ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

นำเสนอผลงานที่ดีที่สุดของคุณ: เคล็ดลับในการคัดเลือกและปรับแต่งภาพถ่ายกีฬา

2021-08-09
1
807
ในบทความนี้:

การเป็นช่างถ่ายภาพที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ถ่ายเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณตัดสินใจที่จะแสดงให้เห็นอีกด้วย การเลือกภาพที่ดีที่สุดเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญของกระบวนการปรับแต่งภาพและอาจส่งผลต่อชื่อเสียงของช่างภาพอีกด้วย! Yong Teck Lim ช่างถ่ายภาพกีฬาและบรรณาธิการภาพถ่าย Getty Images (IG: @yongtecklim) จะมาบอกเล่าสิ่งสำคัญที่คุณควรใส่ใจเมื่อทำการคัดเลือกและจัดภาพถ่ายของคุณ (เรื่องโดย Yong Teck Lim และภาพถ่ายสำหรับ Getty Images)

 

เหตุใดการคัดเลือกภาพถ่ายจึงมีความสำคัญ

ในยุคแห่งการถ่ายภาพดิจิตอลและความจุสื่อหน่วยความจำที่สูงขึ้นนี้ ทำให้เราสามารถถ่ายภาพไปก่อนแล้วคิดทีหลังได้ แต่ถึงแม้วิธีนี้จะเพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพช่วงเวลาที่สำคัญ แต่ก็หมายความว่าคุณจะมีภาพหลายร้อยหรือแม้กระทั่งหลายพันจากเหตุการณ์เดียวกัน การปรับแต่งภาพในภายหลังและการใช้ภาพถ่ายมากเกินไปไม่ใช่วิธีที่ให้ผลดีหรือมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การแสดงภาพหลายภาพที่มีคุณภาพไม่ดีพอยังอาจทำให้เกิดความรู้สึกเชิงลบต่อทักษะของช่างภาพด้วย

ดังนั้นการคัดเลือกภาพคือส่วนสำคัญของกระบวนการปรับแต่งภาพ โดยที่ช่างภาพต้องตัดสินใจว่าภาพถ่ายใดเหมาะสำหรับการนำเสนอมากที่สุด

ส่วนที่ยากจะตามมาหลังจากที่คุณลบภาพที่มีปัญหาชัดเจนหมดแล้ว เช่น ภาพที่หลุดจากโฟกัส ภาพที่เบลอโดยไม่ตั้งใจ ฯลฯ แล้วคุณจะแยกภาพถ่ายที่พอใช้ได้ออกจากภาพที่ดีเยี่ยมและมั่นใจว่าจะแสดงเฉพาะภาพที่ดีที่สุดได้อย่างไร ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางส่วนจากประสบการณ์ของผมในฐานะช่างภาพมืออาชีพและบรรณาธิการภาพถ่าย

 

1. กำหนดจุดสูงสุดของการแข่งขัน

มีภาพหลากหลายประเภทที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวในการถ่ายภาพกีฬาได้ ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งที่สื่อถึงช่วงเวลาอันน่าซาบซึ้งไปจนถึงภาพการเฉลิมฉลองและภาพอื่นๆ นอกจากนั้น แต่ไม่มีอะไรที่สื่อว่า “นี่คือกีฬา” ได้ดีไปกว่าภาพถ่ายจุดสูงสุดของการแข่งขัน (Peak action) ที่สรุปการแข่งขันนั้นๆ ไว้ในภาพเดียว

การถ่ายภาพจุดสูงสุดของการแข่งขันต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับกีฬา ตัวแบบ รวมถึงจังหวะที่เหมาะสม แต่ในกระบวนการหลังการถ่ายภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเพิ่งเริ่มต้น อาจเป็นเรื่องยากกว่าที่คิดในการกำหนดว่าภาพใดบ้างที่เป็นและไม่เป็น “จุดสูงสุดของการแข่งขัน” มาดูสองตัวอย่างต่อไปนี้กัน


ไม่ใช่จุดสูงสุดของการแข่งขัน

©Yong Teck Lim/ Getty Images

ในภาพถ่ายนี้ LeBron James นักบาสเก็ตบอลชั้นนำระดับโลก กำลังหาทางส่งลูกผ่านฝ่ายตรงข้าม องค์ประกอบภาพที่ได้ดูดีพอใช้และแบ็คกราวด์ดูสะอาดตาซึ่งทำให้เขาดูโดดเด่นในเฟรม แต่คนที่เล่นกีฬานี้จะไม่ถือว่าช่วงเวลานี้เป็นจุดสูงสุดของการแข่งขัน


จุดสูงสุดของการแข่งขัน

©Yong Teck Lim/ Getty Images
EOS-1D X Mark II/ EF70-200mm f/2.8L IS III USM @155 มม., f/2.8, 1/2000 วินาที, ISO 2500

เฟรมภาพนักบาสเก็ตบอลที่กำลังแข่งกันแย่งลูกบาสนี้ดูแตกต่างออกไปและถ่ายทอดความดุเดือดของการแข่งขันที่นักกีฬาต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน สถานการณ์ที่ถูกจับภาพไว้ ความตึงเครียดและความระทึกใจในการปฏิสัมพันธ์นี้ และอารมณ์บนใบหน้าของพวกเขารวมกันเป็นภาพจุดสูงสุดของการแข่งขันที่น่าประทับใจ

 

เคล็ดลับระดับมือโปร: ควรระวังเรื่องใดเมื่อถ่ายภาพจุดสูงสุดของการแข่งขัน

อันดับแรก การศึกษาหาข้อมูลและทำความเข้าใจกีฬาที่คุณจะถ่ายภาพ รวมไปถึงผลงานของนักกีฬาถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เกณฑ์มาตรฐานข้อหนึ่งที่ผมใช้กำหนดภาพถ่ายจุดสูงสุดของการแข่งขันที่ประสบความสำเร็จคือ การแสดงออกทางสีหน้า เพราะผมตั้งเป้าที่จะจับภาพความสามารถในการแข่งขันและความพยายามของนักกีฬาเสมอ

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมระวังคือ การดูว่าองค์ประกอบต่างๆ ของกีฬานั้นอยู่ในเฟรมหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น สำหรับกีฬาที่ใช้ลูกบอลอย่างบาสเก็ตบอลหรือฟุตบอล ผมชอบให้ลูกบอลอยู่ในเฟรม แต่ภาพถ่ายจุดสูงสุดของการแข่งขันในอุดมคติสำหรับกรีฑาประเภทลู่คือ ภาพนักกีฬาแบบเต็มตัว

การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้สำหรับภาพถ่ายจุดสูงสุดของการแข่งขันในอุดมคติของผม ทำให้ผมมีความมั่นใจมากขึ้นว่าควรเลือกและนำเสนอภาพแบบไหน รวมถึงควรใช้วิธีใดถ่ายทอดความเคลื่อนไหวในระหว่างการถ่ายภาพ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพกีฬา: วิธีเน้นความเร็วโดยการถ่ายทอดความสงบนิ่งตัดกับการเคลื่อนไหว

 

2. ระวังในเรื่องแบ็คกราวด์

แบ็คกราวด์ที่ดูสะอาดตาถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการถ่ายภาพกีฬา เนื่องจากช่วยให้ตัวแบบของคุณโดดเด่นและทำให้เฟรมภาพที่ได้ดูเด่นยิ่งขึ้น นอกจากนั้น คุณยังต้องแน่ใจว่าตัวแบบและแบ็คกราวด์ไม่ส่งผลกระทบต่อกันในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์

©Yong Teck Lim/ Getty Images

สำหรับภาพนี้ที่ผมถ่ายไว้เมื่อปี 2016 ผมทำผิดพลาดตรงที่ไม่ได้คำนึงถึงแบ็คกราวด์และการจัดเฟรม ในเฟรมนี้มี Landdis Su นักกีฬาชาวสิงคโปร์ในการแข่งขันขว้างจักรและดูเหมือนว่ากรงสำหรับขว้างกำลังเสียบทะลุตัวเขา ภาพนี้ถ่ายในช่วงก่อนที่จะขว้างจักร ซึ่งไม่ใช่จุดสูงสุดของการแข่งขัน นี่เป็นเฟรมที่ผมจะไม่มีวันใช้อีกเป็นอันขาด!

 

เคล็ดลับระดับมือโปร: “มองหา” จุดถ่ายภาพเมื่อตำแหน่งของคุณถูกจำกัด

©Yong Teck Lim/ Getty Images
EOS-1D X Mark II/ EF70-200mm f/2.8L IS III USM + Extender EF14x III@245 มม., f/4, 1/2000 วินาที, ISO 4000

สำหรับกีฬาที่มีตำแหน่งการถ่ายภาพที่จำกัด ผมมักจะหาจุดในแบ็คกราวด์ที่ใช้ได้ดีสำหรับผมแล้วรอให้มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในบริเวณนั้น ความพยายามแบบนี้ร่วมกับความโชคดีในบางครั้งมักจะให้ผลลัพธ์ที่่ดี


©Yong Teck Lim/ Getty Images

หลายครั้งจะมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่รกสายตาปรากฏขึ้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องยากที่จะหาวิธีแก้ปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นช่างภาพเพียงคนเดียวในขณะนั้น ในเฟรมนี้ Elina Svitolina กำลังฉลองแต้มแมทช์พอยท์ แต่ทีมงานถ่ายทอดสดกลายเป็นองค์ประกอบในแบ็คกราวด์ที่รบกวนสายตา ซึ่งนี่ทำให้ผมอยากตัดภาพถ่ายนี้ออกไป โดยเฉพาะหากคุณทำงานในทีมและมีหลายมุมที่ถูกบดบัง!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ทำไมเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้จึงจำเป็นต่อการถ่ายภาพกีฬา
3 ขั้นตอนในการถ่ายภาพระยะใกล้อันน่าประทับใจของนักกีฬาขณะเคลื่อนไหว

 

3. ครอปภาพอย่างฉลาด


อย่าครอปในตำแหน่งที่ไม่เป็นธรรมชาติ

ตามกฎโดยทั่วไป พยายามหลีกเลี่ยงการครอบแขนขาผู้คนในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ การตัดส่วนต่างๆ ของร่างกายออก เช่น นิ้วมือหรือนิ้วเท้า จะทำให้ดูเหมือนว่าคุณถ่ายเฟรมนั้นๆ แน่นเกินไป เวลาผมคัดเลือกภาพถ่าย ภาพเหล่านั้นมักจะเป็นภาพที่ผมลบในทันที

พื้นที่การครอปเริ่มต้นของผมจะอยู่ที่บริเวณคอ หน้าอก ข้อศอก เอว และหัวเข่า

©Yong Teck Lim/ Getty Images
EOS-1D X Mark II/ EF70-200mm f/2.8L IS III USM @ 200 มม., f/4, 1/2000 sec, ISO 160

ตัวอย่างเฟรมที่ดีที่ผมจะใช้คือ ภาพของ Gaby Lopez ที่กำลังเล่นทีช็อต ซึ่งเป็นไปตามพารามิเตอร์การครอปเริ่มต้น


ภาพครอปที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ

©Yong Teck Lim/ Getty Images

ในเฟรมนี้ ข้อเท้าของนักกอล์ฟถูกครอปออก จึงทำให้ภาพดูไม่เป็นธรรมชาติ นี่คือเฟรมที่ผมจะไม่ใช้อย่างแน่นอน


เคล็ดลับระดับมือโปร: เว้นพื้นที่ว่างไว้บ้าง

ไม่ว่าผมจะพยายามจัดเฟรมภาพถ่ายตั้งแต่ในกล้องหรือครอปภาพหลังถ่าย ผมจะเว้นพื้นที่ว่างไว้ตรงมุมของเฟรมภาพ วิธีนี้เป็นการเผื่อพื้นที่ให้ลูกค้าที่เป็นฝ่ายบรรณาธิการได้ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาพิจารณาเฟรมภาพสำหรับการแบ่งหน้าและตีพิมพ์

 

การครอปให้แคบลงสามารถเพิ่มความน่าประทับใจได้

©Yong Teck Lim/ Getty Images
EOS-1D X Mark II/ EF70-200mm f/2.8L IS III USM @175 มม., f/3.5, 1/1600 วินาที, ISO 5000


ก่อนครอปภาพ

©Yong Teck Lim/ Getty Images

แม้ว่าเฟรมจะดูดีอยู่แล้ว แต่การครอปให้แคบลงในกระบวนการปรับแต่งภาพอาจเพิ่มความน่าสนใจโดยรวมของภาพได้ ตัวอย่างเช่น แม้ว่าผมจะสามารถปล่อยเฟรมภาพส่วนหัวของ Ola Kamara จากทีม Los Angeles Galaxy ไว้ตามเดิม แต่ผมก็เลือกที่จะครอปให้แคบลงเพื่อดึงความสนใจไปที่ส่วนหัวมากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่สอดคล้องกับความชอบส่วนตัวของผมในการถ่ายภาพการเคลื่อนไหวที่ดูแน่นขึ้นอีกด้วย


เคล็ดลับระดับมือโปร: สร้างเกณฑ์สิ่งที่ใช่สำหรับตัวเอง

การถ่ายภาพที่ดีเหมือนกับศิลปะทุกรูปแบบตรงที่ว่าอาจขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน และช่างภาพทุกคนมีสไตล์การถ่ายภาพไม่เหมือนกัน หลักการนี้นำมาใช้กับการครอปภาพเช่นกัน ในบางครั้งอาจเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าสิ่งใดได้ผลดี ดังนั้นการดูภาพถ่ายจากช่างภาพและบรรณาธิการที่คุณชื่นชอบจะมีประโยชน์

 

ลองครอปภาพแบบใหม่ๆ

บางครั้งการครอปภาพแบบใหม่ๆ สามารถทำให้เฟรมธรรมดาๆ ดูน่าสนใจมากขึ้นมาก แม้ว่าต้องอาศัยการลองผิดลองถูกบ้าง บางครั้งหลายๆ สิ่งก็ออกมาดี แต่บางครั้งก็ไม่เป็นเช่นนั้น อย่ากลัวที่จะลอง ไม่อย่างนั้นคุณจะไม่มีทางรู้เลย!


ภาพการเสิร์ฟลูกทั่วไป

©Yong Teck Lim/ Getty Images
EOS-1D X Mark III/ EF400mm f/2.8L IS II USM @ f/2.8, 1/1600 วินาที, ISO 5000

ภาพการเสิร์ฟลูกทั่วไปในการแข่งขันเทนนิสจะมีศีรษะหรือลำตัวของผู้เล่น แขนที่ใช้เสิร์ฟ และลูกเทนนิสอยู่ในเฟรม


“จ้องมองลูกเทนนิส”: ภาพแบบใหม่

©Yong Teck Lim/ Getty Images
EOS-1D X Mark III/ EF400mm f/2.8L IS II USM @ f/2.8, 1/1600 วินาที, ISO 4000

ในภาพนี้ ผมเลือกที่จะเข้าไปใกล้ๆ เพื่อดึงความสนใจไปที่สายตาของผู้เล่นที่กำลังมองตามลูกเทนนิส

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
วิธีถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมให้สวยงามที่สุด

 

เคล็ดลับสำหรับขั้นตอนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับงานบรรณาธิการส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คุณมักจะแข่งขันกับช่างภาพจากสำนักข่าวอื่นๆ ดังนั้นความเร็วจึงเป็นหัวใจสำคัญ คุณย่อมต้องการให้ภาพของคุณเผยแพร่ก่อนช่างภาพคนอื่นๆ!


1. ใช้ประโยชน์จากช่วงพักการแข่งขันเพื่อตรวจดูภาพ

ผมประหยัดเวลาขณะทำงานโดยใช้ประโยชน์จากช่วงพักการแข่งขันเพื่อตรวจดูภาพที่ผมถ่าย ผมใช้ฟังก์ชั่นล็อค (ป้องกันภาพ) ในกล้องเวลาเห็นภาพที่ผมต้องการให้ความสำคัญ

คําเตือน: อย่าจดจ่อกับการตรวจภาพมากเกินไป คุณต้องพร้อมที่จะถ่ายภาพเมื่อการแข่งขันเริ่มต้นอีกครั้ง!


2. ระบุภาพที่ดีที่สุดแล้วส่งออกไปก่อน

ซอฟต์แวร์นำเข้ารูปภาพส่วนใหญ่ช่วยให้คุณให้ความสำคัญกับภาพที่ติดแท็กไว้เวลาที่นำเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้กระบวนการปรับแต่งภาพเร็วขึ้น เมื่อมีข้อจำกัดด้านเวลา ผมจะปรับแต่งและส่งภาพเหล่านั้นออกไปก่อน แล้วจึงกลับมาดูให้ครบถ้วนอีกครั้งเมื่อมีเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าผมไม่ได้พลาดอะไรไป


3. ปรับแต่งให้น้อยที่สุด

เวลาที่ผมประมวลผลภาพ ผมจะปรับแต่งให้น้อยที่สุดภายใต้ขอบเขตที่ได้รับอนุญาตตามแนวทางของบรรณาธิการ การแก้ไขภาพที่ยอมรับได้นั้นรวมถึงการปรับการเปิดรับแสงและการแก้ไขสมดุลสี


ปรับแต่งแล้ว

©Yong Teck Lim/ Getty Images
EOS-1D X Mark II/ EF400mm f/2.8L IS II USM @ f/3.2, 1/1600 วินาที, ISO 2500


ยังไม่ผ่านการปรับแต่ง

©Yong Teck Lim/ Getty Images


ข้อควรรู้: ความซื่อตรงของบรรณาธิการในการถ่ายภาพงานข่าว

การประหยัดเวลาไม่ใช่เหตุผลเดียวสำหรับการปรับแต่งภาพให้น้อยที่สุด หากคุณทำงานให้กับสำนักบรรณาธิการและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การปรับแก้ภาพและการลบองค์ประกอบที่รกสายตาด้วยวิธีดิจิตอลในกระบวนการปรับแต่งภาพนั้นถือเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากขัดต่อหลักความซื่อตรงของบรรณาธิการและอาจทำให้คุณตกงานได้

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Yong Teck Lim

เป็นนักข่าวมัลติมีเดียและผู้คลั่งไคล้กีฬา Yong Teck ก้าวเข้าสู่วงการถ่ายภาพวารสารศาสตร์เป็นครั้งแรกในฐานะนักศึกษาการถ่ายภาพวารสารศาสตร์โดยทำงานให้กับเว็บไซต์ข่าวกีฬา Red Sports ซึ่งเขารับหน้าที่ถ่ายภาพในงานกีฬาท้องถิ่น หลังจบการศึกษาพร้อมปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการสื่อสารจาก SUNY Buffalo ในฤดูใบไม้ผลิปี 2015 แล้ว เขาได้ร่วมงานกับสำนักข่าวมากมาย เช่น Getty Images, Associated Press และ Reuters รวมถึงองค์กรต่างๆ อย่าง Fédération Equestre Internationale, Red Bull, Lagardère Sports and Entertainment, Singapore National Olympic Council และ Sport Singapore

http://ytlim.com

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา