กล้อง EOS 7D Mark II ให้ภาพถ่ายแบบไหน และช่วยเปลี่ยนโฉมการถ่ายภาพแบบเดิมๆ อย่างไร? บทความนี้นำเสนอความประทับใจครั้งแรกเมื่อใช้กล้อง EOS 7D Mark II จากมุมมองของช่างภาพรถไฟ (เรื่องโดย: Yuya Yamasaki)
EOS 7D Mark II ปฏิวัติโลกแห่งการถ่ายภาพรถไฟ
มีคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุด 3 อย่างในกล้อง EOS 7D Mark II หนึ่งในนั้น ก็คือ ประสิทธิภาพของระบบโฟกัสอัตโนมัติที่มีการปรับปรุงสำหรับฟังก์ชั่นโฟกัสติดตามตัวแบบโดยเฉพาะ ด้วย AI Servo AF III และเครื่องมือการกำหนดค่าระบบโฟกัสอัตโนมัติที่ล้ำหน้ายิ่งกว่าเดิม ระดับประสิทธิภาพการติดตามตัวแบบจึงแทบจะเทียบได้กับกล้อง EOS-1D X ยิ่งไปกว่านั้น การติดตามข้อมูลสีด้วย EOS iTR AF ก็พัฒนายิ่งขึ้นด้วย ขณะที่อัลกอริธึมใหม่สำหรับการติดตามที่นำมาใช้กับกล้อง EOS เป็นครั้งแรกยังมีศักยภาพในการติดตามวัตถุอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแบบที่เป็นมนุษย์อีกด้วย หลังจากได้ลองใช้ EOS 7D Mark II ขณะเดินทางด้วยรถไฟหัวกระสุนความเร็วสูง สมรรถนะในการติดตามตัวแบบของระบบโฟกัสที่ยอดเยี่ยมช่วยให้การถ่ายภาพเป็นเรื่องง่ายดายจนผมรู้สึกว่าการถ่ายครั้งนั้นไม่ค่อยท้าทายเท่าที่ควร
คุณสมบัติต่อมาของ EOS 7D Mark II คือ จุด AF 65 จุด มากที่สุดในซีรีย์ EOS ด้วยความที่จุด AF ทั้งหมดเป็นแบบ Cross-type และจุด AF ที่กึ่งกลางไวต่อแสงต่ำสุดที่ f/8 และขีดจำกัดแสงต่ำสุดที่ -3EV จึงแทบไม่ต้องพูดเลยการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ในที่มืดจะทำได้ง่ายขึ้นมากแค่ไหน อีกสิ่งหนึ่งที่น่าทึ่ง คือ ความหลากหลายของโหมดการเลือกพื้นที่ AF นอกจากโหมด AF แบบโซน และการขยายจุด AF สองแบบที่มีบนกล้อง EOS-1D X ยังเพิ่ม Large Zone AF เข้ามาใหม่ เซนเซอร์แบบ APS-C มีพื้นที่โฟกัสกว้าง และด้วยโหมด Large Zone AF ใหม่ ตอนนี้สามารถที่จะติดตามตัวแบบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ครอบคลุมถึงมุมภาพทั้งสี่ด้าน ฉากบางประเภทที่ผมเคยใช้แมนนวลโฟกัสเพื่อถ่ายในอดีต เช่น วิวเต็มหรือวิวด้านหลังของตัวรถไฟ ตอนนี้สามารถถ่ายด้วยระบบโฟกัสอัตโนมัติได้แล้ว
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 10 เฟรมต่อวินาที จะว่ากันตรงๆ ผมคิดว่าความเร็ว 8 เฟรมต่อวินาทีในกล้อง EOS 7D ไม่เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพตัวแบบอย่างรถไฟหัวกระสุน และการอัพเกรดในรุ่น EOS 7D Mark II ช่วยให้คลายความกดดันในระหว่างถ่ายภาพลงไปได้ หลายคนอาจคิดว่า ความแตกต่างเพียงแค่ 2 เฟรมต่อวินาทีคงไม่สร้างจุดต่างมากนัก แต่ที่จริงแล้ว สำคัญมากในโลกการถ่ายภาพรถไฟ
โดยสรุป กล้อง EOS 7D Mark II คือ กล้องที่สมบูรณ์แบบที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัยสำหรับผู้ที่ต้องการถ่ายภาพรถไฟและตัวแบบเคลื่อนไหวอื่นๆ ให้ได้ดั่งใจต้องการ
EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x/ 560 มม. (เทียบเท่ากับ 896 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Manual exposure (1/1,000 วินาที, f/5.6)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ/ AI Servo AF/ Large Zone AF
ผมพยายามถ่ายภาพด้านหลังของรถไฟหัวกระสุน และไม่ทันเห็นว่ามีรถไฟอีกขบวนหนึ่งกำลังสวนมาทางด้านหน้า แม้รถไฟขบวนนี้จะโผล่เข้ามาฉับพลัน แต่ AI Servo AF ยังคงรักษาโฟกัสที่ตัวแบบที่ตั้งใจถ่ายไว้ต่อไป
EF16-35mm f/2.8L II USM/ 26 มม. (เทียบเท่ากับ 42 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Manual exposure (1/250 วินาที, f/2.8)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด/ One-Shot AF/ AF เฉพาะจุด
ไม่เพียงแค่ประสิทธิภาพการทำงานของ AF เท่านั้นที่มีความก้าวหน้าขึ้นในกล้องรุ่นนี้ ด้วยระบบประมวลผล Dual DIGIC 6 และจำนวนพิกเซลที่สูงและกำลังในการแยกรายละเอียดภาพที่ประมาณ 20.2 ล้านพิกเซล คุณไม่เพียงแค่สามารถถ่ายทอดสีสันที่เนียนละเอียด แต่ยังนำเอาความรู้สึกและบรรยากาศจริงของสถานที่นั้นออกมาได้อีกด้วย
คุณสมบัติเด่น
ข้อมูลบนช่องมองภาพ
การตั้งค่าที่มองเห็นได้ผ่านเลนส์ใกล้ตา
เมื่อนำเอา Intelligent Viewfinder II มาใช้ ตอนนี้ภาระอย่างการสลับโหมดสามารถทำได้ขณะที่มองภาพผ่านช่องมองภาพได้เลย เนื่องจากการตั้งค่าของกล้องจะแสดงภายในช่องมองภาพแทบทั้งหมด ทำให้ผู้ถ่ายภาพสามารถจดจ่ออยู่กับการจัดองค์ประกอบภาพและตัวแบบขณะที่แนบดวงตาไว้กับเลนส์ใกล้ตา
เลนส์แนะนำ
คู่เลนส์ที่เข้ากันอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อการซูมเข้าใกล้และออกห่างจากตัวแบบ
EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x
ด้วยตัวต่อขยายช่องมองภาพในตัว ทางยาวโฟกัสของเลนส์นี้เทียบเท่ากับ 320 – 896 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. เมื่อต่อเข้ากับกล้อง EOS 7D Mark II ทำให้เป็นเลนส์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการถ่ายภาพรถไฟหัวกระสุน และยังใช้งานได้ดีกับระบบโฟกัสอัตโนมัติ เอื้อให้ช่างภาพจดจ่ออยู่กับการถ่ายภาพ ปล่อยให้การโฟกัสเป็นหน้าที่ของกล้อง เช่น ขณะที่ถ่ายภาพโคลสอัพให้มีพลัง
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x
EF16-35mm f/4L IS USM
ในการถ่ายภาพรถไฟ รถไฟมักถูกจัดตำแหน่งให้อยู่ที่ขอบขององค์ประกอบภาพ และมักจะใช้รูรับแสงกว้างสุดเพื่อ “หยุด” การเคลื่อนไหวของตัวแบบที่เคลื่อนที่อย่างเร็ว เลนส์นี้เก็บรักษากำลังในการแยกความละเอียดภาพสูงเอาไว้ได้ขณะที่เปิดรูรับแสงกว้างเต็มที่ จึงเป็นเลนส์ที่สมบูรณ์แบบเมื่อคุณต้องการรวมทิวทัศน์ให้เป็นส่วนหนึ่งในภาพรถไฟ
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM
เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ “Railman Photo Office” ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา