ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

วิธีถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมให้สวยงามที่สุด

2018-09-20
7
5.93 k
ในบทความนี้:
กีฬาเอ็กซ์ตรีมมีการเคลื่อนไหวรวดเร็ว คาดเดาได้ยาก และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับการรังสรรค์ภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการในการถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมให้ดูสวยงามที่สุด (เรื่องโดย: Mark Teo)

 

EOS 7D/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/5000 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 

การถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีม: จริงๆ แล้วส่งผลถึงอะไรบ้าง

การถ่ายภาพกีฬาเป็นสิ่งท้าทาย: คุณต้องรับมือกับการเคลื่อนไหวรวดเร็วในสภาพแสงที่อาจไม่ดีนัก อีกทั้งยังมีปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น สภาพอากาศ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาไม่คาดคิด เมื่อถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีม คุณจะพบปัญหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่คาดเดาไม่ได้และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

แน่นอนว่า การถ่ายภาพนักกีฬาเอ็กซ์ตรีมที่กำลังผาดโผนเสี่ยงตายนั้นอาจทำให้ได้ภาพชวนอ้าปากค้าง หากถ่ายทอดออกมาได้สมบูรณ์แบบ แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของตัวแบบไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ในสนามหรือลานอีกต่อไป การถ่ายภาพโดยขาดการเตรียมพร้อมที่เหมาะสมอาจทำให้คุณเสี่ยงที่จะมีอุปกรณ์เสียหายหรือแม้แต่ร่างกายได้รับบาดเจ็บเช่นกัน มีครั้งหนึ่งที่ผมเข้าไปใกล้นักเบรคแดนซ์มากเกินไปจนถูกเตะเข้าที่ใบหน้า แม้เลนส์กล้องจะรอดมาได้ แต่หน้าของผมมีรอยแตกลึกและนิ้วฟกช้ำเลยทีเดียว

ดังนั้น ควรคำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ และต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับการถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมให้สวยที่สุดอย่างปลอดภัย

 

1. อุปกรณ์: แพ็คกระเป๋าให้เบาและเท่าที่จำเป็น

ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ การถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมมักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก หรือในสถานที่ที่คุณไม่สามารถวางกองอุปกรณ์ทิ้งไว้ขณะออกไปถ่ายภาพ เช่น ในเมือง นอกจากนี้ คุณยังต้องมีความคล่องตัวในการหาตำแหน่งหรือมุมที่เหมาะเจาะที่สุดเพื่อจับภาพการเคลื่อนไหว แพ็คกระเป๋าให้เบาและเท่าที่จำเป็น: พกเฉพาะเลนส์ที่คุณต้องใช้และนำกล้องสำรองติดตัวไปด้วยหากทำได้

 

บอดี้กล้อง: มองหารุ่นที่คงทนต่อสภาพอากาศ

เนื่องจากสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา การมีกล้องที่คงทนต่อสภาพอากาศ เช่น กล้องในซีรีย์ Canon EOS 5D หรือ EOS-1DX จึงมีประโยชน์อย่างแน่นอน

 

เลนส์: ขึ้นอยู่กับลักษณะของกีฬาและระยะห่างจากตัวแบบที่เคลื่อนไหว

ผมเลือกใช้เลนส์ตามลักษณะของกีฬาและระยะที่ผมสามารถเข้าไปใกล้ตัวแบบที่เคลื่อนไหว

หากผมถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวได้จากระยะไกลเท่านั้น เช่น จากที่นั่งผู้ชมหรือด้านหลังฝูงชนจำนวนมาก เลนส์ซูมเทเลโฟโต้อย่างเช่น เลนส์ 70-200mm f/2.8 หรือเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวกว่าจะมีประโยชน์ แต่หากสามารถเข้าไปใกล้ได้ ผมมักจะเลือกใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อสื่ออารมณ์การเคลื่อนไหวของนักกีฬาให้มากที่สุด

แน่นอนว่าเลนส์โปรดส่วนตัวของผมคงหนีไม่พ้นเลนส์มุมกว้างอย่างเลนส์ฟิชอายหรือเลนส์ 16-35mm f/2.8 เมื่อนักกีฬาเคลื่อนไหว เราต้องใช้มุมกว้างเพื่อช่วยแสดงถึงพลังของการเคลื่อนไหวนั้นๆ ซึ่งทำได้โดยใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้างที่มักขยายระยะห่างให้ดูกว้างขึ้น

 

เคล็ดลับ: วิธีใช้เลนส์มุมกว้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หากต้องการให้เอฟเฟ็กต์มุมกว้างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรขยับเข้าใกล้ตัวแบบและย่อตัวใกล้กับพื้น และควรเก็บภาพการเคลื่อนไหวเมื่อถึงจุดสูงสุด เพื่อให้ได้ภาพการกระโดดที่จุดสูงที่สุด

 

ภาพ A: มุมต่ำกว่า ใกล้การเคลื่อนไหวมากกว่า

ภาพมุมต่ำของนักสเก็ตบอร์ดที่ Henderson Waves

EOS 5D Mark II/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Manual exposure (f/8, 1/320 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

สำหรับภาพนี้ผมย่อตัวลงใกล้กับพื้นดินเพื่อขับเน้นให้เห็นระดับความสูงของการกระโดด ซึ่งยังช่วยให้เอฟเฟ็กต์มุมกว้างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

 

ภาพ B: อยู่ห่างจากการเคลื่อนไหว

นักสเก็ตบอร์ดที่ Henderson Waves

EOS 5D Mark II/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Manual exposure (f/8, 1/400 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพนี้ถ่ายจากจุดที่อยู่ไกลจากการเคลื่อนไหวเล็กน้อยในมุมที่สูงขึ้น คุณจะสังเกตเห็นว่าตอนนี้ระดับความสูงของการกระโดดดูลดลง

 

ภาพ A

นักสเก็ตบอร์ดกระโดดครอบคลุมพื้นที่ 1/3 ของเฟรม

ภาพ B

นักสเก็ตบอร์ดกระโดดครอบคลุมพื้นที่ 2/3 ของเฟรม
 

ภาพสองภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ตัวเดียวกัน แต่จากมุมและระยะห่างที่ต่างกัน ในภาพ A นักสเก็ตบอร์ดดูเหมือนกระโดดครอบคลุมพื้นที่สองในสามของเฟรม แต่ในภาพ B จะครอบคลุมพื้นที่เพียงหนึ่งในสามของเฟรมเท่านั้น

 

2. การตั้งค่ากล้อง: ลองเล่นกับความเร็วชัตเตอร์

ทุกคนทราบดีว่าความเร็วชัตเตอร์สูงจะช่วยหยุดการเคลื่อนไหว แต่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวได้อย่างสวยงาม ซึ่งช่วยถ่ายทอดการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของนักกีฬาได้ อันที่จริง ในบางสถานการณ์ เช่น การแข่งจักรยานเสือภูเขา เทคนิคการหยุดการเคลื่อนไหวไม่ได้สื่อถึงความเร็วด้วยซ้ำไป

ในงานหรือการแข่งขันใหญ่ๆ ส่วนของแบ็คกราวด์มักดูวุ่นวายและเต็มไปด้วยองค์ประกอบที่ดึงความสนใจไปจากภาพ เช่น แบนเนอร์ของผู้สนับสนุน ผู้ชม หรือแม้แต่พืชพันธุ์ต่างๆ การแพนกล้องโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงจะช่วย "ลด" องค์ประกอบในแบ็คกราวด์เหล่านี้ลงและดึงจุดสนใจกลับไปที่ตัวแบบของคุณได้

 

เคล็ดลับ: หากต้องการสร้างภาพแบบแพนกล้องด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น ให้ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวขึ้น

ภาพเคลื่อนไหวจากการแพนกล้องที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/30 วินาที อาจทำให้ภาพเบลอมากเกินไป เนื่องจากมีแนวโน้มที่เราจะทำให้กล้องสั่นโดยธรรมชาติ จึงควรใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น เช่น เลนส์ 70-200 มม. เพื่อเพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้สำเร็จ เพราะเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวขึ้นจะสร้างการเคลื่อนไหวมากขึ้นในส่วนแบ็คกราวด์ ทำให้แน่ใจว่าแม้เราจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงถึง 1/100 วินาที ก็ยังมีโอกาสที่จะได้ภาพนักกีฬาที่คมชัดพร้อมกับภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวในส่วนแบ็คกราวด์

 

การหยุดการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงใช้ได้ผลในบางกรณี...

ภาพการแข่งขันจักรยานที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง

EOS 5D Mark II/ EF16-35mm f/2.8L USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/4, 1/3000 วินาที, EV±0)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ

 

...แต่ไม่เสมอไป

ภาพการแข่งขันจักรยานที่ถ่ายเสียเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง

EOS 5D Mark IV/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 115 มม./ Manual exposure (f/8, 1/800 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

สังเกตว่านักขับดูเหมือนเกือบจะหยุดนิ่ง นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบต่างๆ ในแบ็คกราวด์ที่ดึงความสนใจไปจากภาพ

 

การแพนกล้องช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวและขจัดความวุ่นวายในส่วนแบ็คกราวด์

ภาพการแข่งขันจักรยานที่ใช้เทคนิคการแพนกล้อง

EOS 5D Mark IV/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 150 มม./ Shutter-priority AE (f/6.3, 1/160 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพนี้เป็นภาพนักขับคนเดียวกันกับภาพก่อนหน้านี้ และใช้เทคนิคการแพนกล้องที่ 1/160 วินาที นักขับอยู่ในระยะโฟกัสมากขึ้นและดูเหมือนว่ากำลังแล่นไปด้วยความเร็ว

 

3. จัดเฟรมและวางองค์ประกอบภาพให้ดูน่าสนใจ

ในการถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมซึ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการแสดงบริบท ส่วนใหญ่เราต้องการแสดงให้ผู้ชมเห็นว่าการผาดโผนยากเพียงใด นักกีฬากระโดดได้สูงไหม เส้นทางยากและอันตรายหรือไม่ การแข่งขันทั้งหมดเกิดขึ้นที่ไหน

การที่จะทราบข้อมูลดังกล่าว ผู้ชมจำเป็นต้องเห็นจุดที่นักกีฬาออกตัว จุดสูงสุดของการเคลื่อนไหว แม้แต่บริเวณที่พวกเขาลงสู่พื้นดิน การจัดเฟรมและวางองค์ประกอบภาพจึงสำคัญอย่างมาก คุณต้องไม่ลดทอนความโดดเด่นของการเคลื่อนไหวโดยทำให้สิ่งกีดขวางต่างๆ ดูเล็กกว่าความเป็นจริง และต้องไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าภาพดูเป็นนามธรรมเกินกว่าจะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น

 

1. การแสดงสีหน้าท่าทางกับการแสดงบริบท

ภาพระยะใกล้ของนักกีฬาเวคบอร์ด

EOS-1D X/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 195 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/1000 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: Manual

บางครั้ง คุณอาจต้องการขยับเข้าใกล้เพื่อดึงความสนใจไปที่สีหน้าท่าทาง เช่น เมื่อนักกีฬากำลังเพ่งสมาธิหรือแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างมากดังเช่นในภาพนี้ อย่างไรก็ดี การจัดเฟรมภาพที่แน่นขนัดอาจทำให้คุณมองไม่เห็นจุดที่ออกตัว ลงสู่พื้นดิน หรือรู้สึกถึงสถานที่การแข่งขัน ทำให้สื่ออารมณ์ถึงการเคลื่อนไหวได้ไม่ดีเท่าที่ควร  

 

ภาพการเคลื่อนไหวของนักเวคบอร์ด

EOS-1D X/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/1000 วินาที, EV±0)/ ISO 1250/ WB: Manual

ภาพนี้ถ่ายนักกีฬาคนเดียวกันโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรอบข้าง ตอนนี้คุณจะเห็นจุดที่นักกีฬาออกตัวจนถึงจุดสูงสุดของการเคลื่อนไหว

วิธีที่ดีที่สุดที่คุณควรคำนึงถึงคือ กีฬาเอ็กซ์ตรีมต้องการมุมภาพแบบ "สุดขั้ว" ไม่ว่าจะเป็นมุมกว้างเพื่อเก็บบริบทของภาพ หรือถ่ายในระยะใกล้มากๆ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์

 

2. ความสำคัญของจังหวะเวลา

นักสเก็ตบอร์ดบนหลังคาตึก

EOS 5D Mark IV/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 135 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/2500 วินาที, EV±0)/ ISO 125/ WB: อัตโนมัติ

การจะได้ภาพที่ส่งผลทางอารมณ์มากที่สุด จังหวะเวลาคือสิ่งจำเป็น ลองเปรียบเทียบภาพนี้กับภาพด้านล่าง จะเห็นว่าระดับความสูงในภาพนี้ดูน้อยกว่า เนื่องจากไม่ได้เก็บภาพขณะนักกีฬาอยู่ในจุดสูงสุดของการเคลื่อนไหว

 

นักสเก็ตบอร์ดบนหลังคาตึก

EOS 5D Mark IV/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 135 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/2500 วินาที, EV±0)/ ISO 125/ WB: อัตโนมัติ

นักกีฬาถูกจัดเฟรมภาพอย่างสวยงามเข้ากับแบ็คกราวด์ขณะที่กระโดดขึ้นในจุดสูงสุดพอดี ลักษณะท่าทางและการครอปภาพทำให้เรามองเห็นสถานที่ที่เขาอยู่และจุดที่เขาจะเคลื่อนที่ไป

 

4. เตรียมตัวให้พร้อม

ท้ายที่สุดแล้ว การถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมต้องอาศัยการเตรียมความพร้อม ไม่ต่างจากการถ่ายภาพประเภทอื่นๆ เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีความเสี่ยงสูง การเคลื่อนไหวผาดโผนจึงทำได้เพียงไม่กี่ครั้งหากมีโอกาสที่จะทำซ้ำได้ คุณจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเก็บภาพในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ครั้งนั้นให้ได้

ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้เสมอ
- มีแรงบันดาลใจ: ไอเดียสร้างสรรค์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มองสิ่งที่ผู้คนกำลังทำและนึกถึงวิธีนำเสนอภาพนั้นสู่สายตาผู้ชมในสไตล์ของคุณเอง

ก่อนถ่ายภาพจริง:
- ทำความคุ้นเคยกับกีฬา วิธีหนึ่งที่ทำได้คือเข้าอินเทอร์เน็ตไปชมวิดีโอกีฬาที่คุณจะถ่ายภาพ
- ใช้เวลาสำรวจสถานที่ถ่ายภาพหากสามารถทำได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณวางแผนเรื่องมุมภาพและได้ไอเดียในการถ่ายภาพอีกด้วย
- สื่อสารกับนักกีฬา แสดงภาพถ่ายจากการสำรวจสถานที่ให้พวกเขาดูและพูดคุยถึงไอเดียของคุณ วิธีนี้ยังช่วยให้นักกีฬามั่นใจว่าคุณรู้สิ่งที่กำลังทำอยู่ และเชื่อมั่นว่าจะพวกเขาจะไม่เสี่ยงบาดเจ็บเพื่อภาพที่ถ่ายไม่ดี

 

เคล็ดลับพิเศษ: สื่อสารกับนักกีฬาตลอดเวลาและมองโลกในแง่ดีเข้าไว้

ช่างภาพและนักกีฬาขณะดูภาพถ่าย

EOS 5D Mark IV/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/1250 วินาที, EV±0)/ ISO 125/ WB: อัตโนมัติ

สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักกีฬา และแสดงภาพถ่ายให้พวกเขาดูเพื่อสื่อสารว่าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในส่วนใดบ้าง เมื่อนักกีฬาเห็นภาพสวยๆ แล้ว พวกเขาย่อมรู้สึกยินดีที่จะให้ถ่ายต่อไป

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา