ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน

2016-12-15
5
9.53 k
ในบทความนี้:

อาคาร - เป็นตัวแบบสำหรับการถ่ายภาพที่พบได้บ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผลงานสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์น หรืออาคารขนาดใหญ่ที่โอ่อ่าสง่างามและเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ ในแต่ละตอนของบทความต่อเนื่องทั้ง 4 ตอนนี้ มาเตรียมพร้อมเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมกัน โดยตอนที่ 1 จะแนะนำวิธีพื้นฐานในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม โดยใช้ภาพถ่ายบริเวณรอบๆ สถานีรถไฟโตเกียวในเขตมารุโนะอุชิของกรุงโตเกียว ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านอาคารที่สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกสมัยคลาสสิก (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 44 มม./ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/40 วินาที, EV+0.7)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: พิพิธภัณฑ์มิตซูบิชิ อิจิโงคัง (Mitsubishi Ichigokan Museum) เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

ตรวจสอบการตั้งค่ากล้องของคุณ

เมื่อถ่ายภาพด้านหน้าอาคาร คุณจะต้องการเก็บภาพตัวอาคารทั้งหมดให้ดูคมชัด เราขอแนะนำให้ใช้โหมด Aperture-priority AE และใช้ค่า f ที่แคบเล็กน้อย (เช่น f/5.6) ซึ่งไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาความละเอียดบริเวณขอบภาพที่ลดลงเท่านั้น แต่ยังทำให้การลดลงของปริมาณแสงที่ขอบภาพ (ปัญหาขอบมืด) มองเห็นได้น้อยลงด้วย หากคุณต้องการถ่ายภาพบางส่วนของอาคารในระยะใกล้ การใช้โหมด Aperture-priority AE ยังช่วยขยายรูรับแสงให้กว้างขึ้นเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์สำหรับรูปภาพที่ส่งผลต่ออารมณ์มากขึ้นได้ (เราจะแสดงวิธีการในตอนที่ 3 ของบทความต่อเนื่องชุดนี้)

หากคุณต้องการใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (AWB) ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากกล้องรุ่นใหม่ๆ มีความสามารถด้าน AWB ที่โดดเด่น และสามารถถ่ายทอดสีสันได้ใกล้เคียงกับที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า โดยที่สภาพอากาศหรือตัวแบบที่ถ่ายแทบไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

 

ไอเดียที่ 1: ระวังเส้นแนวนอน

ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม สิ่งสำคัญคือต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าเส้นแนวนอนอยู่ในระดับแนวนอนอย่างเหมาะสมหรือไม่ เพราะหากไม่แล้วจะทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าภาพขาดความมั่นคง ในการตรวจสอบเส้นแนวนอน ให้แสดงเส้นตารางในจอ LCD/ช่องมองภาพขณะถ่ายภาพ

ภาพถ่ายที่มีเส้นแนวนอนที่ตรงจะดูชัดเจนและมีองค์ประกอบภาพที่ดี ซึ่งจะสามารถสื่อถึงโครงสร้างที่สวยงามของอาคารได้ดีกว่าดังเช่นในภาพด้านล่างนี้

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 59 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/50 วินาที, EV±0)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: พิพิธภัณฑ์มิตซูบิชิ อิจิโงคัง (Mitsubishi Ichigokan Museum) เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/250 วินาที, EV+1)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: อาคารเมจิ ยะซุดะ เซเมอิ เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

วิธีแสดงเส้นตาราง
กดปุ่ม MENU แล้วเลือกตัวเลือก "แสดงตาราง" (แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง)

 

ไอเดียที่ 2: ใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับความสว่าง

นอกจากคุณจะถ่ายภาพด้วยโหมดแมนนวล (M) ได้แล้ว กล้องยังตั้งค่าความสว่าง (การเปิดรับแสง) ให้คุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี วิธีนี้อาจไม่ทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีความสว่างเท่ากับที่คุณเห็นด้วยตาเปล่าเสมอไป บางครั้งบริเวณที่เคยสว่างในภาพเดิมอาจออกมาดูมืดทึบ และบริเวณที่เคยมืดทึบอาจกลายเป็นดูสว่างได้เช่นกัน

เพื่อให้ได้ภาพที่ถ่ายทอดตัวแบบได้ใกล้เคียงและสมจริงมากขึ้น ตลอดจนนำเสนอภาพของอาคารได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น เราสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันการชดเชยแสงได้ ในห้องที่สว่างและเต็มไปด้วยแสงสีขาวมากมาย ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นบวก ในขณะที่ห้องที่ดูมืดกว่า ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นลบ

 

ก่อน (ไม่มีการชดเชยแสง)
เนื่องจากสถานที่นี้มีความสว่าง กล้องจึงตั้งการเปิดรับแสงให้มืดลงโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้ภาพโดยรวมดูมืด

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/15 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างและในอาคาร/ สถานที่: ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

หลัง (ค่าชดเชยแสง +2)
การใช้การชดเชยแสงเป็นบวกจะทำให้ภาพดูสว่างขึ้น จึงนำเสนอฉากได้สมจริงยิ่งขึ้นราวกับเห็นด้วยตาเปล่า

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที, EV+2)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างและในอาคาร/ สถานที่: ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

ก่อน (ไม่มีการชดเชยแสง)
เนื่องจากสถานที่ค่อนข้างมืด กล้องจึงตั้งค่าการเปิดรับแสงให้สว่างโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้ภาพมีความสว่าง

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: มืดและในอาคาร/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว

 

หลัง (ค่าชดเชยแสง -2)
การถ่ายภาพโดยใช้การชดเชยแสงเป็นลบจะทำให้ภาพดูมืดยิ่งขึ้น จึงนำเสนอฉากได้สมจริงยิ่งขึ้นราวกับเห็นด้วยตาเปล่า

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/40 วินาที, EV-2)/ ISO 2500/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: มืดและในอาคาร/ สถานที่: อาคารเมจิ ยะซุดะ เซเมอิ เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

วิธีตั้งค่าการชดเชยแสง
หมุนวงแหวน Quick Control ไปที่ "+" เมื่อคุณต้องการเปิดรับแสงให้สว่างขึ้น และหมุนไปที่ "-" หากคุณต้องการเปิดรับแสงให้มืดลง
*การใช้งานจริงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง

 

ไอเดียที่ 3: ใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร

ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพอาคารแบบองค์รวมหรือถ่ายเฉพาะพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง สิ่งที่ต้องระวังคือเรื่ององค์ประกอบภาพ การจัดองค์ประกอบภาพประเภทหนึ่งที่คุณสามารถใช้เพื่อเน้นดีไซน์ที่โดดเด่นของอาคารคือ การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและยังสร้างความประทับใจที่ตราตรึงให้แก่ผู้ชม ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม

EOS M/ EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 100 มม. (เทียบเท่ากับ 160 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/160 วินาที, EV+1.3)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว (เขตมารุโนะอุทางออก) ชิ โตเกียว

 

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/40 วินาที, EV+0.7)/ ISO 2500/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: มืดและในอาคาร/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/40 วินาที, EV+0.3)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างและในอาคาร/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

 

 

Takeshi Akaogi

 

ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย

http://www.flipphoto.org

 

Etica

 

ทีมงานเบื้องหลังนิตยสารกล้องสัญชาติญี่ปุ่น "Camera Biyori" และหนังสืออื่นๆ อีกมากมาย จัดงานอีเว้นต์ต่างๆ และเปิดโรงเรียนสอนถ่ายภาพ "Tanoshii Camera School"

https://etica.jp

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา