ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพกีฬาแข่งรถ (1): เทคนิคการแพนกล้อง

2023-05-11
16
16.96 k

เทคนิคการถ่ายภาพแบบใดที่คุณสามารถใช้เพื่อให้ได้ภาพเจ๋งๆ ของรถแข่งขณะที่แล่นฉิวรอบสนามแข่ง ช่างภาพกีฬาแข่งรถ Hirohiko Okugawa จะมาแบ่งปันเทคนิคให้เราทราบกัน ในตอนที่ 1 นี้ เราจะมาเรียนรู้เคล็ดลับในการพัฒนาการถ่ายภาพแบบแพนกล้อง (เรื่องโดย: Hirohiko Okugawa จากคู่มือการถ่ายภาพด้วย EOS R7 โดย Digital Camera Magazine)

EOS R7/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 45 มม. (เทียบเท่า 72 มม.)/ Shutter-priority AE (f/4, 1/30 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ในบทความนี้:

 

1. ภาพแบบแพนกล้องสุดคลาสสิก

ภาพแบบแพนกล้องเป็นหนึ่งในภาพที่น่าตื่นเต้นที่สุดในการถ่ายภาพกีฬาแข่งรถ นอกจากนี้ยังน่าจะเป็นภาพประเภทแรกๆ ที่ผู้รักการถ่ายภาพกีฬาแข่งรถตั้งเป้าที่จะถ่ายเมื่ออยู่ที่สนามแข่ง!


AF: AF จุดเดียวเป็นหลัก การตรวจจับตัวแบบจะขึ้นอยู่กับฉาก

โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับยานพาหนะด้วยกล้องซีรีย์ EOS R รุ่นใหม่ๆ อย่าง EOS R7 จะได้ผลดีเยี่ยมจนผมสามารถปล่อยให้กล้องทำหน้าที่จับโฟกัสได้เลย แต่ถ้าคุณเป็นเหมือนกับผมและชอบการโฟกัสที่มีความแม่นยำยิ่งขึ้น คุณอาจชอบใช้ AF จุดเดียวและปิดการตรวจจับตัวแบบสำหรับยานพาหนะบางประเภท

รถ GT: AF จุดเดียว และปิดการตรวจจับตัวแบบ
สำหรับรถ GT และยานพาหนะแบบปิดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน กรอบ AF มักจะเคลื่อนที่และเปลี่ยนรูปร่างเวลาเปิดการตรวจจับตัวแบบไว้ ซึ่งทำให้ยากที่จะตรวจดูว่าโฟกัสอยู่ในพื้นที่ที่ต้องการหรือไม่ ผมจึงใช้ AF จุดเดียวและปิดการตรวจจับตัวแบบ

รถแข่งฟอร์มูล่า: เปิดการตรวจจับตัวแบบ
สำหรับรถแข่งฟอร์มูล่า คุณสมบัติการตรวจจับยานพาหนะจะตรวจจับหมวกกันน็อคของนักแข่งและปรับตำแหน่งกรอบ AF ให้สอดคล้องกันโดยอัตโนมัติ จุดนี้เป็นจุดที่ผมมักจะใช้โฟกัสอยู่แล้ว ดังนั้นในกรณีนี้ การตรวจจับตัวแบบจึงช่วยได้มาก!


เคล็ดลับระดับมือโปร: มองหาส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อจดจ่อในขณะที่คุณแพนกล้อง
คุณสมบัติการตรวจจับยานพาหนะใช้หารถยนต์ได้ดีจนคุณอาจอยากแพนกล้องและถ่ายภาพรถทุกคันที่ตรวจพบได้ แต่เพื่อโอกาสดีที่สุดในการถ่ายภาพสวยๆ ควรเจาะจงมองไปที่บางอย่าง เช่น หมวกกันน็อคของนักแข่ง หากคุณกำลังถ่ายภาพรถแข่งฟอร์มูล่า


ความเร็วชัตเตอร์: ฝึกฝนจนกว่าคุณจะถ่ายภาพสวยๆ ได้ด้วยความเร็ว 1/125 วินาที

ภาพด้านล่างนี้ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ในระดับต่างๆ ซึ่งทุกภาพใช้ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 168 มม. และถ่ายจากจุดเดียวกัน เป็นภาพรถแข่งตรงหัวโค้งที่สองของสนามซูซูกะเซอร์กิต ซึ่งเป็นสนามกีฬาแข่งรถแห่งหนึ่งที่ขับยากที่สุดในโลก ลองสังเกตให้ดีว่าความเร็วชัตเตอร์เปลี่ยนรูปร่างหน้าตาขององค์ประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวรถไปอย่างไร เช่น พื้นยางมะตอย ยางรถ ขอบถนน และเหล่าผู้ชมที่อยู่ด้านหลัง

แม้ว่าทางยาวโฟกัสและปัจจัยอื่นๆ จะส่งผลต่อภาพที่ได้ แต่ภาพตัวอย่างเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่า เมื่อถ่ายด้วยความเร็วประมาณ 1/125 วินาทีหรือต่ำกว่านั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้สวยงาม ลองถ่ายภาพทดสอบแล้วจึงปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สอดคล้องกัน


1/500 วินาที

เมื่อถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที พื้นยางมะตอย ยางรถ ขอบถนน และผู้ชมดูเป็นภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวเล็กน้อย ซึ่งไม่สื่อถึงความเร็วใดๆ เลย


1/250 วินาที

เมื่อถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/250 วินาที จะมองเห็นการเคลื่อนไหวของล้อรถได้ชัดเจน แต่ยังสื่อถึงความเร็วในองค์ประกอบของแบ็คกราวด์ได้ไม่ดีนัก


1/125 วินาที

เมื่อถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที เราเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวทั้งในส่วนของยางรถและองค์ประกอบของแบ็คกราวด์


1/60 วินาที

เมื่อถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที จะรู้สึกถึงความเร็วได้มากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวมากจนเหล่าผู้ชมที่อยู่ด้านหลังดูเลือนราง


เคล็ดลับระดับมือโปร: ทางลัดสู่ความชำนาญในการแพนกล้องคือ การถ่ายภาพให้มากขึ้น
ลองฝึกแพนกล้องทุกครั้งที่คุณมีโอกาส คุณจะรู้สึกคุ้นชินมากขึ้นกับวิธีการขยับกล้องให้เหมาะสม รวมทั้งความเร็วชัตเตอร์ที่คุณต้องใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ ยิ่งฝึกฝนมากเท่าไร ก็จะยิ่งพัฒนาได้เร็วขึ้นเท่านั้น!


ลองการถ่ายภาพต่อเนื่องดูไหม

แน่นอนว่ากล้องที่มีความเร็วสูงในการถ่ายภาพต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณถ่ายภาพสำเร็จได้มากขึ้น สำหรับกล้องที่ออกแบบมาเพื่อการถ่ายภาพแอ็คชันระดับมืออาชีพ เช่น EOS R7 คุณจะสามารถถ่ายภาพได้ด้วยความเร็วสูงถึง 30 fps ด้วยชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเร็วเป็นสองเท่าของชัตเตอร์กลที่มีความเร็วสูงสุดที่ 15 fps สมมติว่ามีอัตราความสำเร็จเท่ากัน นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสที่จะถ่ายภาพสำเร็จได้มากขึ้นเป็นสองเท่า!

อย่างไรก็ตาม ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ก็มาพร้อมกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter ดังนั้น คุณควรเลือกฉากที่จะใช้ให้ดี (บทความส่วนนี้จะอธิบายเคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter ที่เห็นได้ชัดเจน) เทคโนโลยีช่วยเพิ่มความสะดวกสบายก็จริง แต่การเสริมสร้างทักษะและเทคนิคของคุณเองก็จะช่วยพัฒนาฝีมือในฐานะช่างภาพด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด

หรือคุณอาจอยากลองโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ RAW ที่เปิดใช้งานฟังก์ชั่นถ่ายภาพล่วงหน้าไว้ ซึ่งจะบันทึกภาพล่วงหน้าได้สูงสุด 0.5 วินาทีก่อนที่คุณจะลั่นชัตเตอร์! อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: การถ่ายต่อเนื่องแบบ RAW และการถ่ายภาพล่วงหน้าคืออะไร

 

การจัดองค์ประกอบภาพ: ทำให้เรียบง่ายเข้าไว้ ลองจัดเฟรมโดยตั้งใจว่าจะครอปภาพดู

การแพนกล้องเป็นเทคนิคที่ยากจะฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ หากต้องการเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพขณะที่คุณยังไม่ค่อยมีประสบการณ์มากนัก ให้จัดองค์ประกอบภาพและขยับเลนส์อย่างเรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าคิดถึงการจัดเฟรมมากเกินไป เพียงแค่ตั้งเป้าว่าจะถ่ายภาพรถให้คมชัดเวลาที่คุณแพนกล้องก็พอแล้ว ไม่เป็นไรหากคุณไม่สามารถจัดรถให้อยู่ตรงกลางเฟรมได้พอดี ตราบใดที่ยังเผื่อที่ว่างรอบๆ ด้านหน้าหรือด้านหลังไว้มากพอสำหรับการครอป

ก่อนครอปภาพ

หลังครอปภาพ

ภาพดูน่าประทับใจมากขึ้นหลังการครอปภาพ

คุณจะครอปได้มากน้อยเพียงใดก่อนที่จะทำให้คุณภาพของภาพลดลงนั้นก็ขึ้นอยู่กับความละเอียดต่ำสุดที่คุณจำเป็นต้องใช้ รวมถึงความละเอียดสูงสุดของกล้อง สำหรับกล้อง EOS R7 ความละเอียด 32.5 ล้านพิกเซล จะได้ภาพ 6940 x 4640 พิกเซล ซึ่งสูงกว่าความละเอียดระดับ 4K มาก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
นำเสนอผลงานที่ดีที่สุดของคุณ: เคล็ดลับในการคัดเลือกและปรับแต่งภาพถ่ายกีฬา


เคล็ดลับระดับมือโปร: ทำให้การเคลื่อนไหวของเลนส์ง่ายขึ้นด้วย
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณถ่ายภาพจากมุมซ้าย คุณอาจอยากถ่ายภาพสองครั้งซึ่งจะต้องแพนกล้องไปในทิศทางที่แตกต่างกัน โดยครั้งแรกถ่ายเมื่อรถเข้าโค้ง (แพนกล้องจากซ้ายไปขวา) และถ่ายอีกครั้งเมื่อรถออกจากโค้งไปแล้ว (แพนกล้องจากขวาไปซ้าย) การถ่ายภาพเช่นนี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าและเพิ่มโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาด คุณควรถ่ายที่ทางออกแทน เพราะจะสร้างความคุ้นชินกับการเคลื่อนไหวได้ง่ายกว่า

 

2. ยกระดับไปอีกขั้น: ภาพแบบแพนกล้องที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำพิเศษ

EOS R7/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 45 มม. (เทียบเท่า 72 มม.)/ Shutter-priority AE (f/13, 1/15 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

หลังจากที่คุณมีความชำนาญมากขึ้นในการแพนกล้อง ลองท้าทายทักษะตัวเองด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง เช่น 1/30 วินาที หรือแม้แต่ 1/15 วินาที ซึ่งจะทำให้เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวอย่างน่าประทับใจในบริเวณโดยรอบ จึงควรเน้นให้เด่นขึ้นโดยการถ่ายภาพให้กว้างขึ้นเพื่อให้กินพื้นที่ของเฟรมมากขึ้น


ความท้าทายหลัก: มีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวมากขึ้น และมีส่วนคมชัดที่เล็กลง

เมื่อถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำถึง 1/30 หรือ 1/15 วินาที การเคลื่อนไหวของยานพาหนะจะทำให้มีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวมากขึ้นที่ด้านหน้าและด้านหลังของยานพาหนะ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนเล็กๆ ของรถจะดูคมชัด

1/160 วินาที

1/15 วินาที

ในภาพด้านบนที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที มีเพียงส่วนหนึ่งของประตูรถเท่านั้นที่ไม่ปรากฏภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว


เวลาที่เหมาะสมที่สุด: ในระหว่างช่วงด้านในของเส้นเข้าโค้ง

ส่วนที่ไม่ปรากฏภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวจะดูเล็กที่สุดเมื่อรถวิ่งเป็นเส้นตรง หรือวิ่งที่เส้นด้านนอกในระหว่างเข้าโค้ง หากต้องการเพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพให้สำเร็จมากขึ้นโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำมาก ให้เล็งไปที่รถเมื่ออยู่ด้านในของเส้นเข้าโค้ง

เส้นเข้าโค้งคือเส้นทางที่รถจะใช้วิ่งเมื่อเข้าโค้ง แม้ว่าแนววิถีจริงจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ก็มักจะเริ่มจากเส้นด้านนอกของสนามแข่ง เลี้ยวเข้าในเพื่อแตะด้านในของสนามที่อยู่ใกล้กับมุมยอดของหัวโค้ง จากนั้นจึงออกไปยังเส้นด้านนอกของสนาม


เคล็ดลับระดับมือโปร: เปลี่ยนประสิทธิภาพแสดงผลเป็น “ราบรื่น”

กล้องอย่าง EOS R7 มีการตั้งค่าการแสดงผล “ราบรื่น” ซึ่งมีอัตราแสดงผลสูงสุดถึง 120 fps ทำให้ภาพตัวอย่างดูลื่นไหลขึ้นเวลาแพนกล้อง การตั้งค่าเริ่มต้นไว้ช้าๆ อาจดูกระตุกเวลาแพนกล้องตามตัวแบบที่เคลื่อนที่ไวมาก


--

โปรดติดตามบทความตอนที่ 2 ซึ่งเราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพกีฬาแข่งรถและฟังก์ชั่นกล้องที่เป็นประโยชน์!

คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้
ช่างภาพ 7 คนจะมาเล่าถึง: การตั้งค่าโฟกัสอัตโนมัติและโหมดขับเคลื่อนที่สลับใช้ตามฉากนั้นๆ
5 การตั้งค่าพื้นฐานของกล้อง EOS R5/ EOS R6 ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการตั้งแต่ต้น
การตั้งค่ากล้อง 7 แบบที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ราบรื่นขึ้นแต่มักถูกมองข้าม

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Hirohiko Okugawa

เส้นทางการเป็นช่างภาพของ Okugawa เริ่มตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักเรียน ตอนที่เขาต้องการถ่ายภาพกีฬาแข่งรถ ผลงานของเขาได้รับเลือกให้จัดแสดงในนิทรรศการภาพถ่ายกีฬาแข่งรถของ Canon Japan เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และเขายังได้ถ่ายภาพการแข่งรถฟอร์มูล่าวัน เจแปนนิส กรังด์ปรีซ์ ทุกครั้งตั้งแต่ปี 2530 ที่สนามซูซูกะและสนามฟูจิ โดยได้แบ่งเวลาถ่ายภาพและทำงานประจำด้านประชาสัมพันธ์จนกระทั่งเขาก่อตั้งบริษัทประชาสัมพันธ์ของตนเองในปี 2549 ปัจจุบัน Okugawa รับหน้าที่ถ่ายภาพกีฬาแข่งรถให้กับพอร์ทัลข่าว Car Watch ที่ดำเนินงานโดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา