ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part4

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #3: การสร้างโบเก้

2017-09-15
7
5.13 k
ในบทความนี้:

“โบเก้” ซึ่งหมายถึงภาพเบลอที่ดูมีเสน่ห์งดงามในบริเวณที่อยู่นอกระยะโฟกัสของภาพ คือเทคนิคการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายที่เป็นเอกลักษณ์ โบเก้ทำให้ภาพมีความลึก และเป็นวิธีที่ขาดไม่ได้ในการดึงความสนใจของผู้ชมไปที่ตัวแบบที่อยู่ในโฟกัส ในบทความนี้ เราจะมาดู 4 ปัจจัยสำคัญในการสร้างโบเก้ และศึกษาวิธีควบคุมเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจ (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพด้านบนเกี่ยวกับพื้นฐานของเลนส์

 

4 ปัจจัยสำคัญที่สร้างโบเก้ให้ดูเด่นชัด

 

เงื่อนไขที่สร้างโบเก้ให้ดูเด่นชัด
1. ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาว
2. เลือกรูรับแสงกว้าง
3. ขยับเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น
4. วางตัวแบบให้ห่างจากแบ็คกราวด์

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเด่นชัดของเอฟเฟ็กต์โบเก้ (นั่นคือ ระดับการเบลอในบริเวณที่ต้องการ) มีสี่ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ รูรับแสง ทางยาวโฟกัส ระยะการถ่ายภาพ และระยะห่างระหว่างตัวแบบกับแบ็คกราวด์ การใช้ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับตัวแบบและฉากจะช่วยให้คุณสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในแบบที่ต้องการได้

รูรับแสง: ยิ่งรูรับแสงกว้างขึ้น (ค่า f ต่ำลง) เอฟเฟ็กต์โบเก้จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้น (“ขนาดใหญ่ขึ้น”) และสัมพันธ์กันเช่นนี้ในทางกลับกัน
ทางยาวโฟกัส: ยิ่งทางยาวโฟกัสยาวขึ้น เอฟเฟ็กต์โบเก้จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้น และสัมพันธ์กันเช่นนี้ในทางกลับกัน
ระยะการถ่ายภาพ: ยิ่งตัวแบบอยู่ใกล้ เอฟเฟ็กต์โบเก้จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้น และสัมพันธ์กันเช่นนี้ในทางกลับกัน
ระยะห่างระหว่างตัวแบบและแบ็คกราวด์: ยิ่งแบ็คกราวด์อยู่ไกล เอฟเฟ็กต์โบเก้จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้น และสัมพันธ์กันเช่นนี้ในทางกลับกัน

อีกนัยหนึ่งคือ เพื่อให้ได้โบเก้ที่เด่นชัดที่สุด คุณจำเป็นต้องใช้เลนส์เทเลโฟโต้ โดยตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุด ขยับเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นจนกระทั่งคุณอยู่ที่ระยะการถ่ายต่ำสุด และเลือกสถานที่/ตำแหน่งถ่ายภาพที่แบ็คกราวด์เห็นนั้นอยู่ไกลจากตัวแบบมากที่สุด อย่างไรก็ดี เพียงสร้างโบเก้ที่เด่นชัดที่สุดอาจไม่ได้ผลสำหรับภาพทุกภาพ สิ่งสำคัญคือต้องปรับเอฟเฟ็กต์โบเก้จนกระทั่งเหมาะกับวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของภาพ และความสามารถในการปรับนี้เป็นทักษะที่จำเป็นมากในการถ่ายภาพ

เราลองมาดูรายละเอียดของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อความเด่นชัดของโบเก้กัน

 

รูรับแสง

ตัวอย่างด้านล่างถ่ายจากตำแหน่งเดียวกัน แต่ใช้ค่ารูรับแสงต่างกัน เมื่อใช้รูรับแสงกว้าง (f/1.4) แบ็คกราวด์จะอยู่นอกโฟกัสอย่างชัดเจน (เอฟเฟ็กต์โบเก้เห็นชัดเจนมาก) ขณะที่เมื่อใช้รูรับแสงแคบ (f/16) ภาพทั้งภาพจะอยู่ในโฟกัส รวมทั้งแบ็คกราวด์ด้วย นั่นเป็นเพราะเมื่อใช้รูรับแสงกว้าง ระยะชัดลึกจะตื้นและส่งผลให้แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสนั่นเอง

รูรับแสงกว้าง (f/1.4)

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม., f/1.4

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/200 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

รูรับแสงแคบ (f/16)

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม., f/16

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/40 วินาที, EV+0.3)/ ISO 2500/ WB: Manual

 

ทางยาวโฟกัส

ภาพทั้งสองภาพต่อไปนี้ถ่ายที่ค่า f/2.8 แต่ใช้ทางยาวโฟกัสต่างกัน ภาพถูกจัดวางเพื่อให้เสาที่สลักชื่อไว้ดูมีขนาดเท่ากันในภาพทั้งสองภาพ เมื่อใช้ทางยาวโฟกัส 70 มม. เราจะเห็นเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ได้ชัดพอควร แต่เมื่อใช้ทางยาวโฟกัส 24 มม. เอฟเฟ็กต์โบเก้จะเห็นชัดน้อยลงมาก นั่นหมายความว่าหากใช้เลนส์ซูม คุณจะได้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เด่นชัดมากขึ้นเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น

ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น (70 มม.)

ถ่ายด้วย EF24-70mm f/2.8L II USM ที่ 70 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/1600 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

ทางยาวโฟกัสสั้นลง (24 มม.)

ถ่ายด้วย EF24-70mm f/2.8L II USM ที่ 24 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM / FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/50 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

 

ระยะการถ่ายภาพ

ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ค่ารูรับแสงที่เท่ากัน (f/1.4) แต่ถ่ายจากระยะห่างที่ต่างกัน คุณจะเห็นว่าระยะห่างระหว่างกล้องกับตัวแบบส่งผลต่อความเด่นชัดของเอฟเฟ็กต์โบเก้ได้อย่างไร เมื่อกล้องอยู่ใกล้ตัวแบบมากขึ้น (ตัวอย่างที่ระยะ 50 ซม.) แบ็คกราวด์จะอยู่นอกโฟกัสมากขึ้น และจะเห็นเอฟเฟ็กต์โบเก้ได้ชัดเจนขึ้น และเมื่อกล้องอยู่ไกลจากตัวแบบมากขึ้น (ตัวอย่างที่ระยะ 70 ซม.) แบ็คกราวด์จะอยู่ในโฟกัสมากขึ้น และจะเห็นเอฟเฟ็กต์โบเก้ได้ชัดน้อยลง โปรดอย่าลืมว่าระยะที่คุณสามารถเข้าใกล้ตัวแบบได้นั้นขึ้นอยู่กับระยะการถ่ายต่ำสุดของเลนส์ที่คุณใช้ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'ระยะโฟกัสใกล้สุด')

ใกล้ขึ้น (50 ซม.)

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม.

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/50 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: Manual

ไกลขึ้น (70 ซม.)

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม.

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/50 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: Manual

 

ระยะห่างระหว่างตัวแบบกับแบ็คกราวด์

ภาพตัวอย่างทั้งสองภาพต่อไปนี้ถ่ายที่ค่า f/1.4 แต่มีระยะห่างระหว่างตัวแบบกับแบ็คกราวด์ต่างกัน เมื่อแบ็คกราวด์อยู่ห่างจากตัวแบบมากขึ้น (60 ซม.) เอฟเฟ็กต์โบเก้จะเห็นได้ชัดขึ้น และเมื่อแบ็คกราวด์อยู่ใกล้ตัวแบบมากขึ้น (30 ซม.) เอฟเฟ็กต์โบเก้จะเห็นได้ชัดน้อยลง นี่แสดงว่าหากคุณต้องการเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เด่นชัด คุณต้องดูให้แน่ใจว่าตัวแบบอยู่ไกลจากแบ็คกราวด์มากขึ้น

ไกลขึ้น (60 ซม.)

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม.

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/2500 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual

ใกล้ขึ้น (30 ซม.)

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม.

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/3200 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual

 

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักถึงเมื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้

1. เลือกค่ารูรับแสงที่รักษาบริบทในภาพได้เพียงพอ

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม.

f/1.4
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/60 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ 50 มม.

f/5.6
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/50 วินาที, EV+0.7)/ ISO 1250/ WB: อัตโนมัติ

 

ยิ่งรูรับแสงกว้างขึ้น ภาพเบลอจะยิ่งชัดเจนขึ้นและพื้นที่นอกโฟกัสจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะดึงความสนใจไปที่ตัวแบบหลักได้มากขึ้น แต่หากคุณสร้างภาพที่เบลอมากเกินความจำเป็น อาจกลายเป็นการตัดข้อมูลที่จำเป็นซึ่งมีส่วนสร้างบริบทในภาพถ่าย เช่น สถานที่และสภาพแวดล้อมโดยรอบ ออกไป ดังนั้น จึงควรพิจารณาว่าคุณต้องการถ่ายทอดตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมายอย่างไร แล้วจึงเลือกค่ารูรับแสงที่เหมาะสม

 

2. หากต้องการใช้ประโยชน์จากพลังในการสื่ออารมณ์ ให้ใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้น

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.8 STM ที่ 50 มม., f/11

f/11
EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/50 วินาที, EV+1)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.8 STM ที่ 50 มม., f/1.8

f/1.8
EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/100 วินาที, EV+1)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

การใช้รูรับแสงแคบจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในเฟรมภาพอยู่ในโฟกัส และเมื่อมองเห็นองค์ประกอบในภาพได้ชัดเจน จึงยากที่จะนำเสนอแนวคิดและกระตุ้นอารมณ์ภาพ ดังนั้น หากคุณต้องการให้ภาพถ่ายชวนให้รำลึกถึงอดีตมากกว่าภาพยนตร์สารคดี ควรใช้รูรับแสงกว้างขึ้นและสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เด่นชัดมากขึ้น วิธีนี้จะช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไปยังจุดที่ต้องการ และให้แนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการสื่อ

 

ซึ่งเอฟเฟ็กต์โบเก้สามารถช่วยให้คุณได้ภาพเช่นนี้!

ถ่ายด้วย EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM ที่ 127 มม., f/5

EOS 700D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 127 มม. (เทียบเท่า 203 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5, 1/500 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ทางยาวโฟกัสที่ยาวและค่ารูรับแสงกว้างสุดสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ดีที่สุด
ภาพนี้ถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาว (203 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) โดยใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/5 ฉันใช้ปัจจัยสองข้อสำหรับโบเก้ที่เด่นชัดในการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เบลอรายละเอียดในทะเล เพื่อดึงความสนใจไปที่นกนางนวล

 

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโบเก้ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
เทคนิคการถ่ายภาพพอร์ตเทรตโดยใช้โบเก้
พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ #1: การใช้โบเก้เพื่อทำให้ตัวแบบดูโดดเด่น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #8: ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม
การถ่ายภาพดอกไม้: วิธีสร้างวงกลมโบเก้ที่สว่างจ้าให้สวยแจ่มด้วยเลนส์มาโคร

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา