ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #2: การใช้มุมกว้าง/ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้

2017-01-05
3
4.23 k
ในบทความนี้:

อาคารเป็นตัวแบบสำหรับถ่ายภาพที่ได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่คุณพบขณะเดินเล่นรอบๆ ละแวกบ้าน หรือผลงานสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในต่างแดนก็ตาม ในบทความที่มีความยาว 4 ตอนต่อเนื่องนี้ เราจะมาเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการถ่ายภาพอาคารให้สวยงามน่าทึ่งกัน โดยในตอนที่ 2 นี้ ผมจะแนะนำการใช้เลนส์มุมกว้างและเลนส์เทเลโฟโต้ (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)

EOS 6D/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 120 มม./ Aperture-priority AE (f/4.5, 1/100 วินาที, EV+2)/ ISO 10000/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างและในอาคาร/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

เลนส์ชนิดใดที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพอาคาร

การจะถ่ายภาพอาคารโดยรวมทั้งหมดได้นั้นคุณจำเป็นจะต้องใช้เลนส์ที่มีช่วงทางยาวโฟกัสมุมกว้าง ในขณะที่การเก็บรายละเอียดจากระยะไกลนั้นคุณจะต้องใช้เลนส์ที่มีช่วงทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ ดังนั้น เลนส์ซูมเดี่ยวซึ่งครอบคลุมทั้งช่วงมุมกว้างและช่วงเทเลโฟโต้จึงเหมาะอย่างยิ่ง นอกจากเลนส์ที่ใช้สำหรับภาพตัวอย่างนี้แล้ว เรายังขอแนะนำเลนส์ EF-S 18-135mm f/3.5-5.6 IS STM สำหรับผู้ใช้กล้อง APS-C

 

ถ่ายภาพบริเวณที่กว้างในช่วงมุมกว้าง

โดยทั่วไป มุมรับภาพที่น้อยกว่า 35 มม. (เทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) มักเรียกกันว่า "มุมกว้าง" และใช้สำหรับถ่ายภาพบริเวณที่กว้าง ซึ่งมุมกว้างนี้จะช่วยให้คุณสามารถเก็บภาพอาคารทั้งหมดในระยะใกล้ในกรณีที่คุณไม่สามารถถ่ายจากในระยะไกลได้ หรือเมื่อคุณพยายามจะถ่ายภาพมุมกว้างในห้องเล็กๆ

เรียนรู้เกี่ยวกับเลนส์มุมกว้างและคุณสมบัติเด่นของเลนส์ในบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับเลนส์มุมกว้าง:
ตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
ตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

ถ่ายที่ความยาวโฟกัส 26 มม.
เพดานแบบเปิด ผมใช้มุมรับภาพที่กว้างเพื่อเก็บภาพโครงสร้างทั้งหมดให้พอดีกับจอภาพ

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 26 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/50 วินาที, EV+2.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างและในอาคาร/ สถานที่: ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

ใช้ช่วงเทเลโฟโต้เพื่อเก็บรายละเอียดของภาพ

โดยทั่วไปมุมรับภาพที่มีความกว้างมากกว่า 85 มม. (*เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) เราเรียกว่า "เทเลโฟโต้" เป็นระยะซึ่งช่วยให้ตัวแบบที่อยู่ไกลดูใกล้มากขึ้นกว่าความเป็นจริงเมื่อถ่ายภาพในช่วงเทเลโฟโต้ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์หากคุณต้องการโฟกัสที่รายละเอียดของตัวแบบที่อยู่ไกลออกไป

ก่อน

ถ่ายที่ความยาวโฟกัส 24 มม.
ห้องรับแขกสุดคลาสสิก ผมใช้มุมรับภาพในช่วงมุมกว้างเพื่อเก็บภาพห้องทั้งหมด

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/40 วินาที, EV+1.3)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: มืดและในอาคาร/ สถานที่: อาคารเมจิ ยะซุดะ เซเมอิ เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

หลัง

ถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 300 มม.
โคมไฟที่สวยงามซึ่งมีดีไซน์อันละเอียดประณีต ถ่ายที่ช่วงเทเลโฟโต้จึงให้ความรู้สึกถึงพื้นผิวของโคมไฟ

EOS 6D/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 300 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/320 วินาที, EV+1.3)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: มืดและในอาคาร/ สถานที่: อาคารเมจิ ยะซุดะ เซเมอิ เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

เมื่อถ่ายภาพอาคารควรหลีกเลี่ยงการใช้เลนส์ในช่วงมุมกว้างหากทำได้

เนื่องจากเลนส์มุมกว้างใช้มุมรับภาพที่เน้นถึงความรู้สึกห่างไกล ดังนั้น เมื่อเราถ่ายภาพอาคารโดยใช้มุมกว้างผลภาพที่ได้จะดูบิดเบี้ยวอย่างมาก เพื่อไม่ให้ตัวแบบของคุณ เช่น อาคาร เกิดความบิดเบี้ยว วิธีที่ดีที่สุดคือยืนให้ห่างจากอาคารให้มากที่สุด และใช้มุมรับภาพที่ใกล้กว่าปกติ (เช่น ใกล้กว่ามุมรับภาพที่มนุษย์มองเห็น) แทนที่จะเลือกใช้มุมกว้าง นอกจากนี้ การถ่ายภาพอาคารจากทางด้านซ้ายหรือด้านขวาจะเป็นการเน้นระดับของความบิดเบี้ยวมากขึ้น ดังนั้น พยายามมองหาจุดที่คุณสามารถหันหน้าเข้าหาจุดกึ่งกลางของอาคารได้โดยตรง

ก่อน

ภาพอาคารที่ถ่ายในระยะใกล้
ความบิดเบี้ยวเพิ่มมากขึ้นในภาพ เนื่องจากผมถ่ายภาพอาคารจากระยะใกล้
EOS M/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 17.6 มม. (*เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/11.0, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างและแสงแดดจ้า/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว (ทางออกมารุโนะอุชิ) เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

หลัง

ภาพอาคารที่ถ่ายในระยะไกล
อาคารทำจากอิฐที่สถานีรถไฟโตเกียว เมื่อถ่ายภาพจากระยะไกล ผมสามารถถ่ายภาพอาคารได้ทั้งหมดโดยเกิดความบิดเบี้ยวน้อยมาก

EOS M/ EF-M18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 28.8 มม. (*เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างและแสงแดดจ้า/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว (ทางออกมารุโนะอุชิ) เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง เลนส์เทเลโฟโต้ และเลนส์มาตรฐาน โปรดดูที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ – ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

 

 

 

 

 

Takeshi Akaogi

 

ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย

http://www.flipphoto.org

 

Etica

 

ทีมงานเบื้องหลังนิตยสารกล้องสัญชาติญี่ปุ่น "Camera Biyori" และหนังสืออื่นๆ อีกมากมาย จัดงานอีเว้นต์ต่างๆ และเปิดโรงเรียนสอนถ่ายภาพ "Tanoshii Camera School"

https://etica.jp

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา