ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part9

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ 8: เลนส์เทเลโฟโต้

2017-12-21
10
23.68 k
ในบทความนี้:

เลนส์เทเลโฟโต้ให้คุณถ่ายทอดตัวแบบได้เต็มเฟรม และสร้างแบ็คกราวด์เบลอที่นุ่มนวลโดยเกิดความบิดเบี้ยวเพียงเล็กน้อย อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพด้านบนเกี่ยวกับพื้นฐานของเลนส์

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเลนส์เทเลโฟโต้

ลักษณะเฉพาะของเลนส์เทเลโฟโต้:

1. ช่วย “ดึง” ตัวแบบเข้ามาใกล้ และถ่ายทอดตัวแบบในระยะไกลมากได้เต็มเฟรม
2. ให้ระยะชัดลึกที่ตื้นจึงสร้างแบ็คกราวด์เบลอ (“โบเก้” ที่ส่วนแบ็คกราวด์) ได้ง่าย
3. ให้มุมรับภาพแคบ จึงช่วยตัดองค์ประกอบในส่วนแบ็คกราวด์ที่ไม่ต้องการออกจากเฟรมภาพได้ง่าย
4. ให้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ ทำให้องค์ประกอบในภาพดูใกล้กันมากขึ้น

 

โดยทั่วไป เลนส์เทเลโฟโต้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีกสามประเภทตามทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ได้แก่

เลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง(หรือที่เรียกว่าเลนส์เทเลโฟโต้ชนิดปานกลาง) : ประมาณ 85 มม. ถึง 100 มม. หรือกระทั่ง 135 มม.
เลนส์เทเลโฟโต้ปกติ: 200 มม. ถึง 300 มม.
เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: 400 มม. ขึ้นไป

ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้มักออกมาสมจริงมากขึ้น เนื่องจากตัวแบบบิดเบี้ยวน้อยกว่าภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เมื่อช่างภาพให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดรูปร่างของตัวแบบให้ดูสมจริง มักจะเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางหรือเลนส์เทเลโฟโต้ปกติ อันที่จริง เลนส์เดี่ยว 85 มม. มักเรียกว่า "เลนส์พอร์ตเทรต” ด้วย เนื่องจากนิยมใช้ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตนั่นเอง

อ่านได้ที่: ทำไม EF85mm f/1.8 USM จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

ยิ่งเลนส์มีทางยาวโฟกัสยาวเท่าใด จะยิ่งสามารถ "ดึงตัวแบบให้เข้ามาใกล้" และถ่ายทอดตัวแบบที่อยู่ไกลได้เต็มเฟรมมากขึ้น (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์นี้ได้ใน: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.) และเนื่องจากเลนส์เทเลโฟโต้มีระยะชัดลึกที่ตื้น จึงทำให้ภาพมีบริเวณที่อยู่ในโฟกัสแคบลง และเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการถ่ายภาพเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์

ลักษณะเด่นที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งของเลนส์เทเลโฟโต้คือ มุมรับภาพที่แคบ ซึ่งช่วยตัดองค์ประกอบในส่วนแบ็คกราวด์ที่ไม่ต้องการออกจากภาพ เพื่อให้องค์ประกอบภาพดูงดงามขึ้น นอกจากนี้ เลนส์เทเลโฟโต้ยังมีประสิทธิภาพในการทำให้ระยะห่างระหว่างองค์ประกอบที่อยู่ใกล้กับอยู่ไกลดูใกล้กันมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ โดยคุณสามารถใช้เอฟเฟ็กต์นี้เพื่อลดมุมมองเปอร์สเปคทีฟในภาพได้

 

ประเภทหลักๆ ของเลนส์เทเลโฟโต้

เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม

เลนส์ที่ไม่ใช่เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม

เลนส์ EF-S/EF-M

เราสามารถแบ่งเลนส์เทเลโฟโต้ของ Canon ออกได้เป็น 3 หมวด ได้แก่ เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม เลนส์ที่ไม่ใช่เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม และเลนส์ EF-S/EF-M

เลนส์เทเลโฟโต้ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม คือเลนส์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้คุณภาพระดับมืออาชีพและทนทานสูง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเลนส์จึงมักมีน้ำหนักมากกว่าและราคาสูงกว่า

เลนส์เทเลโฟโต้ที่ไม่ใช่เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม ให้คุณภาพของภาพที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน แต่มีราคาต่ำกว่าและมักมีขนาดกะทัดรัดและเบากว่า

เลนส์เทเลโฟโต้ EF-S/EF-M ใช้สำหรับกล้อง DSLR ที่มีเซนเซอร์ขนาด APS-C และกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS M ตามลำดับ เลนส์มักมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และพกพาสะดวก เหมาะกับกล้องที่เลนส์นี้ทำขึ้นโดยเฉพาะ

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้:
พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ 3: การใช้เลนส์ซูมเทเลโฟโต้

 

ช่วงทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้

 

โดยปกติ เลนส์ที่จะถือว่าเป็นเลนส์โฟโต้ได้นั้นจะต้องมีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ซึ่งมีทางยาวโฟกัสยาวกว่า 70 มม. โดยช่วงทางยาวโฟกัสที่ถือว่าเป็น “เทเลโฟโต้” จะกว้างมากดังที่แสดงในแผนภาพด้านบน ยิ่งเลนส์มีทางยาวโฟกัสยาวเท่าใดก็จะยิ่งสามารถถ่ายทอดตัวแบบที่อยู่ไกลออกไปได้เต็มเฟรมมากขึ้นเท่านั้น

 

เทคนิคที่ลองใช้กับเลนส์เทเลโฟโต้

1. ทำให้แบ็คกราวด์ดูใกล้ขึ้น

เทคนิคนี้เรียกว่าเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ ซึ่งจะเด่นชัดขึ้นเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัส 70 มม. และ 200 มม. ตามลำดับ แม้จะเป็นฉากเดียวกัน แต่ในตัวอย่างที่ถ่ายที่ 200 มม. เราจะเห็นกำแพงด้านหลังชัดเจนขึ้น แสดงว่าแบ็คกราวด์ถูก "บีบ" เข้ามาในภาพถ่าย คุณสามารถใช้ภาพนี้บีบองค์ประกอบให้อยู่ใกล้กันเพื่อให้องค์ประกอบภาพแน่นขึ้นได้อีกด้วย

เอฟเฟ็กต์การบีบภาพอ่อนกว่า

เอฟเฟ็กต์การบีบภาพเด่นชัด

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV-0.7)/ ISO 2000/ WB: แสงแดด

เอฟเฟ็กต์การบีบภาพเด่นชัด

เอฟเฟ็กต์การบีบภาพอ่อน

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/160 วินาที, EV-0.7)/ ISO 6400/ WB: แสงแดด

 

อ่านบทช่วยสอนเกี่ยวกับเทคนิคนี้:
เคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดจากมืออาชีพในการเพิ่มความลึกให้กับภาพ

 

2. เบลอส่วนแบ็คกราวด์และจัดเฟรมภาพเพื่อทำให้ตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมายดูโดดเด่น

เราสามารถใช้มุมรับภาพที่แคบและความสามารถในการสร้างแบ็คกราวด์ได้ง่ายของเลนส์เทเลโฟโต้นี้เพื่อทำให้แบ็คกราวด์ดูเรียบง่ายขึ้นและดึงความสนใจจากภาพน้อยลง จึงทำให้ตัวแบบหลักดูโดดเด่น อันที่จริง การปรับสีและความสว่างของแบ็คกราวด์สามารถเปลี่ยนอารมณ์ภาพได้มากเช่นกัน วิธีหนึ่งที่จะพัฒนาทักษะการถ่ายภาพของคุณคือ เมื่อกำหนดองค์ประกอบภาพ นอกจากให้ความสำคัญกับการเลือกตัวแบบหลักแล้ว ควรระมัดระวังในการเลือกแบ็คกราวด์ด้วย

แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสให้สีสันเข้มขึ้น

แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสที่ใช้เลนส์เทเลโฟโต้

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/5, 1/160 วินาที, EV-1)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

แบ็คกราวด์ที่เต็มไปด้วยวงกลมโบเก้

แบ็คกราวด์ที่มีวงกลมโบเก้ที่เกิดจากเลนส์เทเลโฟโต้

EOS 6D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/3200 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

บทช่วยสอนสำหรับเทคนิคนี้:
การใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพและโบเก้ขนาดใหญ่ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง 15: ฉันจะถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ ตัดกับแบ็คกราวด์ที่ยุ่งเหยิงแต่งดงามได้อย่างไร
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่เข้าใจยาก

เทคนิคเพิ่มเติม! ต่อไปนี้คือเทคนิคการสร้างโบเก้ในระดับที่ยากขึ้นเล็กน้อย:
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้ - การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น

 

เลนส์เทเลโฟโต้เหมาะสำหรับ…

เอฟเฟ็กต์การบีบภาพระยะไกลที่

EOS 6D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/640 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

…ถ่ายภาพตัวแบบในระยะใกล้มากๆ แม้ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ด้วยตัวเอง
เลนส์เทเลโฟโต้มีประโยชน์เมื่อคุณจำเป็นต้องถ่ายภาพตัวแบบจากระยะไกล ตัวอย่างเช่น สัตว์ในสวนสัตว์ หรือแม้แต่ดอกไม้ในแปลงดอกไม้ สำหรับภาพด้านบน ผม "ดึง" ดอกไม้ให้เข้ามาใกล้โดยใช้ทางยาวโฟกัส 200 มม.

 

เอฟเฟ็กต์การบีบภาพโดยใช้เทเลโฟโต้ (ฉากถนนที่มีผู้คนหนาแน่น)

EOS 700D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 222 มม. (เทียบเท่า 355 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที)/ ISO 160/ WB: อัตโนมัติ

…บีบระยะห่างระหว่างองค์ประกอบในฉากถนนให้ดูแน่นยิ่งขึ้น
คุณอาจใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพดังเช่นที่ผมทำในฉากถนนด้านบนนี้ ซึ่งถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 355 มม. (เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) ด้วยการใช้ประโยชน์จากความรู้สึกที่อัดแน่น ผมจึงสามารถถ่ายทอดบรรยากาศความคึกคักบนท้องถนนที่เต็มไปด้วยนักช้อปได้

 

ดูเพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (2) (ตัวอย่างที่ 4)

หากมีเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ หรืออยากทราบรายละเอียดว่าเลนส์เหล่านี้ทำอะไรได้บ้างหรือไม่ ทั้ง 2 บทความต่อไปนี้มีเคล็ดลับและบทช่วยสอนสำหรับการใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้:
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งให้ดูชวนฝัน
เทคนิคการใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ - ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าในสภาวะย้อนแสง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา