เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ – ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าภายใต้แสงอาทิตย์
การใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์โดยมีสัตว์ป่าที่อยู่ไกลเป็นตัวแบบได้ ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเทคนิคที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าอันน่าประทับใจที่มีแสงอาทิตย์ขนาดมโหฬารเป็นแบ็คกราวด์ (เรื่องโดย: Takayuki Maekawa)
EOS-1D X/ EF600mm f/4L IS II USM+EXTENDER EF1.4×III/ FL: 840 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/250 วินาที, EV-1.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาอันกว้างใหญ่ในประเทศเคนยาของทวีปแอฟริกา ผมยืนเล็งกล้องจากหลังคารถซาฟารีไปที่ฉากเบื้องหน้า ซึ่งมีโทพีหลายตัวกำลังยืนอยู่บนยอดเนินสูงชัน พร้อมดวงอาทิตย์ที่กำลังคล้อยลงต่ำอย่างช้าๆ ในส่วนแบ็คกราวด์
ทำให้แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสโดยการเปิดรูรับแสงกว้างสุดเพื่อเน้นให้ตัวแบบดูโดดเด่น
ผมเก็บภาพดวงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่กำลังตกดินไว้ในส่วนแบ็คกราวด์ พร้อมถ่ายภาพซิลูเอตต์ของโทพีสามตัวที่กำลังกินหญ้า ในระหว่างผสานภาพของสัตว์ป่าและดวงอาทิตย์เข้าด้วยกันโดยใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้นั้น การประสานทำได้ยากหากคุณไม่อยู่ห่างจากตัวแบบในระยะที่พอประมาณ เนื่องจากขนาดของดวงอาทิตย์ไม่เปลี่ยนแปลงไป คุณจึงควรพิจารณาถึงขนาดของตัวแบบเพื่อค้นหาภาพถ่ายที่เหมาะสมกับดวงอาทิตย์
ในภาพนี้ ผมอยู่ห่างจากโทพีในระยะ 100 ม. สิ่งที่ต้องใช้ความพยายามมากที่สุดคือ การเปลี่ยนตำแหน่งที่ยืนบ่อยๆ เพื่อจัดเฟรมภาพในระหว่างที่ทั้งสัตว์ป่าและดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไป ดังนั้น การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขนาดมหึมาเป็นฉากหลังจึงอาจเป็นงานที่หนัก
ผมตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุดเพื่อถ่ายภาพนี้ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้คือ ช่วยให้คุณสามารถเข้าใกล้ตัวแบบได้อย่างแท้จริง และสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ในบริเวณที่อยู่ในโฟกัสได้ การตั้งค่ารูัรับแสงกว้างสุดนับว่าเป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากที่สุด เพราะช่วยทำให้ภาพมีความน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น
EOS-1Ds Mark III/ EF600mm f/4L IS II USM/ FL: 840 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/100 วินาที, EV-1)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพที่ถ่ายโดยการจัดองค์ประกอบภาพระยะใกล้
นี่เป็นภาพหนึ่งที่ผมถ่ายในระยะใกล้ที่ 600 มม. ในการจัดองค์ประกอบภาพ ผมรวมช้างแอฟริกาที่ยืนเรียงแถวและดวงอาทิตย์ที่ค่อยๆ โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าเข้าไว้ในภาพ ขณะที่จัดวางให้ต้นไม้ในแบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสไว้มากๆ
EOS-1D X/ EF600mm f/4L IS II USM/ FL: 600 มม. / Manual Exposure (f/4, 1/1000 วินาที,)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ผลกระทบทางอารมณ์ต่อผู้ชมลดน้อยลงหากภาพของสัตว์มีขนาดเล็กเกินไป
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 600 มม. เช่นเดียวกัน แม้ว่าเราจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้พอสมควร แต่ภาพยังไม่น่าจับใจเท่าใดนัก ในที่สุด ผมเลือกใช้ตัวต่อขยายช่องมองภาพ EF 1.4xIII เพื่อให้เข้าใกล้ตัวแบบได้มากยิ่งขึ้น
จุดสำคัญ: ทำให้เลนส์นิ่งขณะถ่ายภาพ
ผมถ่ายภาพจากรถซาฟารีที่มีหลังคาขนาดใหญ่เปิดโล่ง จากนั้นติดตั้งเลนส์ที่ด้านบนของหนอนเม็ดโฟมขนาดเทอะทะซึ่งอยู่ด้านบนขอบหลังคา และหากคุณใช้ขาตั้งกล้องด้วย ก็จะช่วยให้ใช้งานวงแหวนโฟกัสได้ง่ายขึ้น
การใช้งานเลนส์: จุดโฟกัสจุดเดียวของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ช่วยรักษาระยะห่างที่เหมาะสมได้
เล็งไปที่ตัวแบบจากระยะไกลมากๆ ด้วย EF600mm f/4L IS II USM ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถ "เข้าใกล้" ตัวแบบพร้อมกับสังเกตสถานการณ์เบื้องหน้าได้ สำหรับโหมดป้องกันการสั่นไหว ควรลองใช้โหมด 1, 2, และ 3 ก่อนล่วงหน้าเพื่อพิจารณาว่าแต่ละโหมดเหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์ใดบ้าง จากนั้นจึงตั้งค่าให้สอดคล้องกัน นอกจากนี้ คุณยังสามารถปิดการใช้งานระบบป้องกันการสั่นไหวได้หากคุณกำลังใช้งานขาตั้งกล้อง เพื่อให้กล้องไม่เกิดอาการสั่นไหว
เมื่อใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ หากคุณบังเอิญ "คลาด" กับตัวแบบที่เคลื่อนที่เร็ว อย่างเช่นนกที่หลุดออกจากเฟรมภาพ การหาตำแหน่งของนกใหม่ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น จึงควรทำความคุ้นเคยกับการหาตำแหน่งของตัวแบบโดยใช้ตาเปล่าเป็นอันดับแรก ก่อนที่คุณจะถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพต่อไป
สงสัยว่าเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้มีการพัฒนาในวงการอย่างไรใช่หรือไม่ อ่านเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ ซึ่งจับคู่กล้อง EOS 7D Mark II กับเลนส์ EF500mm f/4L IS II USM และ ตัวต่อขยายช่องมองภาพ EF 1.4xIII
Takayuki Maekawa
เกิดในโตเกียว ปี 1969 เคยฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Kojo Tanaka ในปี 1997 เขาเริ่มทำงานเป็นช่างภาพตั้งแต่ปี 2000 นอกเหนือจากการผจญภัยเพื่อถ่ายภาพในทุ่งโล่งตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงญีุ่ปุ่น อเมริกาเหนือ แอฟริกา อินโดนีเซีย อินเดีย ฯลฯ แล้ว เขายังทำงานพิมพ์หนังสือและจัดนิทรรศการอีกด้วย
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation