ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ระบบ IS – ความลับของการลดความสั่นไหวของกล้อง

2014-11-13
1
8.8 k
ในบทความนี้:

ในกลุ่มเลนส์ EF จาก Canon รุ่นที่มีตัวอักษร "IS" อยู่ในชื่อเลนส์ หมายถึง เลนส์ที่มีระบบ Image Stabilizer ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ช่วยลดการสั่นไหวของกล้องอยู่ในตัว เป็นเวลานานกว่า 15 ปีแล้วนับตั้งแต่มีการเปิดตัวเลนส์ EF ที่มีคุณสมบัติ IS เป็นครั้งแรก แต่ถึงอย่างนั้น บางแง่มุมของคุณสมบัตินี้ เช่น ความหลากหลายของโหมด IS และการควบคุมการใช้งาน กลับยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับผู้ใช้อีกจำนวนมาก ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอฟังก์ชั่นต่างๆ ของระบบ IS นอกเหนือจากความสามารถในการลดการสั่นไหวของกล้อง

หน้า: 1 2

 

ความแตกต่างระหว่างระบบ IS ในเลนส์และในกล้อง

มักกล่าวกันว่าอาการกล้องสั่นไหวจะเกิดขึ้นเวลาที่ถ่ายภาพแบบถือด้วยมือ โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่า “1/ทางยาวโฟกัส” วินาที ความเร็วชัตเตอร์อาจช้าลง เมื่อคุณถ่ายภาพในสถานที่ที่มืดหรือในที่แสงน้อย และทำให้เลี่ยงจากอาการกล้องสั่นไปได้ยากถ้าคุณถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือ เทคโนโลยีที่ Canon พัฒนาขึ้นมาเพื่อรับมือกับปัญหานี้ ก็คือคุณสมบัติ IS นั่นเอง เมื่อเลนส์เอียงเพราะการสั่นไหวของกล้อง แสง (ภาพ) จากตัวแบบก็จะไม่ตรงกันกับแกนออพติคอล กลไกการทำงานพื้นฐานของ IS คือ ทำให้ภาพถ่ายนิ่งโดยการขยับชิ้นส่วนในระบบออพติคอลภายในเลนส์ (ชุดออพติคแก้ไข) ตามปริมาณการสั่นไหว เมื่อการแก้ไขเกิดขึ้นภายในเลนส์ เราเรียกสิ่งนี้ว่า ระบบ IS ในเลนส์ ในทางกลับกัน การชดเชยการสั่นไหวโดยการขยับเซนเซอร์ภาพภายในบอดี้กล้อง เรียกว่า ระบบ IS ในบอดี้กล้อง ซึ่งผู้ใช้จำนวนมากไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างสองระบบนี้

ภาพที่ผ่านเลนส์มาจะส่งตรงเข้าไปในกล้องตามภาพไดอะแกรม กรณีที่ใช้ระบบ IS ในเลนส์ ภาพที่แก้ไขแล้วจะสะท้อนผ่านกระจกหลักและส่งตรงไปยังช่องมองภาพและเซนเซอร์ AF ก่อนเปิดรับแสง หลังจากกระจกหลักดีดตัวขึ้นจากนั้น ม่านชัตเตอร์จะเปิดออกระหว่างการเปิดรับแสงเพื่อให้ภาพไปถึงเซนเซอร์ภาพ ขณะเดียวกัน ระบบ IS ในบอดี้กล้องจะทำการแก้ไขโดยขยับเซนเซอร์ภาพตามปริมาณการสั่นไหว ทั้งสองระบบจะแก้ไขภาพถ่ายที่บันทึกไว้แล้ว แต่จะแตกต่างกันในเรื่องสถานะของภาพที่ส่งไปยังช่องมองภาพและเซนเซอร์ AF ขณะที่ลั่นชัตเตอร์ เนื่องจากปัญหาจากการสั่นไหวจะได้รับการแก้ไขภายในเลนส์สำหรับระบบในเลนส์ ภาพจะถูกปรับให้นิ่งก่อนจะไปถึงช่องมองภาพ ทำให้ภาพที่ส่งไปถึงช่องมองภาพมีความชัดใส เอื้อให้จัดเฟรมภาพได้อย่างแม่นยำและง่าย ในลักษณะเดียวกัน ภาพที่ส่งไปยังเซนเซอร์ AF ก็จะนิ่ง ช่วยเพิ่มความเสถียรของภาพและความเร็วในการคำนวณค่า AF มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในสภาวะแสงน้อย นอกจากนี้ ระบบในเลนส์ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับใช้ดีไซน์เชิงออพติคอลที่เหมาะสมกับแต่ละเลนส์ ข้อได้เปรียบหลายประการที่ระบบ IS ในเลนส์มอบให้ในการถ่ายภาพจริง เป็นเหตุผลที่ทำให้ระบบนี้ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากผู้ใช้จำนวนมาก

ระบบ IS ในเลนส์

 

ก่อนลั่นชัตเตอร์

A: ช่องมองภาพ

B: กระจก

C: ชุดออพติคแก้ไข

D: เซนเซอร์ AF

E: เซนเซอร์ภาพ

เมื่อลั่นชัตเตอร์

A: ช่องมองภาพ

B: กระจก

C: ชุดออพติคแก้ไข

D: เซนเซอร์ AF

E: เซนเซอร์ภาพ

 
 

ระบบ IS ในบอดี้กล้อง

 

ก่อนลั่นชัตเตอร์

A: ช่องมองภาพ

B: กระจก

D: เซนเซอร์ AF

E: เซนเซอร์ภาพ

เมื่อลั่นชัตเตอร์

A: ช่องมองภาพ

B: กระจก

D: เซนเซอร์ AF

E: เซนเซอร์ภาพ

 
 

ในกล้อง SLR แสง (ภาพ) ที่ผ่านเลนส์จะสะท้อนจากกระจกหลักกึ่งโปร่งแสง และไปยังช่องมองภาพผ่านทางปริซึม ภาพที่ผ่านกระจกหลักจะสะท้อนจากกระจกด้านหลัง ก่อนจะส่งไปยังเซนเซอร์ AF เมื่อลั่นชัตเตอร์ กระจกจะดีดตัวเพื่อให้ภาพผ่านไปแตะเซนเซอร์ภาพ สิ่งที่ระบบ IS ในเลนส์แตกต่างจากระบบ IS ในบอดี้กล้อง คือภาพจะได้รับการแก้ไขก่อนส่งไปยังกระจกสะท้อน

 

โหมด IS และการควบคุม IS

ปัจจุบัน ระบบ IS ที่นำมาใช้ในเลนส์ EF แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ IS ทั่วไปสำหรับการแก้ไขการสั่นแบบมุมองศา (ความเอียงของกล้อง) อีกประเภทหนึ่ง คือ Hybrid IS ที่สามารถจัดการกับการสั่นในแนวดิ่งได้ด้วย ซึ่งจะส่งผลชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายภาพมาโคร ปัจจุบัน Hybrid IS มีเฉพาะในรุ่น EF100mm f/2.8L Macro IS USM เท่านั้น คุณสมบัติ IS บนเลนส์ EF มาพร้อมกับโหมด 3 โหมด แต่ละโหมดทำงานเพื่อแก้ไขการสั่นไหวของกล้องในวิธีที่แตกต่างกัน ตัวเลือกที่ได้ผลดีที่สุดในการถ่ายภาพทั่วไป คือ โหมด 1 ขณะเดียวกัน โหมด 2 เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบแพนกล้อง ที่การแก้ไขการสั่นไหวจะหยุดเฉพาะในทิศทางที่ถ่ายภาพเท่านั้น เมื่อระบบตรวจพบโดยอัตโนมัติว่ามีการแพนกล้องโดยใช้เลนส์ โหมด 3 ซึ่งพบได้ในเลนส์เทเลโฟโต้รุ่นล่าสุด ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการถ่ายภาพตัวแบบที่คาดเดาการเคลื่อนไหวได้ยาก เช่น ในการแข่งขันกีฬา เมื่อมีการปรับองค์ประกอบภาพหรือมีการแพนกล้องแบบฉับพลันในโหมด 1 หรือโหมด 2 การใช้งานเบื้องต้นของคุณสมบัติ IS อาจทำให้เกิดอาการกระตุกชั่วคราวบนภาพในช่องมองภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น จึงมีการพัฒนาโหมด 3 ซึ่งทำการแก้ไขการสั่นไหวระหว่างเปิดรับแสงหลังจากลั่นชัตเตอร์เท่านั้น แทนที่จะแก้ไขภาพในช่องมองภาพ โหมดนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ระดับมืออาชีพที่ต้องการการจับถือกล้องที่มั่นคงเมื่อกล้องติดตั้งเลนส์เทเลโฟโต้ โดยไม่ต้องมาคอยกังวลเกี่ยวการกระตุกของภาพในช่องมองภาพ

บางเลนส์มาพร้อมกับสวิตช์สำหรับเลือกโหมด IS ขณะที่เลนส์อื่นๆ จะสลับโหมด IS เองโดยอัตโนมัติ เลนส์สำหรับช่างภาพมือสมัครเล่นระดับสูงและมืออาชีพส่วนมากจะมีสวิตช์เลือกโหมด ขณะที่เลนส์สำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไปจะมีเพียงสวิตช์ เปิด/ปิดระบบ IS เท่านั้น อย่างไรก็ดี แม้ในกลุ่มเลนส์ที่มีเพียงสวิตช์ เปิด/ปิด บางรุ่นก็สามารถตรวจจับการแพนกล้องและสลับไปใช้งาน IS โหมด 2 ได้เช่นเดียวกัน เราจึงขอแนะนำให้คุณศึกษาคู่มือการใช้งานเลนส์ที่ใช้อยู่ เพื่อดูว่าเลนส์ของคุณรองรับการใช้งานดังกล่าวได้หรือไม่

มีผู้ใช้จำนวนมากที่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาต้องปิดระบบ IS ไหมเมื่อตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง แท้จริงแล้ว ตั้งแต่เปิดตัวเลนส์ EF300mm f/2.8L IS USM ในเดือนกรกฎาคม 1999 เลนส์ EF ทุกรุ่นที่มีคุณสมบัติ IS ก็มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการตรวจจับที่จะปิดใช้งานระบบ IS โดยอัตโนมัติ เมื่อต่อกล้องเข้ากับขาตั้งกล้อง สำหรับเลนส์ที่มาพร้อมสวิตช์เลือกโหมด คุณอาจจะต้องสลับโหมดตามแต่สถานการณ์ แต่สำหรับเลนส์ที่ใช้คุณสมบัติ IS ที่เพิ่งผ่านการพัฒนาใหม่ล่าสุด คุณสามารถเปิดไว้ได้ตลอดเวลา หากไม่จำเป็นต้องปิดใช้งานเนื่องจากสภาวะแวดล้อม

โครงแบบของชุดระบบ IS

A: ทิศทางที่ชุดออพติคแก้ไขเคลื่อนที่

B: แผงวงจร

C: PSD

D: แม่เหล็ก

E: IRED

F: สลักยึดท่อเลนส์ชุดออพติคแก้ไข

G: แกน (แผ่นฟลักซ์แม่เหล็ก)

H: ชุดออพติคแก้ไข

I: ท่อเลนส์ชุดออพติคแก้ไข

J: เพลานำ

K: กลไกล็อคชุดออพติคแก้ไข

ปริมาณการเคลื่อนที่ของชุดออพติคแก้ไขในระบบ IS จะคำนวณโดยเซนเซอร์ไจโรตรวจจับการสั่นไหวขนาดจิ๋ว (PSD) สองตัวที่ทำหน้าที่ตรวจจับการสั่นไหวของกล้องในแนวตั้งและแนวนอนในรูปแบบความเร่งของมุมองศา เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ล็อคสำหรับชุดออพติคแก้ไขจะถูกปลดออก เซนเซอร์ไจโรตรวจจับการสั่นไหว (PSD) จะตรวจจับการสั่นไหวของกล้อง และส่งสัญญาณการตรวจจับไปยังไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแปลงสัญญาณการตรวจจับเป็นสัญญาณการสั่นไหวให้กับชุดออพติคแก้ไข จากนั้น จะส่งสัญญาณการสั่นไหวไปยังวงจรการขับเคลื่อนเพื่อเริ่มเคลื่อนชุดออพติคแก้ไข

 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา