ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #15: ฉันจะถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ ตัดกับแบ็คกราวด์ที่ยุ่งเหยิงแต่งดงามได้อย่างไร

2016-08-04
2
2.65 k
ในบทความนี้:

เมื่อถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น ลูกกระรอก การถ่ายภาพโดยเน้นขนาดตัวที่เล็กและความน่ารักน่าเอ็นดูของมันนับเป็นความคิดที่ดี บทความนี้จะแนะนำเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีถ่ายภาพตัวแบบดังกล่าวให้ตัดกับแบ็คกราวด์ที่ดูยุ่งเหยิงแต่งดงามดังเช่นฉากดอกซากุระในภาพนี้ ซึ่งคุณสามารถลองใช้วิธีนี้เพื่อเป็นเทคนิคในการทำให้แบ็คกราวด์ที่มีสีอ่อนดูดีที่สุดได้ (เรื่องโดย: Yukihiro Fukuda)

EOS 60D/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM + Extender EF 1.4xIII/ FL: 192 มม. (เทียบเท่า 312 มม.)/ f/6.3/ 1/250 วินาที/ ISO: 1250/ WB: แสงแดด
ผมจับโฟกัสไปที่ลูกกระรอกที่เพิ่งออกมาจากรัง ผมใช้เลนส์เทเลโฟโต้เลือกวางสีชมพูของดอกซากุระไว้ในส่วนแบ็คกราวด์เพื่อให้สมดุลกับความเขียวขจีของต้นไม้ และสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวลของฤดูใบไม้ผลิ

 

ขั้นตอนที่ 1: ปรับมุมรับภาพเพื่อมองหาวัตถุที่จะรวมเข้าไปในแบ็คกราวด์

ฉากของภาพนี้คือต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บนทางลาด ซึ่งมีลูกกระรอกปีนป่ายขึ้นไปวิ่งเล่นบนกิ่งไม้ส่วนล่างๆ ของต้นอย่างสนุกสนาน ขณะถ่ายภาพนี้ที่มุมปกติ สภาพอากาศที่ปกคลุมไปด้วยเมฆที่ลอยสูงบนท้องฟ้าสีขาวผ่านเข้ามาในแบ็คกราวด์ และดอกซากุระไม่ได้อยู่ในส่วนแบ็คกราวด์ขณะที่ผมอยู่ในท่านั่งยองๆ อย่างไรก็ดี ผมสามารถจัดให้ดอกซากุระอยู่ในส่วนของแบ็คกราวด์ได้โดยการยืนเขย่งเท้า ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรตรวจสอบสถานการณ์การถ่ายภาพก่อนทุกครั้ง

 

ขั้นตอนที่ 2: เลือกตำแหน่งการถ่ายภาพที่ช่วยให้คุณสามารถจัดแบ็คกราวด์ที่เลือกให้อยู่ในองค์ประกอบภาพได้

เหล่ากระรอกน้อยวิ่งไปมาอย่างรวดเร็ว ผมจึงต้องกำหนดตำแหน่งการถ่ายภาพในทันที ซึ่งเมื่อเลือกถ่ายภาพในระดับสายตา แบ็คกราวด์จะเป็นสีขาว อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าสามารถจัดให้ดอกซากุระอยู่ในแบ็คกราวด์ได้เมื่อผมเพิ่มมุมรับภาพ และเมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้ แม้ว่าจะมีการปรับมุมรับภาพเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้แบ็คกราวด์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากดังเช่นในกรณีนี้

ลองอ่าน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #7 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งของกล้องและมุมกล้อง

 

ขั้นตอนที่ 3: ใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อช่วยให้เก็บสภาพแวดล้อมรอบๆ กระรอกน้อยได้มากขึ้น

ผมยืนอยู่ห่างจากกระรอกมากพอที่จะลองใช้เลนส์เทเลโฟโต้ 500 มม. ได้ แต่เนื่องจากผมต้องการรวมสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ กระรอกและองค์ประกอบของวิวทิวทัศน์เข้ามาในภาพด้วย ผมจึงเลือกใช้ทางยาวโฟกัสที่สั้นลงเล็กน้อยคือที่ 312 มม. (สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์จากการใช้ระยะเทเลโฟโต้ที่แตกต่างกัน ลองอ่าน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7 ) จากนั้น ผมใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพเพื่อทำให้สีชมพูของดอกซากุระในแบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัส และจัดวางให้ใบไม้ห้อยลงมาในเฟรมภาพเพื่อเพิ่มสีสันให้กับภาพ

 

ขั้นตอนที่ 4: เลือกค่า f ที่ทำให้แบ็คกราวด์เบลอระดับปานกลาง

แม้ว่าลูกกระรอกคือจุดโฟกัสหลักของภาพนี้ แต่ผมต้องการเพิ่มตัวแบบอื่นๆ เข้าไปเพื่อทำให้ภาพมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เมื่อตั้งใจที่จะใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพร่วมกับเลนส์เทเลโฟโต้ สิ่งสำคัญคือไม่ควรลดขนาดรูรับแสงลงมากจนเกินไป มิฉะนั้นกิ่งไม้และใบไม้ในแบ็คกราวด์จะเริ่มมองเห็นได้ชัดมากขึ้น ทำให้ภาพโดยรวมยุ่งเหยิงซับซ้อนจนเกินไป ในภาพนี้ ผมเลือกใช้ค่ารูรับแสงที่ f/6.3

 

เคล็ดลับ: ภาพถ่ายจะดีแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าถ่ายภาพแบ็คกราวด์ออกมาเป็นอย่างไร

สิ่งสำคัญที่คุณต้องระมัดระวังมากที่สุดคือวิธีการถ่ายภาพแบ็คกราวด์ ดังนั้น ยิ่งคุณให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากเท่าใด ก็จะทำให้ภาพถ่ายของคุณออกมาดียิ่งขึ้นเท่านั้น ด้านล่างคือตัวอย่างของภาพที่ถ่ายออกมาได้ไม่ดีอันเป็นผลมาจากมุมรับภาพที่ต่ำเกินไป กระรอกวิ่งเข้ามาในตำแหน่งที่ผมคาดไว้แต่ผมถ่ายภาพช้าเกินไป ในขณะที่ภาพหลักด้านบน ผมเพิ่มมุมรับภาพเพื่อให้ดอกซากุระอยู่เต็มแบ็คกราวด์ในคราวเดียว ลองใช้ การเปิดรับแสงแบบแมนนวล ขณะถ่ายภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนค่าการเปิดรับแสงไปตามแบ็คกราวด์

EOS 60D/ FL: 192 มม. (เทียบเท่า 312 มม.)/ f/6.3/ 1/250 วินาที/ ISO 1250
หากไม่มีดอกซากุระ แบ็คกราวด์จะดูสว่างขึ้นและมีโทนสีขาวขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนบรรยากาศของภาพที่ได้อย่างมาก ถึงตอนนี้ คุณได้ทราบแล้วว่าแบ็คกราวด์ส่งผลต่อภาพถ่ายอย่างไร ฉะนั้น ทำไมไม่ลองคิดหาวิธีสร้างแบ็คกราวด์สำหรับภาพถ่ายต่อไปและดูผลลัพธ์ด้วยตัวคุณเองดูบ้างล่ะ?

 

 

 

Yukihiro Fukuda

 

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1965 การไปเยือนฮอกไกโดของ Fukuda เพื่อตามหานกกระเรียนญี่ปุ่นที่เขาชื่นชอบได้นำเขามาสู่การเป็นช่างภาพสัตว์ป่า หลังจากใช้เวลา 10 ปีในการถ่ายภาพสัตว์ป่าในฮอกไกโด Fukuda เริ่มขยับขยายขอบเขตของเขาไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงการถ่ายภาพใต้น้ำ ปัจจุบัน การถ่ายภาพสัตว์ป่า ภาพใต้น้ำ และทิวทัศน์กลายมาเป็นกิจกรรมหลักของเขา

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา