ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ความประทับใจตามตัวแบบ: นก (ในธรรมชาติ)

2014-10-09
1
2.62 k
ในบทความนี้:

กล้อง EOS 7D Mark II ให้ภาพถ่ายแบบไหน และช่วยเปลี่ยนโฉมการถ่ายภาพแบบเดิมๆ อย่างไร? บทความนี้นำเสนอความประทับใจครั้งแรกเมื่อใช้กล้อง EOS 7D Mark II จากมุมมองของช่างภาพซึ่งถ่ายภาพนกในธรรมชาติ (เรื่องโดย: Gaku Tozuka)

ประสิทธิภาพสูงเทียบเท่า EOS-1D X

สำหรับช่างภาพอย่างผมที่ใช้กล้อง EOS 7D อย่างเต็มที่ตั้งแต่วางขายใหม่ๆ การเปิดตัวของกล้อง EOS 7D Mark II นับว่าเป็นสิ่งที่รอคอยมานาน ความคาดหวังของผมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่รอได้รับการตอบสนอง ตั้งแต่จำนวนพิกเซลที่อัพเกรดขึ้นจากประมาณ 18 เป็น 20.2 ล้านพิกเซล เรื่องที่เซอร์ไพรส์และถูกใจผมมากที่สุด คือ การนำระบบประมวลผลภาพ DIGIC 6 คู่มาใช้ ไม่ใช่แค่ชิปเดี่ยวๆ

ผมลองใช้กล้องทันที และดีใจที่พบว่ามีเสียงชัตเตอร์แบบเงียบไว้สำหรับการถ่ายนกด้วย แม้ว่าความชอบในเรื่องเสียงชัตเตอร์แบบนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากประมาณ 8 เป็น 10 เฟรมต่อวินาที แต่อันที่จริง ตามความคาดหวังแบบโลภมากของผม ผมหวังจะได้ความเร็วที่ประมาณ 12 เฟรมต่อวินาทีเลยด้วยซ้ำ เสียงชัตเตอร์ที่เงียบและราบรื่นก็น่าพอใจมากแล้ว และด้วยจำนวนโหมดการเลือกพื้นที่ AF ที่เพิ่มขึ้นเป็น 7 โหมด ภาพบางประเภทที่กล้องรุ่นก่อนๆ ถ่ายไม่ได้ เดี๋ยวนี้ก็ทำได้แล้ว หลังจากได้ลองใช้กล้อง EOS 7D Mark II จริงๆ ความประทับใจของผมคือ การใช้โหมด [การขยายจุด AF] (เลือกด้วยตนเอง) กับการถ่ายภาพทั่วไป, โหมด [AF แบบโซน] (เลือกโซนด้วยตนเอง) สำหรับการเคลื่อนไหวที่ฉับไวหรือเมื่อตัวแบบบินร่อนอยู่กลางอากาศ และ [AF เฉพาะจุด] (เลือกด้วยตนเอง) ในภาพที่องค์ประกอบมีบทบาทสำคัญ ตัวเลือกเหล่านี้ช่วยให้ใช้งานกล้องง่ายขึ้น ทั้งยังทำให้สามารถถ่ายภาพได้มากขึ้นด้วย

การปรับปรุงต่างๆ เทียบกับ EOS 7D แล้วสามารถรู้สึกได้ขณะที่ผมถ่ายภาพนกฮูกพันธุ์ญี่ปุ่นที่ต้องแสงไฟในเวลากลางคืน แม้ว่าสภาพแวดล้อมรอบข้างจะมืด แต่ผมรู้สึกทึ่งที่กล้อง EOS 7D Mark II ไม่มีปัญหาในการโฟกัสที่นกตัวเล็กนี้เลย ก่อนหน้านี้ เวลาผมต่อเลนส์ EF500mm f/4 เข้ากับกล้อง EOS 7D และใช้ตัวขยายช่องมองภาพ 2 เท่า ค่ารูรับแสงสูงสุดจะกลายเป็น f/8 และไม่สามารถถ่ายภาพด้วยโฟกัสอัตโนมัติได้ แต่ด้วยกล้อง EOS 7D Mark II ผมสามารถใช้โฟกัสอัตโนมัติได้ แม้จะมีเพียงจุด AF กึ่งกลางจุดเดียวที่ใช้งานได้ ยิ่งกว่านั้น โฟกัสยังทำงานไวและแม่นยำจนผมอดยิ้มไม่ได้ และด้วยช่วงความไวแสง ISO พื้นฐานที่เพิ่มขึ้นถึง ISO 16000 ผมจึงเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นหรือลดขนาดรูรับแสงลงอีกได้ เมื่อถ่ายภาพนกที่กำลังเคลื่อนที่อย่างฉับไวหรือในสภาพแสงน้อย ปัจจุบัน กล้องรุ่นนี้เทียบประสิทธิภาพได้กับกล้อง EOS-1D X

EF500mm f/4L IS II USM/ 500 มม. (เทียบเท่ากับ 800 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Manual exposure (1/10 วินาที, f/4)/ ISO 12800/ WB: อัตโนมัติ/ AI Servo AF/ AF เฉพาะจุด

ตอนนี้ ช่วงความไวแสง ISO พื้นฐานขยายเพิ่มถึง ISO 16000 แล้ว ภาพนี้ถ่ายในสภาพแสงน้อยด้วย ISO 12800 สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/10 วินาทีได้ แม้จะติดตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง ทีแรกผมยังถ่ายภาพที่ดีๆ ไม่ได้ เนื่องจากตัวแบบเบลอ แต่เมื่อผมถ่ายภาพที่ไม่เบลอได้ ผลของภาพที่ได้กลับดีเกินคาด

EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF2xIII/ 1,000 มม. (เทียบเท่ากับ 1,600 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (1/3,200 วินาที, f/11, -0.7EV)/ ISO 6400/ WB: อัตโนมัติ/ AI Servo AF/ AF เฉพาะจุด

ผมต้องการลดขนาดรูรับแสงลง เนื่องจากผมใช้ตัวต่อขยายช่องมองภาพ 2 เท่า ด้วยความไวแสง ISO ที่สูงถึง 6400 ผมจึงพยายามลดขนาดรูรับแสงลงหนึ่งสต็อปเป็น f/11 แม้ว่าการทำอย่างนี้อาจมีความเป็นไปได้น้อยว่าตัวแบบจะอยู่ในเฟรม แต่ผมกลับหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบในภาพนี้ได้

คุณสมบัติเด่น

การตั้งค่าความไวแสง ISO
การใช้ความไวแสง ISO สูงขยายโอกาสในการถ่ายภาพ

ช่วงความไวแสง ISO พื้นฐานเพิ่มสูงขึ้นจาก ISO 6400 ในกล้อง EOS 7D เป็น ISO 16000 บน EOS 7D Mark II ตัวนี้ ความสามารถในการลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO ระดับสูง แม้อาจจะทำไม่ได้เท่ากล้องฟูลเฟรม แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่มีเพียงกล้องที่มี Dual DIGIC 6 เท่านั้นที่ทำได้ การพัฒนานี้ช่วยเปิดโอกาสให้ผมกลับมาถ่ายภาพบางลักษณะที่เคยล้มเลิกหรือลังเลใจที่จะถ่ายในอดีตได้อีกครั้ง

เลนส์แนะนำ

เลนส์มุมกว้างใช้คู่กับเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ได้อย่างลงตัว

EF500mm f/4L IS II USM

สำหรับคนอย่างผมที่เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ นี่คือเลนส์มาตรฐาน ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าเลนส์รุ่นก่อนหน้า ผมจึงสามารถยกกล้องถ่ายภาพนกที่บินอยู่กลางอากาศได้ เมื่อต่อเข้ากับตัวขยายช่องมองภาพ กล้อง EOS 7D Mark II ทำให้ผมสามารถใช้จุด AF กึ่งกลางเพื่อการถ่ายภาพด้วยโฟกัสอัตโนมัติได้ ยิ่งทำให้กล้องนี้ทรงพลังมากยิ่งขึ้นอีก

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF500mm f/4L IS II USM

EF16-35mm f/4L IS USM

โดยปกติแล้ว เลนส์มาตรฐานของผม คือ เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้ แต่ผมก็มักจะหิ้วเลนส์ซูมมุมกว้างติดตัวไปด้วยเสมอ เมื่อมีโอกาสถ่ายภาพนกในระยะใกล้ เช่น ไก่ป่า ผมจะรวมเอาทิวทัศน์รอบๆ เข้าไปในองค์ประกอบภาพด้วย เลนส์รุ่นล่าสุดนี้มาพร้อมคุณสมบัติ IS ซึ่งช่วยให้ผมถือกล้องถ่ายภาพได้แม้เวลาที่ฟ้าเริ่มมืดแล้วก็ตาม

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM

Gaku Tozuka

เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์

http://happybirdsday.jp/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา