ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ (4): การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมและกฎสามส่วน

2019-04-12
9
17.64 k
ในบทความนี้:

การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมและกฎสามส่วน คือ กฎพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ยุคการวาดภาพ และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันในงานทัศนศิลป์ เราจะมาเรียนรู้เทคนิคนี้เพิ่มเติมในบทความนี้กัน (เรื่องโดย: Tatsuya Tanaka)

บทความก่อนหน้าในบทความต่อเนื่องชุดนี้:
1. การจัดเฟรมภาพ ระดับแนวนอน และระดับแนวตั้ง
2. ตัวแบบหลัก ตัวแบบรอง และรูปสามเหลี่ยม
3. การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร

 

การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม: สร้างความมีมิติและความลึก

แผนภาพการจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม

ในการจัดองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุมนั้น องค์ประกอบในภาพจะถูกจัดเรียงตามเส้นแนวทแยง การจัดองค์ประกอบภาพแบบนี้สามารถเน้นเปอร์สเป็คทีฟ สร้างความลึกในภาพ และยังเพิ่มความมีมิติได้อีกด้วย

 

ตัวอย่างของการจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม

1. เส้นแนวทแยงเดี่ยว

i) การใช้เส้นสายกับพื้นผิวของภูเขา

ทางลาดชันของภูเขาที่เป็นป่า

แผนภาพแสดงเส้นแนวทแยงตรงกึ่งกลาง

ผมพบทางลาดชันของภูเขานี้โดยบังเอิญในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง จึงใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อดึงภาพทิวทัศน์ให้ดูใกล้ขึ้น  ภาพนี้จัดวางองค์ประกอบให้เส้นทแยงมุมเป็นแนวเดียวกับเส้นสายตามธรรมชาติบนพื้นผิวของภูเขา

 

ii) รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมตัดกับทิวทัศน์ยามค่ำคืน

ทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่มีรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของหน้าต่างหอชมวิวในส่วนโฟร์กราวด์
(เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย Canon)

แผนภาพแสดงเส้นทแยงมุมที่เกิดขึ้นจากรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม

ภาพมุมกว้างธรรมดาๆ ของทิวทัศน์ยามค่ำคืนอาจดูสวย แต่ก็มีภาพที่คล้ายกันอยู่ดาษดื่น สำหรับภาพนี้ ช่างภาพได้ใส่รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของหอชมวิวที่เป็นจุดถ่ายภาพของเขาไว้ในส่วนโฟร์กราวด์ด้วย ภาพที่ได้จึงดูเหนือความคาดหมาย เป็นสไตล์กราฟิก และมีมิติยิ่งขึ้น

เคล็ดลับ: เส้นทแยงมุมไม่จำเป็นต้องอยู่กึ่งกลางพอดี
สำหรับภาพนี้ เส้นทแยงมุม (เส้นสีแดง) ถูกวางไว้ให้ต่ำกว่าเส้นทแยงมุมตรงกึ่งกลาง (เส้นประสีฟ้า) ซึ่งเป็นมุมที่เหนือความคาดหมาย และทำให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้น 

 

2. การใช้เส้นทแยงมุมที่ตัดกันเพื่อนำสายตาและดึงดูดความสนใจ

เครื่องบินในท้องฟ้า
แผนภาพแสดงเส้นทแยงมุมที่ตัดกัน

เมื่อคุณมีเส้นทแยงมุมตัดกัน 2 เส้น สายตาของผู้ชมจะถูกดึงไปยังจุดที่เส้นตัดกัน คุณสามารถนำวิธีนี้มาใช้ได้เมื่อตัดสินใจว่าจะวางองค์ประกอบสำคัญในการจัดองค์ประกอบภาพไว้ที่ใด

ในตัวอย่างนี้ รูป "X" ซึ่งเกิดขึ้นจากลำและปีกของเครื่องบินถูกจัดวางอยู่ที่ครึ่งบนของแนวเส้นทแยงมุมในภาพ

หมายเหตุ: ยิ่งพื้นที่ด้านล่างเส้นทแยงมุมมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ การจัดองค์ประกอบภาพก็ยิ่งดูมั่นคงมากขึ้นเท่านั้น

 

การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน: ประเภทการจัดองค์ประกอบภาพที่มีความสมดุลมากที่สุด

แผนภาพกฎสามส่วน

การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วนเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ใช้บ่อยที่สุด ในการจัดองค์ประกอบภาพประเภทนี้ เฟรมภาพจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆ กัน และตัวแบบหลักจะอยู่ในตำแหน่งใกล้กับจุดที่เส้นตัดกันจุดใดจุดหนึ่ง

เคล็ดลับ: เปิดตารางขนาด 3x3
การนึกภาพสามส่วนในเฟรมภาพอาจเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ต้องกังวล เพราะกล้องของคุณมีเส้นนำสายตาในตัว เพียงเปิด แสดงตาราง 3x3 (อ่านคำแนะนำได้จากคู่มือการใช้งานกล้อง) วิธีนี้ยังสามารถช่วยให้คุณเห็นว่าเส้นของคุณเป็นระดับแนวตั้งหรือแนวนอน

 

ตัวอย่างของการจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน

1. การวางตัวแบบบนจุดตัด

ดอกไม้

แผนภาพแสดงตาราง 3x3 และการจัดวางดอกไม้

ดอกชบาสองดอกที่บานสะพรั่งเคียงข้างกันถูกวางไว้บนจุดสองจุดที่เส้นบนตาราง 3x3 ตัดกัน  ช่างภาพยังได้จัดให้มีดอกไม้อีกดอกอยู่ด้านหลังในร่มเงาของใบไม้เพื่อขับเน้นมิติความลึก

 

โคมไฟในร้านกาแฟ
(เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย Canon)

แผนภาพแสดงการจัดวางโคมไฟบนจุดตัดของตาราง 3x3

ภาพโคมไฟเพดานในร้านกาแฟนี้อาจดูเหมือนภาพสแนปช็อตที่เรียบง่ายและไร้โครงสร้าง อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าช่างภาพได้จัดวางโคมไฟให้อยู่ใกล้กับจุดตัดบนตาราง 3x3 ซึ่งส่งผลให้เกิดการจัดองค์ประกอบภาพที่เป็นระเบียบและมีความสมดุล

 

2. การแบ่งองค์ประกอบภาพในอัตราส่วน 6:3

ทิวทัศน์ธรรมชาติที่มีท้องฟ้า ผืนดิน และทะเลสาบ
(เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย Canon)

แผนภาพแสดงการจัดองค์ประกอบภาพในอัตราส่วน 6:3

ในภาพนี้ ท้องฟ้าและก้อนเมฆ (ตัวแบบหลัก) กินเนื้อที่ 2 ใน 3 ของภาพ และทะเลสาบกับผืนดินกินเนื้อที่ส่วนที่เหลือ การแบ่งองค์ประกอบภาพในอัตราส่วน 6:3 เช่นนี้จึงช่วยสร้างองค์ประกอบภาพที่ดูมั่นคง

 

3. การผสมผสานกฎสามส่วนกับการจัดองค์ประกอบภาพแบบใช้คู่สีตรงข้าม

เทคนิคหนึ่งในการจัดองค์ประกอบภาพที่มักจะใช้ร่วมกับกฎสามส่วน โดยเฉพาะในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ก็คือ การจัดองค์ประกอบภาพแบบใช้คู่สีตรงข้าม ในเทคนิคนี้ เฟรมภาพจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กันในแนวตั้งหรือแนวนอน วิธีนี้ทำให้สร้างความรู้สึกมั่นคงได้ง่ายยิ่งขึ้น

ภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน

แผนภาพแสดงวิธีแบ่งครึ่งภาพ

ภาพถ่ายทอดการเกลี่ยสีของท้องฟ้าและแสงไฟ ในภาพนี้ใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบใช้คู่สีตรงข้ามเพื่อขับเน้นความเปรียบต่างให้เห็นชัดเจน

เคล็ดลับ: วิธีทำให้ภาพถ่ายของคุณดูน่าประทับใจยิ่งขึ้น
การจัดองค์ประกอบภาพทั้งตามกฎสามส่วนและแบบใช้คู่สีตรงข้ามเหมาะสำหรับการสร้างภาพถ่ายที่มีความสมดุลและมั่นคง แต่ก็อาจทำให้ได้ภาพถ่ายที่ดูน่าเบื่อได้ง่ายๆ ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการไม่ตกหลุมพรางของการจัดวางตัวแบบบนเส้นและจุดตัดที่ดูจำเจ! แต่ลองหาวิธีต่างๆ ที่ทำให้ตัวแบบดูน่าสนใจยิ่งขึ้นแทน คุณสามารถเริ่มได้โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบหลักกับองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งเราจะมาอธิบายเพิ่มเติมในบทความชุดถัดไป

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วนได้ที่:
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 1): กฎสามส่วนและกฎสี่ส่วน
วิธีใช้ทฤษฎีกฎสามส่วนในการถ่ายภาพบุคคลและการถ่ายภาพสตรีท

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Tatsuya Tanaka

เกิดเมื่อปี 1956 Tanaka เป็นหนึ่งในช่างภาพที่หาตัวจับยาก ซึ่งได้สร้างผลงานไว้หลากหลายแนวจากมุมมองที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง เขาถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงและดอกไม้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ ตึกสูง และดวงดาวบนท้องฟ้าเลยทีเดียว นอกเหนือจากการถ่ายภาพแล้ว Tanaka ยังพัฒนาวิธีการของตัวเองในกระบวนการปรับแต่งภาพรวมทั้งการรีทัชและการพิมพ์ขึ้นมาอีกด้วย

http://tatsuya-t.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา