กล้อง EOS 7D Mark II ให้ภาพถ่ายแบบไหน และช่วยเปลี่ยนโฉมการถ่ายภาพแบบเดิมๆ อย่างไร? บทความนี้นำเสนอความประทับใจครั้งแรกเมื่อใช้กล้อง EOS 7D Mark II จากมุมมองของช่างภาพสัตว์ป่า (เรื่องโดย: Yukihiro Fukuda)
กล้องขนาด APS-C เพื่อการถ่ายภาพประจำวัน
ในที่สุด EOS 7D Mark II ที่รอคอยมานานก็เผยตัวสู่ตลาดเสียที ผมเชื่อว่า ช่างถ่ายภาพประเภทอื่นนอกเหนือจากภาพสัตว์หลายคนก็ตั้งตารอคอยการเปิดตัวของกล้องรุ่นนี้อยู่เช่นกัน ความประทับใจแรกที่ผมได้รับ คือ การทำงานที่ลื่นไหลของกล้อง ความรู้สึกตอนลั่นชัตเตอร์นั้นยอดเยี่ยม เป็นคุณภาพที่ไม่ได้แสดงในข้อมูลสเปคบนแค็ตตาล็อก นอกจากนี้ แม้ว่าจะปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นเป็น 10 ภาพต่อวินาที แต่การถ่ายภาพต่อเนื่องยังคงทำงานลื่นไหลและไม่ต้องใช้ความพยายามมาก โดยไม่มีเสียงกลไกการทำงานมารบกวนแม้จะใช้ระดับการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงสุด บนกล้อง EOS-1D X ฟังก์ชั่นเดียวกันนี้อาจเปรียบได้ว่ามีความเป็น “ชาย” มากกว่าเพราะมีความเป็นผู้นำที่แข็งกร้าว ขณะที่ EOS 7D Mark II มีความเป็น “หญิง” มากกว่าโดยจะไม่มีปัญหากล้องสั่นจากการกดชัตเตอร์
คุณสมบัติการโฟกัสอัตโนมัติซึ่งเป็นที่สนใจมากที่สุดในกล้องรุ่นนี้ใกล้เคียงกับรุ่น EOS-1D X โดยมีระบบโฟกัสที่มีความไวในการติดตามตัวแบบสูงอย่างชัดเจน ในอดีต อาจเป็นเรื่องยากที่จะสร้างความสมบูรณ์ในเฟรมภาพด้วยตัวแบบ เช่นกระรอกในภาพนี้ แต่ฟังก์ชั่นโฟกัสอัตโนมัติที่กำหนดค่าเองได้ของ EOS 7D Mark II นั้นทำงานอย่างแม่นยำเพื่อรักษาโฟกัสไว้ที่ตัวแบบ นี่เป็นคุณภาพที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 10 ภาพต่อวินาทีอาจไม่มีความหมายอะไร หากระบบโฟกัสอัตโนมัติไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ขณะที่ตัวแบบอย่างเจ้ากระรอกตัวนี้อาจดูเหมือนหยุดนิ่งอยู่ แต่ที่จริงแล้วมันเคลื่อนไหวขยุกขยิกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อเลือก AI Servo AF ให้ติดตามตัวแบบ คุณจึงสามารถกำหนดความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 10 ภาพต่อวินาทีให้ทำงานได้โดยไม่ต้องกังวล นอกจากนี้ จุด AF ยังกระจายตัวทั่วพื้นที่ในช่องมองภาพ สิ่งนี้ช่วยให้ผมไม่ต้องหงุดหงิดเวลาที่พบว่าไม่มีจุด AF ในบริเวณขอบภาพเพื่อจะจับวัตถุตรงใกล้ๆ ขอบภาพ
ผมใช้กล้อง SLR ฟูลเฟรมเป็นกล้องหลัก และกล้อง EOS 70D เป็นกล้องเสริม แม้ว่ากล้อง EOS 70D จะเป็นตัวโปรดของผม แต่ผมก็รอคอยกล้องฟอร์แมต APS-C ที่สามารถใช้งานได้ทุกวันให้เปิดตัวมานานแล้ว เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวเป็นสิ่งจำเป็นต่อการถ่ายภาพสัตว์ สำหรับแสงลักษณะนี้ ผมรู้สึกเสมอว่าถ้ามีกล้อง APS-C จะเป็นประโยชน์กว่า เพราะทางยาวโฟกัสของ APS-C นั้นยาวกว่าของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ประมาณ 1.6 เท่า สมรรถนะในการติดตามตัวแบบของ AF และความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องของกล้อง EOS 7D Mark II เป็นคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับการเป็นกล้องรุ่นเรือธง
EF500mm f/4L IS II USM+ Extender EF 1.4xIII/ FL:700mm (เทียบเท่า 1,120 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (1/2,500 วินาที, f/5.6, ±0EV)/ ISO 3200/ WB: แสงแดด/ AI Servo AF/ การขยายจุด AF
เนื่องจากมีเงาใบไม้ ทำให้บรรยากาศแวดล้อมมืดลง ผมจึงเพิ่มความไวแสง ISO เป็น 3200 กระรอกกำลังถูเท้าหน้าไปมาเพื่อเช็ดน้ำเหนียวๆ จากผลวอลนัทออก ด้วยโหมดการเลือกพื้นที่ AF [การขยายจุด AF] (การเลือกด้วยตนเอง) ผมถ่ายภาพนี้โดยใช้ AI Servo AF เพื่อให้กล้องติดตามการขยับเท้าหน้าของมัน
EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x/ FL:560mm (เทียบเท่า 896 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Manual exposure (1/200 วินาที, f/5.6)/ ISO 3200/ WB: แสงแดด/ One-Shot AF/ AF จุดเดียว
สัตว์หลายชนิดมีความรู้สึกไวต่อเสียงของชัตเตอร์อย่างมาก และอาจกระโจนหนีไปหากคุณลั่นชัตเตอร์อย่างต่อเนื่อง ด้วยโหมดการถ่ายภาพแบบเงียบ ผมจึงสามารถถ่ายภาพนี้ได้โดยไม่ทำให้กระรอกบินแตกตื่น
คุณสมบัติเด่น
การถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเงียบ
ปัจจัยที่ขาดไม่ได้สำหรับการถ่ายภาพสัตว์ที่ไวต่อเสียง
แม้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 10 ภาพต่อวินาทีของกล้อง EOS 7D Mark II จะน่าสนใจอย่างมาก แต่คุณสมบัติที่ผมอยากจะเน้น คือ ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเงียบ แทบไม่ต้องพูดถึง สัตว์หลายชนิดไวต่อเสียงมาก และที่จริงมีบางฉากในการถ่ายภาพครั้งนี้ที่คงไม่อาจถ่ายได้หากไม่มีโหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเงียบนี้ นี่เป็นคุณสมบัติที่วางใจได้ซึ่งผมอยากนำมาใช้ประโยชน์อีกในการถ่ายภาพต่อๆ ไป
เลนส์แนะนำ
เลนส์ซูมที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพสัตว์
EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x
เลนส์รุ่นนี้มีท่อต่อขยายในตัว เมื่อต่อเข้ากับกล้อง EOS 7D Mark II เลนส์นี้ให้ทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับ 896 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ซึ่งมีทางยาวโฟกัสของเลนส์ยาวกว่าประมาณ 1.6 เท่า หลายครั้ง ผมหวังว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์นี้จะยาวขึ้นอีกหน่อยเมื่อตอนที่ผมใช้กล้องฟูลเฟรม แต่ด้วยกล้อง EOS 7D Mark II เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ผมเจอกล้อง APS-C ที่เป็นประโยชน์กว่าในหลายด้านเมื่อเทียบกับกล้องฟูลเฟรมแล้ว
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x
EF70-300mm f/4-5.6L IS USM
มีประโยชน์หลายอย่างในการใช้เลนส์ซูมเพื่อถ่ายภาพสัตว์ ผมมีข้อจำกัดหลายอย่างในการเลือกความไวแสง ISO สูงบนกล้อง EOS 7D แต่ EOS 7D Mark II ได้ช่วยแก้ไขความกังวลใจนี้แล้ว ตอนนี้ ผมสามารถใช้ความไวแสง ISO สูงกับเลนส์ f/5.6 ในแบบเดียวกันกับเลนส์เดี่ยวแบบสว่าง
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM
เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1965 การไปเยือนฮอกไกโดของ Fukuda เพื่อตามหานกกระเรียนญี่ปุ่นที่เขาชื่นชอบได้นำเขามาสู่การเป็นช่างภาพสัตว์ป่า หลังจากใช้เวลา 10 ปีในการถ่ายภาพสัตว์ป่าในฮอกไกโด Fukuda เริ่มขยับขยายขอบเขตของเขาไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงการถ่ายภาพใต้น้ำ ปัจจุบัน การถ่ายภาพสัตว์ป่า ภาพใต้น้ำ และทิวทัศน์กลายมาเป็นกิจกรรมหลักของเขา