เสน่ห์ของกล้อง DSLR อยู่ที่ระบบซึ่งสามารถขยายศักยภาพได้และคุณภาพภาพถ่ายที่สูงเต็มเปี่ยม ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้ถึงลักษณะเฉพาะของกล้องดิจิตอล DSLR โดยเปรียบเทียบกับกล้องดิจิตอลคอมแพค (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
พลังการถ่ายทอดรายละเอียดที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
ขนาดของเซนเซอร์ภาพในกล้อง SLR ที่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับกล้องดิจิตอลคอมแพคช่วยให้การสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ง่ายขึ้น แบ็คกราวด์ที่เบลอมากๆ จะช่วยขับเน้นตัวแบบหลักให้ดูโดดเด่นยิ่งขึ้น
ในทางกลับกัน กล้องดิจิตอลคอมแพคมีเซนเซอร์ภาพขนาดเล็ก และไม่รองรับการถอดเปลี่ยนเลนส์ จึงยากต่อการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่
ผลจากขนาดของเซนเซอร์ภาพต่อเอฟเฟ็กต์โบเก้
นอกจากรูปลักษณ์ภายนอก กล้อง DSLR และกล้องดิจิตอลคอมแพคยังต่างกันในเรื่องโครงสร้างภายในกล้องด้วย ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดคือ เซนเซอร์ภาพ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำหรับการรับแสงและสร้างภาพ ในขณะที่กล้องดิจิตอลคอมแพคมีเซนเซอร์ภาพขนาดเล็กเพียง 1/2 นิ้ว เซนเซอร์ขนาด APS-C ซึ่งใช้กับกล้อง DSLR โดยทั่วไปกลับมีพื้นที่ใหญ่กว่าประมาณ 10 เท่า เซนเซอร์ภาพที่ใหญ่กว่าทำให้แต่ละพิกเซลรับแสงได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มข้อได้เปรียบมากมายให้กับคุณสมบัติทางไฟฟ้า เช่น ระดับจุดรบกวนต่ำ นอกจากนี้ ความรู้สึกของภาพที่ได้ก็ต่างกันอย่างมากเมื่อมีแบ็คกราวด์เบลอ ในแง่นี้ กล้อง DSLR ซึ่งถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ จึงเหนือกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพค ความแตกต่างของเอฟเฟ็กต์โบเก้ตามขนาดเซนเซอร์ภาพส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับทางยาวโฟกัสของเลนส์ หากเราเปรียบเทียบภาพสองภาพที่มีการจัดวางองค์ประกอบเหมือนกัน ทางยาวโฟกัสมีแนวโน้มจะสั้นกว่า (มุมกว้างกว่า) เมื่อพื้นที่ตรงนั้นถ่ายด้วยเซนเซอร์ภาพที่มีขนาดเล็กกว่า ทำให้สร้างแบ็คกราวด์เบลอได้ยาก ดังนั้น เหตุผลหนึ่งที่ภาพถ่ายออกมาดูแตกต่างกันมากเมื่อใช้กล้อง DSLR อาจเป็นเพราะขนาดเซนเซอร์ภาพ
ขนาดเซนเซอร์ภาพที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
1: 35 มม.
2: 24 มม.
3: 36 มม.
พื้นที่ที่ถ่ายได้ด้วยฟิล์ม 35 มม. อยู่ที่ประมาณ 24 x 36 มม. ชื่อ “35 มม.” มาจากความกว้างของฟิล์ม
1: 24 มม.
2: 36 มม.
เซนเซอร์ฟูลเฟรมถ่ายภาพพื้นที่เดียวกันได้เหมือนกับฟิล์ม 35 มม. เซนเซอร์ชนิดนี้ส่วนใหญ่พบได้ในกล้อง EOS ซึ่งได้รับการออกแบบสำหรับช่างภาพมืออาชีพและมือสมัครเล่นระดับสูง
1: 14.9 มม.
2: 22.3 มม.
เซนเซอร์ชนิดนี้ใช้กับกล้องหลากหลายประเภท ตั้งแต่ระดับเริ่มใช้งานไปจนถึงระดับกลาง เอื้อให้ออกแบบกล้องได้มีขนาดกะทัดรัดโดยคงคุณภาพของภาพถ่ายไว้ที่ระดับสูง
1: 4.8 มม.
2: 6.4 มม.
ภาพนี้คือเซนเซอร์ขนาด 1/2 นิ้ว สำหรับกล้องดิจิตอลคอมแพค มีการใช้เซนเซอร์ CMOS หลายขนาด เช่น 1/2.5 นิ้วและ 1/1.7 นิ้ว
คุณภาพภาพถ่ายขึ้นอยู่กับขนาดเซนเซอร์ภาพเช่นกัน
ด้านบนนี้เป็นการเปรียบเทียบขนาดเซนเซอร์ภาพทั่วๆ ไปกับฟิล์ม 35 มม. เป็นหลัก เราจะเห็นได้ว่า แม้สำหรับเซนเซอร์ขนาด APS-C ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็มีพื้นที่ใหญ่เพียงพอ และเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเซนเซอร์ของกล้องดิจิตอลคอมแพค พื้นที่ของเซนเซอร์ขนาด APS-C ใหญ่กว่าเซนเซอร์ขนาด 1/2 นิ้วซึ่งใช้กับกล้องดิจิตอลคอมแพคประมาณ 10 เท่า และยิ่งมีช่องว่างกว้างกว่าเมื่อเป็นเซนเซอร์ฟูลเฟรม ซึ่งใหญ่กว่าประมาณ 28 เท่า นอกจากเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เกิดจากขนาดเซนเซอร์ภาพที่ใหญ่กว่าแล้ว แต่ละพิกเซลภายในเซนเซอร์ภาพยังสามารถรับแสงได้มากกว่า ภาพที่ได้จึงเกิดเม็ดเกรนน้อย (มีจุดรบกวนน้อย) ขณะเดียวกัน การเกลี่ยสีจากขาวไปดำยังเป็นการขยายพื้นที่สำหรับการถ่ายด้วยเซนเซอร์ภาพอีกด้วย
การขยายขีดจำกัดการถ่ายทอดอารมณ์ด้วยความหลากหลายของเลนส์
ด้วยจำนวนเลนส์มากกว่า 70 รุ่น เลนส์ซีรีย์ EF ของ Canon ถือเป็นหนึ่งในผู้นำอันดับต้นๆ ในโลกด้านอุตสาหกรรมการถ่ายภาพ
ขยายศักยภาพของกล้อง DSLR ได้มากขึ้นด้วยเลนส์หลายชนิด
กล้องดิจิตอล SLR มีต้นกำเนิดมาจากกล้องฟิล์ม SLR และสามารถจัดการกับความต้องการด้านการถ่ายภาพที่แตกต่างกันออกไปได้ด้วยการใช้เลนส์แบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ในทางกลับกัน กล้องดิจิตอลคอมแพคใช้เลนส์ซึ่งไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ดังนั้น ไม่ว่าเลนส์ซูมจะมีพลังมากแค่ไหน ก็เทียบไม่ได้กับเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง DSLR ที่มีให้เลือกมากมาย กล้อง Canon ซีรีย์ EOS มาพร้อมกับเลนส์ EF แบบถอดเปลี่ยนได้ มีทางยาวโฟกัสตั้งแต่ 8 มม. ถึง 800 มม. และชนิดต่างๆ มากมายกว่า 60 ชนิด เลนส์ EF เหล่านี้ยังมีการจัดระดับการใช้งานตามคุณสมบัติ เช่น ความสว่างและลักษณะเฉพาะของเลนส์ ดังนั้น เสน่ห์ของกล้อง DSLR จึงอยู่ที่ความสามารถในการใช้คุณสมบัติของเลนส์อย่างเต็มศักยภาพ และจุดแข็งที่โดดเด่นที่สุดคือ คุณสามารถถ่ายภาพที่ต้องการได้ง่ายๆ เพียงแค่เปลี่ยนเลนส์ ทำให้ได้ภาพที่ขยายตัวแบบให้ใหญ่ขึ้น หรือภาพมุมกว้างที่เก็บเอาบรรยากาศโดยรอบเข้าไว้ด้วย
ถ่ายภาพด้วยเลนส์ EF8-15mm f/4L Fisheye USM
EF8-15mm f/4L Fisheye USM
เลนส์นี้สามารถสร้างเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่ชัดเจน ทำให้ถ่ายทอดภาพด้วยมุมภาพที่กว้างกว่าที่ตาเรามองเห็นปกติ
ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF300mm f/2.8L IS II USM
EF300mm f/2.8L IS II USM
คุณสามารถสร้างภาพที่สวยสะดุดตาอย่างภาพนี้ได้ เพียงแค่ประกอบเลนส์เทเลโฟโต้เข้ากับกล้อง ซึ่งจะหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบเพื่อถ่ายทอดภาพที่คมชัดออกมา
จับภาพช่วงเวลาสำคัญ
ช่องมองภาพออพติคอลช่วยให้คุณจับภาพช่วงเวลาสำคัญได้
เวลาที่คุณใช้กล้องดิจิตอลคอมแพค จะมีการหน่วงเวลาการทำงานของกล้อง
เมื่อคุณถ่ายภาพโดยมองจอ LCD บนกล้องดิจิตอลคอมแพค กล้องไม่สามารถเก็บการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้ทันท่วงที นี่เป็นอุปสรรคสำหรับช่างภาพที่จะปล่อยชัตเตอร์ให้ตรงกับช่วงเวลาที่ต้องการ หากคุณกำลังถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพของกล้อง SLR คุณจะสามารถถ่ายตัวแบบในเวลาที่ต้องการได้
ตอบสนองรวดเร็ว สามารถถ่ายภาพชั่วขณะที่กำลังผ่านไปอย่างรวดเร็วได้
เทียบกับกล้องดิจิตอลคอมแพค คุณสมบัติอย่างหนึ่งในการใช้กล้อง DSLR ก็คือ ความล่าช้าในการทำงานของกล้องมีน้อย กล้องดิจิตอลคอมแพคหลายรุ่นถ่ายภาพโดยใช้จอ LCD อย่างไรก็ตาม หากกล่าวกันตามจริงแล้วละก็ สิ่งที่คุณมองเห็นบนหน้าจอนั้นไม่ใช่ภาพที่กำลังเกิดขึ้นจริง แต่เป็นภาพการเคลื่อนไหวที่ผ่านไปแล้ว นี่เป็นเพราะการหน่วงเวลาที่เกิดขึ้นจากการสร้างภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตรงกันข้าม กล้อง DSLR ใช้ประโยชน์จากช่องมองภาพออพติคอล ทำให้คุณมองเห็นภาพจริงแบบไม่ดีเลย์ จึงไม่มีความล่าช้าระหว่างการเคลื่อนไหวของตัวแบบกับสิ่งที่คุณมองเห็นผ่านกล้อง นอกจากนี้ ฟังก์ชั่นโฟกัสอัตโนมัติ และกลไกต่างๆ รวมถึงกลไกสำหรับการเลื่อนชัตเตอร์บนกล้อง DSLR ยังสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่า เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ช่างภาพถ่ายภาพวินาทีสำคัญได้อย่างทันท่วงที ด้วยกล้อง DSLR คุณสามารถถ่ายภาพหลายสิ่งได้ง่ายๆ อาทิ การแข่งขันกีฬา และการแสดงสีหน้าที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของตัวแบบภาพพอร์ตเทรต ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากหากคุณใช้กล้องดิจิตอลคอมแพค
จดจ่อกับตัวแบบของคุณผ่านช่องมองภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อจับภาพช่วงนาทีที่ใช่
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากทำเลหลัก คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก