[คำถามที่ 1] ภาพที่ถ่ายในที่มืดออกมาเบลอไม่คมชัด มีวิธีการป้องกันปัญหานี้ไหม?
ภาพที่เบลอมักเกิดขึ้นเมื่อถ่ายภาพในเวลากลางคืนหรือในห้องที่มีแสงสลัว ปัญหานี้เกิดขึ้นได้ง่ายเพราะในสภาวะแสงน้อย ความเร็วชัตเตอร์จะทำงานช้าลง เคล็ดลับบางประการในการป้องกันไม่ให้เกิดภาพเบลอ (บรรณาธิการ Camera Biyori, ภาพโดย Takeshi Akaogi)
A: ถือกล้องให้มั่นคง
การตั้งค่ากล้อง
ทุกโหมดการใช้งาน
ให้แขนทั้งสองข้างแนบลำตัวไว้ และยืนในท่าที่มั่นคง
จับกล้องด้วยมือขวาและประคองด้านล่างเลนส์ด้วยมือซ้าย เมื่อยืนหนีบแขนสองข้างไว้แนบลำตัวดีแล้ว กล้องจะนิ่งมากขึ้น ทำให้ยากที่จะเกิดปัญหาภาพเบลอ
ยืนพิงเสา กำแพง หรือราวบันได
การยืนพิงเสา กำแพง หรือราวบันไดในบริเวณที่คุณถ่ายภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงเมื่อถือกล้อง วิธีนี้จะช่วยป้องกันภาพเบลออย่างได้ผล เนื่องจากลำตัวของคุณได้ยันอยู่กับสิ่งที่มั่นคง
ใช้สายคล้องกล้องช่วยเพิ่มความมั่นคง
เมื่อถ่ายภาพในโหมด Live View ให้เหยียดแขนพร้อมดึงสายคล้องกล้องให้ตึงเพื่อเพิ่มความมั่นคงและช่วยให้กล้องนิ่งขึ้น
A: เพิ่มค่าความไวแสง ISO และความเร็วชัตเตอร์
การเพิ่มค่าความไวแสง ISO ทำให้ได้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น จึงเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ภาพเบลอ
การตั้งค่ากล้อง
Program Auto
Aperture-Priority AE
Shutter-Priority AE
Manual
ค่าความไวแสง ISO คืออะไร?
ค่าความไวแสง ISO เป็นค่าความไวต่อแสงของกล้อง ค่ายิ่งสูง กล้องก็จะยิ่งไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาภาพเบลอได้ยาก แม้ในสถานที่ที่มืดและเมื่อถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม ภาพที่ได้มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพต่ำลงเมื่อใช้ค่าความไวแสง ISO สูงเกินไป ดังนั้น จำไว้ว่า ให้ใช้ค่าใน “Normal ISO Sensitivities” เป็นเกณฑ์
*”Normal ISO Sensitivities” หมายถึงช่วงความไวแสง ISO ที่กำหนดโดยผู้ผลิตกล้องเพื่อให้กล้องแต่ละรุ่นถ่ายภาพได้สวยงาม หากกล้องมีค่านี้ยิ่งสูงเท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่ากล้องรุ่นนั้นๆ เหมาะกับการถ่ายภาพในสถานที่มืดได้มากเท่านั้น
มาลองถ่ายภาพกันเลย!
ตัวอย่างที่ไม่ผ่าน
f/4/ ISO100/ ความเร็วชัตเตอร์ 1/30 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์ช้าทำให้ถ่ายติดภาพการสั่นไหวของกล้องที่เกิดขึ้นและทำให้ภาพขาดความชัดเจน
ตัวอย่างที่ถ่ายด้วยค่าความไวแสง ISO สูง
f/4/ ISO400/ ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นเมื่อความไวแสง ISO เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ได้ภาพที่สดใสโดยปราศจากความพร่ามัว สามารถเห็นเส้นใยของหัวหอมได้ชัดเจน
ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ เขายังสอนในงานเวิร์คช็อปการถ่ายภาพต่างๆ อีกด้วย
http://www.flipphoto.org
Camera Biyori เป็นนิตยสารภาพถ่ายของญี่ปุ่น ซึ่งนำเสนอภาพถ่ายที่สวยงามและความสนุกสนานในการใช้กล้องในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการแนะนำกิจกรรมสนุกๆ เกี่ยวกับกล้องและการถ่ายภาพ ฝ่ายบรรณาธิการของนิตยสาร Camera Biyori ยังได้ตั้ง “โรงเรียนสอนการถ่ายภาพ Camera Biyori” ที่จะช่วยชี้แนะผู้อ่านเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายภาพและเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
จัดพิมพ์โดย Daiichi Progress Inc.