เลือกกล้อง EOS R7 หรือ DSLR แบบ APS-C ระดับสูงดีกว่ากัน (ตอนที่ 2): ความสามารถหลัก
EOS R7 ได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็นรุ่นต่อยอดอย่างแท้จริงจาก EOS 7D Mark II ซึ่งเป็นกล้อง DSLR แบบ APS-C ระดับสูงของ Canon ที่ขึ้นชื่อในด้านความเร็วและประสิทธิภาพ กล้องสองรุ่นนี้แตกต่างกันอย่างไร แล้วคุณจะคาดหวังอะไรได้บ้างหากอัพเกรดจากกล้อง DSLR ที่ใช้อยู่ ในบทความสองตอนนี้ เราจะมาหาคำตอบว่าประสบการณ์การถ่ายภาพของคุณจะเปลี่ยนไปได้อย่างไร พร้อมทั้งเรียนรู้เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ด้วย
ในบทความตอนที่ 1 เราได้ดูการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ในด้านการจัดเรียงปุ่มและวงแหวนของกล้อง EOS R7 และศึกษาคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ของ EVF แล้ว ในตอนที่ 2 ผมจะขอเน้นเรื่องฟีเจอร์ประสิทธิภาพหลัก เช่น AF, ประสิทธิภาพในสภาวะแสงน้อย และความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)
AF: ประสิทธิภาพของ AF เพิ่มสูงขึ้น โหมดต่างๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น
EOS R7 ไม่เพียงแต่มีโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเท่านั้น แต่ยังมีตัวเลือก AF ที่เข้าใจได้ง่ายกว่าของ EOS DSLR อีกด้วย
โหมดพื้นที่ AF: คล้ายคลึงกัน แต่ใช้งานง่ายกว่า
EOS R7 | EOS 7D Mark II |
8 โหมด (ขณะถ่ายภาพผ่าน EVF และแบบ Live View) - AF จุดเล็ก - AF จุดเดียว - ขยายพื้นที่ AF: บน ล่าง ซ้าย ขวา - ขยายพื้นที่ AF: รอบๆ - Zone AF แบบยืดหยุ่น 1 - Zone AF แบบยืดหยุ่น 2 - Zone AF แบบยืดหยุ่น 3 - AF ทั่วพื้นที่ |
ขณะถ่ายภาพผ่าน OVF: 6 โหมด - AF แบบจุดเล็กจุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง) - AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง) - การขยายจุด AF (เลือกด้วยตนเอง: บน ล่าง ซ้าย ขวา) - การขยายจุด AF (เลือกด้วยตนเอง จุดที่อยู่รอบๆ) - Zone AF (เลือกโซนด้วยตนเอง) - Zone AF ขนาดใหญ่ (เลือกโซนด้วยตนเอง) - การเลือก AF อัตโนมัติ 65 จุด ขณะถ่ายภาพแบบ Live View: 3 โหมด - FlexiZone – หลายจุด - FlexiZone – จุดเดียว - AF ตรวจจับใบหน้า + ติดตาม |
กล้อง EOS DSLR มีระบบ AF สองระบบ ได้แก่
- ระบบ AF ในช่องมองภาพ: ทำงานขณะถ่ายภาพผ่าน OVF ใช้เซนเซอร์ AF แยกกัน
- ระบบ AF ใน Live View: ทำงานขณะถ่ายภาพแบบ Live View กล้อง DSLR รุ่นล่าสุดใช้ระบบ Dual Pixel CMOS AF ส่วนกล้อง DSLR รุ่นเก่าๆ บางรุ่นใช้ AF ตรวจจับความเปรียบต่าง
Dual Pixel CMOS AF คืออะไร มีข้อได้เปรียบอะไรบ้างที่เหนือกว่า AF ในช่องมองภาพและ AF ตรวจจับความเปรียบต่างทั่วๆ ไป ค้นหาคำตอบได้ที่:
รู้จักกับเทคโนโลยีของ Canon: Dual Pixel CMOS AF คืออะไร
เมื่อเทียบกันแล้ว EOS R7 มีระบบ AF เพียงระบบเดียวที่ทำงานทั้งขณะถ่ายภาพผ่าน EVF และถ่ายภาพแบบ Live View นั่นคือระบบ Dual Pixel CMOS AF ซึ่งหมายความว่า AF จะทำงานในลักษณะเดียวกันไม่ว่าคุณจะเลือกถ่ายภาพอย่างไร
โหมด AF จุดเล็ก, AF จุดเดียว, ขยายพื้นที่ AF และ AF ทั่วพื้นที่ของกล้อง EOS R7 มีความคล้ายคลึงกับโหมดพื้นที่ AF ต่างๆ ที่ใช้ได้ในกล้อง DSLR แบบ APS-C ขณะถ่ายภาพผ่าน OVF ดังนั้น ผู้ใช้ที่เปลี่ยนกล้องไปน่าจะรู้สึกคุ้นเคยอยู่แล้ว โหมด Zone AF แบบยืดหยุ่นช่วยให้คุณสามารถบันทึกขนาดพื้นที่ AF แบบกำหนดเองไว้ล่วงหน้าและเก็บไว้ใช้ในอนาคต จึงมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
เพียงใช้โหมด Zone AF แบบยืดหยุ่นต่างๆ คุณก็สามารถตั้งค่าพื้นที่ AF ให้เล็ก กว้าง หรือยาวได้ตามต้องการ
ส่วน/พื้นที่การตรวจจับ AF
EOS R7
กล้อง EOS DSLR แบบ APS-C (EOS 7D Mark II)
EOS R7 มีพื้นที่ AF ที่ใหญ่กว่าและครอบคลุมหนาแน่นกว่า เมื่อเทียบกับกล้อง DSLR EOS 7D Mark II มี AF 65 จุด ซึ่งถือว่ามีจุด AF มากที่สุดในบรรดากล้อง EOS DSLR สำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกรุ่น และเป็นรองเพียง EOS-1D X Mark III ระดับมืออาชีพที่มี AF 191 จุดเท่านั้น แต่จะครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่แสดงในภาพด้านบนเท่านั้น เมื่อเทียบกันแล้ว EOS R7 มีโซน AF 651 โซนที่ครอบคลุมพื้นที่ภาพทั้งหมด ซึ่งเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยีกล้องมิเรอร์เลส
ขณะถ่ายภาพผ่าน OVF ด้วยกล้อง DSLR นั้น การโฟกัสอัตโนมัติเกิดขึ้นจากเซนเซอร์ AF ที่อยู่ด้านล่างของกล้อง ซึ่งจะทำการตรวจจับตามแสงที่สะท้อนลงบนเซนเซอร์ดังกล่าวผ่านกระจกรอง ตามโครงสร้างแล้ว จะมีแสงเพียงบางส่วนที่ผ่านเข้ามาในกล้องและสามารถถึงเซนเซอร์เหล่านี้ได้ ดังนั้น โฟกัสอัตโนมัติจึงทำได้เฉพาะที่กึ่งกลางของเฟรมภาพซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีจุด AF อยู่
ในทางกลับกัน EOS R7 ใช้ระบบ Dual Pixel CMOS AF II แบบใช้เซนเซอร์ภาพ ซึ่งทุกพิกเซลบนเซนเซอร์ภาพสามารถตรวจจับระยะได้อีกด้วย ซึ่งไม่เพียงทำให้มีพื้นที่ครอบคลุม AF ที่หนาแน่นขึ้นตลอดพื้นที่ใหญ่ขึ้นของภาพ แต่ยังทำให้ได้ AF ที่แม่นยำขึ้นและรวดเร็วขึ้น แม้ว่าตัวแบบจะอยู่ตรงมุมของเฟรม
ข้อควรรู้: เลนส์ที่รองรับ
เลนส์ RF เกือบทุกรุ่นรองรับพื้นที่ครอบคลุม AF 100% ของกล้อง EOS R7 แต่ก็มีเลนส์ EF หลายรุ่นที่เข้ากันได้เช่นกัน!
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เลนส์ RF กับเลนส์ EF: แตกต่างกันอย่างไรและควรตัดสินใจเลือกอย่างไร
ตัวแบบที่ตรวจจับได้
EOS R7 | กล้อง EOS DSLR แบบ APS-C |
- มนุษย์ (ใบหน้า ดวงตา ศีรษะ ลำตัว) - สัตว์ (สุนัข แมว นก) - ยานพาหนะ (รถยนต์ รถจักรยานยนต์) |
- ใบหน้าบุคคล (ขณะถ่ายภาพแบบ Live View) - การตรวจจับดวงตามนุษย์* (ขณะถ่ายภาพแบบ Live View) |
*กล้องรุ่นเก่าๆ เช่น EOS 7D Mark II ไม่รองรับการตรวจจับดวงตา
EOS R7 จะทำงานร่วมกับระบบการจดจำและติดตามตัวแบบ EOS iTR AF X อย่างใกล้ชิด ซึ่งใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อระบุตัวแบบต่างๆ (มนุษย์ สุนัข แมว นก และยานพาหนะ) ซึ่งสามารถทำเช่นนี้ได้แม้ว่าจะมองเห็นเพียงบางส่วนของตัวแบบเท่านั้น จึงช่วยเพิ่มความเร็ว ความแม่นยำ และความต่อเนื่องของ AF และการติดตามตัวแบบได้เป็นอย่างมาก!
เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าขึ้นมาก กล่าวคือ กล้อง EOS DSLR ส่วนใหญ่ทำได้ดีที่สุดก็เพียงการตรวจจับใบหน้าและดวงตา และทำได้ขณะถ่ายภาพแบบ Live View เท่านั้น
EOS R7/ RF600mm f/4L IS USM/ Aperture-priority AE (f/4.5, 1/4000 วินาที, EV +0.7)/ ISO 640
แต่สำหรับกล้อง EOS R7 คุณสามารถคาดหวังอัตราความสำเร็จที่ดีกว่า แม้แต่ในเวลาถ่ายภาพนกขนาดเล็กที่มีความว่องไว เพราะมีอัลกอริธึมการตรวจจับและติดตามตัวแบบด้วยการเรียนรู้เชิงลึก
ระยะการทำงานของโฟกัสอัตโนมัติ
ระยะนี้จะเป็นตัวระบุสภาวะแสงที่มืดที่สุดและสว่างที่สุดที่ระบบ AF สามารถทำงานได้
EOS R7 | EOS 7D Mark II |
EV -5 ถึง 20 | การถ่ายภาพผ่าน OVF: EV -3 ถึง 18 Live View: EV 0 ถึง 20 |
ขีดจำกัด AF ในสภาวะแสงน้อยที่ EV -5 ของ EOS R7 น่าจะทำให้คุณมั่นใจได้เวลาถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย อีกทั้งยังช่วยให้จับโฟกัสอัตโนมัติได้แม้ใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดที่ f/22
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: ขีดจำกัดของ AF ในสภาวะแสงน้อยส่งผลต่อภาพอย่างไร
โหมดขับเคลื่อน AF
EOS R7 | กล้อง EOS DSLR แบบ APS-C |
One Shot AF Servo AF |
One Shot AF AI Focus AF AI Servo AF |
การปรับปรุงโหมดขับเคลื่อน AF ช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่าควรใช้ One Shot AF และ Servo AF เมื่อใด!
ลักษณะของ Servo AF
EOS R7 | EOS 7D Mark II |
Case 1 ถึง 4, อัตโนมัติ | Case 1 ถึง 6 (ไม่มีในกล้อง EOS XXD รุ่นใหม่) |
เช่นเดียวกับโหมดขับเคลื่อน จำนวนโหมดลักษณะของ Servo AF (“Cases”) ได้รับการปรับปรุงในกล้อง EOS R7 โหมด ‘อัตโนมัติ’ ค่อนข้างแม่นยำและน่าจะเพียงพอในสถานการณ์ปกติ!
เทคนิคการใช้งานแบบมืออาชีพ: ใช้เมนู Quick Control เพื่อตั้งค่า AF
ในตอนที่ 1 เราได้กล่าวไปแล้วว่า EVF ของกล้องมิเรอร์เลสอย่าง EOS R7 นั้นช่วยให้คุณกำหนดค่าและเปลี่ยนการตั้งค่าได้โดยไม่ต้องละสายตาจากช่องมองภาพ หลักการเดียวกันนี้ใช้กับการตั้งค่า AF เช่นกัน
กดปุ่ม “Q” เพื่อแสดงเมนู Quick Control เมนูนี้จะแสดงซ้อนขึ้นมาแบบในภาพด้านบน ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่ากล้องที่สำคัญๆ ได้หลายอย่าง
ต่อไปนี้คือวิธีการเข้าไปที่เมนูนี้โดยไม่ต้องละสายตาออกจากช่องมองภาพ:
- วงแหวน Quick Control: หมุนเพื่อเลื่อนดูรายการทางด้านซ้ายและขวาของหน้าจอ
- วงแหวนควบคุมหลัก (อยู่ด้านบนของกล้อง ถัดจากปุ่ม M.Fn): หมุนเพื่อเลื่อนดูตัวเลือกต่างๆ ที่ด้านล่างของหน้าจอ
คุณยังสามารถใช้ปุ่ม 4 ทิศทางได้หากต้องการ แต่วงแหวนจะทำงานได้เร็วกว่า
ยกระดับไปอีกขั้น: ปรับแต่งรายการเมนู Quick Control!
หากต้องการเข้าถึงการตั้งค่าที่คุณใช้บ่อยที่สุดได้เร็วยิ่งขึ้น คุณสามารถปรับแต่ง Quick Controls ที่จะแสดงขึ้นมา เพียงไปที่เมนู SHOOT8 และเลือก “ปรับแต่ง Quick Controls” ผมขอแนะนำให้จัดเรียงการตั้งค่า AF ที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อยเหล่านี้ให้อยู่ข้างๆ กัน:
- ระบบขับเคลื่อน AF
- พื้นที่ AF
- โหมดขับเคลื่อน
เพื่อให้เข้าถึงการตั้งค่า AF ที่ใช้บ่อยได้รวดเร็วกว่าเดิม คุณสามารถกำหนดไว้ที่ปุ่ม M.Fn ได้
คุณรู้หรือไม่ว่าอินเทอร์เฟซ AF ของ EOS R7 สืบทอดมาจากกล้องระดับมืออาชีพอย่าง EOS R3 แม้ว่า EOS R7 จะไม่มี Eye Control AF ที่ล้ำสมัยแบบ EOS R3 แต่โหมดพื้นที่ AF และการติดตาม/ตรวจจับตัวแบบก็ทำงานคล้ายกัน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ใน:
เผยโฉมคุณสมบัติ AF ของกล้อง EOS R3
การถ่ายภาพต่อเนื่องและความเร็วชัตเตอร์สูงสุด
ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องและความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเป็นพิเศษ
ต่อไปนี้คือการเปรียบเทียบข้อมูลจำเพาะด้านความเร็วชัตเตอร์และการถ่ายภาพต่อเนื่องของกล้อง EOS R7 กับ EOS 7D Mark II และ EOS 90D:
EOS R7 | EOS 7D Mark II/90D |
|
|
1/8,000 วินาที (ชัตเตอร์กล) 1/16,000 วินาที (ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์) |
1/8,000 วินาที (ชัตเตอร์กล) กล้อง EOS 90D เท่านั้น: 1/16,000 วินาที (ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์) |
|
|
15 fps (ชัตเตอร์กล) 30 fps (ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์) |
10 fps กล้อง EOS 90D เท่านั้น: สูงสุด 11 fps ใน Live View (One Shot AF) |
(RAW + JPEG-Large) |
|
ประมาณ 46 ภาพ | กล้อง EOS 7D Mark II: ประมาณ 18 ภาพ กล้อง EOS 90D: ประมาณ 26 ภาพ |
|
|
500 (EVF) 770 (หน้าจอ LCD ด้านหลัง) |
กล้อง EOS 7D Mark II: 670 (OVF) 250 (หน้าจอ LCD ด้านหลัง) กล้อง EOS 90D: 1300 (OVF) 450 (หน้าจอ LCD ด้านหลัง) |
การถ่ายภาพต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและภาพถ่ายความละเอียดสูง
จากข้อมูลในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 สำหรับกล้องในระบบ EOS R ถือว่า EOS R7 มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยชัตเตอร์กล นั่นคือ สูงสุดถึง 15 fps และยังสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้สูงสุดถึง 30 fps เมื่อใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขณะถ่ายภาพความละเอียดสูง 32.5 ล้านพิกเซล ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะฟังก์ชันการติดตาม AF/AE ซึ่งจะติดตามตัวแบบที่เคลื่อนที่และปรับระดับแสงให้เหมาะสมกับระดับแสงที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
EOS R7 มีโหมดชัตเตอร์ให้ใช้งานถึงสามโหมด ในขณะที่ EOS 7D Mark II รองรับเพียงชัตเตอร์กลเท่านั้น
EOS R7/ RF600mm f/4L IS USM/ Manual exposure (f/8, 1/2000 วินาที)/ ISO 400
หากพบเห็นภาพน่าตื่นตาตื่นใจบนท้องฟ้า ลองเพิ่มโอกาสในการจับภาพช่วงเวลาสำคัญด้วยความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่สูงขึ้นอีก
ประโยชน์ของชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานด้วยการเลือกเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการอ่านข้อมูลจากพิกเซลบนเซนเซอร์ภาพ จึงไม่มีม่านชัตเตอร์กลเข้ามาเกี่ยวข้องเลย และมีประโยชน์สามประการดังนี้
- การถ่ายภาพแบบเงียบโดยไม่มีเสียงชัตเตอร์กล
- ลดปัญหากล้องสั่นซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อม่านชัตเตอร์กลเปิดและปิด
- ได้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าที่เคยเป็นมาก โดยที่ชัตเตอร์กลมีความเร็วสูงสุดถึง 1/16,000 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์ที่เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการหยุดการเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างโบเก้ในสภาวะที่มีแสงจ้าได้อีกด้วย
เทคนิคการใช้งานแบบมืออาชีพ: ควรใช้โหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อใด
แม้ว่าโหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์จะมีประโยชน์ แต่ก็มีข้อเสียประการหนึ่งคือ มีความเสี่ยงที่จะเกิดความบิดเบี้ยวจาก Rolling Shutter เนื่องจากสัญญาณจากพิกเซลบนเซนเซอร์ภาพจะถูกอ่านทีละแถวในระหว่างเปิดรับแสง การอ่านสัญญาณจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ตัวแบบที่เคลื่อนที่ไวในระหว่างกระบวนการนี้อาจดูบิดเบี้ยวเนื่องจากการหน่วงเวลา ควรใช้โหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม
สามารถใช้โหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้เมื่อ…:
- ตัวแบบเคลื่อนที่ช้าหรืออยู่นิ่งกับที่
- ตัวแบบกินพื้นที่เพียงส่วนเล็กๆ ของเฟรม
- ตัวแบบกำลังเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกไปจากคุณ
- คุณถ่ายภาพมุมกว้างด้วยเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริง
- คุณไม่ต้องการให้รูปร่างของตัวแบบแสดงออกมาอย่างสมจริง
ปัญหา Rolling Shutter ในภาพนี้ไม่ชัดเจนเนื่องจากรถไฟเคลื่อนที่จากด้านหลังของภาพมายังด้านหน้า
โหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เหมาะที่จะใช้เมื่อใด:
- เมื่อตัวแบบเคลื่อนที่หรือหมุนอย่างรวดเร็วมาก
- เมื่อตัวแบบกินพื้นที่ส่วนมากในเฟรม
- เมื่อตัวแบบเคลื่อนที่ในแนวนอนข้ามเฟรม
- เมื่อคุณถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ ซึ่งเห็นการบิดเบี้ยวของเปอร์สเปคทีฟได้ไม่ชัด
- เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแหล่งกำเนิดแสงที่สั่นไหว
ความบิดเบี้ยวจาก Rolling shutter หรือ “Jelly-Effect” มองเห็นได้ในภาพนี้ ซึ่งมีสภาวะที่ไม่เหมาะสมสามประการ สำหรับการถ่ายภาพด้วยโหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 1. ตัวแบบที่เคลื่อนที่เร็วที่ 2. กินพื้นที่ส่วนมากในเฟรม อีกทั้งยัง 3. เคลื่อนที่ในแนวนอนข้ามเฟรม
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโหมดชัตเตอร์ต่างๆ ได้ที่:
โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด
คุณภาพของภาพความไวแสง ISO สูง
การเพิ่มจำนวนพิกเซลบนเซนเซอร์ภาพโดยปกติจะลดระยะห่างระหว่างพิกเซล ซึ่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพความไวแสง ISO สูง แต่ภาพความไวแสง ISO สูงของกล้อง EOS R7 นั้นยังคงดูค่อนข้างสะอาดตา ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับเทคโนโลยีการลดจุดรบกวนของระบบประมวลผลภาพ DIGIC X
ดังที่เห็นในภาพด้านล่าง แม้ว่า EOS R7 และ EOS 7D Mark II จะมีระดับจุดรบกวนใกล้เคียงกันเมื่อใช้ ISO 3200 แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างอยู่มากในแง่ของรายละเอียดที่แสดงออกมา อันที่จริงแล้ว EOS R7 จะรักษารายละเอียดไว้ได้ดีจนถึง ISO 12,800
EOS R7 | EOS 7D Mark II | |
ISO 3200 | ||
ISO 6400 | ||
ISO 12,800 | ||
ISO 25,600 |
คุณสมบัติอื่นๆ ที่ควรพิจารณา
ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวกล้อง (IS ในตัวกล้อง) ของ EOS R7
คุณสมบัตินี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันภาพสั่นไหวของเลนส์ RF ที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในเลนส์เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงถึง 8 สต็อป (ขึ้นอยู่กับรุ่นของเลนส์) อีกทั้งยังมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว 5 แกนแบบ Sensor-shift สำหรับเลนส์ EF และ RF ที่ไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว จึงเพิ่มความเป็นไปได้ในการถ่ายภาพด้วยเลนส์ต่างๆ เช่น เลนส์ Nifty Fifty ยอดนิยม (เลนส์ 50mm f/1.8)!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ IS ในตัวกล้อง
วิดีโอ
กล้อง EOS R7 มีคุณสมบัติการบันทึกวิดีโอระดับมืออาชีพ คุณจึงมั่นใจได้เสมอหากตัดสินใจ (หรือกำลังคิด) ว่าจะจริงจังกับการผลิตวิดีโอมากขึ้น
EOS R7 | EOS 7D Mark II | EOS 90D |
|
||
4K UHD 60p (4K UHD Fine จากการทำ Oversampling แบบ 7K สูงสุดถึง 30p) (3840 × 2160) |
Full HD 60p (1920 × 1080) |
4K UHD 30p (3840 × 2160) |
|
||
Full HD 120/100p | ไม่ได้ | Full HD 120/100p |
|
||
ได้ |
|
|
|
||
MP4 | MOV, MP4 | MP4 |
|
||
สเตอริโอ | ช่องเดียว | สเตอริโอ |
|
||
ช่องต่อ IN สำหรับไมโครโฟนเสริม: มินิแจ็คแบบสเตอริโอ 3.5 มม. ฐานเสียบมัลติฟังก์ชั่น: ใช้ได้กับไมโครโฟน Directional Stereo Microphone DM-E1D |
|
|
|
||
6 ชั่วโมง |
|
สื่อบันทึก (ช่องใส่การ์ด)
EOS R7 | EOS 7D Mark II | กล้องซีรีย์ EOS XXD |
การ์ด SD 2 อัน | การ์ด SD 1 อัน การ์ด CF 1 อัน |
ช่องใส่การ์ด SD แบบเดี่ยว |
แบตเตอรี่
EOS R7 | EOS 7D Mark II/EOS 90D/ EOS 80D |
LP-E6NH รองรับ LP-E6N และ LP-E6 ด้วย |
LP-E6N รองรับ LP-E6 ด้วย |
กล้อง EOS R7 ยังรองรับการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยสาย USB และการจ่ายไฟผ่าน USB Power Adapter PD-E1 หรือสาย USB Type-C ที่สามารถใช้ร่วมกับ PD ได้
สรุป
กล้อง EOS R7 สร้างมาเพื่อความเร็ว ด้วยเทคโนโลยีมิเรอร์เลส ประสิทธิภาพของการติดตามและ AF ขั้นสูง ความสามารถยอดเยี่ยมในการประมวลผลภาพ และมีความเร็วสูง จึงทำให้มีข้อได้เปรียบมากมายที่เหนือกว่ากล้อง EOS 7D Mark II ที่มีอายุเกือบสิบปี รวมถึงกล้องรุ่นใหม่อย่าง EOS 90D ด้วย บางทีอาจถึงเวลาที่คุณควรเปลี่ยนกล้องใหม่ได้แล้ว!
แต่หากกำลังคิดจะอัพเกรดเป็นกล้องแบบฟูลเฟรมแทน ลองศึกษาข้อดีข้อเสียได้ใน:
กล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C: ควรเลือกรุ่นไหนดี
ยังมีข้อมูลอีกมากมายเกี่ยวกับกล้อง EOS R7 ที่เรากล่าวถึงได้ไม่หมด อ่านเพิ่มเติมได้ใน:
EOS R7: กล้อง EOS APS-C ความละเอียดสูงสุดและเร็วที่สุดจาก Canon
แต่ถ้าคุณเป็นเจ้าของ EOS R7 อยู่แล้ว กล้องรุ่นนี้มีฟังก์ชั่นหลายอย่างที่เหมือนกับกล้องแบบฟูลเฟรมรุ่นใกล้เคียง อย่าง EOS R5 และ EOS R6 ลองอ่านบทความต่อไปนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าและการกำหนดค่าที่สามารถทำให้การถ่ายภาพของคุณสะดวกสบายยิ่งขึ้น!
5 การตั้งค่าพื้นฐานของกล้อง EOS R5/ EOS R6 ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการตั้งแต่ต้น
การตั้งค่ากล้อง 7 แบบที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ราบรื่นขึ้นแต่มักถูกมองข้าม
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย