ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด In Focus: Basic Composition Techniques- Part6

พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ (3): การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร

2019-04-03
10
17.78 k
ในบทความนี้:

ในตอนที่ 3 ของบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพนี้ เราจะเรียนรู้เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางและการจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร แม้เทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนี้อาจเป็นเทคนิคธรรมดา แต่หากนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการถ่ายทอดอารมณ์ภาพ (เรื่องโดย: Tatsuya Tanaka)

 

การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง: วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดึงความสนใจไปที่ตัวแบบหลัก

ไอคอนการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง

ตามชื่อเรียก การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางคือ การจัดวางตัวแบบไว้ตรงกลางเฟรมภาพ ในเบื้องต้นช่างภาพส่วนใหญ่จะจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังไม่ทราบเกี่ยวกับการถ่ายภาพตามจุดมุ่งหมายหรือต้องการจับโฟกัสสิ่งที่อยู่กึ่งกลางเฟรมภาพ

ด้วยเหตุนี้ ในบางแนวคิดจึงถือว่าการจัดองค์ประกอบภาพนี้เป็นเทคนิคที่ไม่ดีนัก แต่นั่นก็ใช่ว่าจะถูกต้องเสียทีเดียว เพราะข้อดีต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่าเทคนิคนี้คือเครื่องมือที่ทรงพลัง

 

ข้อดีของการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง

- จุดมุ่งหมายของช่างภาพชัดเจน สิ่งที่จัดวางอยู่กึ่งกลางเฟรมภาพมักให้น้ำหนักทางสายตามากกว่า และเมื่อตัวแบบหลัก (ศูนย์รวมความสนใจ) อยู่กึ่งกลางภาพ แน่นอนว่านั่นคือสิ่งที่ช่างภาพต้องการให้ผู้ชมให้ความสนใจ

- ความมั่นคง การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางมีความมั่นคง เนื่องจากไม่มีสิ่งอื่นใดมาหันเหความสนใจ

ตัวอย่างของการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง
การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางคือตัวเลือกที่ดีสำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้ของต้นไม้และสัตว์ต่างๆ ดังที่แสดงในตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

1. วิธีที่มีประสิทธิภาพในการดึงความสนใจของผู้ชม

ดอกไม้

แผนภาพการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง (ดอกไม้)

ในภาพดอกไม้นี้ พื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสอยู่กึ่งกลางเฟรมภาพตัดกับเอฟเฟ็กต์โบเก้นุ่มนวลโดยรอบ ความสมดุลระหว่างองค์ประกอบภาพสองอย่างทำงานร่วมกันเพื่อสื่อถึงความนุ่มนวลของดอกไม้ ซึ่งหากไม่มีส่วนที่คมชัด ภาพนี้ก็อาจเป็นเพียงภาพที่หลุดโฟกัสเท่านั้น

 

2. เหมาะสำหรับการขับเน้นตัวแบบหลัก

นก

แผนภาพการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง (นก)

การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางในภาพนี้ดูสวยงามขึ้นเมื่อมีโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ที่นุ่มนวล ซึ่งทำให้แบ็คกราวด์เรียบง่ายขึ้น การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางอาจดูไม่เป็นมืออาชีพได้ง่ายหากมีส่วนที่ระเกะระกะมากเกินไปจนทำให้ตัวแบบหลักขาดความโดดเด่น จึงควรระมัดระวังองค์ประกอบที่อยู่รอบตัวแบบเสมอ และทำให้แบ็คกราวด์เรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

3. ตัวแบบไม่จำเป็นต้องมีขนาดเล็ก

ลิง
แผนภาพการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง (ลิง)

ผมพยายามจัดให้ลิงทั้งตัวอยู่ที่บริเวณกึ่งกลางเฟรมภาพ แม้ว่าตัวแบบจะดูมีขนาดใหญ่เกินไป แต่บางครั้งสิ่งที่คุณต้องทำมีเพียงแค่ปรับทางยาวโฟกัสและ/หรือระยะการถ่ายภาพเท่านั้น

เคล็ดลับ: ระวังในเรื่องสัดส่วนภาพ
หากตัวแบบของคุณกินพื้นที่น้อยหรือมากเกินไปในเฟรมภาพ ภาพถ่ายจะดูไม่สมดุล จึงควรแน่ใจว่าตัวแบบหลักไม่ถูกบดบังโดยองค์ประกอบอื่น ลองใช้ทางยาวโฟกัส/ระยะการถ่ายภาพที่แตกต่างกันไปจนกระทั่งสัดส่วนของภาพดูพอเหมาะพอดี 

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง โปรดดูที่:
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 2): การจัดองค์ประกอบแบบกึ่งกลางและตามเส้นแนวทแยงมุม

 

การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร: ถ่ายทอดความงามแห่งความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

ไอคอนการจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร

ในการจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร ภาพสองส่วนคือภาพสะท้อนซึ่งกันและกัน โดยองค์ประกอบภาพดังกล่าวจะสร้างความรู้สึกที่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวและมีความสมดุลด้านความงามโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ภาพถ่ายสวยๆ อย่างง่ายดาย

ประเภทของความสมมาตร
ตัวแบบที่เหมาะสำหรับความสมมาตรมีอยู่ทุกที่ และความสมมาตรมีมากมายหลายแบบ ต่อไปนี้คือสองรูปแบบซึ่งคุณจะพบเห็นได้มากที่สุด

 

1. ความสมมาตรในแนวนอน

สถาปัตยกรรม

ความสมมาตรในแนวนอน

ภาพอาคารนี้ใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรในแนวนอน โดยภาพในฝั่งซ้ายและขวามีสัดส่วนที่สมมาตรกัน ความสมมาตรรูปแบบนี้มักพบเห็นได้โดยทั่วไปในโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้:
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน

 

2. ความสมมาตรในแนวตั้ง

ภาพเงาสะท้อนของต้นไม้และผิวน้ำ

ความสมมาตรในแนวตั้ง

ในการจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรในแนวตั้ง ตัวแบบและเงาสะท้อนของตัวแบบจะกินพื้นที่ครึ่งบนและครึ่งล่างของภาพตามลำดับ ความสมมาตรประเภทนี้มักพบได้ในเงาสะท้อนบนผิวน้ำ

เคล็ดลับ: ถ่ายภาพเมื่อสภาพอากาศสงบ
 ควรถ่ายภาพเมื่อสภาพอากาศสงบ เพื่อให้ได้ภาพสะท้อนบนผิวน้ำที่ชัดเจนที่สุด ภาพถ่ายด้านบนถ่ายในช่วงเช้าตรู่ที่ไม่มีลม

หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพสะท้อนบนผิวน้ำ โปรดดูที่:
สร้างโลกแห่งความสงบเยือกเย็นด้วยภาพเงาสะท้อนบนผิวน้ำและค่าสมดุลแสงขาว
เคล็ดลับในการถ่ายภาพสะท้อนบนผิวน้ำ: เพลิดเพลินกับแอ่งน้ำ!

 

ภาพสะท้อนทำให้การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรมีเสน่ห์ยิ่งขึ้น

ตู้โชว์สินค้าพร้อมภาพสะท้อน

ความสมมาตรในการถ่ายภาพสตรีท

มองหาพื้นผิวที่สะท้อนแสงเพื่อช่วยในการสร้างองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรที่น่าสนใจ ทั้งนี้ พื้นผิวที่สะท้อนแสงไม่จำเป็นต้องเป็นกระจกหรือผิวน้ำเสมอไป ดังเช่นภาพด้านบนที่อาศัยพื้นที่ขัดจนขึ้นเงา และสำหรับภาพมุมต่ำเช่นนี้ การใช้หน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้ยังช่วยคุณได้เช่นกัน 

เคล็ดลับ: หาวิธีเพิ่มความหลากหลาย
ปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรคือ ภาพที่ได้อาจดูค่อนข้างน่าเบื่อ เนื่องจากพื้นที่ครึ่งบนและครึ่งล่างของภาพหรือภาพในฝั่งซ้ายและขวามีรูปแบบคล้ายคลึงกัน

หากต้องการทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ลองเพิ่มความหลากหลายให้กับภาพถ่าย ตัวอย่างเช่น คุณอาจลองใช้วิธีต่างๆ ในการดึงดูดสายตาของผู้ชมหรือมองหาจังหวะและรูปแบบในตัวแบบ แล้วจะเห็นว่ามีวิธีมากมายที่คุณสามารถใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรร่วมกับเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอื่นๆ ได้

 

บทความอื่นๆ ในบทความต่อเนื่องชุดนี้:
พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ: การจัดเฟรมภาพ ระดับแนวนอน และระดับแนวตั้ง
[ตอนที่ 2] พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ: “ตัวแบบหลัก” “ตัวแบบรอง” และ “การจัดองค์ประกอบภาพรูปสามเหลี่ยม”
[ตอนที่ 4] พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ: "การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม" และ "การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน"

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tatsuya Tanaka

เกิดเมื่อปี 1956 Tanaka เป็นหนึ่งในช่างภาพที่หาตัวจับยาก ซึ่งได้สร้างผลงานไว้หลากหลายแนวจากมุมมองที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง เขาถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงและดอกไม้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ ตึกสูง และดวงดาวบนท้องฟ้าเลยทีเดียว นอกเหนือจากการถ่ายภาพแล้ว Tanaka ยังพัฒนาวิธีการของตัวเองในกระบวนการปรับแต่งภาพรวมทั้งการรีทัชและการพิมพ์ขึ้นมาอีกด้วย

http://tatsuya-t.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา