คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #9: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ f/2.8 และ f/4
นอกจากเรื่องความสว่างแล้ว เลนส์ f/2.8 แตกต่างจากเลนส์ f/4 อย่างไร ผมจะอธิบายให้เห็นว่าเลนส์ทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร โดยนำเลนส์ EF70-200mm f/2.8L IS II USM และ EF70-200mm f/4L IS USM มาเปรียบเทียบความละเอียดคมชัดและขนาดของโบเก้ (ภาพโดย: Ryosuke Takahashi)
ขนาดของโบเก้แตกต่างกัน
คำตอบง่ายๆ คือมีข้อแตกต่างหลักๆ อยู่สองข้อ
ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดระหว่างเลนส์ f/2.8 และ f/4 คือเรื่องของ "ความสว่าง" หรือว่าปริมาณแสงสูงสุดที่เลนส์ยอมให้ผ่านเข้าสู่เซนเซอร์ได้
ข้อแตกต่างหลักอีกข้อหนึ่งคือ ระยะชัดของภาพ โดยปกติ เลนส์ f/2.8 สามารถให้ระยะชัดตื้นที่มากกว่า (ดังนั้นภาพโบเก้ที่ส่วนแบ็คกราวด์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย) เลนส์ f/4
อย่างไรก็ดี เราใช้คำว่า "โดยปกติ" เนื่องจากค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ไม่ได้เป็นตัวตัดสินขนาดและคุณภาพของโบเก้ที่ได้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ อีก เช่น โครงสร้างภายในของเลนส์ (ชิ้นเลนส์ที่ใช้ประกอบเลนส์และวิธีจัดเรียงเลนส์เข้าด้วยกัน) ที่อาจส่งผลต่อโบเก้ในภาพถ่ายด้วย ซึ่งมีประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ ในอดีตที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมในโครงสร้างเลนส์ทำให้คุณภาพของโบเก้ที่ได้มีความบกพร่องเล็กน้อยมาก นับแต่นั้นมาได้มีการปรับปรุงการออกแบบชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพของโบเก้
ดังนั้น หากคุณเปรียบเทียบเลนส์ f/4 ที่มีโครงสร้างภายในที่ออกแบบมาเพื่อให้ได้โบเก้ที่มีความเหมาะสม กับเลนส์ f/2.8 ที่มีโครงสร้างภายในที่ไม่เอื้อต่อภาพโบเก้ อย่างน้อยที่สุดในทางเทคนิคอาจเป็นไปได้ว่าเลนส์ f/4 สามารถให้ภาพโบเก้ที่มีขนาดใหญ่พอๆ กับภาพโบเก้จากเลนส์ f/2.8 ก็เป็นได้
อย่างไรก็ดี เลนส์ซูมระดับสูง เช่น เลนส์ในซีรีย์ L ของ Canon ได้รับการออกแบบเพื่อให้ได้โบเก้ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเทียบกับเลนส์ดังกล่าว มีความเป็นไปได้ว่ายิ่งใช้ค่า f ที่สว่างมากเท่าใด เราจะได้ภาพโบเก้ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
การทดสอบที่ 1: ความละเอียด
ใช้เลนส์ EF70-200mm f/2.8L IS II USM และ EF70-200mm f/4L IS USM ติดเข้ากับกล้อง EOS 5D Mark III ส่วนภาพถัดไป ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องพร้อมกับเลือกใช้โหมด Aperture-Priority AE จากนั้น จะมีการตรวจสอบความละเอียดที่ค่ารูรับแสงกว้างสุดของแต่ละเลนส์
f/2.8 - EF70-200mm f/2.8L IS II USM
f/4 - EF70-200mm f/4L IS USM
f/2.8
f/4
เลนส์ทั้งสองสามารถแสดงรายละเอียดของเส้นบางๆ ได้แทบไม่แตกต่างกัน จึงดูเหมือนว่าค่า f ที่ต่างกันไม่ส่งผลกระทบต่อความละเอียดของภาพมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การทดสอบที่ 2: ขนาดของโบเก้
ใช้เลนส์ EF70-200mm f/2.8L IS II USM และ EF70-200mm f/4L IS USM ติดเข้ากับกล้อง EOS 5D Mark III ส่วนภาพถัดไป ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องพร้อมกับเลือกใช้โหมด Aperture-Priority AE จากนั้น จะมีการตรวจสอบภาพโบเก้ที่ได้จากค่ารูรับแสงกว้างสุดของแต่ละเลนส์
f/2.8 - EF70-200mm f/2.8L IS II USM
f/4 - EF70-200mm f/4L IS USM
f/2.8
f/4
โบเก้ที่ได้จากเลนส์ f/2.8 มีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากความแตกต่างของระยะชัดที่เกิดจากค่า f ที่ใช้ และเมื่อใช้เลนส์ f/2.8 นอกจากพื้นที่ที่ขยายใหญ่ขึ้นในภาพแล้ว โบเก้ในบริเวณอื่นๆ ทั้งหมดของภาพยังดูมีขนาดใหญ่และเรียบเนียนกว่าเลนส์ f/4 ดังนั้น ค่า f จึงส่งผลโดยตรงต่อระดับของโบเก้
ต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ซูมเทเลโฟโต้หรือไม่ อ่านบทความต่อไปนี้เพื่อเรียนรู้เอฟเฟ็กต์ที่เกิดจากทางยาวโฟกัสสูงสุดที่แตกต่างกัน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.
รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ นอกจากถ่ายภาพสำหรับงานโฆษณาและนิตยสารทั้งในและนอกญี่ปุ่นแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักรีวิวให้กับ "Digital Camera Magazine" นับตั้งแต่นิตยสารเปิดตัว ตลอดจนตีพิมพ์ผลงานต่างๆ มากมาย ในส่วนของการรีวิวผลิตภัณฑ์และเลนส์ Takahashi เน้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพที่ดึงประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ออกมาผ่านมุมมองและการทดสอบเฉพาะตัวของเขาเอง ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย