ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 1): กฎสามส่วนและกฎสี่ส่วน

2016-03-10
11
20.97 k
ในบทความนี้:

ภาพถ่ายของช่างภาพที่มีความชำนาญทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความมั่นคงและสบายใจ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการจัดองค์ประกอบภาพ ต่อไปนี้ ผมจะอธิบายถึงหลักพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพที่คุณควรฝึกฝนเป็นอันดับแรกเมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพ โดยใช้ภาพตัวอย่างต่างๆ (เรื่องโดย studio9)

การจัดองค์ประกอบภาพ 4 อย่างที่ควรฝึกฝนเป็นอันดับแรก

คุณเคยรู้สึกไหมว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายอื่นๆ ในฉากเดียวกัน ภาพที่ถ่ายโดยช่างภาพที่มีความชำนาญทำให้คุณรู้สึกถึงความมั่นคงและสบายใจ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการจัดองค์ประกอบภาพนั่นเอง

การจัดองค์ประกอบภาพคือการตัดสินใจว่าตัวแบบหลัก ฉากหลัง และอื่นๆ จะถูกจัดวางไว้ในภาพอย่างไร หากภาพได้รับการจัดวางองค์ประกอบภาพอย่างเหมาะสม แม้ว่าองค์ประกอบอื่นๆ (สี ความสว่าง ฯลฯ) จะไม่ถึงกับดีเยี่ยม แต่ภาพก็ยังออกมาสมบูรณ์แบบได้อย่างเต็มที่

คนที่มีรสนิยมเชิงศิลป์จะสามารถถ่ายภาพได้คมชัดซึ่งทำให้คุณรู้สึกถึงความมั่นคงได้โดยไม่ต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบภาพเป็นพิเศษแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี คนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจเรื่ององค์ประกอบภาพได้ง่ายขนาดนั้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมขั้นตอนแรกสุดในการพัฒนาฝีมือการถ่ายภาพของคุณก็คือ ฝึกฝนการจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐานประเภทต่างๆ

รายละเอียดที่คุณต้องรู้มีไม่มากนัก สิ่งที่คุณต้องทำมีเพียงแค่ฝึกฝนการจัดองค์ประกอบภาพ 4 อย่างดังนี้

  • กฎสามส่วน (การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน)
  • กฎสี่ส่วน (การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสี่ส่วน)
  • องค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง
  • องค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม

การจัดองค์ประกอบภาพแต่ละประเภทนั้นง่ายมาก คุณจะสามารถจดจำได้อย่างแน่นอนหลังจากที่ได้เห็นเพียงครั้งเดียว มาดูรายละเอียดของการจัดองค์ประกอบภาพแต่ละประเภท พร้อมกับภาพถ่ายจริงกัน

ในตอนที่ 1 ผมจะอธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กฎสามส่วน (การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน)
  • กฎสี่ส่วน (การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสี่ส่วน)

กฎสามส่วนจัดการทุกอย่างได้ดังใจ

ก่อนอื่นผมจะอธิบายเกี่ยวกับกฎสามส่วน (การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน) ซึ่งเป็นวิธีที่่ผ่านการพิสูจน์แล้ว เหนือสิ่งอื่นใด คุณควรจดจำการจัดองค์ประกอบภาพที่อเนกประสงค์นี้ เพราะจะทำให้ภาพของคุณสมบูรณ์แบบอย่างมากถึง 95% นี่คือการจัดองค์ประกอบภาพแบบแรกที่คุณควรฝึกฝนเมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพ

ในการจัดองค์ประกอบภาพเช่นนี้ หน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนทั้งตามแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อให้ได้ส่วนทั้งหมดเก้าส่วน จากนั้นจัดวางตัวแบบตามที่ต้องการ

หากคุณจัดวางตัวแบบตามเส้นสีส้มหรือที่จุดตัดของเส้นด้วยความชำนาญ คุณจะสร้างองค์ประกอบภาพที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกดีและสื่อถึงความรู้สึกที่มั่นคงยามได้เห็น

วิธีนี้ง่ายมาก เราลองมาดูเส้นต่างๆ บนภาพถ่ายจริงกัน

นี่อาจดูเหมือนภาพที่เรียบง่าย แต่การวางนกพิราบไว้บนจุดตัดที่ด้านล่างขวานั้นก็อาจสร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับภาพได้เช่นกัน หากนกพิราบอยู่ตรงกึ่งกลาง ภาพที่ออกมาอาจเหมือนในรูปต่อไปนี้

ภาพดูค่อนข้างไม่เป็นมืออาชีพเลยใช่ไหม

นั่นเป็นเพราะพื้นที่ว่างทางด้านซ้าย ขวา บน ล่างของนกพิราบมีสัดส่วนเท่ากัน จึงทำให้สื่อถึงความไม่มั่นคงนั่นเอง นอกจากนี้ การจัดองค์ประกอบภาพที่มีตัวแบบวางไว้ตรงกลางภาพเช่นนี้เรียกว่า การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง ซึ่งผมจะอธิบายในรายละเอียดไว้ในตอนที่ 2

เราลองมาดูภาพถ่ายอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์จากกฎสามส่วนกัน

กฎสามส่วนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตเช่นกัน คุณจะเห็นได้ว่ากลีบของดอกพลับพลึงแดงถูกจัดวางไว้ที่จุดตัดด้านขวาบน นอกจากนี้ คุณไม่จำเป็นต้องแบ่งภาพออกเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน กฎสามส่วนเป็นเพียงแค่แนวทางเท่านั้น แม้แต่ในภาพด้านบน หากพูดจริงๆ แล้ว ตัวแบบไม่ได้อยู่กึ่งกลางจากจุดตัด

ตอนนี้เราลองมาดูภาพที่มีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นสักสองสามอย่าง ดอกซากุระถูกจัดวางในลักษณะที่ดูเหมือนเป็นเส้นขอบรอบๆ เส้นตาราง นอกจากนี้ ปราสาทที่อยู่ในฉากหลังถูกจัดวางไว้ในตำแหน่งใกล้กับจุดตัดด้านซ้ายล่าง

ภาพถัดไปคือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

คุณจะเห็นวาฬออร์กาขนาดใหญ่อยู่ที่ด้านบนซ้าย ขณะที่เด็กซึ่งพยายามจะจับวาฬนั้นอยู่ที่ด้านล่างขวาของภาพ การจัดวางตัวแบบที่มีมากกว่าสองตัวแบบขึ้นไปบนจุดตัดในลักษณะนี้ จะทำให้คุณได้ภาพที่มีความสมดุล

ลองจินตนาการถึงเส้นตารางที่แบ่งภาพออกเป็นสามส่วนในลักษณะเดียวกันนี้เมื่อคุณมองผ่านช่องมองภาพ และจัดวางตัวแบบโดยใช้จุดตัดและเส้นเป็นตัวบอก นอกจากภาพถ่ายจะออกมาดูสวยงามแล้ว วิธีนี้ยังทำให้ภาพของคุณสื่อถึงความมั่นคงและถ่ายทอดความโล่งกว้างในระดับปานกลางอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวิธีนี้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว ข้อเสียที่พบคือเป็นวิธีที่ดูเหมือนจะป้องกันความเสี่ยงมากจนเกินไปและทำให้ภาพไม่มีชีวิตชีวา ในกรณีเช่นนี้ คุณอาจลองใช้กฎสี่ส่วนดูบ้าง ซึ่งผมจะแนะนำในลำดับต่อไป

ลองใช้กฎสี่ส่วนเมื่อคุณคุ้นเคยกับกฎสามส่วนแล้ว

การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสี่ส่วนซึ่งผมจะแนะนำนี้จะแบ่งหน้าจอเป็น 16 ส่วน โดยใช้เส้นแนวนอน 4 เส้นและเส้นแนวตั้ง 4 เส้น

เมื่อเทียบกับกฎสามส่วน ในการใช้กฎสี่ส่วน ตัวแบบจะถูกจัดวางไว้ใกล้กับขอบด้านนอกของภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดพื้นที่ว่างรอบตัวแบบที่จัดวางไว้ เป็นการขยายความกว้างของภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้อง DSLR มีอัตราส่วนภาพ 3:2 ซึ่งจะกว้างขึ้นตามแนวนอน ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะกับกล้องชนิดนี้อย่างยิ่ง
เมื่อผมลองสำรวจภาพที่ตนเองถ่ายไว้ ผมพบว่ามีรูปถ่ายที่ใช้กฎสี่ส่วนมากกว่ากฎสามส่วน

นี่คือภาพพระอาทิตย์ขึ้น หากวางเส้นขอบฟ้าในจุดที่ต่ำกว่า 1/4 ของหน้าจอ ผมจะสามารถแทรกผืนฟ้าอันกว้างใหญ่ พร้อมจับภาพท้องฟ้าที่กำลังเคลื่อนตัวและเปลี่ยนแปลงไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากวางดวงอาทิตย์ยามเช้าไว้ที่ด้านล่างขวาของภาพ ผมจะสามารถเก็บภาพท้องฟ้าที่กำลังเปลี่ยนสี ขณะมองจากด้านล่างขวาของภาพขึ้นไปที่ด้านบนซ้ายได้อย่างเต็มที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ภาพถ่ายเน้นเก็บความกว้างใหญ่ไพศาล เช่น ทิวทัศน์ ตัวแบบมักจะถูกนำมารวมไว้ตรงจุดกึ่งกลางเมื่อใช้กฎสามส่วน ซึ่งทำให้ภาพดูแออัด ในกรณีเช่นนี้ ผมขอแนะนำให้ใช้กฎสี่ส่วน

ในภาพนี้ เส้นขอบฟ้าถูกจัดวางไว้ตรงกึ่งกลาง เพื่อให้ความรู้สึกถึงท้องทะเลอันเงียบสงบ นอกจากนี้ ยังมีคนสองคนปรากฏขึ้นในภาพตรงจุดตัดจุดหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ช่างตัวเล็กเหลือเกินเมื่อเทียบกับท้องทะเลอันกว้างใหญ่ แม้ว่าในภาพนี้เราจะไม่ได้นำกฎสามส่วนมาใช้ ภาพก็ไม่ได้ดูแปลกแต่อย่างใด

ฉากนี้เป็นฉากที่ดูแปลกตาเล็กน้อย ผมเก็บภาพพื้นที่กว้างใหญ่ทางด้านซ้ายและบนฉากหลังโดยใช้กฎสี่ส่วน โดยมีต้นไม้ในโฟร์กราวด์เป็นตัวแบบหลัก เพื่อให้เกิดความรู้สึกราวกับภาพกำลังบอกเล่าเรื่องราว

ภาพนี้ก็เช่นเดียวกัน คุณจะเห็นว่าตัวแบบหลักถูกวางไว้ที่ด้านล่างซ้ายของภาพ ขณะที่ทางด้านขวามองผ่านไปยังฉากหลังจะมีเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ดูกลมกลืนเข้ากันอย่างชัดเจน

การใช้กฎสี่ส่วนในภาพด้านบน คุณจะสามารถสร้างภาพที่แตกต่างจากภาพอื่นๆ ที่ใช้การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วนเล็กน้อย เมื่อคุณคุ้นเคยกับการใช้กฎสามส่วนแล้ว ทำไมไม่ลองใช้กฎสี่ส่วนดูบ้าง

ผมหวังว่าคุณจะเข้าใจเกี่ยวกับกฎสามส่วนและกฎสี่ส่วนเป็นอย่างดี ในส่วนถัดไป ผมจะอธิบายการจัดองค์ประกอบภาพอื่นๆ ที่คุณควรฝึกฝนเพิ่มเติมเมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพ ได้แก่ องค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางและองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม ผมหวังว่าคุณจะรู้สึกตื่นเต้นพอๆ กับผมนะครับ

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา