หากคุณติดอยู่ที่บ้าน แต่ยังต้องการสร้างภาพถ่ายแบบหลุดโลก ลองไอเดียนี้ดู: การถ่ายภาพพื้นผิว โฟกัสไปที่รายละเอียดที่พื้นผิวของวัตถุและสร้างภาพอันน่าหลงใหลที่ทําให้ผู้ชมสงสัยว่า: "นี่คืออะไร"
ในบทความนี้ทีม SNAPSHOT จะถ่ายภาพวัตถุที่น่าสนใจต่างๆ ที่พบที่บ้าน และนําคุณเข้าสู่เส้นทางการถ่ายภาพพื้นผิว
ถ่ายภาพอะไรดี
การค้นหาพื้นผิวที่เหมาะสมเป็นตัวแบบอาจฟังดูท้าทายในตอนแรก แต่มันก็อาจเป็นกิจกรรมที่สนุก
ตัวอย่างเช่นเมื่อคุณดูสห้องครัวทั่วไป คุณจะพบวัตถุจํานวนมากที่มีพื้นผิวที่แตกต่างกัน ผัก ผลไม้ และสิ่งของที่มาจากธรรมชาตินั้นดีที่สุด เพราะธรรมชาติสร้างพื้นผิวที่น่าสนใจมากมาย
ซ้าย: EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/8, ISO 500, 1/100s, 100 มม.
ขวา: EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/8, ISO 500, 1/40s, 100 มม.
ในการถ่ายภาพพื้นผิว รูปแบบที่ซ้ำๆ กันไม่ให้ความรู้สึกที่จำเจแม้แต่น้อย เช่นเดียวกันกับภาพข้าวโพดที่ด้านบนนี้ พื้นผิวประเภทขี้ผึ้งจะเห็นได้ชัดขึ้น และคุณสามารถเป็นเมล็ดข้าวโพดที่พองออกมาและเบียดตัวกัน
ทางด้านขวาเป็นฟองน้ำล้างจานทั่วไป แต่ถ้าคุณเข้าไปดูใกล้ๆ เส้นใยที่พันกันกับกลายเป็นพื้นผิวที่ซับซ้อนที่เรามักจะมองข้ามไป
ควรใช้อุปกรณ์ใด
นอกเหนือจากกล้องแล้ว แน่นอนว่าอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่คุณต้องใช้ก็คือเลนส์ที่สามารถถ่ายภาพมาโครได้ เลนส์ที่รองรับมาโครของ Canon (มักจัมีคำว่า "MACRO" ในชื่อรุ่น) เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
ซ้าย: EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/8, ISO 320, 1/30s, 100 มม.
ขวา: EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/8, ISO 800, 1/30s, 100 มม.
ในการถ่ายภาพหัวหอมด้านบนนี้ เลนส์ที่ใช้คือ RF100mm f/2.8L MACRO IS USM เลนส์นี้สามารถเก็บรายละเอียดมากมายไว้ในภาพซึ่งบันทึกภาพด้วยกล้อง Canon EOS R6
แม้จะเป็นโคลสอัพอย่างมาก แต่เลนส์ก็สามารถเก็บรายละเอียดพื้นผิวบริเวณชั้นต่างๆ และสัญญาณของการเสื่อมสลายบนผิวหนังของหัวหอมได้ เลนส์มาโครสามารถโฟกัสที่ตัวแบบที่อยู่ใกล้กับเลนส์ได้ แม้จะใช้กําลังขยายสูงก็ตาม ด้วยวิธีนี้ทำให้ช่างภาพสามารถเข้าใกล้ตัวแบบได้มากขึ้น
สําหรับตัวเลือกเลนส์เพิ่มเติม คุณสามารถอ่านคําแนะนําของเราเกี่ยวกับเลนส์เทเลโฟโต้และมาโคร ได้ที่นี่
ขาตั้งกล้องยังมีประโยชน์อย่างมากสำหรับถ่ายภาพพื้นผิว เนื่องจากการสั่นไหวของกล้องเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นและความเร็วชัตเตอร์ต่ำอาจทําให้ภาพเบลอได้
การจัดฉากและการใช้แสง
การจัดฉากนั้นค่อนข้างง่ายสําหรับการถ่ายภาพพื้นผิว เนื่องจากวัตถุจะมีขนาดเต็มเฟรม จึงไม่จําเป็นต้องมีการเตรียมจัดฉากที่ซับซ้อนเหมือนกับการถ่ายภาพนิ่ง
สำหรับการให้แสงสว่างในการถ่ายภาพพื้นผิว สิ่งสําคัญคือต้องทดลองเล็กน้อยและเข้าใจผลกระทบของแสงที่มีต่อพื้นผิว เมื่อแสงกระทบกับพื้นผิวส่วนที่หนากว่าของภาพจะทําให้เกิดเงา
ภาพเห็ดด้านล่างแสดงครีบหรือด้านล่างของดอกเห็ด บริเวณระหว่างครีบแต่ละอันจะเป็นเงาและการใช้แสงย้อนสร้างคอนทราสต์ที่นุ่มนวลขึ้น
EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/4, ISO 250, 1/320s, 100mm
เงาที่ทอดจากครีบมีความโดดเด่นยิ่งขึ้นจากมุมนี้:
EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/8, ISO 800, 1/200s, 100 มม.
การใช้แฟลชเปลือยที่ด้านข้างของตัวแบบจะทำให้เงาระหว่างครีบของเห็ดเข้มขึ้น
อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถเล่นได้สำหรับวัตถุบางชนิดก็คือความโปร่งแสง หรือความสามารถให้แสงส่องผ่านได้ ในภาพเปลือกไข่ภาพแรกด้านล่างนี้ เราจะเห็นวัตถุทึบแสงที่มีพื้นผิวสะท้อนแสงทำให้ขอบที่ทับซ้อนกันมีความเรืองแสง
EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/8, ISO 2500, 1/60s, 100 มม.
อย่างไรก็ตามเมื่อใช้แสงย้อนเช่นในภาพด้านล่าง ความโปร่งแสงจะสร้างเอฟเฟกต์ที่น่าสนใจเมื่อแสงส่องผ่านวัตถุ
EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/8, ISO 2500, 1/60s, 100 มม.
ใช้รูรับแสงที่เล็กลงและการครอบตัด
เมื่อถ่ายภาพพื้นผิว คุณจะต้องถ่ายภาพตัวแบบอย่างใกล้ชิดมากๆ ความใกล้ชิดกับตัวแบบและทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นจะทําให้ระยะชัดลึกลดลง ทําให้ยากต่อการทําให้สิ่งต่างๆ ในภาพมีความคมชัด
ทดลองใช้รูรับแสงที่เล็กลงเสมอ เพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณจะได้ภาพที่คมชัด
เคล็ดลับสําคัญอีกประการหนึ่งก็คือให้บันทึกภาพที่ความละเอียดสูงสุดของกล้องเสมอ ขั้นตอนการครอบตัดและกระบวนการปรับแต่งภาพสามารถทำให้คุณค้นพบภาพถ่ายใหม่ที่สามารถแสดงพื้นผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นภาพนี้:
EOS R6, RF100mm f/2.8L MACRO IS USM, f/5.6, ISO 200, 1/250s, 100mm
การพยายามจับภาพพื้นผิวและการถ่ายภาพมาโครอาจดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ยาก เมื่อคิดว่าจะลองทำดู คุณมักจะนึกถึงการเตรียมการให้แสงที่ยุ่งยากและการใช้เลนส์พิเศษ อย่างไรก็ตาม ด้วยความคิดสร้างสรรค์และวัตถุที่น่าสนใจบางอย่างที่คุณสามารถค้นหาได้รอบๆ บ้าน คุณอาจปลดล็อคโลกใหมแห่งพื้นผิวก็ได้
พร้อมที่จะลองดูหรือยัง?
สำหรับบทความที่คล้ายกัน: