[คำถามที่ 4] ฉันควรทำอย่างไร หากเอฟเฟ็กต์โบเก้ในแบ็คกราวด์ออกมาไม่เป็นอย่างที่ฉันคาดไว้
คุณกำลังมีปัญหาในการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ให้สวยน่าประทับใจใช่ไหม......เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ให้เรามาเรียนรู้เทคนิคบางอย่างที่จะช่วยคุณสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมได้ มีหลากหลายวิธีในการสร้างโบเก้ใหญ่ๆ แต่ในตัวอย่างนี้ เราจะเรียนรู้วิธีทั่วไปที่ทำได้ง่าย (บรรณาธิการโดย Camera Biyori, ภาพโดย: Yuji Ogura)
หน้า: 1 2
การตั้งค่ากล้อง
Av: Aperture-Priority AE, M: กำหนดเอง
A1: เปิดรูรับแสงของเลนส์ให้กว้าง
ยิ่งใช้ค่ารูรับแสงเป็นตัวเลขน้อยลง เอฟเฟ็กต์โบเก้ก็ยิ่งชัดขึ้นในส่วนโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ของตัวแบบที่อยู่ในโฟกัส ทำให้ภาพดูนุ่มนวล ค่า f ที่ต่ำที่สุดเรียกว่า “รูรับแสงกว้างสุด” และมีค่าแตกต่างกันตามเลนส์แต่ละรุ่น
รูรับแสง คืออะไร?
รูรับแสง หมายถึง ขนาดการเปิดออกของเลนส์ ซึ่งกำหนดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังเซนเซอร์ภาพ ค่ารูรับแสงเป็นตัวเลขที่แสดงขนาดการเปิดออกของเลนส์
เลขระบุขนาดรูรับแสงกว้างสุดของเลนส์
A2: เข้าใกล้ตัวแบบให้มากเท่าที่เป็นไปได้
เอฟเฟ็กต์โบเก้จะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณอยู่ใกล้ตัวแบบมากขึ้น ระยะใกล้สุดที่ตัวแบบต้องอยู่เพื่อจะให้เข้าพื้นที่โฟกัสเรียกว่า “ระยะการถ่ายต่ำสุด” และค่านี้เปลี่ยนไปตามเลนส์แต่ละรุ่นเช่นกัน
ระยะการถ่ายต่ำสุด คืออะไร
ตัวเลขที่ระบุบนเลนส์ คือ ระยะการถ่ายต่ำสุด (ในวงกลมสีแดงในภาพด้านล่าง) ระยะการถ่ายต่ำสุดนี้วัดจาก “เครื่องหมายระนาบโฟกัส” ที่พบบนตัวกล้องจนถึงตำแหน่งของตัวแบบ
เลขระบุระยะการถ่ายต่ำสุดของเลนส์
สัญลักษณ์ระนาบภาพบนบอดี้กล้อง
ภาพนี้มีโฟกัสอยู่ที่ตัวกวางด้านหน้าในส่วนโฟร์กราวด์ หากค่า f สูง กวางด้านหลังและรายละเอียดต่างๆ บนโปสเตอร์ก็จะปรากฏชัดเจน
ภาพนี้มีโฟกัสอยู่ตัวกวางด้านหน้าในส่วนโฟร์กราวด์เช่นกัน เมื่อลดค่า f ลง จะเห็นว่าทั้งโปสเตอร์และกวางในส่วนแบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัส ซึ่งจะทำให้ตัวแบบหลักโดดเด่นขึ้น
ภาพที่ถ่ายด้วยค่า F4 และมีระยะห่าง 25 ซม. จากตัวแบบ
ภาพที่ถ่ายจากระยะการถ่ายต่ำสุดที่ 25 ซม. ตำแหน่งโฟกัสอยู่บนกระดุมบน เอฟเฟ็กต์โบเก้เพิ่มขึ้น เมื่อคุณขยับออกห่างจากจุดโฟกัสมากขึ้น
เลนส์ที่คุณจะสามารถสนุกกับการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้
เลนส์เดี่ยว
เลนส์เดี่ยวนั้นแตกต่างจากเลนส์ซูม โดยเลนส์เดี่ยวเปลี่ยนขนาดมุมรับภาพไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเลนส์ประเภทนี้มีโครงสร้างที่เรียบง่าย จึงมีเลนส์ที่ให้ความสว่างหลายเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดเล็ก โดยทั่วไป เลนส์ที่ให้ความสว่างที่ดี คือ เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดต่ำกว่าค่า 2.8 เป็นต้นไป
เลนส์มาโคร
เลนส์ประเภทนี้มีประสิทธิภาพการถ่ายภาพโคลสอัพเหนือกว่าเลนส์ทั่วไป และสะดวกต่อการใช้ถ่ายภาพตัวแบบในระยะประชิด อีกคุณสมบัติหนึ่งก็คือ สร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ได้ง่าย
มาลองถ่ายภาพกันเลย!
ภาพที่ดูนุ่มนวลเกิดจากเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่!
ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์เดี่ยว
ใช้ EF-S24mm f/2.8 STM
ถ่ายด้วยค่า f/2.8
ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร
ใช้ EF-S60mm f/2.8 macro USM
ถ่ายด้วยค่า f/2.8
ใช้ EF-S60mm f/2.8 macro USM
ถ่ายด้วยค่า f/2.8
งานด้านถ่ายภาพของ Ogura มีตั้งแต่การถ่ายภาพทั่วไป จนถึงการล้างอัดรูปภาพและการพิมพ์ฟิล์ม Ogura เป็นหนึ่งในคณะผู้สอนที่โรงเรียนสอนการถ่ายภาพ Camera Biyori เริ่มงานด้วยการเป็นวิศวกรในห้องแล็บล้างอัดฟิล์ม ต่อมาเขาก็ได้สร้างห้องแล็บของเขาเอง ชื่อ “mogu camera” และยังดำเนินการสตูดิโอพอร์ตเทรต “mogu sun” อีกด้วย
Camera Biyori เป็นนิตยสารภาพถ่ายของญี่ปุ่น ซึ่งนำเสนอภาพถ่ายที่สวยงามและความสนุกสนานในการใช้กล้องในชีวิตประจำวัน และเพื่อเป็นการแนะนำกิจกรรมสนุกๆ เกี่ยวกับกล้องและการถ่ายภาพ ฝ่ายบรรณาธิการของนิตยสาร Camera Biyori ยังมีโรงเรียนสอนการถ่ายภาพ Camera Biyori ที่จะช่วยแนะนำผู้อ่านให้เข้าร่วมและสนุกสนานกับการถ่ายภาพ
จัดพิมพ์โดย Daiichi Progress Inc.