ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part2

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์

2018-08-16
22
73.88 k
ในบทความนี้:
คุณเคยมองภาพถ่ายชิ้นเอกแล้วนึกสงสัยว่าช่างภาพใช้วิธีอะไรถ่ายภาพนั้นหรือไม่ ความลับที่ไม่ลับสักทีเดียวนักก็คือ เลนส์นั่นเอง วิธีที่คุณเลือกและใช้งานเลนส์สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างภาพธรรมดากับผลงานที่น่าสนใจ ดังนั้น ขั้นตอนแรกคือรู้จักตัวเลือกของคุณ ต่อไปนี้เป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเลนส์ประเภทต่างๆ และประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

 

 

เลนส์ต่างประเภทกันช่วยให้คุณมองเห็นฉากเดียวกันในมุมมองที่ต่างออกไป

แม้คุณสมบัติและสเปคที่คุณพบในตัวกล้อง DSLR และมิเรอร์เลสช่วยให้ได้ภาพถ่ายอันน่าทึ่ง แต่หากพูดถึงการสร้างสรรค์ภาพถ่าย กุญแจสำคัญก็คือเลนส์

เลนส์แต่ละแบบมีคุณสมบัติพิเศษในตัวที่ให้คุณสามารถใช้ประโยชน์สำหรับฉากและสถานการณ์การถ่ายภาพที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่สุดลูกลูกตาที่ชวนให้อ้าปากค้าง ภาพกุหลาบในระยะใกล้ที่ดูลึกลับ การเคลื่อนไหวและพลังของกีฬาแข่งรถ และอีกมากมาย เลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้ก็ช่วยให้คุณถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้อย่างหลากหลายในแบบที่สมาร์ทโฟนไม่อาจทำได้

เรามาดูสักสองสามตัวอย่างด้านล่างนี้กัน

 

เลนส์มุมกว้าง

ภาพทิวทัศน์มุมกว้าง

EOS 5D Mark III/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 11 มม./ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/500 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ถ่ายด้วย: เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

เลนส์มุมกว้างถ่ายระยะชัดลึกได้กว้างกว่าที่ตาของคนเรามองเห็น  ด้วยเหตุนี้ เราจึงมักใช้เลนส์ชนิดนี้ถ่ายภาพทิวทัศน์ที่กว้างใหญ่

เลนส์ที่ถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างคือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสไม่เกิน 35 มม. หากทางยาวโฟกัสไม่เกิน 24 มม. จะถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ 

เลนส์มุมกว้างยังให้มุมมองเปอร์สเป็คทีฟเกินจริง เช่น สามารถทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ดูมีขนาดใหญ่ขึ้นและใกล้ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลดูมีขนาดเล็กลงและอยู่ห่างมากขึ้น จึงนิยมใช้คุณลักษณะนี้ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมเพื่อทำให้อาคารดูน่าสนใจมากขึ้น

ด้วยจุดแข็งในการถ่ายภาพทิวทัศน์และสถาปัตยกรรมดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้เอง เลนส์มุมกว้าง (รวมถึงมุมกว้างอัลตร้าไวด์) จึงเหมาะมากสำหรับพกติดตัวไปด้วยขณะเดินทาง

 

เลนส์มาโคร

ภาพกุหลาบแบบมาโคร

EOS 800D/EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE(f/9, 0.5 วินาที, EV-1.7)/ ISO 400/ WB: Manual
ประเภทของเลนส์: มาโคร

เลนส์มาโครเหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายภาพต้นไม้ แมลง อาหาร ของตกแต่งชิ้นเล็กและเครื่องประดับ รวมถึงตัวแบบอื่นที่มีขนาดเล็ก

เนื่องจากมี

- ระยะโฟกัสใกล้มาก หมายความว่าคุณสามารถถ่ายภาพตัวแบบโดยวางเลนส์ไว้ใกล้ตัวแบบมากๆ ได้
- อัตราขยายภาพอย่างน้อย 1:1 หมายความว่าคุณจะยังคงได้ภาพระยะใกล้ขนาดเท่าจริงโดยที่ตัวแบบยังคงเต็มเฟรม 

เลนส์มาโครมีระยะชัดลึกที่ตื้นมาก หมายความว่าตัวแบบที่ใกล้กับกล้องมากๆ จะดูคมชัดและอยู่ในระยะโฟกัส ส่วนบริเวณรอบๆ จะอยู่นอกโฟกัสและเบลอโดยมี "โบเก้" ที่งดงามและเสริมให้ตัวแบบดูโดดเด่น

อันที่จริง ความสามารถในการสร้างโบเก้ที่สวยงามในส่วนแบ็คกราวด์ทำให้เรานิยมใช้เลนส์มาโครในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตด้วยเช่นกัน 

 

เลนส์เทเลโฟโต้

ภาพการแข่งขันจักรยานที่ถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้

EOS-1D X/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/14, 1/60 วินาที, EV±0)/ ISO 50/ WB: อัตโนมัติ
ประเภทของเลนส์: เทเลโฟโต้

เลนส์เทเลโฟโต้ช่วย "ดึง" ตัวแบบที่อยู่ไกลให้เข้ามาใกล้ขึ้น และทำให้ตัวแบบดูมีขนาดใหญ่และใกล้ขึ้นกว่าความเป็นจริง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพสัตว์ป่า กีฬา รถยนต์ และการแข่งขันจักรยาน รวมถึงตัวแบบอื่นๆ ที่ถ่ายในระยะใกล้ได้ยาก

เลนส์เทเลโฟโต้ยังขึ้นชื่อในเรื่องเอฟเฟ็กต์การบีบภาพที่ทำให้ตัวแบบดูใกล้กันมากขึ้น 

เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์มาตรฐาน (ปกติ) เลนส์เทเลโฟโต้สามารถถ่ายภาพให้มีแบ็คกราวด์เบลอมากๆได้ เนื่องมาจากเหตุผลสองประการคือ 
1) ระยะชัดลึกที่ตื้นขึ้น
2) วัตถุนอกโฟกัสที่อยู่ห่างไกลถูก "ดึง" ให้เข้ามาใกล้และขยายใหญ่ขึ้นจนส่วนที่เบลอดูมีขนาดใหญ่ขึ้น
 คุณจึงสามารถใช้คุณลักษณะเฉพาะนี้เบลอองค์ประกอบในแบ็คกราวด์ที่ดึงความสนใจไปจากภาพและนำความสนใจของผู้ชมไปสู่ตัวแบบของคุณ 

คุณสมบัติพิเศษประการที่สี่ของเลนส์เทเลโฟโต้คือ ทำให้ภาพบิดเบี้ยวน้อยลงเมื่อเทียบกับเลนส์ประเภทอื่นอย่างเลนส์มุมกว้าง จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

เลนส์เทเลโฟโต้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่
- เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้: เลนส์เดี่ยวที่มีทางยาวโฟกัสอย่างน้อย 135 มม.
- เลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้: เลนส์เดี่ยวที่มีทางยาวโฟกัสอย่างน้อย 300 มม.
- เลนส์ซูมเทเลโฟโต้: เลนส์ซูมที่มีระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้อย่างน้อย 200 มม.

 

วิธีจัดประเภทเลนส์

1. ขึ้นอยู่กับว่าสามารถถ่ายฉากได้มากน้อยเพียงใด

1) มุมรับภาพ (หรือที่เรียกกันว่า "ระยะชัดลึก")
ซึ่งหมายถึงความกว้างหรือแคบของฉากทั้งฉากที่เลนส์สามารถถ่ายได้ (= "มุมรับภาพ" หรือ "ระยะชัดลึก") มุมรับภาพที่เลนส์สามารถถ่ายได้จะระบุอยู่ในทางยาวโฟกัสของเลนส์

ตัวอย่าง:
- เลนส์มุมกว้าง (ไม่เกิน 35 มม.)
- เลนส์มาตรฐาน (ระหว่าง 35 มม. ถึง 135 มม.)
- เลนส์เทเลโฟโต้ (มากกว่า 135 มม.)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (ข) เลนส์มุมกว้างเปรียบเทียบกับเลนส์มาตรฐานกับเลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์มาโคร

 

2) ทางยาวโฟกัสคงที่หรือสามารถปรับได้
เลนส์ซูมครอบคลุมทางยาวโฟกัสที่หลากหลาย
เลนส์เดี่ยวมีทางยาวโฟกัสคงที่เพียงระยะเดียว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (ก) เลนส์เดี่ยวเปรียบเทียบกับเลนส์ซูม

 

จากเนื้อหาข้างต้น คุณได้ทราบคำอธิบาย เช่น "เลนส์ซูมมุมกว้าง" หรือ "เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้" กันไปแล้ว

 

2. ประเภทกล้องที่เหมาะกับเลนส์

ผู้ผลิตกล้องผลิตเลนส์เพื่อใช้กับบอดี้กล้องและเซนเซอร์ภาพขนาดต่างๆ ตัวอย่างเช่น เลนส์ EF-S ทำขึ้นสำหรับกล้อง DSLR ที่มีเซนเซอร์ภาพขนาด APS-C เช่น กล้อง EOS 800D

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (ค) เลนส์ EF เปรียบเทียบกับ EF-S และ EF-M

 

การจัดประเภทเช่นนี้จะนำมาใช้งานได้อย่างไร

การทำความเข้าใจคุณสมบัติเฉพาะที่มีร่วมกันของเลนส์แต่ละประเภทจะช่วยให้คุณเลือกเลนส์ที่เหมาะกับความต้องการของคุณได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณจะออกเดินทางท่องเที่ยวและต้องการเลนส์ที่สามารถใช้งานร่วมกับกล้อง EOS 800D เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามในสถานที่ที่คุณจะไป

เลนส์ที่เหมาะสำหรับความต้องการของคุณอาจเป็นเลนส์ทั้งหมดดังต่อไปนี้
- เลนส์ EF-S เนื่องจากกล้อง EOS 800D มีเซนเซอร์ APS-C
- เลนส์ซูม เนื่องจากครอบคลุมทางยาวโฟกัสเท่ากับเลนส์เดี่ยวสองถึงสามรุ่น คุณจึงสามารถเดินทางพร้อมสัมภาระน้อยลง
- เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ ซึ่งให้มุมรับภาพที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติอันกว้างใหญ่ไพศาล 

เมื่อพิจารณาเลนส์ทั้งหมดข้างต้นนี้แล้ว คุณอาจเลือกใช้ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ข้างต้นทั้งหมดก็ได้ 

 

การเปรียบเทียบเลนส์ประเภทต่างๆ

(ก) เลนส์เดี่ยวเปรียบเทียบกับเลนส์ซูม

- เลนส์ซูมให้คุณสามารถปรับมุมรับภาพ (ทางยาวโฟกัส) ภายในขอบเขตที่จำกัด
- เลนส์เดี่ยวมีมุมรับภาพคงที่

เลนส์ซูมใช้งานสะดวกอย่างยิ่ง เนื่องจากคุณอาจต้องการเลนส์เพียงตัวเดียวที่ครอบคลุมทางยาวโฟกัสทั้งหมด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเลนส์คิทส่วนใหญ่จึงเป็นเลนส์ซูม

อย่างไรก็ตามเลนส์เดี่ยวมักมีประสิทธิภาพด้านออพติคอลที่ดีกว่า รวมถึงมีค่ารูรับแสงกว้างสุดที่กว้างกว่า ("สว่างกว่า") จึงให้ภาพถ่ายอันน่าทึ่งพร้อมโบเก้ที่นุ่มนวลสวยงาม เมื่อคุณคุ้นเคยกับการถ่ายภาพมากขึ้น บางทีคุณอาจพบว่าเลนส์เดี่ยวช่วยให้คุณขยายขอบเขตการสร้างสรรค์ได้หลากหลายแบบ

 

EF50mm f/1.8 STM
เลนส์เดี่ยว
EF-S18-55mm f/4-5.6 IS STM
เลนส์ซูม

 

(ข) เลนส์มุมกว้างเปรียบเทียบกับเลนส์มาตรฐานกับเลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์มาโคร

เลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน เลนส์เทเลโฟโต้แตกต่างกันที่ทางยาวโฟกัส โดยจะระบุเป็น "XXmm" อยู่ในชื่อของเลนส์

เราสามารถกำหนดลักษณะทั่วไปของเลนส์ EF ของ Canon เป็นประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้

- มุมกว้าง: ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม (ฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) ที่ไม่เกิน 35 มม.
- เทเลโฟโต้:  ทางยาวโฟกัสอย่างน้อย 135 มม. หรือ
- มาตรฐาน (="ปกติ"):  ทางยาวโฟกัสระหว่าง 35 มม. และ 135 มม. (แม้ว่าเลนส์จะอยู่ระหว่าง 70 มม. ถึงต่ำกว่า 135 มม. ก็อาจเรียกว่า เลนส์ "เทเลโฟโต้ระยะกลาง" ได้เช่นกัน)

เลนส์แต่ละประเภทอาจมีประเภทย่อยอีก เช่น เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ (ไม่เกิน 24 มม.) และเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ (เกิน 400 มม.)

 

เลนส์มาโคร ซึ่งสามารถขยายวัตถุให้มีขนาดใหญ่มักมีคำว่า "Macro" อยู่ในชื่อหลังส่วนที่ระบุทางยาวโฟกัสของเลนส์ อย่างไรก็ดี เลนส์บางประเภทที่ไม่มีคำว่า "Macro" ในชื่อเลนส์ เช่น EF24-70mm f/4L IS USM จะมาพร้อมโหมดมาโครที่ให้คุณสามารถโฟกัสที่ระยะใกล้มากๆ ได้เช่นกัน  

 

EF11-24mm f/4L USM
เลนส์ซูมมุมกว้าง
EF-S18-55mm f/4-5.6 IS STM
เลนส์ซูมมาตรฐาน

 

EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้
EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM
เลนส์มาโคร

 

(ค) เลนส์ EF เปรียบเทียบกับ EF-S และ EF-M

เลนส์เหล่านี้ผลิตขึ้นสำหรับบอดี้กล้อง Canon ประเภทต่างๆ โดยทั่วไปคือ

- เลนส์ EF ผลิตขึ้นสำหรับตัวกล้อง DSLR แบบฟูลเฟรม
- เลนส์ EF-S ผลิตขึ้นสำหรับกล้อง DSLR ที่มีเซนเซอร์ APS-C และ
- เลนส์ EF-M ผลิตขึ้นสำหรับกล้องมิเรอร์เลส

อย่างไรก็ดี การใช้งานไม่ได้จำกัดเพียงเท่านี้ เนื่องจากเลนส์ EF ยังสามารถใช้กับกล้อง APS-C และคุณยังสามารถใช้เลนส์ EF และ EF-S กับกล้องมิเรอร์เลสโดยใช้เมาท์อะแดปเตอร์ได้อีกด้วย


* ใช้อะแดปเตอร์

โปรดทราบ: คุณสมบัติการครอป

หากคุณตัดสินใจต่อเลนส์ EF เข้ากับกล้อง DSLR ขนาด APS-C หรือกล้องมิเรอร์เลส ภาพถ่ายที่ได้จะดูเหมือนคุณใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่าความเป็นจริง ซึ่งลักษณะดังกล่าวเราเรียกว่าคุณสมบัติการครอปของเซนเซอร์ APS-C และคุณจะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัตินี้ในการจัดองค์ประกอบภาพของคุณ

ในอุปกรณ์ Canon คุณสมบัติการครอปของเซนเซอร์ APS-C อยู่ที่ 1.6 เท่า ซึ่งหมายความว่าหากคุณถ่ายภาพด้วยเลนส์ 50 มม. ในกล้องขนาด APS-C หรือกล้องมิเรอร์เลส ภาพที่จะได้จะมีทางยาวโฟกัสเท่ากับภาพที่ถ่ายที่ 80 มม. (50 มม. x 1.6 เท่า) ในกล้องฟูลเฟรม

 

ฉันควรพิจารณาอะไรบ้างเมื่อเลือกซื้อเลนส์

Canon มีผลิตภัณฑ์เลนส์ EF ให้เลือกมากกว่า 90 รุ่น ซึ่งทำให้ผู้ใช้มีตัวเลือกมากมาย แล้วคุณจะมีวิธีเลือกเลนส์ที่เหมาะกับความต้องการมากที่สุดอย่างไร

1. พิจารณาข้อดีและข้อเสียของเลนส์แต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น เลนส์ซูมเทเลโฟโต้สามารถเก็บภาพระยะใกล้ของวัตถุที่อยู่ห่างออกไปได้ แต่มักมีขนาดใหญ่และหนักกว่าเลนส์มาตรฐาน ในขณะที่เลนส์มาโครให้มุมมองเปอร์สเป็คทีฟที่โดดเด่น แต่มีความไวต่อการสั่นไหวของกล้องมาก ซึ่งหมายความว่าคุณอาจจะต้องใช้ขาตั้งกล้อง 

 

EOS 1500D
EOS 1500D

กล้องที่ใช้เลนส์ซูมมาตรฐาน (ซ้าย) และเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ (ขวา) ในภาพนี้ บอดี้กล้องทั้งสองตัวเหมือนกัน แต่เลนส์ที่แตกต่างกันทำให้น้ำหนักโดยรวมและความรู้สึกเมื่อถือกล้องไว้ในมือเปลี่ยนไป 

 

2. พิจารณากล้องของคุณ รูปแบบการถ่ายภาพ และประเภทของภาพที่คุณต้องการถ่าย ภาพถ่ายส่วนใหญ่ใน SNAPSHOT จะระบุชื่อเลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพในข้อมูลการถ่ายภาพ หากคุณพบภาพที่คุณชื่นชอบจริงๆ ควรศึกษาเลนส์ที่ใช้แม้ว่ารุ่นของเลนส์อาจไม่เหมาะกับความต้องการของคุณ เพราะนั่นอาจช่วยให้คุณลดตัวเลือกให้เหลือรุ่นที่คล้ายคลึงกันได้

หากคุณเห็นภาพที่คุณชื่นชอบ ให้ดูชื่อเลนส์ในข้อมูลการถ่ายภาพ

 

สรุป

ท้ายที่สุดแล้ว เลนส์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณคือ เลนส์ที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้อย่างที่จินตนาการไว้ ซึ่งการค้นหาเลนส์ที่ใช่ คุณต้องทราบความต้องการและรู้ว่าเลนส์แบบไหนเหมาะกับภาพถ่ายของคุณ ส่วนแรกคือกระบวนการเรียนรู้ การสำรวจและค้นพบตัวเองอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาตัวเองต่อไปในฐานะช่างภาพ ส่วนที่สองเกี่ยวกับการรู้ัจักตัวเลือกของคุณ

ในบทความ SNAPSHOT คุณจะพบข้อมูลที่ช่วยเหลือคุณในทั้งสองส่วน บทความต่อเนื่องเกี่ยวกับพื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ประเภทต่างๆ อาทิ ข้อดีและข้อเสีย คุณสมบัติเด่น และวิธีการใช้งาน นอกจากนี้ คุณยังสามารถอ่านรีวิวเลนส์และความประทับใจต่างๆ เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์แต่ละรุ่นได้ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณพบเลนส์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับภาพถ่ายของคุณ

 

คอลัมน์: เลนส์ซีรีย์ EF - สนับสนุนการถ่ายภาพทั่วทุกมุมโลก

ภาพกลุ่มเลนส์ซีรีย์ EF

เลนส์ EF เป็นเลนส์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ออกแบบมาเพื่อใช้กับกล้อง EOS ของ Canon ในปี 2017 เราได้ผลิตเลนส์ EF ทั้งสิ้นกว่า 130 ล้านตัวทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 1987 ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม ความเชื่อถือได้ และความเป็นเลิศทางออพติคอล เลนส์ EF มักเป็นเลนส์รุ่นแรกในโลกที่นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ อาทิ ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) ในตัวเลนส์

ปัจจุบัน กลุ่มผลิตภัณฑ์เลนส์ EF มีเลนส์ทั้งหมด 93 รุ่น ได้แก่ เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง เลนส์มาโครและฟิชอาย และมีทางยาวโฟกัสครอบคลุมตั้งแต่มุมกว้างอัลตร้าไวด์ 8 มม. ไปจนถึงซูเปอร์เทเลโฟโต้ 800 มม. เลนส์ทุกรุ่นมอบความเป็นไปได้มากมายนับไม่ถ้วนในการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายด้วยกล้อง EOS เพียงตัวเดียวเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติของเลนส์ EF ได้ที่นี่:
[ตอนที่ 1] ยุคแห่งการเริ่มต้น – กำเนิดเมาท์เลนส์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ
[ตอนที่ 2] ยุคแห่งการเติบโต – กำเนิดยุคแห่งดิจิตอล
[ตอนที่ 3] ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านและการพัฒนา – เลนส์สำหรับกล้องความละเอียดสูง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา