ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 4] ลองถ่ายภาพกลางคืนแบบถือกล้องถ่าย

2015-07-02
3
5.09 k
ในบทความนี้:

เรื่องสำคัญที่จะพูดถึงในบทความตอนที่ 4 นี้ คือเรื่องของความไวแสง ISO เมื่อใช้ความไวแสง ISO อย่างมีประสิทธิภาพ คุณจะสามารถถ่ายภาพสแนปช็อตทิวทัศน์กลางคืนแบบถือกล้องด้วยมือได้ สิ่งนี้จะช่วยขยายขอบเขตในการนำเสนอภาพถ่ายของคุณได้อย่างมากมาย (เรื่องโดย: Yutaka Tanekiyo)

หน้า: 1 2

 

การใช้ความไวแสง ISO เพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้อง

นอกจากความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง ความไวแสง ISO เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ ความไวแสง ISO คือตัวเลขระบุความไวแสงของเซนเซอร์ภาพ และแสดงในรูปแบบดังเช่น "ISO 100" หรือ "ISO 400" การเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากความไวแสง ISO อย่างเต็มที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการถ่ายภาพของคุณ เพราะคุณสามารถใช้ช่วงขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้หลากหลายขึ้น

สมมุติว่ามีฉากที่กล้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงเป็น 1/30 วินาทีและ f/3.5 โดยอัตโนมัติเมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งด้วยค่า ISO 100 คุณจะสามารถปรับอะไรได้บ้างเพื่อเป็นการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ หากคุณไม่สามารถขยายขนาดรูรับแสงเพิ่ม สิ่งที่คุณทำได้คือการเพิ่มค่าความไวแสง ISO หากตั้งค่าความไวแสง ISO เป็น ISO 400 คุณจะสามารถเพิ่มความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/125 วินาทีได้ด้วยรูรับแสงที่คงไว้ที่ f/3.5 พูดอีกอย่างได้ว่า หากคุณถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย คุณจะสามารถเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น

ประโยชน์ที่ได้คือ การเพิ่มความไวแสง ISO ช่วยป้องกันปัญหาจากการสั่นไหวของกล้อง จึงช่วยลดความเสี่ยงที่ภาพถ่ายของคุณจะเป็นภาพเสีย ต่อไป เรามาลองถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืนแบบถือกล้องถ่ายจริงๆ กันเพื่อทดสอบผลที่ได้รับจากการเพิ่มความไวแสง ISO

1. ถ่ายภาพแบบถือกล้องถ่ายโดยจัดองค์ประกอบให้มีเรือโดยสารและวิวกลางคืนอยู่ในภาพ

 

ผมเดินไปพบวิวกลางคืนที่สวยงามดึงดูดสายตาพร้อมกับเรือโดยสารโดยบังเอิญ ผมอยากถ่ายภาพเก็บไว้แต่ไม่ได้พกขาตั้งกล้องมาด้วย ผมจึงตัดสินใจถ่ายภาพแบบถือกล้องถ่าย อันดับแรก ผมลองตั้งค่าความไวแสง ISO เป็น ISO 800 ก่อน

2. ISO 800—ภาพออกมาเบลอเนื่องจากกล้องสั่นไหว

 

ISO 800, 1/10 วินาที

ทีแรกผมคิดว่า ISO 800 เพียงพอแล้ว แต่ผมคิดผิดถนัด ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง 1/10 วินาที ส่งผลให้ภาพเบลอมาก

3. ISO 3200—ถ่ายภาพได้อย่างใจ

 

ISO 3200, 1/40 วินาที

การเพิ่มความไวแสง ISO เป็น ISO 3200 ทำให้ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นเป็น 1/40 วินาที ทำให้ถ่ายภาพทิวทัศน์ตอนกลางคืนได้คมชัด จุดรบกวนยังไม่เป็นที่สังเกตเห็นชัดนัก ขณะที่ภาพที่ได้ก็เป็นไปอย่างที่ผมต้องการ คงจะเปล่าประโยชน์หากได้ภาพที่วิวสวยแต่ออกมาเบลอเพราะว่ากล้องสั่น หากคุณต้องการถ่ายภาพวิวกลางคืนโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ลองเพิ่มความไวแสง ISO ดู

[เคล็ดลับที่ 1] เพิ่มความไวแสง ISO ขึ้นด้วยความมั่นใจเพื่อป้องกันอาการกล้องสั่นไหว

 
  • ในกล้องรุ่นใหม่ๆ จุดรบกวนสังเกตเห็นได้น้อยลง คุณจึงเพิ่มความไวแสง ISO ขึ้นสูงๆ เมื่อถ่ายภาพในที่มืดได้อย่างไร้กังวล
  • เพื่อป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว ควรเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้นอย่างน้อย "1/ทางยาวโฟกัส"

แม้ว่าทิวทัศน์กลางคืนอาจดูสว่างเมื่อมองด้วยตาเปล่า แต่ที่จริงแล้วสำหรับกล้องกลับเป็นตัวแบบที่มืดหากคุณถ่ายจากตำแหน่งที่ห่างออกไป เริ่มโดยการเพิ่มความไวแสง ISO ด้วยความมั่นใจเพื่อป้องกันปัญหาจากอาการกล้องสั่นไหว อย่ากังวลกับจุดรบกวน หลักการง่ายๆ ที่ใช้กำหนดความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมที่ทำให้ไม่มีปัญหากล้องสั่นไหวคือใช้ค่า "1/ทางยาวโฟกัส" แล้วคุณจะสามารถปรับความไวแสง ISO โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์เป็นตัวนำทางได้

[เคล็ดลับที่ 2] อย่าลืมปรับค่าความไวแสง ISO กลับคืนหลังจากใช้งาน

 

อย่าลืมปรับค่าความไวแสง ISO หลังจากถ่ายภาพในที่ร่มหรือทิวทัศน์กลางคืน เพราะคุณอาจลืมได้เมื่อย้ายไปถ่ายภาพในสถานที่ที่มีแสงจ้า ในกรณีนี้ ความไวแสง ISO สูงอาจทำให้ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงเกินขีดจำกัดสูงสุด ซึ่งส่งผลให้ภาพสว่างเกินไป โปรดระลึกว่าคุณต้องตรวจสอบความไวแสง ISO ก่อนถ่ายภาพเสมอ

ผมต้องการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมสไตล์ยุโรปที่เห็นนี้หลังจากเดินออกจากตึก ความไวแสง ISO ตั้งค่าค้างไว้ที่ ISO 1600 ซึ่งผมใช้สำหรับถ่ายภาพในร่มมาก่อนหน้านี้ ผลคือภาพสว่างเกินไปและมีพื้นที่ขาวโพลนชัดเจน

 
 

ระบุฉากที่เหมาะสมสำหรับภาพที่ใช้ความไวแสง ISO สูง

การใช้ความไวแสง ISO สูงช่วยให้คุณถ่ายภาพโดยถือกล้องถ่ายได้ในสถานการณ์ที่หลากหลายขึ้น รวมไปถึงตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์ เรือ และสัตว์ สถานที่ในร่มที่มีแสงน้อย เช่น พิพิธภัณฑ์ และภาพสแนปช็อตตอนกลางคืน ลองใช้ความไวแสง ISO สูงเพื่อเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพสแนปช็อตภายใต้สภาพแสงน้อย

ภาพถ่ายภายในสถานที่แบบถือกล้องถ่าย

 

ISO 1600

สถานที่ในร่มที่มีแสงน้อย ซึ่งแหล่งแสงมีเพียงแสงอ่อนๆ จากด้านนอกและจากหลอดไฟเท่านั้น เมื่อใช้ ISO 1600 ผมสามารถถ่ายภาพได้ชัดเจนโดยไม่ทำให้มีปัญหาจากอาการกล้องสั่น

 
 

สแนปช็อตทิวทัศน์กลางคืนแบบถือกล้องถ่าย

 

ISO 3200

นี่เป็นตัวอย่างสแนปช็อตที่ใช้ประโยชน์จากความไวแสง ISO สูง (ISO 3200) เราแนะนำให้คุณเพิ่มความไวแสง ISO ด้วยความมั่นใจ

 
 

การถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหวในสถานที่มืด

 

ISO 6400

ในบรรดาภาพถ่ายหลากหลายประเภท การถ่ายภาพในพิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในประเภทที่มีความท้าทายสูง คุณสามารถใช้ ISO 6400 เป็นการตั้งค่ามาตรฐานหากคุณต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของปลาที่ว่ายในตู้ที่มีแสงสลัว

 
 
Yutaka Tanekiyo

 

เกิดปี 1982 ในโอซาก้า หลังจากจบการศึกษาจากคณะวิเทศศึกษาที่ Kyoto Sangyo University ในสาขาวิชาภาษาเยอรมัน Tanekiyo ทำงานเป็นผู้ช่วยของ Toshinobu Takeuchi จากนั้นจึงผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ

 
Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 
 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา