กล้อง EOS 7D Mark II ให้ภาพถ่ายแบบไหน และช่วยเปลี่ยนโฉมการถ่ายภาพแบบเดิมๆ อย่างไร? บทความนี้นำเสนอความประทับใจครั้งแรกเมื่อใช้กล้อง EOS 7D Mark II จากมุมมองของช่างภาพกีฬา (เรื่องโดย: Shinya Tanaka)
สมรรถนะในการติดตามตัวแบบดีเยี่ยม ล็อกโฟกัสบนตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว
การแข่งขันที่ผมถ่ายภาพมาฝากในบทความนี้ ได้แก่ ฟุตซอล เบสบอล และเจ็ตสกี ลักษณะของกีฬาเหล่านี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง เทคนิคการถ่ายภาพและคุณลักษณะของกล้องจึงต้องมีความหลากหลาย กล้อง EOS 7D Mark II มีคุณสมบัติทุกอย่างที่จำเป็นต่อการถ่ายภาพกีฬาที่ว่ามานี้ เมื่อเทียบกับกล้อง EOS 7D การพัฒนาที่เห็นเด่นชัดจะอยู่ที่ประสิทธิภาพการใช้งานระบบโฟกัสอัตโนมัติ และสมรรถนะในการติดตามตัวแบบ นอกจากการเคลื่อนไหวในแนวตั้งและแนวนอนแล้ว ยังรักษาโฟกัสบนตัวแบบที่เคลื่อนไหวไปมาเมื่อจับโฟกัสแล้วได้ด้วย คุณภาพของภาพที่ความไวแสง ISO สูงก็ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างมากและการเกิดจุดรบกวนมีปริมาณน้อยจนแทบไม่รู้สึก ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ช่างภาพกีฬายินดีมากที่สุดคือ ช่องว่างระหว่างความต้องการกับสิ่งที่เป็นไปได้จากทางยาวโฟกัสในกล้อง EOS-1D X ซึ่งเป็นกล้องฟูลเฟรม ได้รับการเติมเต็มด้วยเซนเซอร์ APS-C ในกล้อง EOS 7D Mark II
นอกจากคุณสมบัติที่จำเป็นต่อเกมกีฬาที่ต่างกันแล้ว ยังมีคุณสมบัติอื่นที่ผมพบว่าน่าทึ่งที่สุด คือ ฟังก์ชั่นการถ่าย Anti-flicker เมื่อก่อน เวลาที่ผมทำการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงที่สเตเดียมเก่าหรือในร่ม หลายครั้งที่ภาพมีสีเพี้ยน แม้ว่าผมจะถ่ายภาพได้ในจังหวะที่เหมาะสมก็ตาม แต่เมื่อเปิดใช้งานการถ่ายภาพแบบ Anti-flicker เพื่อถ่ายภาพเกมฟุตซอล ผมถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงได้อย่างราบรื่น ผลของภาพถ่ายสามารถเป็นประจักษ์พยานในเรื่องนี้ได้อย่างดี ทุกภาพแสดงสีที่เท่าๆ กัน
การพัฒนาไม่เพียงมองเห็นได้จากฟังก์ชั่นเหล่านี้ แต่ยังรวมถึงความสามารถในการควบคุมกล้อง ด้วยการแสดงผลข้อมูลที่หลากหลายในช่องมองภาพ จึงเป็นไปได้ที่จะทำการปรับตั้งค่าต่างๆ ตามความชอบของคุณโดยไม่ต้องเอาตาออกจากเลนส์ใกล้ตาทุกๆ ครั้ง และหน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ยังช่วยให้ตรวจดูสีและโฟกัสได้ทันที กล้อง EOS 7D Mark II ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่มายังโลกแห่งการถ่ายภาพกีฬา นอกจากกีฬากลางแจ้ง เราขอแนะนำให้คุณลองถ่ายภาพเกมกีฬาในร่มด้วยกล้อง EOS 7D Mark II ที่มีการพัฒนาล่าสุดนี้
EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x/ 381 มม. (เทียบเท่ากับ 610 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Shutter-priority AE (1/8,000 วินาที, f/4.5, ±0EV)/ ISO 400 / WB: อัตโนมัติ/ AI Servo AF/ AF แบบจุดเดียว
ภาพถ่ายเจ็ตสกีที่กำลังวิ่งโต้คลื่น ทำให้เกิดน้ำกระเซ็นรุนแรง AF จุดเดียวยังคงรักษาโฟกัสไว้ที่คนขับสกีได้โดยไม่วิ่งสลับไปมาเพราะสายน้ำที่สาดกระเซ็นขึ้นมา
EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x/ 400 มม. (เทียบเท่ากับ 640 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Manual exposure (1/2,000 วินาที, f/5)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ/ AI Servo AF/ การขยายจุด AF
นักขว้างที่กำลังขว้างเบสบอลเต็มเหนี่ยวถ่ายด้วยโหมดการขยายจุด AF ผมวางจุด AF บนใบหน้าตัวแบบเพื่อรวมเอากรรมการและผู้รับบอลเข้ามาเป็นภาพเบลอในระยะโฟร์กราวด์
คุณสมบัติเด่น
การถ่ายภาพแบบ Anti-flicker
เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพกีฬาในร่ม เช่น ในยิมเนเซี่ยม เป็นต้น
คุณสมบัติที่ทำให้ผมทึ่งมากที่สุด คือ ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพ Anti-flicker สำหรับกล้องรุ่นก่อนนี้ การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงในยิมเนเซี่ยมที่มีแสงทึมๆ หรือในตึกเก่าๆ มักจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเส้นคลื่นบนภาพ (flicker) คุณสมบัตินี้ไม่มีแม้กระทั่งบนกล้อง EOS-1D X ซึ่งเป็นกล้องรุ่นเรือธง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า EOS 7D Mark II นำการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมการถ่ายภาพกีฬาในร่มไปได้
เลนส์แนะนำ
ครอบคลุมช่วงจากเทเลโฟโต้ระยะกลางถึงซูเปอร์เทเลโฟโต้
EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x
นี่เป็นเลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้จาก Canon ที่รอคอยมานาน เมื่อใช้ตัวต่อขยายช่องมองภาพนี้กับเลนส์ในตัว คุณจะได้รับมุมรับภาพที่เทียบเท่ากับทางยาวโฟกัสสูงสุด 896 มม. ในฟอร์แมต APS-C ไม่ว่าการถ่ายภาพในร่มหรือกลางแจ้ง ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะพลาดจังหวะสำคัญเมื่อใช้เลนส์ซูมตัวนี้
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x
EF70-200mm f/2.8L IS II USM
ใช้เป็นเลนส์หลักสำหรับภาพถ่ายกีฬาในร่มและเป็นเลนส์สำรองสำหรับแมตช์กลางแจ้ง เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้รุ่นนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์มากจริงๆ เมื่อพิจารณาขนาดของบอดี้กล้อง EOS 7D Mark II สามารถใช้เป็นกล้องหลักและกล้องสำรองได้ เลนส์นี้จึงเข้ากับกล้องได้อย่างลงตัว เพื่อการถ่ายภาพกีฬาทุกรูปแบบ
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF70-200mm f/2.8L IS II USM
เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1977 เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Association Japonaise de la Presse Sportive (AJPS) ในฐานะช่างภาพอิสระ Tanaka ถ่ายภาพการแข่งขันกีฬาที่จัดขึ้นทั่วโลก รวมถึงการแข่งขันโอลิมปิค ณ กรุงปักกิ่ง, การแข่งขันพาราลิมปิค ณ แวนคูเวอร์ และเกมฟุตบอลต่างๆ ในยุโรป นอกจากนี้ เขายังถ่ายภาพงานคอนเสิร์ตและปกซีดีให้กับอุตสาหกรรมดนตรีอีกด้วย