ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

EOS 5D Mark IV: การแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ - วิเคราะห์เจาะลึก (ตอนที่ 2)

2017-02-02
6
2.91 k
ในบทความนี้:

ในตอนก่อนหน้านี้ เราได้เรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวปรับคุณภาพเลนส์ดิจิตอลในกล้องกันไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ เราจะมาทำความรู้จักกับคุณสมบัติอื่นๆ อีก 4 ข้อในฟังก์ชั่นแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ในกล้อง EOS 5D Mark IV ซึ่งมีคุณสมบัติแก้ไขความคลาดส่วนใหม่ที่ไม่เคยมีภายในกล้องมาก่อน (เรื่องโดย Ryosuke Takahashi)

 

คุณสมบัติพิเศษที่ 1: แก้ไขการเลีัยวเบน

การกระจายแสงเกิดขึ้นเมื่อคลื่นแสงที่จะเข้าสู่เลนส์ถูกปิดกั้นโดยไดอะแฟรมรูรับแสง ทำให้คลื่นแสงหันเหและตัดกันไปมา (หรือ "แตกกระจาย") ขณะผ่านเข้าสู่รูรับแสง การเบี่ยงเบนจากเส้นทางปกติที่เป็นเส้นตรงนี้เองส่งผลให้เส้นแสงไม่สามารถไปบรรจบกันได้ใหม่อย่างถูกต้องเมื่อไปถึงเซนเซอร์ภาพ จึงทำให้ภาพที่ออกมาขาดความคมชัด นอกจากนี้ ผลลัพธ์จากการหักเหของแสงยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การกระจายแสง" ซึ่งแสดงขึ้นในลักษณะเหมือนกับภาพเบลอที่มีม่านบางๆ ปกคลุมในบริเวณที่ได้รับผลกระทบของภาพ มีความคล้ายคลึงกับเอฟเฟ็กต์ที่เกิดจากความคลาดทรงกลมมาก

การกระจายแสงเกิดขึ้นได้กับเลนส์ทุกชนิด อย่างไรก็ดี เนื่องจากคลื่นแสงจะหักเหมากขึ้นเมื่อช่องที่เป็นเส้นทางผ่านมีขนาดเล็กลง ดังนั้น การกระจายแสงจะยิ่งเห็นได้ชัดมากขึ้นเมื่อใช้รูรับแสงที่แคบ แต่เดิมนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่ภาพที่ออกมาจะไม่สูญเสียความคมชัดไป วิธีเดียวในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือ หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงที่แคบจนเกินไป ซึ่งเป็นวิธีการรับมือที่ไม่มีประโยชน์มากนักเมื่อช่างภาพจำเป็นต้องเพิ่มระยะชัดให้มากขึ้นในระดับหนึ่ง

ดังนั้น คุณสมบัติแก้ไขการเลีัยวเบนจึงมีประโยชน์อย่างมากในฉากที่จำเป็นต้องใช้รูรับแสงที่แคบ แต่เดิมคุณสมบัติแก้ไขการเลีัยวเบนของ Canon เคยอยู่ในตัวปรับคุณภาพเลนส์ดิจิตอล แต่ขณะนี้ได้กลายเป็นฟังก์ชั่นที่เป็นอิสระจากกัน ซึ่งสามารถเข้าใช้งานได้จากเมนูแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์

เอฟเฟ็กต์ที่ได้จากการแก้ไขการเลีัยวเบนค่อนข้างชัดเจนดังที่คุณเห็นจากตัวอย่างด้านล่างนี้ โดยเราเปรียบเทียบภาพที่ใช้ค่ารูรับแสงที่แตกต่างกัน ซึ่งถ่ายโดยมีและไม่มีการแก้ไขการเลีัยวเบน โปรดทราบว่ายิ่งค่า f มากขึ้นเท่าใด การกระจายแสงก็จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้นเท่านั้น

เปิดใช้งานแก้ไขการเลีัยวเบนในสถานการณ์ต่อไปนี้
- เมื่อใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อเพิ่มระยะชัด
- เมื่อลดขนาดรูรับแสงให้แคบลงเพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง
- เมื่อคุณต้องการได้ภาพที่มีความละเอียดคมชัดมากที่สุด ไม่ว่าจะตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ค่าใด

EOS 5D Mark IV/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 145 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/1000 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 

f/8

แก้ไขการเลีัยวเบน - ปิด

แก้ไขการเลีัยวเบน - เปิด

 

f/11

แก้ไขการเลีัยวเบน - ปิด

แก้ไขการเลีัยวเบน - เปิด

 

f/16

แก้ไขการเลีัยวเบน - ปิด

แก้ไขการเลีัยวเบน - เปิด

 

f/22

แก้ไขการเลีัยวเบน - ปิด

แก้ไขการเลีัยวเบน - เปิด

 

คุณสมบัติพิเศษที่ 2: แก้ไขสีคลาดเคลื่อน

ความคลาดสีเกิดจากการที่เลนส์หักเหความยาวคลื่นแสงแตกต่างกัน ทำให้สีต่างๆ ไม่สามารถไปบรรจบที่จุดเดียวกันบนเซนเซอร์ภาพได้

ความคลาดสีมีอยู่สองประเภทด้วยกัน ได้แก่ ความคลาดสีตามแกน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกันถูกโฟกัสในจุดที่แตกต่างกันตามแกนของเลนส์ (ในระยะห่างที่แตกต่างกันจากเซนเซอร์ภาพ) โดยจะแสดงออกมาเป็นสีต่างๆ ที่อยู่นอกโฟกัสบนจุดต่างๆ ของภาพ และมีแนวโน้มที่จะเห็นชัดขึ้นเมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้ ในขณะที่ความคลาดสีริมขอบวัตถุ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความคลาดสีแนวทแยง) เกิดขึ้นเมื่อความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกันถูกโฟกัสที่ระนาบโฟกัส (เซนเซอร์ภาพ) แต่ในตำแหน่งที่ต่างกัน จึงทำให้เกิดสีเพี้ยนขึ้น และมีแนวโน้มจะเกิดได้มากเมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง

ความคลาดสีตามแกนเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากระยะโฟกัสของความยาวคลื่นที่สัมพันธ์กับเซนเซอร์ภาพ ซึ่งมักจะลดลงเมื่อใช้ค่ารูรับแสงที่แคบลง จึงทำให้มั่นใจได้ว่าความยาวคลื่นจะยังคงอยู่ในช่วงของโฟกัสที่ยอมรับได้ ในทางตรงกันข้าม ความคลาดสีริมขอบวัตถุเป็นปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งที่ความยาวคลื่นถูกโฟกัสบนเซนเซอร์ภาพ ดังนั้นจึงสามารถทำให้ลดลงได้ด้วยการลดขนาดรูรับแสงให้แคบลง

การขจัดความคลาดสีให้หมดไปโดยสิ้นเชิงด้วยการใช้ออพติกเป็นเรื่องยาก แม้ว่าจะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอดด้วยการออกแบบออพติคอลของเลนส์อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม นอกจากนี้ การแก้ปัญหาความคลาดสีตามแกนยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะทำให้ความคมชัดของภาพลดลง

การมีฟังก์ชั่นแก้ไขสีคลาดเคลื่อนภายในกล้องจึงช่วยให้คุณสามารถลดเอฟเฟ็กต์ของความคลาดสีตามแกนได้โดยไม่ต้องใช้รูรับแสงที่แคบลง และยังสามารถลดปัญหาสีเพี้ยนที่เกิดจากความคลาดสีริมขอบวัตถุได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนทางยาวโฟกัส หากเราใช้อย่างเหมาะสม เครื่องมือนี้จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่ช่วยให้คุณสามารถใช้เลนส์ได้อย่างเต็มศักยภาพ

เปิดใช้งานแก้ไขสีคลาดเคลื่อนในสถานการณ์ต่อไปนี้
- เมื่อคุณต้องถ่ายภาพที่รูรับแสงกว้างสุดเพื่อให้ได้ระยะชัดที่ต้องการด้วยเลนส์เทเลโฟโต้
- เมื่อถ่ายภาพที่มุมเทเลโฟโต้ เมื่อคุณต้องการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสง เนื่องจากจะส่งผลต่อภาพถ่ายที่ได้
- เมื่อถ่ายภาพที่มุมกว้าง เมื่อคุณใช้มุมมองแบบพิเศษเพื่อสร้างเปอร์สเป็คทีฟให้ดูเกินจริง

 

เลนส์มุมกว้าง (FL: 24 มม./ f/4)

แก้ไขสีคลาดเคลื่อน - ปิด

แก้ไขสีคลาดเคลื่อน - เปิด

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/320 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

สังเกตว่าการแก้ไขสีคลาดเคลื่อนช่วยลดปัญหาสีเพี้ยนที่เกิดขึ้นบริเวณรอบๆ ขอบของอาคาร ทำให้เห็นเส้นเค้าโครงได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สีเพี้ยนที่ปรากฏขึ้นรอบๆ ก้อนเมฆที่บริเวณขอบภาพก็หายไปด้วยเช่นกัน ทำให้เมฆดูขาวยิ่งขึ้นกว่าภาพที่ยังไม่ได้ผ่านการแก้ไข ดังนั้น การสามารถแก้ไขความคลาดสีได้ทุกครั้งที่คุณใช้เลนส์มุมกว้างจึงเป็นความคิดที่ดีทีเดียว

 

เทเลโฟโต้ (FL: 300 มม./ f/5.6)

แก้ไขสีคลาดเคลื่อน - ปิด

แก้ไขสีคลาดเคลื่อน - เปิด

EOS 5D Mark IV/ EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM/ FL: 300 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/800 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ในเลนส์เทเลโฟโต้ ความคลาดสีตามแกนมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้มากกว่าเมื่อเทียบกับความคลาดสีริมขอบวัตถุ อย่างไรก็ดี ในบางกรณี เราอาจสังเกตเห็นความคลาดสีริมขอบวัตถุได้ที่บริเวณขอบภาพ ความคลาดสีตามแกนทำให้เกิดจุดสีซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวแบบดูเหมือนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ภาพโดยรวมจึงดูขาดความคมชัดไป ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในตัวอย่างภาพด้านบน นอกจากนี้ ยังเห็นได้ว่าเมื่อใช้การแก้ไขสีคลาดเคลื่อน ปัญหาดังกล่าวลดลงไปมาก

 

คุณสมบัติพิเศษที่ 3: แก้ไขระดับแสงขอบภาพ

การแก้ไขระดับแสงขอบภาพจะช่วยแก้ไขปัญหาแสงน้อยลงที่บริเวณขอบภาพ (หรือที่เรียกว่า ปัญหาขอบมืดแบบออพติคอล) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อรัศมีของแสงถูกองค์ประกอบหลายอย่างภายในท่อเลนส์บดบังหรือทำให้มืดไปบางส่วน ทำให้แสงที่ตกกระทบนอกแนวแกนสามารถผ่านรูรับแสงได้ลดลง ซึ่งส่งผลให้ความเข้มของแสงลดลงอย่างต่อเนื่องไปจนถึงมุมภาพ

ปัญหาแสงน้อยลงที่บริเวณขอบภาพเกิดขึ้นเป็นปกติเนื่องจากรูปทรงของท่อเลนส์ เพราะมีตัวแปรในเรื่องขนาดขององค์ประกอบภายในเลนส์ แม้ว่าเลย์เอาต์ขององค์ประกอบเหล่านี้จะได้รับการปรับให้เหมาะสมแล้วก็ตาม วิธีหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้คือ ปรับรูรับแสงให้แคบลงจนกระทั่งแสงผ่านเข้าสู่เลนส์ได้น้อยลง แต่นั่นหมายความว่าคุณจะมีข้อจำกัดอย่างมากในการใช้การตั้งค่ารูรับแสง

ฟังก์ชั่นการแก้ไขแสงสว่างบริเวณขอบภาพจะช่วยแก้ไขปัญหาแสงน้อยลงที่บริเวณขอบภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งรูป ซึ่งทำให้มุมภาพสว่างยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงแต่อย่างใด ตัวอย่างด้านล่างแสดงให้เห็นความแตกต่างเมื่อใช้ฟังก์ชั่นนี้ โดยภาพที่ได้รับการแก้ไขจะมีมุมภาพที่สว่างและคมชัดตลอดทั้งช่วงทางยาวโฟกัส

ใช้การแก้ไขแสงสว่างบริเวณขอบภาพในสถานการณ์ต่อไปนี้
- เมื่อองค์ประกอบภาพของคุณเกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล
- เมื่อคุณถ่ายภาพบุคคล และต้องการใช้รูรับแสงกว้างสุดเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์บางอย่าง
- ระหว่างการถ่ายภาพมาโครในระยะมุมกว้าง เมื่อคุณต้องการใช้รูรับแสงกว้างสุด

 

เลนส์มุมกว้าง (FL: 16 มม./ f/11)

แก้ไขระดับแสงขอบภาพ - ปิด

แก้ไขระดับแสงขอบภาพ - เปิด

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/1600 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

ปัญหาแสงน้อยลงที่บริเวณขอบภาพคือรูปแบบหนึ่งของสิ่งที่เรียกกันทั่วไปว่า "ปัญหาขอบมืด" ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้เมื่อถ่ายภาพที่ระยะมุมกว้างด้วยค่าที่ใกล้เคียงกับรูรับแสงกว้างสุด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มักส่งผลให้แสงตกกระทบนอกแนวแกนมากยิ่งขึ้น การใช้ฟังก์ชั่นการแก้ไขแสงสว่างบริเวณขอบภาพจึงช่วยให้บริเวณมุมภาพมีสีที่สม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ควรเปิดใช้งานฟังก์ชั่นนี้ไว้เว้นแต่คุณต้องการสร้างสรรค์ภาพที่มีเอฟเฟ็กต์ขอบมืดเท่านั้น

 

เทเลโฟโต้ (FL: 300 มม./ f/5.6)

แก้ไขระดับแสงขอบภาพ - ปิด

แก้ไขระดับแสงขอบภาพ - เปิด

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE(f/4, 1/2000 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

นอกจากนี้ ปัญหาแสงน้อยลงที่บริเวณขอบภาพยังเห็นได้ชัดเจนในภาพที่ถ่ายในระยะเทเลโฟโต้ แม้ว่าปัญหานี้อาจไม่เด่นชัดเท่ากับที่คุณเห็นในภาพที่ใช้ระยะมุมกว้าง ในภาพนี้ เราสังเกตเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจนอีกครั้งเมื่อใช้งานฟังก์ชั่นการแก้ไขแสงสว่างบริเวณขอบภาพ โดยดูราวกับว่าแสงส่องไปที่มุมทั้งสี่ของภาพ ดังนั้น ฟังก์ชั่นนี้จึงเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพนกและเครื่องบินตัดกับท้องฟ้า

 

คุณสมบัติพิเศษที่ 4: แก้ไขความคลาดส่วน

สาเหตุหนึ่งของความบิดเบี้ยวเกิดจากรัศมีของแสงไม่ตกกระทบลงบนจุดที่ถูกต้องบนระนาบภาพ (เซนเซอร์ภาพ) เนื่องจากปัญหานี้ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมการตั้งค่ารูรับแสง วิธีเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือ การใช้เลนส์ชั้นสูงที่มีราคาแพงซึ่งจะเกิดความบิดเบี้ยวน้อยลง

ฟังก์ชั่นแก้ไขความคลาดส่วนในกล้องของ Canon จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามข้อมูลเลนส์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะแก้ไขความบิดเบี้ยวแบบโป่งออก (เมื่อใช้มุมกว้าง) และความบิดเบี้ยวแบบเว้าเข้า (เมื่อใช้มุมเทเลโฟโต้) ได้อย่างเหมาะสม ลองดูตัวอย่างด้านล่าง ให้สังเกตว่าภาพที่แก้ไขแล้วนั้นตัวแบบจะมีเส้นแนวนอนที่ตรงขึ้นกว่าเดิม

ภาพมุมกว้างที่บริเวณใกล้กับกึ่งกลางภาพมีแนวโน้มจะโดดเด่นออกมาเนื่องมาจากความบิดเบี้ยวแบบโป่งออก การแก้ไขความคลาดส่วนสามารถลดเอฟเฟ็กต์นี้ได้เช่นกัน เนื่องจากจะเป็นฟังก์ชั่นที่แก้ไขความบิดเบี้ยวได้ครอบคลุมทั่วทั้งภาพ แทนที่จะแก้ไขแค่เพียงบริเวณขอบเท่านั้น อย่างไรก็ดี พึงทราบว่าไม่ว่าจะเป็นความบิดเบี้ยวชนิดใดก็ตาม บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกในระหว่างกระบวนการแก้ไข ดังนั้น เมื่อคุณจัดองค์ประกอบภาพของคุณ จึงแนะนำให้เผื่อบริเวณขอบของภาพไว้พอสมควร

หากคุณถ่ายภาพในแบบ Live View คุณสามารถดูตัวอย่างภาพหลังจากแก้ไขแล้วได้ เมื่อความบิดเบี้ยวได้รับการแก้ไขแล้ว ความเอียงและความไม่สมดุลในภาพจะยิ่งเห็นได้ชัดขึ้น จึงแก้ไขได้ง่ายขึ้น และช่วยให้คุณได้ภาพที่มีองค์ประกอบภาพที่ดี

ใช้งานแก้ไขความคลาดส่วนในสถานการณ์ต่อไปนี้
- ในภาพทิวทัศน์ที่มีขอบฟ้าที่เห็นได้ชัด
- เมื่อถ่ายภาพอาคารที่มีเส้นตรง ซึ่งจะสามารถถ่ายทอดได้อย่างคมชัดสมบูรณ์แบบ
- ในการถ่ายภาพนิ่ง เพื่อให้รูปร่างของวัตถุสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างถูกต้อง

 

เลนส์มุมกว้าง (FL: 16 มม./ f/8)

แก้ไขความคลาดส่วน - ปิด

แก้ไขความคลาดส่วน - เปิด

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/15 วินาที, EV-1.0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

ความบิดเบี้ยวแบบโป่งออกที่มักเกิดขึ้นเป็นพิเศษในเลนส์มุมกว้างได้รับการแก้ไขแล้ว ลองสังเกตดูว่าแนวเส้นของโต๊ะและเสื่อทาทามิจะเป็นเส้นตรงขึ้นในภาพที่แก้ไขแล้วเมื่อเทียบกับภาพที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข บางครั้ง คุณอาจไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วความบิดเบี้ยวนั้นมีขนาดใหญ่มากแค่ไหน ฟังก์ชั่นนี้ไม่เพียงมีประโยชน์สำหรับภาพถ่ายภายในอาคารเท่านั้น แต่ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับภาพถ่ายกลางแจ้ง ภาพทิวทัศน์ และฉากต่างๆ ที่หลากหลายอีกด้วย

 

เทเลโฟโต้ (FL: 105 มม./ f/8)

แก้ไขความคลาดส่วน - ปิด

แก้ไขความคลาดส่วน - เปิด

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/125 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

ความบิดเบี้ยวแบบโป่งออกแม้จะไม่เห็นชัดเจนในภาพที่ถ่ายที่มุมเทเลโฟโต้เท่ากับภาพถ่ายที่มุมกว้าง แต่จะเกิดความบิดเบี้ยวแบบเว้าเข้าดังเช่นในตัวอย่างด้านบน การแก้ไขปัญหาความบิดเบี้ยวประเภทนี้จะทำให้รูปทรงของอาคารมีความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น สังเกตได้จากแนวเส้นของหลังคาจะเป็นเส้นตรงขึ้น จึงช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นขณะแสดงเส้นตารางในช่องมองภาพ/หน้าจอ LCD

 

หากต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวปรับคุณภาพเลนส์ดิจิตอล สามารถอ่านบทความต่อไปนี้ได้:
EOS 5D Mark IV: การแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ - วิเคราะห์เจาะลึก (ตอนที่ 1)

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

 

 

 

 

 

 

Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา