พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ #2: การใช้การตั้งค่ารูรับแสงและรูปแบบภาพ
ในระหว่างเดินทาง แน่นอนว่าคุณจะได้พบกับทิวทัศน์ที่สร้างความประทับใจ จนคุณต้องถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงวิธีถ่ายภาพที่ส่งผลทางอารมณ์มากขึ้น ด้วยการปรับการตั้งค่ารูรับแสงและใช้ค่ารูปแบบภาพที่ตั้งไว้ล่วงหน้าอย่างเหมาะสม (ภาพโดย: Takeshi Akaogi บรรณาธิการโดย: Etica)
EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV+0.7)/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ
เก็บภาพที่สวยงามน่าทึ่งได้อย่างสมจริง พร้อมกับให้โฟกัสที่ลึกสุดสายตา
ใช้รูรับแสงที่แคบลง (ค่า f สูง) เพื่อทำให้องค์ประกอบภาพทั้งหมดอยู่ในโฟกัส
สำหรับภาพถ่ายทิวทัศน์ สิ่งสำคัญมากคือต้องแน่ใจว่าภาพถ่ายมีความคมชัดจากด้านหนึ่งไปจนถึงอีกด้านหนึ่ง และมองเห็นส่วนประกอบแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจน ในตอนที่ 1 เราได้กล่าวถึงการรวมโบเก้เข้าไปในภาพถ่ายเพื่อทำให้วัตถุดูโดดเด่น แต่เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม คุณมักจะต้องการแน่ใจว่าภาพทั้งภาพอยู่ในโฟกัส จึงควรใช้ โหมดระบุค่ารูรับแสง (Av) และตั้งค่ารูรับแสงให้แคบ (ค่า f สูง) ขอแนะนำให้ใช้ค่ารูรับแสงประมาณ f/8 เพื่อให้ภาพถ่ายดูมีเสน่ห์งดงาม
f/8
![ภาพทิวทัศน์จากกล้อง EOS M10 (คมชัดที่ค่า f/8)](https://d1hjkbq40fs2x4.cloudfront.net/2017-08-23/files/eos-m10_1596-1c.jpg)
EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/320 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
f/2
![ภาพทิวทัศน์จากกล้อง EOS M10 (f/2)](https://d1hjkbq40fs2x4.cloudfront.net/2017-08-23/files/eos-m10_1596-2c.jpg)
EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/4000 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ภาพด้านบนเน้นให้เห็นข้อแตกต่างหลักๆ สองประการเกี่ยวกับคุณภาพของภาพระหว่างภาพที่ถ่ายด้วยค่า f/2 กับค่า f/8
(1) มุมภาพดูมืดกว่าในตัวอย่างที่ถ่ายด้วยค่า f/2 ซึ่งเราเรียกว่าปัญหาขอบมืด อันเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของเลนส์ และมีแนวโน้มที่จะเห็นชัดขึ้นเมื่อใช้รูรับแสงกว้างขึ้น ส่วนมุมของภาพที่ถ่ายด้วยค่า f/8 ดูคมชัดและสว่างกว่า
(2) ในบริเวณที่ขยายให้ใหญ่ขึ้น เราจะสังเกตเห็นเส้นขอบของหลังคาและรายละเอียดของกระเบื้องและใบไม้อย่างชัดเจนในตัวอย่างที่ใช้ค่า f/8 แต่จะเบลอเล็กน้อยในตัวอย่างที่ใช้ค่า f/2 ระยะชัดลึกที่ตื้นขึ้นเมื่อใช้ค่า f/2 หมายความว่ารายละเอียดในแบ็คกราวด์จะอยู่ในโฟกัสน้อยลง คุณลักษณะเดียวกันนี้คือสิ่งที่สร้างโบเก้นั่นเอง แต่สำหรับฉากนี้ โบเก้ทำให้ภาพดู "นุ่มนวล" (เบลอและอยู่นอกโฟกัสโดยไม่ได้ตั้งใจ)
หากต้องการเปลี่ยนค่ารูรับแสง หลังจากเปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพเป็นโหมดระบุค่ารูรับแสง (Av) แล้ว ให้หมุนวงแหวนหรือลากและวางแถบเลื่อนบนหน้าจอสัมผัสเพื่อกำหนดค่ารูรับแสงที่คุณต้องการ นอกจากนี้ อย่าลืมเปิดฟังก์ชั่น "แสดงตาราง" บนหน้าจอ LCD เพื่อให้ภาพของคุณได้ระดับอย่างสมดุล
อย่าลืมตรวจให้แน่ใจว่าภาพได้ระดับในแนวนอน!
หากถ่ายภาพที่ค่า f/8 คุณจะสามารถถ่ายทุกอย่างในฉากได้อย่างคมชัดและอยู่ในโฟกัส อย่างไรก็ดี ในขั้นตอนนี้ ภาพถ่ายที่เบี้ยวอาจทำให้ภาพที่ควรจะดีกลายเป็นภาพเสีย เนื่องจากการจัดองค์ประกอบภาพที่ได้สมดุลคือหนึ่งในองค์ประกอบหลักในการสร้างภาพทิวทัศน์ที่ดี ดังนั้น อย่าลืมสังเกตแกนของภาพเมื่อคุณเตรียมกล้องพร้อมแล้ว
EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/160 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
รักษาแกนภาพทั้งแนวตั้งและแนวนอนเมื่อถ่ายภาพ แสดงตารางบนหน้าจอ LCD เพื่อใช้อ้างอิง โดยกดปุ่ม "เมนู" แล้วไปที่แท็บ "แสดงข้อมูลการถ่ายภาพ" สลับตัวเลือก "แสดงตาราง" เพื่อแสดงหรือซ่อนตาราง
เคล็ดลับ: ลองใช้รูปแบบภาพ
การใช้รูปแบบภาพจะช่วยให้ภาพของคุณดูโดดเด่นมากขึ้น และคุณยังสามารถปรับการตั้งค่าต่างๆ เช่น ความคมชัด ความเปรียบต่าง ฯลฯ ได้ตามใจชอบ เพื่อกำหนดอารมณ์ภาพในแบบที่คุณต้องการได้อีกด้วย
รูปแบบภาพ [ผู้ใช้กำหนด]
![ภาพทิวทัศน์จากกล้อง EOS M10](https://d1hjkbq40fs2x4.cloudfront.net/2017-08-21/files/eos-m10_1596-5.jpg)
EOS M10/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM / FL: 21 มม. (เทียบเท่า 33 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV+0.3)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
รูปแบบภาพ (ผู้ใช้กำหนด)
ความคมชัด (5)/ ความเปรียบต่าง (2)/ ความอิ่มตัวของสี (2)/ โทนสี (0)
รูปแบบภาพ [มาตรฐาน]
![ภาพทิวทัศน์จากกล้อง EOS M10](https://d1hjkbq40fs2x4.cloudfront.net/2017-08-21/files/eos-m10_1596-6.jpg)
EOS M10/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 21 มม. (เทียบเท่า 33 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/60, EV+0.3)/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ
รูปแบบภาพ (มาตรฐาน)
ความคมชัด (3)/ ความเปรียบต่าง (0)/ ความอิ่มตัวของสี (0)/ โทนสี (0)
ภาพด้านซ้ายใช้รูปแบบภาพที่กำหนดโดยผู้ใช้ เมื่อเทียบกับภาพทางด้านขวา ซึ่งถ่ายโดยใช้รูปแบบภาพ (มาตรฐาน) ภาพด้านซ้ายมีความคมชัดและความเปรียบต่างเพิ่มขึ้น เพื่อถ่ายทอดกิ่งก้านที่เรียวยาวของต้นไม้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความอิ่มตัวของสียังเพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้ใบไม้สีเขียวสดใสยิ่งขึ้น และสีสันของอุโมงค์มีความอิ่มตัวมากขึ้น
การปรับความคมชัด ความเปรียบต่าง ความอิ่มตัวของสี และโทนสีของรูปแบบภาพ
![EOS M10: เมนูที่ใช้ปรับรูปแบบภาพ (A)](https://d1hjkbq40fs2x4.cloudfront.net/2017-08-21/files/eos-m10_1596-7.jpg)
![EOS M10: เมนูที่ใช้ปรับรูปแบบภาพ (B)](https://d1hjkbq40fs2x4.cloudfront.net/2017-08-21/files/eos-m10_1596-8.jpg)
กดปุ่มเมนู ‘Quick set’ (A) จากนั้น เลือกตัวเลือก ‘อัตโนมัติ’ ในเมนู (B) เลือกรูปแบบภาพตามที่ต้องการ แล้วแตะตัวเลือก ‘ตั้งค่าละเอียด’ กดปุ่มขึ้นหรือลงเพื่อเลือกรายการที่ต้องการปรับค่า จากนั้นกำหนดค่าต่างๆ โดยการกดปุ่มซ้ายหรือขวาหรือหมุนวงแหวน สำหรับส่วนของ ‘โทนสี’ หากค่าต่ำลง โทนสีจะเป็นสีแดงมากขึ้น และหากค่าสูงขึ้น โทนสีจะเป็นสีเหลืองมากขึ้น
หากต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับแต่งรูปแบบภาพ โปรดดูที่:
3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
บริษัท Etica จำกัด เปิดสอนการถ่ายภาพในนามของโรงเรียน “Tanoshii Camera School" ตลอดจนให้บริการตรวจแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์ และวางแผนสื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพ โดยเน้นหัวข้อด้านการดูแลเด็ก สัตว์ และอาหาร บริษัทยึดคติ “ภาพถ่ายทำให้ทุกๆ คนมีความสุข!” จึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ของกล้องถ่ายรูปและการถ่ายภาพออกไปในวงกว้าง
ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย