกล้องจะทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุดถึง 7.5 สต็อป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการพกพาอย่างมาก เมื่อคุณคำนึงถึงการตอบสนองของ AF อันยอดเยี่ยมที่ขับเคลื่อนโดย Nano USM สองชุด การใช้เลนส์นี้ถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องอาจทำให้คุณติดใจได้เลย
วงแหวนควบคุมในตำแหน่งที่เหมาะสม
วงแหวนควบคุมอยู่ที่ด้านหน้าของเลนส์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คุณยากจะสัมผัสและเปลี่ยนการตั้งค่าโดยไม่ตั้งใจ แต่ยังคงเข้าถึงได้อย่างง่ายดายเมื่อคุณต้องทำการปรับเปลี่ยน
คุณสมบัติสำคัญข้อที่ 1: คุณภาพโบเก้ที่นุ่มนวลสวยงาม
EOS R5/ FL:200mm/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/125 วินาที, EV +0.3)/ ISO 500/ WB: แสงแดด
เลนส์เทเลโฟโต้สามารถให้โบเก้ที่สวยงามได้เช่นกัน ด้วยระยะชัดตื้นของทางยาวโฟกัสยาว การเข้าไปใกล้ตัวแบบและถ่ายที่ระยะ 200 มม. จะทำให้แบ็คกราวด์ละลายกลายเป็นภาพเบลอที่สวยงามและนุ่มนวล เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุดที่ f/4 ปัญหาขอบมืดแบบออพติคอลจะทำให้โบเก้ดูเป็นรูปมะนาวเล็กน้อย แต่คุณจะได้วงกลมโบเก้ทรงกลมมนที่สมบูรณ์แบบเมื่อปรับรูรับแสงให้แคบลงหนึ่งหรือสองสต็อป
คุณสมบัติสำคัญข้อที่ 2: คุณภาพของภาพถ่ายที่ยอดเยี่ยมตลอดช่วงการซูม
ทั้งในฝั่งเทเลโฟโต้และฝั่งมุมกว้าง คุณภาพของภาพจะมีความคมชัดตั้งแต่ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/4 เป็นต้นไป ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของภาพถ่ายที่คงไว้จากมุมด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่งตลอดช่วงการซูม ซึ่งทำให้บริเวณขอบภาพมีความคมชัดเช่นเดียวกับกึ่งกลางภาพ
ที่ 70 มม.
EOS R5/ FL:70mm/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/2 วินาที, EV -0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
มุมภาพ
กึ่งกลางภาพ
ที่ 200 มม.
EOS R5/ FL:200mm/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/125 วินาที, EV -0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
มุมภาพ
กึ่งกลางภาพ
อาจมีปัญหาแสงน้อยลงบริเวณขอบของภาพอยู่บ้างเมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด ซึ่งจะเห็นได้ชัดขึ้นเล็กน้อยทางฝั่งเทเลโฟโต้ แต่ไม่ถึงระดับที่เป็นปัญหา ปัญหานี้สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ด้วยการลดขนาดรูรับแสงลงหนึ่งสต็อปเป็น f/5.6 แต่คุณภาพของภาพที่ f/4 นั้นถือว่าดีมากอยู่แล้ว โดยไม่ได้มีความแตกต่างมากนัก
โดยรวมแล้ว คุณภาพของภาพยังค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดช่วงการซูมและช่วงรูรับแสง นี่คือเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่มีความสามารถรอบด้าน ซึ่งไม่เพียงแต่มีประโยชน์สำหรับงานภาพถ่ายที่ต้องใช้เวลาในการเวลาจัดองค์ประกอบภาพเท่านั้น แต่ยังใช้ถ่ายภาพสแน็ปช็อตได้อย่างรวดเร็วทันที
คุณสมบัติสำคัญข้อที่ 3: ภาพมาโครเทเลโฟโต้จากระยะโฟกัสใกล้สุดถึง 60 ซม.
ระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์คือ 60 ซม. ตลอดช่วงการซูม และให้กำลังขยายสูงสุด 0.28 เท่า ที่ฝั่งเทเลโฟโต้ 200 มม. ซึ่งมากพอที่จะถ่ายภาพมาโครเทเลโฟโต้ได้
EOS R5/ FL:200mm/ Aperture-priority AE (f/4, 1/80 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
นี่คือระยะใกล้ที่ฉันถ่ายภาพ
เมื่อถ่ายด้วยทางยาวโฟกัสยาวๆ เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพจะเด่นชัดขึ้น และมุมรับภาพที่แคบลงจะช่วยตัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากแบ็คกราวด์ได้ง่ายขึ้น คุณภาพโบเก้ที่สวยงามยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับภาพโคลสอัพของตัวแบบที่มีแบ็คกราวด์เบลอที่เด่นชัด ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักที่เบาของเลนส์ช่วยให้การถ่ายภาพมาโครโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องเป็นเรื่องง่าย
EOS R5/ FL:183mm/ Aperture-priority AE (f/4, 1/320 วินาที, EV -1.0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
เว้นระยะห่างระหว่างตัวแบบกับแบ็คกราวด์เพื่อเพิ่มโบเก้ในแบ็คกราวด์ การสร้างโบเก้ในโฟร์กราวด์ด้วยเลนส์รุ่นนี้ก็เป็นเรื่องน่าสนุกเช่นกัน
RF70-200mm f/4L IS USM
ข้อมูลจำเพาะ
โครงสร้างเลนส์: 16 ชิ้นเลนส์ใน 11 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.6 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.28 เท่า
จำนวนม่านรูรับแสง: 9 (กลีบ)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 77 มม.
ขนาด: φ83.5 x 119 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 695 ก.
โครงสร้างเลนส์
A: ชิ้นเลนส์ UD
B: ASC
เคลือบฟลูออรีนป้องกันรอยเปื้อนบนพื้นผิวเลนส์ด้านหน้า
เลนส์ฮูด: ET-83G (WIII) (มีให้)
ภาพตัวอย่าง
EOS R5/ FL:200mm/ Aperture-priority AE (f/8, 1/100 วินาที)/ ISO 3200/ WB: แสงแดด
ภาพนี้ถ่ายตอนมีฝนพรำเล็กน้อย แต่โครงสร้างที่ป้องกันฝุ่นละอองและหยดน้ำของเลนส์ช่วยให้ฉันถ่ายภาพได้อย่างไร้กังวล ใบเมเปิ้ลที่สะท้อนบนผิวน้ำกำลังเริ่มเปลี่ยนสี ชวนให้นึกถึงฤดูใบไม้ร่วงที่กำลังจะมาถึง
EOS R5/ FL: 70mm/ Aperture-priority AE (f/32, 1/2 วินาที, EV -0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ฉันลดความกว้างรูรับแสงลงเหลือ f/32 เพื่อถ่ายภาพสายน้ำไหลของน้ำตก การใช้รูรับแสงที่แคบเช่นนี้ส่งผลให้เกิดการเลี้ยวเบนของแสง ซึ่งแก้ไขได้ไม่ยากโดยใช้ Digital Lens Optimizer ในกล้อง
EOS R5/ FL: 200mm/ Aperture-priority AE (f/4, 1/6 วินาที, EV -0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
สัญลักษณ์สุดท้ายที่เหลืออยู่ของใบไม้ฤดูไม้ร่วงบนต้นไม้ที่เหลือรอดอยู่ต้นเดียวนี้ ซึ่งยืนต้นโดดเดี่ยวในป่าช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่สร้างขึ้นจากระยะเทเลโฟโต้ช่วยเพิ่มความรู้สึกของการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
*เนื่องจากรีวิวนี้ใช้เลนส์รุ่นก่อนการผลิต รูปลักษณ์ภายนอกและคุณภาพของภาพที่ได้จากผลิตภัณฑ์อาจแตกต่างไปจากนี้
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีของเลนส์ RF และเลนส์ RF รุ่นอื่นๆ ได้ที่:
In Focus: RF Lens
หากตัดสินใจไม่ได้ว่าควรเลือกเลนส์นี้หรือเลนส์ f/2.8 ดี บทความต่อไปนี้อาจช่วยได้:
บทวิจารณ์เลนส์: RF70-200mm f/2.8L IS USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์
อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ f/2.8 และ f/4
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club
www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi